ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าเราสับสน คิดไม่ออกว่าจะดำเนินชีวิตไปทางไหนดี นี้เป็นอาการที่แสดงให้เห็นว่าถึงเวลาที่เราต้องหยุดลังเลและเริ่มทำอะไรสักอย่างเสียที เราอาจเริ่มรู้สึกแล้วว่าการเดินไปข้างหน้านั้นง่ายกว่าที่คิด แต่เราต้องเริ่มจากเปลี่ยนแปลงชีวิตด้วยการเลิกยึดติดความสมบูรณ์แบบและตั้งเป้าหมายให้ตนเองก่อน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ตั้งเป้าหมายที่ทำได้จริง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำสิ่งที่เราทำได้ในตอนนี้ ถ้ารู้ตัวว่าวิ่งเกิน 1.6 กิโลเมตรไม่ไหว ก็ให้เริ่มวิ่งในระยะทางที่เราวิ่งได้ก่อน ฉะนั้นแทนที่จะพูดว่า “ฉันจะเริ่มวิ่ง 6.4 กิโลเมตรวันพรุ่งนี้” ให้พูดว่า “ฉันจะวิ่ง 1.6 กิโลเมตรวันพรุ่งนี้ และฉันจะพยายามวิ่งเพิ่มขึ้นทีละนิดทุกวัน” [1]
  2. ถ้าเป้าหมายเราคลุมเครือ เราก็ไม่อาจทำตามเป้าหมายได้สำเร็จมากนัก แต่ถ้าเรากำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนมากขึ้น ด้วยการทำให้เป้าหมายนั้นเป็นอะไรที่วัดได้ เราก็อาจมีโอกาสทำเป้าหมายนั้นให้สำเร็จมากขึ้น วิธีตั้งเป้าหมายแบบสมาร์ต (SMART) นั้นมีประโยชน์ในการกำหนดเป้าหมาย เพราะจะทำให้เราตั้งเป้าหมายได้ชัดเจน วัดได้ สำเร็จได้ เน้นผล และมีกำหนดเวลา ขั้นตอนต่อไปนี้จะเป็นการตั้งเป้าหมายให้ “ชัดเจน” [2]
    • ตัวอย่างเช่น เป้าหมายของเราอาจเป็น “เริ่มวิ่ง 20 นาทีทุกวันเพื่อสุขภาพจะได้ดีขึ้น และก้าวไปสู่การวิ่ง 5 กิโลเมตรให้ได้ในระยะเวลาหนึ่งปี ”
    • แบ่งเป้าหมายให้เป็นขั้นตอนย่อยๆ ถ้าเราตัดสินใจจะวิ่งฮาล์ฟมาราธอนวันพรุ่งนี้ ทั้งๆ ที่เราไม่เคยวิ่งสักครั้งในชีวิต เราก็จะทำไม่สำเร็จ เราต้องเริ่มวิ่งในระยะเวลาที่เราพอจะทำสำเร็จได้จริงๆ ตัวอย่างเช่น บอกตนเองว่าจะวิ่งเป็นเวลา 5 นาที [3]
  3. ตามหลักการตั้งเป้าหมายแบบสมาร์ต เป้าหมายนั้นต้อง “วัดได้”และ “ทำสำเร็จได้” การวัดได้หมายถึงเราเลือกเป้าหมายที่เราสามารถสังเกตเห็นความสำเร็จได้จริงๆ ในตัวอย่างข้างต้น เราตั้งเป้าหมายว่าจะวิ่งให้ได้ 5 กิโลภายในวันที่กำหนด นี้เป็นเป้าหมายที่วัดได้ อีกทั้งยังเล็กพอที่จะทำสำเร็จได้ ถ้าไม่ตั้งเป้าหมายให้เล็กไว้ก่อน เราก็จะทำไม่สำเร็จ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราบอกว่าอยากวิ่งมาราธอนภายในสัปดาห์หน้า เราก็จะทำเป้าหมายนั้นไม่สำเร็จ [4]
  4. นั้นคือ สิ่งที่สำคัญที่สุดของเป้าหมายควรเป็นสิ่งที่เราจะทำสำเร็จในท้ายที่สุด ไม่ใช่วิธีการที่เราจะทำเป้าหมายให้สำเร็จ ในกรณีนี้ เป้าหมายหลักคือการวิ่ง 5 กิโล ไม่ใช่การวิ่งทุกวัน [5]
  5. ถ้าเราไม่กำหนดเวลาในการบรรลุเป้าหมาย เราก็อาจไม่ทำตาม เพราะไม่รู้ว่าจะทำตามเป้าหมายได้สำเร็จเมื่อไร เราต้องกำหนดเวลาในการทำตามเป้าหมายให้สำเร็จด้วยเพื่อจะได้วัดได้ [6]
    • ในกรณีนี้คือ เราให้เวลาตัวเองหนึ่งปีเพื่อทำตามเป้าหมายในการวิ่ง 5 กิโลเมตรให้สำเร็จ
  6. พอเรากำหนดเป้าหมายเป็นรูปเป็นร่างแล้ว ก็ได้เวลาลงมือทำเสียที เริ่มทำตามเป้าหมายย่อยที่เราได้กำหนดไว้เพื่อตัวเอง พยายามทำตามเป้าหมายทุกวัน ถ้าทำได้ [7]
  7. พอเราทำอะไรสำเร็จสักอย่าง ชมเชยตนเองสักหน่อย การบอกตนเองว่าทำได้ดีนั้นเป็นสิ่งที่ดี ถึงแม้เราแค่ทำตามเป้าหมายสำเร็จไปบางส่วนเท่านั้น [8]
  8. เราจะค่อยๆ ไปถึงเป้าหมาย ขณะที่เราทำตามเป้าหมาย เราสามารถเพิ่มเป้าหมายหรือตั้งเป้าหมายใหม่ขึ้นมา ตัวอย่างเช่น ถ้าเราบอกว่าเราวิ่ง 20 นาทีทุกวัน และเราก็วิ่งแบบนี้มาได้สักพักแล้ว ตอนนี้เราอาจเพิ่มเวลาวิ่งเป็น 25 นาทีต่อวันก็ได้ [9]
  9. เมื่อเราทำตามเป้าหมายได้สำเร็จ การให้รางวัลตนเองเป็นสิ่งที่ดี ทำอะไรก็ได้ที่เรามีความสุขที่จะทำ ตั้งแต่อ่านหนังสือไปจนถึงดื่มกาแฟดีๆ สักถ้วย ตัวอย่างเช่น เมื่อเราบอกว่าต้องการวิ่ง 20 นาทีทุกวันเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ พอทำสำเร็จแล้ว ก็ให้รางวัลตนเองเสีย [10]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

เพิ่มความตื่นเต้นให้ตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การลงมือทำนั้นเป็นอะไรที่น่าหวาดกลัว เพราะกิจกรรมนั้นอาจเป็นอะไรที่เราไม่เคยทำมาก่อนและผิดจากที่เราเคยทำมา ฉะนั้นการอยู่ในที่ที่เราอยู่นั้นจึงง่ายกว่าและทำให้รู้สึกดีกว่า แต่เราก็ต้องคิดเหมือนกันว่าถ้าเราไม่ลงมือทำแล้ว อะไรจะเกิดขึ้น นั้นคือถ้าเรายังคงทำอะไรที่เราทำอยู่เสมอต่อไป จะเกิดผลเสียอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น เราจะต้องติดอยู่ในชีวิตแบบเดิมที่เราไม่มีความสุขเลยก็ได้ [11]
    • เอากระดาษขึ้นมาวางไว้บนโต๊ะ เขียนถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นหากเราไม่ลงมือทำ
  2. ตอนนี้เรากำลังคิดถึงสิ่งที่ทำให้เรามีความสุขในช่วงนี้ นี้ไม่ใช่การลงมือทำ เพราะฉะนั้นสบายใจได้ ลองมาดูประโยชน์ระยะยาวกัน จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราลงมือทำ [12]
    • เขียนหัวข้อ “ประโยชน์” ในกระดาษแผ่นเดียวกันนี้ เขียนลงไปว่าเราจะได้รับประโยชน์อะไรบ้างเมื่อลงมือทำ ตัวอย่างเช่น เราอาจเขียนว่า “เริ่มงานใหม่”
  3. ถ้าพบว่าตนเองไม่สามารถตัดสินใจได้เลยว่าจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร เราอาจต้องออกไปลองทำอะไรใหม่ๆ ไปลงเรียน อ่านหนังสือ ลองหางานอดิเรกใหม่ๆ การออกจากความเคยชินและลองทำอะไรใหม่ๆ สามารถช่วยเราให้ลุกขึ้นมาเริ่มชีวิตใหม่ได้ [13]
    • สำหรับแรงขับเคลื่อนในระยะสั้น ให้มองหาพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของผู้คนที่คุณชื่นชม แล้วใช้ข้อมูลนี้เป็นเคล็ดลับว่าจะช่วยผลักดันคุณสู่เป้าหมายได้อย่างไร
    • คิดถึงสิ่งที่คุณชอบในวัยเด็ก นั่นอาจทำให้คุณได้ตระหนักถึงบางสิ่งที่คุณเคยรู้สึกหลงใหลแต่หลงลืมไป คุณจะมีแรงขับเคลื่อนมากขึ้นเมื่อรู้สึกตื่นเต้นในสิ่งที่ตนกำลังทำ
    • คุณยังอาจลองโฟกัสว่าตัวคุณเองจะตอบแทนอะไรคืนแก่โลกได้บ้างเวลาที่คุณกำลังพยายามวางแผนชีวิตในระยะยาว
  4. ถ้าเราไม่สามารถอดทนต่อความไม่แน่นอนใดๆ ในชีวิตได้ เราก็จะเอาแต่ลังเลและพยายามหนีจากความไม่แน่นอนที่เราเผชิญอยู่ ทั้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การเรียนรู้ที่จะอดทนต่อความไม่แน่นอนนั้นดีกว่า เราจะได้สามารถใช้พลังงานที่มีเดินหน้าสู่เป้าหมายได้ [14]
    • เริ่มสังเกตเห็นว่าพฤติกรรมใดที่เราทำเป็นประจำเพื่อจะลดความไม่แน่นอน ตัวอย่างเช่น เราอาจตรวจถ้อยคำในอีเมลสองครั้งก่อนส่งให้เพื่อนเพื่อจะได้มั่นใจว่าไม่มีถ้อยคำไหนเขียนผิด ตกหล่น หรือบางทีเราเพียงแค่ไปร้านอาหารที่เราชอบไปเพราะเกิดไม่อยากลองกินอาหารร้านใหม่ และเราอาจไม่ชอบด้วย พอรู้ว่าเรามีพฤติกรรมแบบนี้ ถ้าต้องเลิกทำพฤติกรรมบางอย่าง ลองเขียนลงไปว่าพฤติกรรมไหนทำให้เรากังวลใจมากที่สุด
    • เริ่มจากพฤติกรรมที่เรากังวลน้อยสุด เริ่มเลิกทำพฤติกรรมหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่างตามที่เราได้เขียนเอาไว้ ลองให้ใครสักคนวางแผนตอนเย็นให้เรา หรือส่งข้อความถึงเพื่อนเรา เราจะได้ไม่ตรวจหาคำผิดถึงสองครั้ง
    • จดบันทึกทุกครั้งที่เราสามารถเลิกพฤติกรรมเหล่านี้ได้สำเร็จ และเขียนความรู้สึกเมื่อเลิกได้สำเร็จ เราอาจเห็นว่าการเลิกพฤติกรรมบางอย่างทำให้เรารู้สึกตื่นเต้นหรือยังคงรู้สึกกังวลอยู่ แต่เราก็น่าจะเห็นว่าผลนั้นยังคงออกมาดี ถึงแม้ทุกอย่างจะไม่ดำเนินไปราบรื่นอย่างที่เราอยากให้เป็นก็ตาม
    • เลิกและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างไปเรื่อยๆ เพื่อให้ยังคงอดทนต่อความไม่แน่นอนได้เสมอ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

เลิกผัดวันประกันพรุ่ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อเราเห็นว่าต้องทำงานซึ่งเราไม่อยากทำ การลงมือทำก็อาจดูเหมือนเป็นอะไรที่หนักหนาได้ แต่ให้เลือกทำงานส่วนที่เกลียดน้อยที่สุดก่อน หรือส่วนที่ง่ายที่สุดสำหรับเราก่อน เราอาจพบอุปสรรคอันใหญ่หลวงเมื่อเริ่มลงมือทำ แต่ในสุดก็จะรู้สึกประสบความสำเร็จ [15]
  2. อย่าคิดว่าตนเองเป็นพวกชอบผัดวันประกันพรุ่ง. ถ้าเราเอาแต่เรียกตนเองว่าเป็นพวกชอบผัดวันประกันพรุ่ง เราก็จะเป็นอย่างนั้นจริงๆ พูดอีกอย่างก็คือถ้าเราคิดว่าตนเองเป็นแบบนั้นอยู่ตลอด เราก็กำลังทำตัวเองให้เป็นแบบนั้นอยู่ ให้พูดแทนว่า “ฉันอยากทำงานให้เสร็จทันเวลาโดยไม่ผัดวันประกันพรุ่ง” [16]
  3. การผัดวันประกันพรุ่งนี้ทำให้เรารู้สึกดีระยะสั้นๆ ถ้าเราได้เห็นผลลัพธ์ของเป้าหมายในระยะสั้น เราก็น่าจะมีแรงบันดาลใจทำตามเป้าหมายต่อไป ตัวอย่างเช่น เราอาจพูดว่าทุกครั้งที่เราไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการวิ่งได้ เราจะอดดูทีวีทั้งที่ปกติเรามักจะได้ดู [17]
  4. การผัดวันประกันพรุ่งมักจะมาพร้อมข้ออ้างมากมาย บางครั้งเราอาจหาข้ออ้างต่างๆ เข้าข้างตนเอง แต่เราต้องกระตุ้นตนเองเมื่อพบว่ากำลังพยายามหลีกเลี่ยงไม่ทำในสิ่งที่ต้องทำ ตัวอย่างเช่น เราอาจพูดว่า “ฉันไม่ได้วิ่งวันนี้ก็จริง แต่ฉันเดินรอบตึกแล้ว แค่นั้นก็น่าจะพอ” จงกระตุ้นเตือนตนเองว่าการเดินรอบตึกไม่ช่วยให้เราบรรลุเป้าหมาย [18]
  5. บ่อยครั้งเมื่อเรากำลังหาเรื่องผัดวันประกันพรุ่ง เราก็มักจะบอกกับตนเองในใจว่าสิ่งที่ต้องทำนี้มันแย่แค่ไหน แต่ถ้าเราบอกตนเองต่างออกไปจากสิ่งที่คิด เราก็อาจรู้สึกว่าพร้อมจะทำงานนั้นมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เราอาจพูดว่า “งานนี้ก็ไม่แย่ขนาดนั้นหรอก” หรือ “ฉันอาจสนุกกับงานนี้ก็ได้” [19]
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

เลิกแสวงหาความสมบูรณ์แบบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความสมบูรณ์แบบแค่หมายถึงเราต้องการให้ทุกๆ สิ่งสมบูรณ์แบบเท่าที่เราจะทำได้เท่านั้น ปัญหาของการคิดแบบนี้คือบางครั้งก็ทำให้เราไม่ได้ลงมือทำ ขั้นแรกคือเราต้องรู้ตัวว่ากำลังพยายามเป็นคนที่สมบูรณ์แบบ พยายามจัดการพฤติกรรมนั้นเสีย และเปลี่ยนความคิดตนเอง [20]
    • เริ่มเขียนลงไปว่าที่ผ่านมาการแสวงหาความสมบูรณ์แบบช่วยเราอย่างไรบ้าง ตัวอย่างเช่น อาจช่วยเราเรียนได้เกรดดีๆ [21]
    • ต่อมาให้เขียนว่ามีอะไรบ้างที่ไม่สมบูรณ์แบบและทำให้เราเจ็บปวด ลองคิดถึงเรื่องที่เลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น เราอาจกลัวว่าเราจะตกงาน เมื่อเขียนความกลัวแต่ละเรื่องลงไป ให้เขียนความจริงที่เราได้ตรวจสอบแล้วลงไปด้วยว่า “ฉันทำผิดพลาดเรื่องเล็กๆ เรื่องเดียวก็ไม่ตกงานนี่” [22]
  2. หยุดคิดว่าถ้าไม่สมบูรณ์แบบแล้วมันแย่ที่สุด. การแสวงหาความสมบูรณ์แบบทำให้เราคิดว่าถ้าเราไม่สามารถทำอะไรให้ออกมาสมบูรณ์แบบได้ เราก็ไม่ควรทำเลย เมื่อเราเกิดคิดว่าบางเรื่องถ้าไม่สมบูรณ์แบบแล้ว เรื่องนั้นแย่ที่สุด ให้ถามตนเองว่าเรากำลังทำให้ตนเองเจ็บหรือช่วยตนเองอยู่กันแน่ [23]
    • ตัวอย่างเช่น เรากำลังทำคุกกี้ไปแจกเด็กในชั้นเรียน ถ้าเราพยายามทำคุกกี้แต่ละชิ้นให้ออกมาสมบูรณ์แบบ แต่ก็ทำไม่ได้จนอยากทิ้งคุกกี้ทุกชิ้นลงถังขยะ จงหยุดและคิดว่าเด็กๆ อยากกินคุกกี้ที่ไม่สมบูรณ์ทุกชิ้น หรือไม่ได้กินคุกกี้เลย
  3. นั้นคือถ้าเราวางคุณค่าของตนเองไว้ในความสำเร็จภายนอกและคำยกย่องสรรเสริญ เราก็อาจจะผิดหวัง ให้ลองมารู้สึกถึงคุณค่าภายในตนเองแทน [24]
    • เขียนลงในกระดาษอีกแผ่น คราวนี้เขียนสิ่งที่เราชอบเกี่ยวกับตนเองอย่างเช่น “เมตตาต่อสัตว์” หรือ “ทุกคนสนุกเมื่อได้อยู่ใกล้”
    • ส่วนหนึ่งของการเห็นคุณค่าความสำเร็จให้น้อยลงคือการเรียนรู้ที่จะรักตนเอง เราต้องฝึกดูแลตนเองเพื่อรักตนเอง การรักตนเองหมายถึงว่าเราเห็นคุณค่าตนเองมากเท่ากับที่เราเห็นคุณค่าคนอื่น และยังหมายถึงว่าเราคุยกับตนเองแบบเดียวกับที่เราคุยกับเพื่อน ใช้น้ำเสียงที่ดีคุยกับตนเอง ตัวอย่างเช่น แทนที่จะพูดว่า “ให้ตายสิ ฉันดูไม่ได้เลยวันนี้” เราอาจพูดว่า “ว้าว ทรงผมของเราดูเท่จังวันนี้” เราต้องเรียนรู้ที่จะเห็นสิ่งดีๆ ในตัวเอง [25]
    • การรักตัวเองยังหมายถึงการยอมรับตนเองอย่างที่เราเป็น เรามีทั้งด้านที่ดีและด้านที่แย่ ทุกคนก็เช่นกัน เราต้องเรียนรู้ทุกด้านเพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของเรา เราจะต้องสามารถรักทุกด้านของเรา แม้แต่ตอนที่เราอยากปรับปรุงตนเองก็ตาม [26]
    โฆษณา


  1. https://www.psychologytoday.com/blog/happiness-purpose/201508/take-action-now
  2. https://www.psychologytoday.com/blog/now-is-everything/201010/what-are-you-waiting-4-steps-begin-taking-bold-action
  3. https://www.psychologytoday.com/blog/now-is-everything/201010/what-are-you-waiting-4-steps-begin-taking-bold-action
  4. http://psychcentral.com/lib/the-self-confidence-formula-for-women/
  5. http://www.anxietybc.com/sites/default/files/ToleratingUncertainty.pdf
  6. https://www.psychologytoday.com/blog/solving-unsolvable-problems/201408/4-steps-stop-procrastinating
  7. http://www.wgu.edu/blogpost/why-it-so-hard-stop-procrastinating-hint-it-doesnt-have-be
  8. https://www.psychologytoday.com/blog/solving-unsolvable-problems/201408/4-steps-stop-procrastinating
  9. http://writingcenter.unc.edu/handouts/procrastination/
  10. http://writingcenter.unc.edu/handouts/procrastination/
  11. http://www.sass.umn.edu/pdfs/II%20Self%20Awareness/Perfectionism/C%204.4.8%20Imperfect%20Look%20at%20Overcoming%20Perfectionism%20%20rev..pdf
  12. http://bsc.harvard.edu/files/perfectionism_strategies_for_change_revised_2014.pdf
  13. http://www.sass.umn.edu/pdfs/II%20Self%20Awareness/Perfectionism/C%204.4.8%20Imperfect%20Look%20at%20Overcoming%20Perfectionism%20%20rev..pdf
  14. http://bsc.harvard.edu/files/perfectionism_strategies_for_change_revised_2014.pdf
  15. http://www.sass.umn.edu/pdfs/II%20Self%20Awareness/Perfectionism/C%204.4.8%20Imperfect%20Look%20at%20Overcoming%20Perfectionism%20%20rev..pdf
  16. http://psychcentral.com/blog/archives/2013/05/23/self-love-is-not-a-crime-learning-to-love-yourself/
  17. http://psychcentral.com/blog/archives/2013/05/23/self-love-is-not-a-crime-learning-to-love-yourself/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,650 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา