ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการวิตกกังวล (anxiety) ถือเป็นอารมณ์หนึ่งตามธรรมชาติของมนุษย์ ใครๆ ก็เคยวิตกกังวล แต่ถ้ากลายเป็น "โรควิตกกังวล" ถือเป็นความผิดปกติทางจิตชนิดหนึ่ง ทำให้เป็นมากกว่าปกติ และรับมือไม่ค่อยได้ ถ้าอยากก้าวข้ามความวิตกกังวล ต้องอย่าพยายามกำจัดความรู้สึกนี้ แต่หาทางยอมรับและรับมือแทน การรับมือสารพัดความคิดชวนหนักอกหนักใจนี่แหละ คือกุญแจสู่ความสำเร็จในการเอาชนะความวิตกกังวล อย่าปล่อยให้ความวิตกกังวลทำชีวิตคุณพัง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

สำรวจอาการวิตกกังวล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่าเริ่มต้นด้วยการทำร้ายตัวเอง หรือบอกสิ่งที่ไม่ได้ช่วยอะไรเลยแก่ตนเอง เช่น "ฉันจะหยุดมันได้ยังไง" หรือ "ฉันทำไม่ได้แน่ๆ" ทำความเข้าใจว่าคุณสามารถเอาชนะมันได้ และคุณจะทำด้วย [1]
  2. ไม่ว่าจะเกิด panic attack หรืออยู่ๆ ก็เครียดหรือกลัว จุดสำคัญคือต้องหาให้เจอว่าอะไรทำคุณวิตกกังวล เป็นเพราะบรรยากาศรอบตัว? อะไรไม่เป็นไปอย่างที่คิด? หรือกังวลเรื่องกิจกรรม การพบปะ หรือเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น? คุณจะรับมือกับความกลัวได้ง่ายขึ้นอีกเยอะ ถ้ารู้สาเหตุชัดเจน
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    Chloe Carmichael, PhD

    นักจิตวิทยาที่มีใบอนุญาต
    โคลอี้ คาร์ไมเคิลเป็นนักจิตวิทยาที่มีใบอนุญาตซึ่งเปิดการฝึกส่วนตัวโดยเน้นไปที่ประเด็นความสัมพันธ์ การจัดการความเครียดและโค้ชอาชีพได้อย่างประสบความสำเร็จในนิวยอร์ก เธอสำเร็จปริญญาเอกทางจิตวิทยาการรักษาจากมหาวิทยาลัยลองไอส์แลนด์และเป็นผู้เขียนหนังสือติดอันดับขายดีของแอมาซอนเรื่อง Dr. Chloe’s 10 Commandments of Dating
    Chloe Carmichael, PhD
    นักจิตวิทยาที่มีใบอนุญาต

    ระลึกไว้ว่าความวิตกกังวลสามารถเป็นเรื่องดีต่อสุขภาพได้เช่นกัน นักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบอนุญาตอย่างดร. โคลเอ้ คาร์ไมเคิลกล่าวว่า: "บางครั้งคนเราก็ไม่อยากลุกขึ้นจากเตียง มันไ่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอไป บางครั้งมันก็เป็นวิธีที่ธรรมชาติกำลังบอกกับคุณว่าคุณกำลังเผาปลายเล่มเทียนทั้งสองด้านนานเกินไปแล้ว ถึงเวลาควรพักผ่อนสักหน่อย การสามารถจระหนักว่าคุณต้องพักผ่อนแล้วนั้นดีต่อสุขภาพจริงๆ แต่ถ้าเกิดคุณสังเกตว่าตนเองชักมีวันแบบนี้มาก หรือมันชักเกิดบ่อยจนไม่เข้ากับวิถีชีวิต ถ้างั้นคุณอาจต้องคุยกับใครสักคนแล้วล่ะ"

  3. ถ้ารู้แล้วว่าคุณกลัวอะไรอยู่ ขั้นต่อไปคือถามตัวเองว่าเรื่องนี้มีทางแก้ไหม หรือต้องปล่อยให้เวลาเยียวยยา (หรือทำใจเอง) [2] ถ้าสรุปแล้วกลัวไปเอง หรือเป็นเรื่องที่ต้องรอเวลาถึงจะดีขึ้น ก็ต้องตั้งสติ ทำใจให้คลายกังวล แต่ถ้าความกลัวความกังวลนั้นไม่ควรปล่อยไว้ ต้องหาทางจัดการ ก็ให้ทำไปตามขั้นตอน
    • คุณคลายความกลัวหรือความกังวลนี้ได้ยังไงบ้าง?
    • แก้ได้ในระยะสั้นหรือระยะยาว?
    • จะป้องกันยังไง ไม่ให้ความกลัว/กังวลนี้เกิดซ้ำ?
  4. ถ้ากลัวจนขึ้นสมอง ให้หยุดแล้วคิดพิจารณาตามจริง ว่ามันจะเลวร้ายได้สักแค่ไหนกัน เช่น กำลังจะนำเสนอโครงการใหญ่ แล้วเกิดวิตกจริตขึ้นมา ให้หยุดก่อน แล้วคิดว่า “สถานการณ์เลวร้ายที่สุดคืออะไร?” ไม่ว่าคุณจะจินตนาการได้สยองแค่ไหน อย่างน้อยก็พอเห็นภาพ ว่าถ้าเรื่องเลวร้ายนั้นเกิดขึ้นจริงจะรับมือได้สมเหตุสมผลยังไงบ้าง [3]
  5. [4] คงยากจะข่มใจไม่ให้เครียด ถ้าไม่รู้แน่ชัดว่าเรื่องราวจะลงเอยยังไง แต่ขอให้วินาทีนี้ คุณยอมรับให้ได้ก่อน ว่าโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน ไม่มีใครรู้ว่าอะไรจะเกิด หรือเรื่องจะจบยังไง เพราะงั้นเครียดหรือกลัวเรื่องที่อยู่เหนือการควบคุมไปก็ไม่มีประโยชน์อะไรขึ้นมา วิธีแก้ง่ายๆ คือคิดซะว่าเป็นเรื่องของโอกาส กระทั่งดวง ถ้าเรื่องร้ายอาจเกิดได้อย่างที่คุณนึกกลัว เรื่องดีก็อาจเกิดได้เช่นกัน
  6. ถ้าไม่มีที่มาที่ไป คนเราคงไม่เครียดขึ้นมา ความวิตกกังวลจริงๆ แล้วก็คือการตอบสนองต่อความกลัวผลของสิ่งที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือกลัวไปเองในหัวก็ตาม ปัญหามันจะเกิดก็ตอนเราเริ่มเครียดกับสิ่งที่ยังไม่ทันจะเกิด ไม่ทันจะเป็นอันตรายกับเราเลยด้วยซ้ำ เพราะงั้นให้หาว่าเราเครียดไปทำไม เครียดแล้วได้อะไรขึ้นมา? ถ้ากลัวเป็นอันตรายจากเหตุการณ์อะไรก็ตาม ซึ่งก็เกิดขึ้นได้จริง ก็ถือว่าเครียดแล้วเป็นผลดีกับตัวเอง (กันไว้ดีกว่าแก้) แต่ถ้าเครียดไปวันๆ อันนั้นน่าเป็นห่วง ถ้ารู้ตัวว่าเครียดไปก็ไม่ได้ประโยชน์ จะช่วยคลายเครียดได้ระดับหนึ่ง [5]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ลดละเลิกความเชื่อผิดๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาวิตกกังวลเรื่องอะไร แน่นอนว่าปิดตาข้างเดียว เห็นแต่มุมแย่ๆ กันเป็นแถว แต่จริงๆ แล้วก็เหมือนทุกอย่างในโลกนี้ สถานการณ์ตึงเครียดที่คุณกำลังเผชิญก็มีแง่มุมดีๆ เหมือนกัน อย่าพุ่งความสนใจไปที่ด้านลบอย่างเดียว จนไม่คิดจะมองหาจุดดีเล็กๆ ในสถานการณ์นั้นบ้าง [6]
  2. อย่าปิดโอกาสตัวเองด้วยคำว่า "ถ้าไม่เป็นอย่างนี้ละก็ ตายแน่". ไม่ว่าสถานการณ์จะดูเลวร้ายแค่ไหน ผลลัพธ์ไม่ได้มีแค่ขาว/ดำแน่นอน อย่าเอาแต่ดราม่า มองข้ามพื้นที่สีเทาไป มันต้องยอมเสียบางอย่างให้ได้อะไรมาบ้าง จะเสียทั้งหมดหรือได้อย่างเดียวเป็นไปไม่ได้ เช่น ถ้าสอบไม่ติดโรงเรียน/มหาวิทยาลัยที่ต้องการ ชีวิตก็หมดหวังแล้ว เป็นแค่เศษขยะไร้ค่า ความคิดแบบนี้แหละที่คนวิตกจริตเขาคิดกัน ซึ่งไม่สมเหตุสมผลเอาซะเลย [7]
  3. ถ้าเรื่องที่เครียดหรือกลัวอยู่ ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย เป็นอะไรที่คุณนึกกลัวไปเอง มันจะยิ่งหนักข้อถ้าคุณยกระดับเป็นปัญหาโลกแตก อย่างถ้ากลัวการนั่งเครื่องบิน แล้วพอตกหลุมอากาศนิดหน่อยก็เชื่อหมดใจไปเลยว่าเครื่องต้องตกแน่ แบบนี้เท่ากับกำลังทำร้ายตัวเอง ต้องใจเย็นๆ มีสติ แล้วมองทุกอย่างตามจริง อย่าไปใส่สีตีไข่เอง
  4. ถ้ายังไม่รู้แน่ชัด ไม่มีหลักฐาน แถมไม่เคยมีประสบการณ์จริงในเรื่องที่กลัวหรือกังวล ก็อย่าด่วนสรุปว่าสุดท้ายแล้วมันต้องแย่แน่ๆ ถ้าเรื่องที่เครียดเป็นเรื่องไม่แน่นอน ก็ขอให้สบายใจไปได้เปลาะหนึ่ง ว่าไม่มีใครรู้ว่าสุดท้ายอะไรจะเกิดขึ้น อาจจะเป็นเรื่องดีก็ได้ ลองคิดพิจารณาถึงทางที่จะเป็นไปได้หลายๆ ทาง อย่าเหมาไปก่อนว่าต้องแย่ต้องเลวร้ายแน่นอน [8]
  5. [9] พอกลัวจนเครียดเมื่อไหร่ ก็แน่นอนว่าสติแตก ลืมเหตุผลเหลือแต่อารมณ์ และอารมณ์นี่แหละที่จะเข้าครอบงำ หลอกให้คิดว่าเรื่องมันแย่ อันตรายกว่าความเป็นจริง อย่ากลัวจนฝังหัวว่าตัวเองกำลังตกอยู่ในอันตราย เว้นแต่ตั้งสติแล้วเห็นว่าจะมีเรื่องอันตรายเกิดขึ้นจริงๆ สติและเหตุผลช่วยคลายได้ทุกความกลัว/วิตก ที่เกิดจากอารมณ์ลบๆ เช่น ความเครียด รู้สึกผิด และความอาย [10]
  6. เวลาวิตกกังวลขึ้นมาเมื่อไหร่ อย่าโทษตัวเอง เพราะบางเรื่องก็อยู่เหนือการควบคุมของคุณและทุกคน อย่างถ้าวิตกกังวลและกลัวเพราะมีคนงัดบ้าน หลายคนก็ชอบโทษว่าเป็นเพราะตัวเองล็อคบ้านไม่แน่นหนาพอ ความคิดแบบนี้แหละไม่มีประโยชน์ ไม่มีเหตุผล มีแต่จะทำคุณรู้สึกแย่กว่าเดิม เอาไว้รู้ว่าเขาเป็นโจรแล้วยังชวนเข้าบ้าน ค่อยโทษตัวเองก็ยังไม่สาย [11]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

บรรเทาอาการวิตกกังวลด้วยวิธีที่ได้ผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เครียดหรือวิตกกังวลเมื่อไหร่ คนเราจะหายใจสั้นและถี่ขึ้น ทำให้สมองได้ออกซิเจนน้อยลง ทำให้คิดอะไรไม่ถ้วนถี่ ไม่เป็นเหตุเป็นผล ขอให้หยุดแล้วตั้งสติ หายใจเข้า-ออกลึกๆ ให้ถึงท้อง หายใจเข้า 4 วินาที กลั้นไว้ 4 วินาที แล้วค่อยหายใจออกอีก 4 วินาที ทำซ้ำแบบนี้ประมาณ 1 - 2 นาที จะช่วยให้สงบใจได้อย่างรวดเร็ว ถ้าอยากรู้ว่าต้องหายใจลึกแค่ไหน ให้เอามือแนบหน้าท้องไว้ เวลาหายใจต้องรู้สึกว่าท้องพองออกแล้วยุบลง [12]
  2. [13] ไม่ว่าจะเพิ่งเคยวิตกกังวลหรือวิตกกังวลจนเป็นนิสัยแล้ว การออกกำลังกายก็ช่วยได้ทั้งนั้น กิจกรรมที่ต้องออกแรง ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว จะทำให้ร่างกายหลั่งสารเอนดอร์ฟินส์ (endorphins) ออกมา ทำให้มีความสุขขึ้น แถมคอร์ติซอล (cortisol) หรือฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียด ก็ลดน้อยลงด้วย พอเริ่มวิตกกังวลเมื่อไหร่ ให้ออกกำลังกายหรือออกไปเดินเล่นดู นอกจากช่วยบรรเทาอาการวิตกกังวลได้ทันทีแล้ว ถ้าออกกำลังกายเป็นประจำ จะทำให้วิตกกังวลน้อยลงในระยะยาวด้วย [14]
  3. ตั้งสติแล้วดึงความสนใจไปจากต้นเหตุแห่งความเครียด แล้วพุ่งสมาธิหาความสงบในตัวแทน จะช่วยลดความวิตกกังวลและความกลัวที่รุนแรงได้ พอเริ่มเครียดเมื่อไหร่ ให้ดึงสติอยู่กับตัว แล้วสวดมนต์หรือให้กำลังใจตัวเองซ้ำๆ ทำสมาธิไปเรื่อยๆ แล้วเดี๋ยวความกังวลทั้งหลายก็จะสลายเป็นอากาศธาตุไปเอง [15]
  4. อาจจะฟังดูแปลกๆ ว่าอาการวิตกกังวลกับอาหารเช้ามันเกี่ยวกันยังไง แต่บอกเลยว่าอาหารที่กินเข้าไป จะส่งผลใหญ่หลวงกับความคิดและจิตใจน่าดู มีงานวิจัยที่ชี้ว่าการกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ทำให้วิตกกังวลและเครียดกว่าปกติได้ ให้คุณพยายามกินผักผลไม้และธัญพืชเต็มเมล็ดให้มากขึ้นในแต่ละวัน แต่ต้องเช็คก่อนนะ ว่าคุณไม่ได้แพ้อาหารอะไร เดี๋ยวจะเครียดกว่าเดิม อันนี้ใครๆ ก็เป็น [16]
  5. พอแมกนีเซียมเข้าสู่ร่างกายแล้วจะช่วยลดความรุนแรงของอาการวิตกกังวล จาก panic attacks ก็กลายเป็นแค่ความกังวลทั่วๆ ไป ถ้าคุณมีภาวะขาดแมกนีเซียม ก็เป็นไปได้ว่าจะเครียดหรือกังวลง่ายกว่าที่ควร ให้ลองหาอาหารเสริมแมกนีเซียมจากร้านขายยาหรือตามเน็ตมากินดู ว่าสบายหายเครียดขึ้นหรือเปล่า [17]
  6. [18] ไม่ใช่มีแต่ยาที่เป็นสารเคมีอย่างเดียวที่ช่วยคลายความวิตกกังวลได้ สมุนไพรจากธรรมชาติแท้ๆ ก็น่าลอง มีหลายงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ที่ชี้ว่ากินอาหารเสริมจากสมุนไพรอย่าง St. Johns wort, รากวาเลอเรียน (valerian root) และคาโมไมล์ (chamomile) แล้วช่วยคลายความกังวลได้มาก ยังไงลองใช้สมุนไพรพวกนี้ดูก่อน ถ้าไม่ได้ผลค่อยขยับไปใช้ยาแรงๆ [19]
  7. ถ้าถึงขั้นเป็นโรควิตกกังวล ทำยังไงก็ไม่ดีขึ้น ให้พิจารณารับการบำบัดกับผู้เชี่ยวชาญดู ซึ่งไม่ถือเป็นเรื่องผิดปกติแต่อย่างใด เหมือนเวลาเจ็บป่วยตรงไหนแล้วก็ไปให้คุณหมอตรวจดูนั่นแหละ ในเมื่อไม่ได้เจ็บกาย แต่ไม่สบายใจแทน ก็ต้องไปปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตบำบัดนั่นเอง โดยเฉพาะถ้าวิตกกังวลเรื้อรังหรือ panic attack บ่อยๆ ก็ควรไปตรวจรักษากับจิตแพทย์ รับรองจะอาการดีขึ้นด้วยการบำบัดและยาที่เหมาะกับเคสของคุณโดยเฉพาะ [20]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มคาเฟอีนสูง เพราะยิ่งไป กระตุ้น ระบบประสาท กลายเป็นทำคุณ เครียดจัดกว่าเดิม แทนที่จะผ่อนคลาย [21]
  • ลองใช้วิธีธรรมชาติก่อน แล้วค่อยขยับขยายไปใช้ยาคลายเครียด (anti-stress) เพราะตอนใช้น่ะง่าย แต่พอจะเลิกใช้นี่สินาน
  • อาจจะลองใช้น้ำมันหอมระเหยกลิ่นลาเวนเดอร์นิดหน่อย เพราะช่วย ผ่อนคลาย ความตึงเครียดได้ แค่หยดเดียวแถวติ่งหูก็เห็นผลแล้ว [22]
  • หาอะไรที่ทำให้คุณมีความสุข เช่น หนังสือ รายการโทรทัศน์ หนัง หรือเพลง เมื่อไหร่ที่เครียด ให้ฟัง อ่าน หรือดูของพวกนี้
โฆษณา

คำเตือน

  • ถึงจะเป็นยาที่ออกฤทธิ์เจือจางที่สุด ก็ต้องปรึกษาคุณหมอก่อนเท่านั้น เพราะอาจ "ตีกัน" กับยาตัวอื่น
  • วิธีการต่างๆ ที่แนะนำในบทความนี้ใช้แทนยาไม่ได้ 100% เหมาะกับคนที่วิตกกังวลเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าถึงขั้นรุนแรง กลายเป็น phobia หรือโรคหวาดกลัว ต้องปรึกษาคุณหมอเท่านั้น เพราะเครียดและวิตกกังวลหนักๆ เข้า จะอันตรายกับระบบประสาทและความดันโลหิต ถ้าดูแลรักษาช้าไป โรค phobia จะกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง อับอาย ไม่กล้าเข้าสังคม ไปจนถึงขาด ความมั่นใจ ที่จะเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ
  • ถ้าวิธีการทั้งหลายที่ว่ามาไม่ได้ผล เวลาเข้าสังคมแล้วเห็นได้ชัดว่าประหม่า วิตกกังวล ก็แสดงว่าเข้าขั้นเป็นโรควิตกกังวล (anxiety disorder) แบบนี้ต้องได้รับการรักษาโดยบำบัดและใช้ยา ไม่ใช่อาการธรรมดาที่เดี๋ยวก็หายไปเองอีกต่อไป
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,246 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา