PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ในทางเดินอาหารของคุณนั้นจำเป็นมากว่าต้องมีแบคทีเรีย “ดี” ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย กับแบคทีเรีย "ร้าย" ที่เป็นอันตรายในปริมาณที่เท่าๆ กัน เวลาคุณกินยาปฏิชีวนะหรือ antibiotics เพื่อกำจัดแบคทีเรียร้ายที่ทำให้ร่างกายติดเชื้อ รู้หรือไม่ว่าทำให้คุณสูญเสียแบคทีเรียดีในลำไส้ไปด้วยในเวลาเดียวกัน พอแบคทีเรียดีลดลงก็ทำให้แบคทีเรีย “ร้าย” เพิ่มจำนวนตามใจชอบ จนเกิดสารพิษต่างๆ ที่อาจทำร่างกายอักเสบหรือท้องร่วงได้ คุณหมอบางคนเลยแนะนำให้กินโพรไบโอติกส์ (probiotics) อย่าง acidophilus ควบคู่กันไป ปริมาณแบคทีเรียดี-ร้ายจะได้กลับมาสมดุลย์ ถ้าคุณหมอแนะนำให้คุณกินโพรไบโอติกส์ Acidophilus ควบคู่ไปกับยาปฏิชีวนะละก็ ลองมาอ่านบทความนี้ดูว่าต้องกินยังไงถึงจะปลอดภัย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ลดผลข้างเคียงของยาปฏิชีวนะ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณหมอเป็นคนเดียวที่จะกำหนดปริมาณที่ควรกินในแต่ละวัน และชนิดที่เหมาะสมของ acidophilus เรื่องปริมาณนั้นก็แตกต่างกันไป แต่สำหรับคนที่ท้องเสียเพราะกินยาปฏิชีวนะ เขาศึกษาวิจัยกันมาแล้วว่าให้กิน 10 – 20 billion CFU (Colony Forming Unit) หรือ 10,000 - 20,000 ล้านตัวต่อวันถึงจะเห็นผล [1]
    • คุณหมออาจแนะนำให้กินมากหรือน้อยกว่านี้ แล้วแต่ว่าคุณกินยาปฏิชีวนะตัวไหน กินนานเท่าไหร่ และความเสี่ยงที่จะเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ (colitis) ยาปฏิชีวนะบางตัวอย่าง cephalosporins, fluoroquinolones และ clindamycin นั้นมักทำให้เกิดอาการท้องเสียเพราะยาปฏิชีวนะมากกว่ายาตัวอื่น
    • Acidophilus นั้นมีด้วยการหลายแบบ เช่น แคปซูล แบบเม็ด และแบบผง ยังไงก็ให้คุณหมอเป็นคนแนะนำแบบที่เหมาะสมจะดีกว่า แต่เลือกแล้วอย่ากินปนกันหลายแบบ อย่างกินแบบเม็ดคู่ไปกับแบบผงนี่ไม่ได้เลย เพราะแต่ละแบบก็มีแบคทีเรียต่างสายพันธุ์กันไป
    • กินนานเท่าที่คุณหมอสั่ง โดยส่วนใหญ่มักนิยมกินโพรไบโอติกส์ต่อไปอีกอย่างน้อย 1 - 3 อาทิตย์หลังการกินยาปฏิชีวนะ [2]
  2. ถ้ากินพร้อมกันทีเดียวจะไม่ได้อะไรสักอย่าง เพราะโพรไบโอติกส์จะเพิ่มแบคทีเรียดี แต่ยาปฏิชีวนะดันไปลดนี่สิ
    • กิน acidophilus อย่างน้อย 1 - 2 ชั่วโมงก่อนหรือหลังกินยาปฏิชีวนะ บางคนก็บอกว่าควรจะห่างกัน 2 - 4 ชั่วโมงเลยด้วยซ้ำ [3]
  3. เช็ควันหมดอายุให้ดี และเก็บรักษาให้เหมาะสม อาหารเสริมที่หมดอายุหรือควรจะแช่ตู้เย็นแต่ไม่แช่ จะกินแล้วมีประสิทธิภาพน้อยลง ที่สำคัญคือต้องกินให้ครบโดส บางยี่ห้อหรือบางคุณหมอแนะนำให้กินหลังอาหารหรือก่อนอาหารเช้า เพราะค่า pH ในกระเพาะจะได้สูงๆ [4]
  4. สุดยอดอาหารที่ว่าก็หนีไม่พ้นโยเกิร์ต ส่วนใหญ่ยี่ห้อดังๆ ที่เห็นตามซูเปอร์ก็มีโพรไบโอติกส์ อย่าง acidophilus กันทั้งนั้น บางยี่ห้อถึงกับยกมาเป็นจุดขายกันเลยทีเดียว
    • กินโยเกิร์ตทุกวันช่วยเพิ่ม acidophilus ให้ร่างกายได้ แต่ยังไงก็น้อยกว่าแบบอาหารเสริม
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

รู้จัก Acidophilus และวิธีกินคู่กับยาปฏิชีวนะ

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. อะไรคือ acidophilus? Acidophilus (Lactobacillus acidophilus หรือ L. acidophilus) นั้นก็คือจุลินทรีย์หรือ “แบคทีเรียดี” ชนิดหนึ่งในร่างกายนั่นเอง จะช่วยให้ลำไส้ใหญ่ย่อยอาหารที่เหลือลงมาได้ดี และป้องกัน “แบคทีเรียร้าย” ด้วยการสร้างกรดแลคติก ตามธรรมชาติร่างกายเรามี Acidophilus อยู่แล้ว แต่ถ้ามีน้อยก็ต้องกินอาหารเสริมโพรไบโอติกส์ เพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินอาหารและอาการอื่นๆ
    • นอกจาก acidophilus แล้วก็ยังมีโพรไบโอติกส์อีกหลายตัว ส่วนใหญ่จะเป็นตระกูลแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ที่เรารู้จักกันดี แต่ Lactobacillus acidophilus นั้นเป็นโพรไบโอติกส์ที่นิยมกันมากที่สุด
  2. เรากิน acidophilus เพื่ออะไร ถ้ากินคู่กับยาปฏิชีวนะจะเป็นยังไง. มีการวิจัยทางการแพทย์ที่พบว่า acidophilus ไปยับยั้งการเจริญเติบโตของ pathogens (ต้นเหตุของโรคต่างๆ เช่น แบคทีเรียร้าย) ในทางเดินอาหารของเรา นอกจากนี้ยังป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร (อย่าง โรคลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome หรือ IBS)) ทำให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น ลดเชื้อราในช่องคลอด และป้องกันโรคต่างๆ อย่างปอดติดเชื้อหรือโรคผิวหนัง รวมถึงไม่ทำให้คุณท้องเสียเพราะกินยาปฏิชีวนะด้วย [5]
    • เวลาที่คุณท้องเสียเพราะกินยาปฏิชีวนะ ก็เพราะยาปฏิชีวนะไปกำจัดแบคทีเรียร้ายในร่างกายอันเป็นสาเหตุของการติดเชื้อ เลยทำให้แบคทีเรียดีในลำไส้พลอยลดน้อยถอยลงไปด้วย ผลที่เกิดตามมาคือร่างกายมีแบคทีเรีย “ร้าย” เยอะเกินไป จนเกิดสารพิษ อันเป็นที่มาของอาการอักเสบและท้องเสีย [6]
  3. ทำไมการป้องกันไม่ให้ท้องเสียเพราะยาปฏิชีวนะถึงเป็นเรื่องสำคัญ. ปกติอาการท้องเสียเพราะยาปฏิชีวนะ (antibiotic-associated diarrhea) จะไม่หนักมาก และพอหยุดยาก็ไม่เป็นอีก แต่บางทีอาจเป็นสาเหตุของโรคที่รุนแรงกว่าอย่างโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ (colitis) ไม่ก็โรคลำไส้ใหญ่อักเสบขั้นรุนแรงอย่าง pseudomembranous colitis และพบว่าประมาณ 1/3 ของคนที่ใช้ยาปฏิชีวนะในระยะยาว (โดยเฉพาะในโรงพยาบาล) ติดเชื้อ Clostridium difficile ซึ่งเป็นการติดเชื้อแบบรุนแรงยากจะรักษา ทำให้เกิดอาการท้องเสียเป็นประจำ
    • มีงานวิจัยสำคัญเมื่อไม่นานมานี้ที่ชี้ว่าโพรไบโอติกส์อย่าง acidophilus สามารถป้องกันหรือลดอาการท้องเสียจากยาปฏิชีวนะได้ แถมช่วยป้องกันการติดเชื้อ C difficile อีกด้วย [7] [8]
    • การติดเชื้อ C. diff พบบ่อยที่สุดหลังใช้ยา fluoroquinolones, cephalosporins, clindamycin และยาเพนนิซิลลิน
    โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าใช้ยาแล้วหน้าหรือปากบวมให้หยุดใช้ทันทีแล้วรีบไปหาหมอ เพราะนั่นแหละสัญญาณบอกว่าคุณแพ้ยาเข้าแล้ว
  • ถ้าคุณท้อง/ให้นมลูกอยู่ หรือเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (immunodeficient disease) ไม่ก็โรคลำไส้ (bowel disease) ต้องปรึกษาคุณหมอก่อนกิน acidophilus หรือยาปฏิชีวนะ
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.medscape.com/viewarticle/763157_5
  2. http://www.medscape.com/viewarticle/763157_5
  3. http://www.medscape.com/viewarticle/763157_5
  4. http://www.medscape.com/viewarticle/763157_5
  5. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/natural/790.html#Dosage
  6. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/antibiotic-associated-diarrhea/basics/causes/con-20023556
  7. Hempel S, Newberry SJ, Maher AR, et al. Probiotics for the prevention and treatment of antibiotic-associated diarrhea: a systematic review and meta-analysis. JAMA. 2012;307:1959-1969.
  8. Johnston BC, Ma SS, Goldenberg JZ, et al. Probiotics for the prevention of Clostridium difficile-associated diarrhea: a systematic review and meta-analysis. Ann Intern Med. 2012;157:878-888.
  9. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/natural/790.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 15,531 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา