ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
เงาะเป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตอนนี้ก็แพร่กระจายไปทั่วเขตร้อนบนโลกใบนี้ ถ้าคุณไม่เคยเห็นมันมาก่อน ก็อาจเกิดความสงสัยได้ว่าจะกินมันได้อย่างไร แต่เมื่อรู้แล้วก็จะรู้ว่ามันทั้งกินง่ายและอร่อยเลยนะ!
ขั้นตอน
-
เลือกเงาะที่สุก. เริ่มแรกเงาะจะมีลูกสีเขียว จากนั้นก็จะเป็นสีแดง ส้ม และเหลืองตอนที่มันสุกงอม ขนที่ดูคล้าย"หนาม"จะเป็นสีเขียวเมื่อเพิ่งเก็บเกี่ยวจากต้น แต่พอหลังจากขนนั้นเปลี่ยนเป็นสีดำ ก็เหลือเวลาอย่างน้อยอีกสองสามวันที่จะยังอยู่ในสภาพดี [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
หั่นเปลือกออก. จับหัวกับท้ายของเงาะเอาไว้ให้แน่นขณะที่วางบนพื้นผิวเรียบ วางมีดคมๆ ไว้ตรงกลางแล้วหั่นครึ่ง ค่อยๆ หั่นโดยให้ขนกับเปลือกขาดออกโดยไม่ไปเจาะเนื้อด้านใน แล้วผ่าไปให้ได้ครึ่งหนึ่งของผลมันเพื่อให้เนื้อเผยออกมา [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- จะใช้นิ้วหัวแม่โป้งแกะหรือกัดเปลือกเอาก็ได้ทั้งนั้น หนามขนเหล่านั้นนุ่มและทำร้ายอะไรเราไม่ได้หรอก แต่แค่เปลือกมันกินไม่ได้และมีรสขมๆ เฉยๆ แหละ
-
แกะเงาะ. เปลือกที่ถูกผ่าออกก็จะง่ายต่อการฉีกแล้ว ให้ดึงเปลือกด้านหนึ่งออกจากผลเหมือนตอนเปิดฝาบานพับ เนื้อด้านในของเงาะจะดูคล้ายองุ่น คือมันเป็นวงรี สีค่อนข้างใสหน่อยๆ และเป็นสีขาวหรือเหลืองซีดๆ
-
บีบเพื่อให้เนื้อมันออกมา. บีบเปลือกที่เหลืออยู่เพื่อให้เนื้อส่วนที่กินได้หลุดออกมาบนมือคุณ
-
แกะเอาเมล็ดออก. เมล็ดที่อยู่ตรงกลางนั้นไม่สามารถกินดิบๆ ได้ ให้ผ่าเนื้อโดยไม่ไปตัดเมล็ดแล้วดึงเอาเมล็ดออกมา เงาะบางพันธุ์ (สายพันธุ์ที่"แกะเมล็ดออกได้ง่าย") เมล็ดจะไหลออกมาได้อย่างง่ายดาย ส่วนสายพันธุ์อื่นๆ ("เมล็ดติดเนื้อ") เมล็ดจะติดกับเนื้อ [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง ถ้าคุณเจอเงาะสายพันธุ์ที่เมล็ดติดกับเนื้อ ก็ไม่ต้องแกะออก พอกินเสร็จค่อยคายทีหลังก็ได้
-
กินเนื้อเงาะ. ถ้าแกะเมล็ดออกแล้ว ก็เพียงแค่เอาเนื้อเงาะเข้าปากได้เลย แต่ถ้ายังมีเมล็ดอยู่ ก็ให้สังเกตดู มันจะมีเยื่อบางๆ ปกคลุมเมล็ดอยู่ ให้ค่อยๆ แทะเนื้อรอบๆ เมล็ดแทนที่จะกัดเข้าไปเลย
- เงาะส่วนใหญ่จะรสหวานและฉ่ำน้ำ แต่บางสายพันธุ์ก็ออกเปรี้ยวและแห้งกว่าเล็กน้อย [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- เงาะส่วนใหญ่จะมีเมล็ดรสขม แต่บางพันธุ์ก็อาจมีรสหวานหน่อยๆ ขณะที่มีคนกลุ่มน้อยที่กินเมล็ดเงาะดิบๆ เข้าไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม มันก็มีร่องรอยของสารเคมีที่เป็นพิษอยู่นะ [5] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง จึงไม่แนะนำให้กินเมล็ดเงาะดิบ โดยเฉพาะกับเด็กและสัตว์
โฆษณา
-
อบเมล็ด. บางที่เขาก็อบเมล็ดกินกันนะ เหมือนกับอบพวกถั่วนั่นแหละ แม้ว่าเมล็ดแบบนี้มันจะกินได้ แต่รสชาติมันก็ออกจะขมและอาจมีสารเสพติดอ่อนๆ เจืออยู่ด้วย [6] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง งานวิจัยหลายชิ้นจะต้องเสร็จสมบูรณ์ก่อนที่มันจะออกมายืนยันได้อย่างเป็นทางการว่าปลอดภัยที่จะกินเข้าไปจริงๆ [7] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ทำแยมเงาะ. แกะเปลือกเงาะ 500 กรัมและกานพลู 2 ชิ้น แล้วนำทั้งสองไปต้มในน้ำจนกว่าเนื้อจะแยกออกจากเมล็ด แกะเอาส่วนที่หุ้มเมล็ดออก แล้วย้ายเมล็ดไปยังหม้อที่ใส่น้ำน้อยๆ แล้วต้มจนกว่าเมล็ดจะอ่อนตัว จากนั้นก็ต้มเนื้อ เมล็ดที่อ่อนตัวแล้ว และน้ำตาล 1½ ถ้วย (350 กรัม) เข้าด้วยกัน ตุ๋นส่วนผสมนี้ประมาณยี่สิบนาที หรือจนกว่าเนื้อจะคล้ายแยม นำกานพลูออกมา แล้วเก็บแยมเอาไว้ในโหลที่ทำความสะอาดแล้ว [8] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง Pijpers, Dick, Jac. G. Constant, and Kees Jansen. <i>The Complete Book of Fruit</i>. NY: Gallery Books, 1986.
- ถ้าอยากทำของหวานที่เร็วกว่านี้ ก็ให้เคี่ยวเงาะหลังจากที่แกะเปลือกออกและต้มเรียบร้อยเลย
-
แช่เงาะที่เหลือเอาไว้ในตู้เย็น. เงาะสามารถเก็บเอาไว้ได้มากสุดก็สองสัปดาห์ และปกติจะเก็บเอาไว้ได้ไม่กี่วันหลังจากที่ซื้อมาจากร้านค้าแล้ว ถ้าอยากยืดอายุเยาะ ก็ต้องเก็บทั้งลูกแบบไม่ปอกเปลือกในถุงพลาสติกมีรูแล้วแช่ไว้ในตู้เย็น [9] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
แช่แข็งเงาะเพื่อทำเป็นของหวานมื้อพิเศษ. แช่แข็งเงาะทั้งลูกโดยไม่แกะเปลือก ใส่เอาไว้ในถุงซิปล็อค พอจะกินก็แกะเปลือกออกแล้วดูดเนื้อออกมาโดยตรงเพื่อรสชาติที่เหมือนลูกอมออกนมๆ [10] X แหล่งข้อมูลอ้างอิงโฆษณา
เคล็ดลับ
- ถ้าจะเสิร์ฟเงาะให้แขก ก็ให้ทิ้งเปลือกเอาไว้ติดเนื้อครึ่งหนึ่งเพื่อทำเป็นที่จับแบบสร้างสรรค์
- หลังจากซื้อเงาะมาแล้วก็เก็บเอาไว้ต่อได้สามถึงห้าวันในตู้เย็น และควรห่อแรปพลาสติกไว้เพื่อไม่ให้ความชุ่มชื้นลดลงมาก (แต่ถ้าคุณอยู่ในที่ที่มีความชื้นมากก็ไม่จำเป็นนะ) [11] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา
คำเตือน
- ระวังจะมีแมลงหวี่มาด้วยล่ะ สังเกตได้จากวัตถุสีน้ำตาลเนื้อร่วนตรงจุดที่ขั้วผลไม้ติดกับต้น
โฆษณา
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ http://www.rambutan.com/
- ↑ http://www.globalgourmet.com/food/special/1999/asian/rambutan.html
- ↑ http://www.rambutan.com/
- ↑ https://books.google.com/books?id=Ag-1Fzs0bxMC&printsec=frontcover
- ↑ https://www.hort.purdue.edu/newcrop/morton/rambutan.html
- ↑ https://books.google.com/books?id=Ag-1Fzs0bxMC&printsec=frontcover
- ↑ http://www.foodnavigator.com/Science/Seed-waste-may-be-source-of-new-fats-Study
- ↑ Pijpers, Dick, Jac. G. Constant, and Kees Jansen. The Complete Book of Fruit . NY: Gallery Books, 1986.
- ↑ http://rfcarchives.org.au/Next/Fruits/Rambutan/RambutanPostharvest11-92.htm
โฆษณา