ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการวินิจฉัยอาการและกู้ (ถ้าเป็นไปได้) ฮาร์ดไดรฟ์ (หรือ hard disk) ที่เสียหรือใกล้เสียเต็มที ถึงจะรับประกันไม่ได้ว่าวิธีการทั้งหลายในบทความนี้จะกู้ฮาร์ดไดรฟ์คุณคืนมาได้ แต่อย่างน้อยก็ถือว่าเป็นความรู้ใหม่ ที่สำคัญคือให้ช่างซ่อมแต่แรกก็แพงน่าดู ยังไงลองทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ ถ้าไม่ดีขึ้นก็ส่งซ่อมต่อไป

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

แก้ปัญหาเบื้องต้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าฮาร์ดไดรฟ์ยังหมุน แต่ใช้งานไม่ได้ หรือมี error อะไรสักอย่าง สิ่งแรกที่ควรทำคือหยุดใช้คอม หรือก็คือฮาร์ดไดรฟ์นั้น โดยด่วน พอปิดคอมแล้ว อย่าเพิ่งเปิดคืนมาจนกว่าจะยกไปให้ช่างดู
    • ถ้ากลัวทำ external hard drive เจ๊งไปด้วย ให้รีบถอดจากคอม
  2. ลองเสียบฮาร์ดไดรฟ์ที่มีปัญหากับพอร์ทหรือคอมเครื่องอื่น. ถ้าฮาร์ดไดรฟ์ใช้กับคอมเครื่องอื่นได้ แสดงว่าไม่ได้เป็นที่ฮาร์ดไดรฟ์ แต่เป็นที่สายหรือพอร์ทของคอมเครื่องเก่า
    • ถ้าใช้ external hard drive ก็แค่ถอดออกจากคอมเก่า แล้วเสียบกับคอมเครื่องใหม่ หรือลองเปลี่ยนสายที่ใช้เสียบ เผื่อสายเก่าแล้วใช้ไม่ได้ขึ้นมา
    • ถ้าเป็นฮาร์ดไดรฟ์ในเคสคอมก็ยุ่งหน่อย เพราะเวลาจะเช็คปัญหาการเชื่อมต่อแต่ละที ก็ต้องถอดไดรฟ์จากเคสคอมซะก่อน หลังจากนั้นก็อาจจะต้องซื้อ docking station หรือสายแปลง USB (หาซื้อได้ตามเน็ตทั้งคู่) เอาไว้เสียบ external hard drive กับคอมเครื่องอื่นด้วย
    • ก่อนจะถอดฮาร์ดไดรฟ์ ต้องเช็คก่อนว่าถอดปลั๊กคอมแล้ว หรือถอดแบต (ถ้าใช้แบต)
    • ใครใช้ Mac คิดจะถอดฮาร์ดไดรฟ์ทีแทบเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ ก็ต้องระวังแบบสุดๆ
    • บางที (กรณีที่หายากจริงๆ) ฮาร์ดไดรฟ์อาจไม่ทำงาน เพราะเมนบอร์ดของคอมเครื่องนั้นเสีย (เอาไปใช้กับเครื่องอื่นได้) ถ้าลองดูแล้วฮาร์ดไดรฟ์นั้นใช้กับคอมเครื่องอื่นได้ตามปกติ ก็ถึงเวลายกคอมไปให้ร้านหรือช่างดูต่อไป
  3. ฮาร์ดไดรฟ์มี 3 ชิ้นส่วนหลักๆ ด้วยกัน ซึ่งเป็นตัวที่ถ้าเสียก็อาจทำไดรฟ์เจ๊งได้ [1]
    • PCB - คือแผ่นวงจรพิมพ์ (ปกติอยู่ใต้ฮาร์ดไดรฟ์) เป็นตัวควบคุมแทบทุกฟังก์ชั่นของฮาร์ดไดรฟ์ รวมถึงคอยแปลงข้อมูลของฮาร์ดไดรฟ์ไปเป็นข้อมูลที่อ่านได้รู้เรื่อง แผ่นวงจรนี้ปกติสีเขียว
    • Platters - เป็นแผ่นดิสก์บางๆ ใช้เก็บข้อมูล platters คือต้นตอของเสียงที่คุณได้ยินเวลาฮาร์ดไดรฟ์ทำงาน ถ้าคุณไม่ใช่ช่างมืออาชีพที่สถานที่และอุปกรณ์พร้อม บอกเลยว่าไม่มีทางซ่อม platters ของฮาร์ดไดรฟ์ได้เอง
    • Head Assembly - ใช้อ่านข้อมูลจาก platters เป็นอีกชิ้นส่วนที่ถ้าคุณไม่โปรพอและไม่มีอุปกรณ์ครบมือ ก็อย่าหวังจะลุกขึ้นมาซ่อมเอง
  4. อันนี้แล้วแต่ว่าไดรฟ์ผิดปกติตรงไหน แต่ฮาร์ดไดรฟ์จะ มีเสียงแน่นอน ยังไงลองหาแล้วฟังเสียงไดรฟ์รุ่นเดียวกันดู เพื่อเปรียบเทียบว่าที่ได้ยินน่ะปกติดีไหม
    • เช่น ถ้าฮาร์ดไดรฟ์มีเสียงดังคลิกๆ แสดงว่ามีปัญหาที่ head assembly หรือหัวอ่าน [2]
    • แต่ข่าวร้ายก็คือ ถ้าไดรฟ์มีปัญหาจนส่งเสียงแปลกๆ ส่วนใหญ่ก็ต้องส่งซ่อมทั้งนั้น
  5. หมายถึงวิธีประมาณว่าใช้กำลังหรือเอาไดรฟ์ไปแช่แข็ง บางคนใช้แล้วได้ผลก็จริง แต่บอกเลยว่าแก้ไขเองเฉพาะหน้าแบบนี้ โอกาสที่ช่างมืออาชีพจะกู้ข้อมูลให้คุณได้ ยิ่งน้อยลงไปกว่าเดิม
    • ถึงคุณโชคดี แก้เองเฉพาะหน้าแล้วได้ผล ก็มักกลับมาใช้งานได้ชั่วคราวเท่านั้น สุดท้ายฮาร์ดไดรฟ์ก็จะยังเจ๊งอยู่ดี [3]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ปล่อยเป็นหน้าที่ของมืออาชีพ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โครงสร้างของฮาร์ดไดรฟ์นั้นซับซ้อนและละเอียดอ่อนมาก ถ้าเป็นผู้ใช้ทั่วไปก็แทบเป็นไปไม่ได้ที่จะแก้ไขซ่อมแซมจนถึงกู้ข้อมูลคืนมาได้ ต้องเป็นคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านคอมจริงๆ เพราะงั้นถ้าเป็นไปได้ ควรยกคอมไปให้ช่างตรวจเช็คอาการแต่แรกจะดีที่สุด
    • ถ้าฮาร์ดไดรฟ์แน่นิ่งไปแล้วยังพยายามจะแก้ไขเองงูๆ ปลาๆ ยิ่งลดโอกาสที่ช่างจะกู้ข้อมูลคืนมาให้คุณได้
    • กระทั่งการเปลี่ยนแผ่น PCB ก็ถือว่าค่อนข้าง advanced ต้องมีความรู้การบัดกรีแผงวงจรพอควร ที่สำคัญคือต้องหาซื้อชิ้นส่วนใหม่มาเปลี่ยนได้ถูกต้อง
  2. จะกู้ข้อมูลจากฮาร์ดไดรฟ์ได้ต้องมีสถานที่สะอาดๆ อุปกรณ์เฉพาะทางครบมือ ที่สำคัญคือคนทำต้องเป็นช่างมืออาชีพผู้เปี่ยมประสบการณ์ ร้านซ่อมคอมก็มีหลายราคาและความน่าเชื่อถือแตกต่างกันไป ยังไงลองเลือกร้านที่เชื่อถือได้ เช็คในเน็ตแล้วรีวิวดีๆ [4]
  3. เลือกบริษัทหรือร้านซ่อมคอมที่ตรงตามความต้องการ. มีทั้งร้านซ่อมคอมตามห้างและบริษัทที่เน้นให้บริการองค์กรโดยเฉพาะ ยังไงก่อนตัดสินใจเลือกร้าน ลองสอบถามและอ่านรีวิวในเว็บต่างๆ ก่อน เช่น [5]
    • Pantip - ลองเข้าไปอ่าน/ตั้งกระทู้ในห้องซิลิคอนวัลเลย์ (siliconvalley) ของ Pantip ดู ทำได้ทั้งสอบถามปัญหาที่เกิด สำรวจร้านดังที่น่าเชื่อถือ และอ่านรีวิว
    • OverclockZone - อีกเว็บที่เหมือนเป็นชุมชนคนไอทีที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย เช่นเดียวกับเว็บ Pantip คือทำได้ทั้งสอบถามปัญหาที่เกิด สำรวจร้านดังที่น่าเชื่อถือ และอ่านรีวิว
  4. ถ้ามีใครเข้าฮาร์ดไดรฟ์เพื่อหาทางซ่อมหรือกู้ข้อมูลแล้ว ก็เท่ากับทำให้สภาพไดรฟ์แย่ลงไปทุกขณะ เพราะอาจเจอทั้งฝุ่นผง ไฟฟ้าสถิต และปัจจัยอื่นๆ ในสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ถ้าไม่อยากเสี่ยง ก็ต้องรักเดียวใจเดียว เลือกช่างหรือร้านคอมให้ดีแต่แรกแล้วอย่าเปลี่ยนร้าน อย่างที่บอกว่าให้ศึกษาข้อมูลแน่นๆ ทั้งเรื่องราคา วิธีการซ่อม ความเชี่ยวชาญของช่าง และอุปกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะที่ต้องใช้ในการกู้ข้อมูล (data recovery tool) ถ้าร้านนั้นใช้ PC3K หรือ DeepSpar ละก็ สบายใจได้เปลาะหนึ่ง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • มีหลาย data recovery tool (เครื่องมือใช้กู้ข้อมูล) ที่น่าสนใจและได้ผล คุณดึงข้อมูลจากฮาร์ดไดรฟ์ที่เสียหรือใกล้เสียได้เลย แต่ตัวที่ใช้งานได้ดีก็มักราคาแพงตามไปด้วย
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าถอดชิ้นส่วนไหนในฮาร์ดไดรฟ์เอง ระวังจะทำประกันขาด
  • ถ้าชิ้นส่วนไหนในฮาร์ดไดรฟ์ทำงานอยู่แล้วไปยุ่ง ระวังข้อมูลจะหายถาวร
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 19,433 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา