ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เวลาน้องหมาน้องแมวอ้วกใส่พรม เจ้าของอย่างเราต้องไหวตัวทัน รีบกำจัดกองอ้วก ลดโอกาสการเกิดคราบฝังแน่น [1] กรดในอ้วกของสัตว์เลี้ยงทำร้ายเส้นใยของพรมได้ แต่ก็ทำความสะอาดได้ไม่ยากด้วย 2 - 3 วิธีในบทความวิกิฮาวนี้ ถ้าใช้น้ำยาขจัดคราบอ้วกโดยเฉพาะได้ (ทั้งแบบทำเองและสำเร็จรูป) จะดีที่สุด แต่ถ้าเป็นคราบฝังแน่น คงต้องใช้เครื่องซักพรมแทน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ใช้น้ำยาผสมเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เก็บอ้วกออกจากพรมให้ได้มากที่สุด โดยใช้ทิชชู่ซับน้ำมันแผ่นหนาๆ. [2] พับทิชชู่แห้ง 1 - 2 แผ่น แล้วขยุ้มกองอ้วกขึ้นมา แต่ระวังอย่าบี้เศษอ้วกลงไปกับพรม เพราะจะเป็นคราบฝังแน่นในเส้นใยได้
  2. เติมน้ำเย็นใส่ขวดสเปรย์ แล้วฉีดพ่นบริเวณที่เป็นคราบ ใช้ผ้าขนหนูกดซับคราบอ้วก จนไม่เหลือเศษอ้วก และพรมไม่เปียกชื้น [3] แต่ละครั้งที่กดซับ ต้องสลับไปใช้ด้านที่ยังสะอาดของผ้า หรือเปลี่ยนผ้าผืนใหม่ ถ้าคราบกินบริเวณกว้าง
  3. ผสมเกลือ 1 ช้อนโต๊ะในน้ำอุ่น 2 ถ้วยตวง . [4] พอเหลือแต่คราบจางๆ แล้ว ก็ถึงเวลาผสมน้ำยาทำความสะอาดพรมใช้เอง ขั้นแรกให้อุ่นน้ำ 2 ถ้วยตวง โดยเทน้ำใส่ถ้วยหรือชามทนความร้อนใบใหญ่แล้วเอาใส่ไมโครเวฟ จากนั้นผสมเกลือ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วคนให้เกลือละลายจนเข้ากัน
  4. เติมน้ำส้มสายชูกลั่นขาว ½ ถ้วยตวง น้ำยาซักผ้า 1 ช้อนโต๊ะ และแอลกอฮอล์ล้างแผล 2 ช้อนโต๊ะ. ใส่ส่วนผสมที่ว่าในน้ำที่ผสมเกลือแล้ว จากนั้นคนให้เข้ากันในชามหรือถ้วย
  5. ให้จุ่มฟองน้ำในน้ำยาซ้ำๆ จนชุ่ม แล้วใช้ทำความสะอาดคราบที่พรม ย้ำว่าถ้าคราบกินวงกว้าง ก็ต้องใช้ฟองน้ำมากกว่า 1 อัน
  6. เช็ดทั้งอ้วกและคราบด้วยฟองน้ำที่ชุบน้ำยาแล้ว โดยเช็ดสั้นๆ เร็วๆ ทุกครั้งที่เช็ด พยายามล้างหรือสลับไปจุดที่สะอาดของฟองน้ำ
    • ทุกครั้งที่เช็ดคราบด้วยฟองน้ำ จะมีอ้วกติดไป และคราบจะจางลงเรื่อยๆ
    • ถ้าสกปรกมาก ให้ล้างฟองน้ำในอ่างล้างจานด้วยน้ำอุ่น
    • ทางที่ดีฟองน้ำที่เช็ดอ้วกสัตว์เลี้ยงแล้วให้ทิ้งไปเลย
  7. [5] พอขจัดคราบอ้วกเรียบร้อยแล้ว ให้โรยด้วยเบคกิ้งโซดาให้ทั่วทั้งบริเวณที่เพิ่งทำความสะอาด เพื่อกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์จากพรม แถมช่วยให้พรมแห้งเร็วขึ้น
  8. อาจจะต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงหน่อย กว่าเบคกิ้งโซดาที่พรมจะแห้ง หลังจากแห้งแล้วจะจับตัวเป็นก้อนเพราะดูดความชื้นขึ้นมา [6] ระหว่างทำความสะอาด ต้องกันไม่ให้สัตว์เลี้ยงเข้ามายุ่มย่าม พอแห้งแล้วให้รีบดูดฝุ่นกำจัดเบคกิ้งโซดา
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ใช้น้ำยาทำความสะอาดพรม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้ทิชชู่ซับน้ำมันแผ่นหนา เก็บอ้วกออกจากพรมให้ได้มากที่สุด. [7] พับทิชชู่แห้ง 1 - 2 แผ่น แล้วขยุ้มกองอ้วกขึ้นมา แต่ระวังอย่าบี้เศษอ้วกลงไปกับพรม ถ้าอ้วกเยอะเป็นกอง จะใช้ช้อนหรือมีดช่วยด้วยก็ได้
  2. [8] กดซับคราบอ้วก จนไม่เหลือเศษอ้วก และพรมไม่เปียกชื้น แต่ละครั้งที่กดซับ ต้องสลับไปใช้ด้านที่ยังสะอาดของผ้า หรือเปลี่ยนผ้าผืนใหม่ ถ้าคราบกินบริเวณกว้าง
  3. เพื่อดูดซับความชื้นที่เหลือ นอกเหนือจากด้านบนของพรม พยายามโรยเบคกิ้งโซดาหรือแป้งข้าวโพดให้ทั่วถึง
  4. แห้งแล้วให้ดูดฝุ่นกำจัดเบคกิ้งโซดาหรือแป้งข้าวโพด. กว่าเบคกิ้งโซดาหรือแป้งข้าวโพดจะแห้ง ก็ประมาณ 2 ชั่วโมง หลังจากแห้งแล้วจะจับตัวเป็นก้อนเพราะดูดความชื้นขึ้นมา พอแห้งแล้วให้รีบดูดฝุ่นกำจัดเบคกิ้งโซดาหรือแป้งข้าวโพด อย่าให้เหลือเศษ
  5. [9] น้ำยาแบบนี้จะรวมอยู่กับน้ำยาทำความสะอาดอื่นๆ ในชั้นซูเปอร์ใหญ่ๆ หรือในร้านขายของใช้สัตว์เลี้ยง แต่ย้ำว่าต้องอ่านฉลากให้ดีว่ามีเอนไซม์ เพราะจะไปทำให้โปรตีนของกลิ่นแตกตัว ขจัดกลิ่นได้แบบเห็นผล และขจัดคราบได้ดี ได้น้ำยาแล้วให้ฉีดพ่นจนคราบแฉะ
  6. ที่ฉลากของน้ำยาอาจแนะนำให้ทิ้งไว้นานหรือน้อยกว่านั้น ก็ต้องศึกษาวิธีการใช้งานที่ฉลากให้ดี แต่ปกติฉีดพ่นแล้วทิ้งไว้ 1 - 2 ชั่วโมงก็ขจัดคราบและกลิ่นได้แล้ว
  7. [10] แยกห้องเลยก็ดีระหว่างทำความสะอาด พอน้ำยาแห้งสนิทแล้ว พรมก็กลับมาใช้งานได้ตามปกติ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ใช้เครื่องซักพรม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. [11] คราบบางชนิดก็ซึมลึกจนกำจัดด้วยน้ำยาผสมเองหรือกระทั่งน้ำยาทำความสะอาดสำเร็จรูปไม่ได้ ต้องพึ่งเครื่องซักพรมโดยเฉพาะถึงจะเอาอยู่ ง่ายกว่านั้นคือใช้บริการบริษัทรับทำความสะอาดพรม อีกทีคือซื้อหรือเช่าเครื่องซักพรมมาขจัดคราบเอง บริษัทที่ขายหรือให้เช่าเครื่อง ปกติจะมีน้ำยาเฉพาะที่ต้องใช้คู่กันด้วย [12]
    • ตามปกติเครื่องจะขายอยู่ที่ประมาณ 10,000 กว่าบาทขึ้นไปจนถึงหลายหมื่น ส่วนค่าเช่านั้น ต้องลองสอบถามบริษัทที่ให้บริการดู เพราะจะแตกต่างกันไป [13]
    • ถ้าใช้ไม่เป็นหรือกลัวทำอะไรผิดพลาด ปรึกษาบริษัทรับทำความสะอาดพรมโดยเฉพาะจะปลอดภัยกว่า
    • หาคนช่วย เพราะต้องย้ายเฟอร์นิเจอร์และใช้เครื่องซักพรมที่ค่อนข้างจะใหญ่ ใช้งานคนเดียวยาก
  2. [14] ปกติบริษัทที่ขายหรือให้เช่าเครื่องซักพรม จะมีน้ำยาเฉพาะแนะนำหรือขายคู่กันอยู่แล้ว ก็ให้ซื้อไปตามนั้น จะสะดวกและปลอดภัยกว่า
  3. เคลียร์พื้นที่ อย่าให้เฟอร์นิเจอร์หรืออะไรมากีดขวาง. พอได้เครื่องซักพรมแล้ว ให้เคลียร์พื้นที่ก่อนลงมือทำความสะอาด อย่าลืมว่าซักพรมแล้วต้องทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมงจนพรมแห้ง เพราะงั้นต้องขยับเฟอร์นิเจอร์ไปไว้ที่อื่นระหว่างนั้น
  4. [15] ส่วนใหญ่เครื่องซักพรมจะเป็นการขจัดคราบด้วยไอร้อน (water extraction unit หรือ steam cleaner) คือพ่นน้ำยาออกมาใส่พรม แล้วสกัดคราบสกปรกกลับเข้าไปในเครื่อง ขั้นแรกคือต้องเติมน้ำยาในถังของเครื่องซะก่อน
    • บางทีก็มีถังที่ 2 ไว้ใส่น้ำสะอาด
    • ปกติเครื่องซักพรมจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่น เพราะงั้นให้อ่านคู่มือก่อนลงมือใช้จริง
    • ถ้าคราบกินวงกว้าง ควรเปลี่ยนน้ำยาที่สกปรกแล้วก่อนเริ่มทำความสะอาดต่อ
  5. ทดสอบทำความสะอาดจุดเล็กๆ ของพรมก่อน ว่าพรมจะไม่ด่าง. [16] ให้ทดสอบน้ำยาซักพรมแค่จุดเล็กๆ ที่ไม่เป็นที่สังเกตก่อน โดยเปิดเครื่องแล้วไถแค่สั้นๆ จากนั้นปิดเครื่อง แล้วเช็คว่าพรมสะอาดดี สีไม่ตกหรือด่างดวง พอน้ำยาโดนพรมแล้วให้รอ 2 - 3 นาที ถ้าพรมปกติดี แสดงว่าปลอดภัย ใช้ต่อได้เลย
  6. เสียบปลั๊กในห้องนั้นแล้วเริ่มเดินเครื่อง ให้ไถไปตรงๆ ขึ้นและลงตามแนวของห้อง [17] ให้ไถในความเร็วประมาณ 2 ฟุต (60 ซม.) ต่อวินาที [18] ปกติแค่ไถผ่านครั้งเดียวก็ไม่เหลือคราบแล้ว ไม่แนะนำให้ไถซ้ำๆ
  7. เติมน้ำยาใหม่ในถัง และกำจัดน้ำยาที่สกปรก ถ้าจำเป็น. [19] ถ้าน้ำยาในถังเริ่มสกปรก ให้ถอดถังมาเทน้ำยาทิ้ง จากนั้นเติมน้ำยาใหม่แล้วทำความสะอาดพรมต่อ แต่ถ้าห้องเล็ก คราบไม่กินวงกว้าง ก็รอบเดียวเสร็จ
  8. พอไถบริเวณที่เป็นคราบครั้งหนึ่งแล้ว ให้ปิดเครื่อง ถอดปลั๊ก แล้วเทน้ำยาทั้งสะอาดและสกปรกทิ้ง
  9. เปิดหน้าต่างหรือประตูเพื่อให้พรมแห้งเร็วขึ้น. [20] ถ้าอากาศร้อนจัด จะเปิดแอร์ช่วยด้วยก็ได้ แต่ถ้าอากาศข้างนอกเย็นสบาย ลมโกรกดี ก็ไม่เป็นไร ปกติประมาณ 24 ชั่วโมงพรมก็แห้งสนิทแล้ว
  10. ถ้าเช่าเครื่องมา พอใช้งานเสร็จก็ส่งคืนบริษัทได้เลย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ต้องรีบโกยอ้วกจากพรมให้เร็วที่สุด จะลดโอกาสการเกิดคราบได้
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • เบคกิ้งโซดา
  • ทิชชู่ (ทิชชู่ซับน้ำมันแผ่นหนา) 1 ม้วน
  • น้ำส้มสายชู
  • แอลกอฮอล์ล้างแผล
  • เกลือ
  • ขวดสเปรย์
  • น้ำ
  • เครื่องทำความสะอาดพรมโดยเฉพาะ (เครื่องซักพรม)
  • น้ำยาทำความสะอาดพรม

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,687 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา