ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าคุณเลี้ยงแมว ต้องเคยแน่ที่อยู่ๆ เจอฉี่แมวนองพื้น ฉี่แมวทำพื้นไม้เป็นคราบได้ แถมกลิ่นก็ฉุนน่าดู วิธีป้องกันและทำความสะอาดคราบฉี่แมวจะต่างกันออกไปตามอายุของน้องเหมียวและประเภทของพื้นไม้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ทำความสะอาดพื้นไม้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าแมวเพิ่งฉี่หมาดๆ ให้ใช้ผ้าที่ซึมซับดีเช็ดจนแห้ง โดยกดไว้จนผ้าซับน้ำขึ้นมาหมด ถ้าฉี่เยอะก็ต้องใช้ผ้าหลายๆ ผืน ซับให้แห้งที่สุด
    • หรือใช้กระดาษซับน้ำมันแบบที่ใช้ในครัว แต่ต้องซับหลายแผ่น จนกว่าพื้นจะแห้งสนิท
    • เตรียมผ้าขี้ริ้วไว้เยอะๆ จนกว่าแมวจะเลิกฉี่นอกกระบะทราย
  2. มีน้ำยาหรือสารเคมีหลายอย่างที่ใช้ทำความสะอาด เพราะงั้นต้องลองศึกษาว่าสารเคมีชนิดไหนใช้กับพื้นไม้ของคุณได้ ไม่ทำให้ด่างหรือเสียหาย เลือกได้แล้วก็ต้องทดสอบแค่จุดเล็กๆ บริเวณลับตาก่อน แล้วค่อยจัดการทำความสะอาดคราบฉี่แมว จะได้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นปลอดภัย ไม่ทำพื้นไม้เสียหรือเป็นด่างดวง [1]
  3. ใช้น้ำยาสำหรับทำความสะอาดฉี่สัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ. หลายเว็บแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์อย่าง Nature’s Miracle หรือ Urine Gone โดยเฉพาะอย่างหลังที่กำจัดกลิ่นฉี่โดยเฉพาะ ช่วยป้องกันไม่ให้แมวฉี่ซ้ำที่เดิม แต่จริงๆ ก็ต้องทำความสะอาดตามหลังด้วย เพราะกลิ่นน้ำยาเองก็จะสาบๆ อับๆ หน่อย [2]
  4. แล้วใช้ผ้าขี้ริ้วหรือกระดาษทิชชู่หนาๆ ชุบ เอาไปวางทับบริเวณที่มีคราบฉี่แมว [3] ทิ้งไว้ให้ peroxide ซึมลงคราบประมาณ 1 - 2 ชั่วโมงหรือข้ามคืน แล้วแต่ว่าเลอะมากแค่ไหน [4]
    • ระวังอย่าให้ผ้าขี้ริ้วหรือทิชชู่แห้งกรัง ต้องจับดูเป็นระยะ แล้วพรมส่วนผสมเพิ่มตามสมควร หรือเอาพลาสติกวางทับบนคราบอีกทีก็ได้ จากนั้นติดสก็อตเทปทุกด้าน [5]
    • พอผ่านไปหลายชั่วโมง ให้ซับน้ำยาส่วนเกินด้วยวัตถุที่ดูดซึมสูง เช่น เบคกิ้งโซดา หรือทรายแมว ขั้นแรกให้เอากระดาษหรือผ้าออก แล้วเอาเบคกิ้งโซดาโรยให้ทั่วคราบ เลือกใช้อะไรที่ดับกลิ่นและดูดซับความชื้น แต่เบคกิ้งโซดาหรือทรายแมวนี่ล่ะสะดวกสุด [6]
    • พอดูดซับทั้งความชื้นและกลิ่นแล้ว ก็ถึงเวลาตักเบคกิ้งโซดาทิ้ง แล้วปล่อยให้พื้นบริเวณนั้นแห้ง [7]
  5. ใช้ส่วนผสมที่แรงขึ้น โดยบีบน้ำยาล้างจาน 1 ครั้ง กับโรยเบคกิ้งโซดาใน hydrogen peroxide 3%.
    • ถ้าเป็นคราบเล็กๆ ให้เท peroxide อย่างเดียวที่คราบโดยตรงเลย แล้วคอยสังเกตทุก 10 นาที จากนั้นเช็ดน้ำยาส่วนเกินออกทันทีที่คราบหาย [8]
  6. ใช้น้ำยา peroxide ฟอกสีไม้แบบ 2 ส่วนผสม (two-part peroxide wood bleach) ปกติเรียกว่าน้ำยาฟอกสีไม้แบบ "A/B". เป็นน้ำยาที่มีส่วนผสมของ hydrogen peroxide กับ sodium hydroxide น้ำยาชนิดนี้จะกัดสีไม้ ซึ่งถือเป็นข้อเสียที่ชัดเจนที่สุด
    • เวลาใช้น้ำยาฟอกสีไม้ 2 ส่วนผสมต้องระวังมากๆ ต้องผสม 2 น้ำยาเข้าด้วยกัน เพราะงั้นต้องศึกษาคำเตือนและขั้นตอนในการใช้งานข้างฉลากให้ละเอียด เพราะเป็นสารเคมีที่แรงมาก ต้องสวมถุงมือยางและหน้ากากกันสารพิษก่อนลงมือ รวมถึงเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทด้วย
  7. เจือจางน้ำส้มสายชูกลั่นขาว 25 - 30% ในน้ำอุ่น ใช้แทนน้ำยาทำความสะอาดสำเร็จรูปได้. น้ำส้มสายชูจะไปปรับแอมโมเนียที่ทำให้ฉี่แมวมีกลิ่นฉุนให้เป็นกลาง ถือว่าปลอดภัยและดีต่อสิ่งแวดล้อมกว่าการใช้สารเคมีแรงๆ
  8. คราบฉี่เก่าอาจซึมลึกเข้าเนื้อไม้ จะแก้คราบและกลิ่นได้ต้องขัดเนื้อไม้และลงสีย้อมไม้ใหม่ ให้ใช้กระดาษทรายขัดพื้นแล้วทาสีย้อมไม้ด้วยแปรง [9]
    • ปรึกษาช่างหรือผู้รู้ว่าควรใช้กระดาษทรายแบบไหนถึงจะดีต่อเนื้อไม้ที่ใช้ รวมถึงพิจารณาจากคราบฉี่ว่าซึมลึกแค่ไหน
    • เลือกสีย้อมไม้ให้ใกล้เคียงกับพื้นของคุณ [10]
    • สอบถามบริษัทที่คุณซื้อไม้มา เพราะบางที่ก็มีสีย้อมไม้ “แบบปากกาแต้ม” ในกรณีที่ไม้เป็นด่างดวงแค่จุดเล็กๆ [11]
    • เคลือบสีไม้อีกชั้นหลังทำความสะอาดและลงสีย้อมไม้แล้ว จะได้ป้องกันไม่ให้น้ำหรืออะไรซึมลงไปใต้พื้นอีก [12]
  9. ถ้าคราบเก่าฝังลึก ก็อาจต้องทำตามขั้นตอนที่ว่าหลายรอบหน่อย [13] ถ้าได้กลิ่นฉี่แมวแต่หาต้นตอไม่เจอ ให้ลองส่องด้วย black light เพราะบางทีคราบฉี่ก็ซึมลึกไปใต้พื้นไม้ หนักหน่อยอาจถึงขั้นต้องรื้อแล้วปูพื้นกันใหม่ ถ้าเป็นแบบนั้นเสร็จแล้วก็ต้องเคลือบผิวด้วย [14]
    • ใช้น้ำยาดับกลิ่นตามร้านขายของใช้สัตว์เลี้ยง เลือกที่มีเอนไซม์ จะได้กำจัดแบคทีเรียตกค้าง [15]
    • เช็คให้ชัวร์ว่าไม่หลงเหลือกลิ่นตกค้าง ไม่งั้นแมวจะมาฉี่ซ้ำที่เดิม [16]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ป้องกันไม่ให้แมวฉี่เรี่ยราด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ฉี่แมวมี 2 ประเภท อย่างแรกก็ขับถ่ายของเสียตามปกติ แต่อย่างที่สองคือพ่นฉี่กำหนดอาณาเขต [17] เวลาแมวขับถ่าย มักเลือกพื้นราบ เพราะงั้นพื้นของคุณนี่แหละสุดยอดในสายตาของแมว
    • ถ้าเลี้ยงแมวไว้ในบ้านหลายตัว ต้องแยกพื้นที่อยู่อาศัยกับพื้นที่ขับถ่ายของแมวให้ชัดเจน [18]
  2. แมวจะฉี่เรี่ยราดเพื่อกำหนดอาณาเขตถ้ารู้สึกหวงถิ่น ถูกคุกคาม เวลา "พ่นอาณาเขต" แมวจะยกก้นสูงชูหาง แล้วพ่นฉี่เป็นฝอยใส่พื้นที่แนวตั้ง เช่น ผนังห้อง [19]
    • บางทีแมวก็พ่นอาณาเขตเพื่อประกาศให้แมวเพศตรงข้ามรู้ว่าพร้อมผสมพันธุ์ ถ้าพาแมวไปทำหมันก็จะตัดปัญหานี้ไปได้ [20]
    • ปิดหน้าต่าง ประตู มู่ลี่ แมวที่เลี้ยงในบ้านแบบปิดจะได้ไม่เห็นแมวจรจัดหรือแมวเพื่อนบ้านจนรู้สึกถูกคุกคาม ถ้าแมวในบ้านยังเห็นแมวนอกบ้าน ก็แน่นอนว่าต้องขยันพ่นอาณาเขต [21]
    • ถ้าเพิ่งย้ายที่อยู่ต้องระวังเป็นพิเศษ ถ้าแมวฉี่เรี่ยราดต้องหาให้เจอแล้วแก้ไขก่อนแมวจะติดนิสัย [22]
    • ติดเซนเซอร์จับการเคลื่อนไหวไว้ที่หัวฉีดรดน้ำในสนามหญ้า กับข้างหน้าต่างหรือประตู เพื่อป้องกันแมวจรจัดหรือแมวเพื่อนบ้านไม่ให้มายุ่มย่ามในบ้านคุณ [23]
  3. แมวเป็นพวกบ้าความสะอาดแถมเรื่องมาก เพราะงั้นกระบะทรายต้องสะอาดและใช้ง่าย แมวถึงจะไม่ไปฉี่เรี่ยราดตามพื้น ให้เลือกกระบะทรายที่ใหญ่กว่าช่วงตัวแมวประมาณ 1 ½ เท่า [24] หรือก็คือกว้างพอที่แมวจะกลับตัวตอนทำธุระในนั้นได้
    • อย่าใช้กระบะทรายแบบมีหลังคา เพราะแมวจะรู้สึกอึดอัด แถมกักกลิ่นไว้ข้างใน เพราะอากาศไม่ถ่ายเท ทรายแมวเลยแฉะ [25] ถ้าเลี้ยงแมวไว้หลายตัว จะทำให้แมวรู้สึกไม่ปลอดภัยตอนใช้กระบะทราย เพราะไม่มีทางหนีทีไล่ แมวเลยเลี่ยงไม่ใช้กระบะทรายเพราะกลัวถูกซุ่มโจมตี [26]
    • ขอบกระบะทรายต้องไม่สูงเกินจนแมวเข้า-ออกลำบาก โดยเฉพาะถ้าบ้านไหนมีแมวแก่ [27]
  4. แมวทุกตัวต้องมีกระบะทรายประจำตัว บวกกระบะสำรองอีกหนึ่ง. จำง่ายๆ คือ แมว 1 ตัว = 2 กระบะ, แมว 3 ตัว = 4 กระบะ แบบนี้ไปเรื่อยๆ
    • ถ้าบ้านมีหลายชั้น ต้องมีกระบะทรายชั้นละกระบะ คิดง่ายๆ ถ้าเป็นคุณ อยู่ชั้น 5 จะยอมถ่อลงไปเข้าห้องน้ำที่ชั้น 1 ไหม?
  5. หรือก็คืออยู่ในมุมที่แมวใช้สะดวก อย่าเลือกวางกระบะทรายตามความสวยงาม เพราะแมวอาจไม่ปรับตัวตาม ถ้าแมวชอบฉี่ซ้ำที่เดิม ก็เอากระบะทรายวางตรงจุดนั้นซะเลย แล้วค่อยขยับไปเรื่อยๆ จนถึงจุดที่คุณต้องการ [28]
    • เลือกตำแหน่งที่แมวใช้สะดวก รู้สึกปลอดภัย อย่าวางกระบะทรายใกล้ชามน้ำชามอาหาร ในมุมมืด อับชื้น ยิ่งในตู้ปิดหรือใกล้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่แมวกลัวยิ่งไม่ได้ใหญ่ [29]
    • บ้านไหนเลี้ยงแมวหลายตัว ต้องมีกระบะทรายสำรองตามมุมต่างๆ ของบ้าน แต่อย่าเรียงไว้ในห้องเดียวกันหมด เพราะแมวคงไม่อยากประจันหน้ากันทุกครั้งที่ใช้กระบะทราย [30] ให้จัดวางกระบะทรายตามจุดต่างๆ ที่แมวแต่ละตัวชอบ
    • จำนวนกระบะทรายต้องเท่ากับจำนวนแมวในบ้าน แล้วบวกกระบะสำรองไปอีกหนึ่ง หรือถ้ามีแมวตัวเดียวแต่อยู่ในบ้านหลายชั้น ก็ต้องจัดวางกระบะทรายชั้นละ 1 กระบะ [31]
  6. อย่างน้อยต้องเก็บก้อนอึฉี่ 2 ครั้งต่อวัน และล้างทำความสะอาดทั้งกระบะ 1 ครั้งต่อเดือน ถ้าไม่ได้ใช้ทรายแมวแบบโดนอึฉี่แล้วจับตัวเป็นก้อนได้ ก็ต้องล้างกระบะทรายทุกอาทิตย์แทน [32]
    • น้ำยาทำความสะอาดกลิ่นแรงๆ ก็ทำให้แมวขยาดจนเลิกใช้กระบะทรายได้เหมือนกัน เพราะงั้นเวลาล้างกระบะทรายให้ผสมน้ำยาฟอกขาวในน้ำร้อนจนเจือจางมากๆ หรือใช้น้ำยาล้างจานที่เจือจางแล้วเช่นกัน [33]
    • เลือกทรายแมวให้เหมาะสม แมวชอบทรายที่ไม่แต่งกลิ่น เหยียบแล้วนุ่มละเอียดเหมือนทรายจริง เพราะต้องขุดและกลบได้ [34] ที่แมวไม่ชอบทรายแต่งกลิ่นเพราะจมูกไวมาก แค่นิดเดียวก็ฉุนไป
    • มีงานวิจัยที่ชี้ว่าแมวส่วนใหญ่ชอบ clay litter หรือทรายแมวเม็ดใหญ่ จับตัวเป็นก้อนได้ ไม่แต่งกลิ่น และผสมถ่านกัมมันต์ (activated charcoal) [35]
    • ทรายแมวในกระบะต้องชั้นหนาพอ คือประมาณ 3 นิ้ว (8 ซม.) ให้เปลี่ยนทรายทุกครั้งที่ล้างกระบะ [36]
    • ทาสแมวสมัยนี้เริ่มสนใจใช้ "ห้องน้ำแมวอัจฉริยะ" กัน จะเป็นแบบเสียบปลั๊กและทำความสะอาดตัวเองได้ แต่จริงๆ ต้องศึกษาให้ดีเพราะมีข้อเสียเหมือนกัน เช่น อุดตันง่ายหรือทำแมวกลัว ที่สำคัญคือไม่ทันสังเกตสุขภาพแมวผ่านก้อนอึฉี่ เพราะเครื่องจะกรองออกไปหมด [37]
  7. มีหลายเรื่องทำแมวเครียดจนพาลไม่ยอมใช้กระบะทราย เช่น ย้ายบ้าน ทำบ้านใหม่ เลี้ยงแมวหลายตัว กระทั่งมีอะไรในบ้านเปลี่ยนแปลงปุบปับ ให้สังเกตปัจจัยแวดล้อมพวกนี้แล้วแก้ไข แมวจะได้สบายใจ รู้สึกปลอดภัยในอาณาเขตของตัวเอง [38]
    • ถ้าเลี้ยงแมวไว้หลายตัว ต้องสังเกตพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของแมวในบ้าน เพราะถ้าตัวไหนไม่ถูกกันอาจทำแมวเครียดจนฉี่เรี่ยราดหรือพ่นอาณาเขตได้ โดยเฉพาะแถวกระบะทราย แบบนี้แมวตัวอื่นก็จะเชื่อมโยงไปในทางไม่ดี ไปขับถ่ายข้างนอกแทน [39]
    • อย่าทำโทษแมวเพราะฉี่เรี่ยราด ถ้าตะคอกหรือตีแมวจะกลัวคุณ เข้าใจผิดว่าถูกดุเพราะฉี่ ให้พยายามหาสาเหตุดีกว่าว่าทำไมแมวฉี่นอกกระบะทราย [40]
  8. คุณหมอจะตรวจร่างกายและตรวจฉี่แมวเพื่อหาสาเหตุของการฉี่นอกกระบะทราย ว่าเป็นเพราะปัญหาสุขภาพหรือเปล่า การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะกับโรคไตคือสาเหตุยอดนิยมที่ทำพฤติกรรมการขับถ่ายของแมวเปลี่ยนไป [41]
    • แมวแก่ก็ทำให้มีปัญหาด้านการขับถ่ายเช่นกัน ยิ่งแมวแก่ ฉี่ก็ยิ่งกลิ่นฉุน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เบคกิ้งโซดาช่วยดับกลิ่นได้ แต่ไม่ได้ช่วยขจัดคราบ
  • ถ้าจำเป็นต้องรื้อแล้วปูพื้นใหม่ ปล่อยเป็นหน้าที่ช่างที่เขาเชี่ยวชาญจะดีกว่า
  • จะใช้น้ำยาหรือผลิตภัณฑ์ไหนต้องอ่านคำเตือนและคำแนะนำการใช้งานให้ดี จะได้ปลอดภัยทั้งคุณและแมว
โฆษณา

คำเตือน

  • Hydrogen peroxide เองก็กัดสีไม้ลอกได้เหมือนกัน เพราะงั้นต้องเช็ด hydrogen peroxide ให้แห้งสนิทหลังราดบนแผ่นไม้ที่เคลือบเงาไว้ ไม่งั้นพื้นไม้จะด่างเป็นวงขาวขุ่นได้
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • Hydrogen Peroxide
  • สีย้อมไม้
  • น้ำยาขจัดกลิ่นสัตว์เลี้ยง
  • กระดาษทราย
  • ปากกาย้อมสีไม้
  • น้ำส้มสายชูกลั่นขาว
  • ผ้าขี้ริ้ว
  • ทิชชู่หนาๆ หรือทิชชู่ซับน้ำมัน
  • แผ่นพลาสติกสำหรับคลุม
  • สก็อตเทป
  1. http://www.oldhouseweb.com/how-to-advice/best-solutions-for-removing-old-pet-urine-stains-from-hardwood-floors.shtml
  2. http://www.howtocleanstuff.net/how-to-remove-pet-urine-from-hardwood-floors/
  3. http://www.petful.com/behaviors/how-to-clean-cat-urine-stains-odors/
  4. http://www.howtocleanstuff.net/how-to-remove-pet-urine-from-hardwood-floors/
  5. http://www.petful.com/behaviors/how-to-clean-cat-urine-stains-odors/
  6. http://www.petful.com/behaviors/how-to-clean-cat-urine-stains-odors/
  7. http://www.petmd.com/cat/slideshows/training/top-ten-ways-to-stop-peeing-outside-litter-box
  8. http://www.petmd.com/cat/slideshows/training/top-ten-ways-to-stop-peeing-outside-litter-box
  9. http://www.petmd.com/cat/slideshows/training/top-ten-ways-to-stop-peeing-outside-litter-box
  10. http://www.petmd.com/cat/slideshows/training/top-ten-ways-to-stop-peeing-outside-litter-box
  11. https://www.aspca.org/pet-care/virtual-pet-behaviorist/cat-behavior/urine-marking-cats
  12. https://www.aspca.org/pet-care/virtual-pet-behaviorist/cat-behavior/urine-marking-cats
  13. http://www.petmd.com/cat/slideshows/training/top-ten-ways-to-stop-peeing-outside-litter-box
  14. https://www.aspca.org/pet-care/virtual-pet-behaviorist/cat-behavior/urine-marking-cats
  15. http://www.catbehaviorassociates.com/some-common-reasons-why-cats-stop-using-the-litter-box/
  16. http://www.catbehaviorassociates.com/some-common-reasons-why-cats-stop-using-the-litter-box/
  17. http://www.catbehaviorassociates.com/some-common-reasons-why-cats-stop-using-the-litter-box/
  18. http://www.petmd.com/cat/slideshows/training/top-ten-ways-to-stop-peeing-outside-litter-box
  19. http://www.petmd.com/cat/slideshows/training/top-ten-ways-to-stop-peeing-outside-litter-box
  20. http://www.catbehaviorassociates.com/some-common-reasons-why-cats-stop-using-the-litter-box/
  21. http://www.catbehaviorassociates.com/some-common-reasons-why-cats-stop-using-the-litter-box/
  22. http://www.petmd.com/cat/slideshows/training/top-ten-ways-to-stop-peeing-outside-litter-box
  23. http://www.petmd.com/cat/slideshows/training/top-ten-ways-to-stop-peeing-outside-litter-box
  24. http://www.catbehaviorassociates.com/some-common-reasons-why-cats-stop-using-the-litter-box/
  25. http://www.catbehaviorassociates.com/some-common-reasons-why-cats-stop-using-the-litter-box/
  26. http://www.petmd.com/cat/slideshows/training/top-ten-ways-to-stop-peeing-outside-litter-box
  27. http://www.catbehaviorassociates.com/some-common-reasons-why-cats-stop-using-the-litter-box/
  28. http://www.catbehaviorassociates.com/some-common-reasons-why-cats-stop-using-the-litter-box/
  29. http://www.catbehaviorassociates.com/some-common-reasons-why-cats-stop-using-the-litter-box/
  30. http://www.petmd.com/cat/slideshows/training/top-ten-ways-to-stop-peeing-outside-litter-box
  31. http://www.catbehaviorassociates.com/some-common-reasons-why-cats-stop-using-the-litter-box/
  32. http://www.petmd.com/cat/slideshows/training/top-ten-ways-to-stop-peeing-outside-litter-box

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,022 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา