ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ขนมปูโตเป็นขนมของประเทศฟิลิปปินส์ที่ทำมาจากแป้งข้าวเจ้าที่เรียกว่า “กาลาปอง” ซึ่งถูกนำไปนึ่ง. นิยมกินกันเป็นอาหารเช้าคู่กับกาแฟหรือโอวัลติน บางคนชอบโรยมะพร้าวขูดบนหน้าและกินกับซุปเลือดหมูที่ชื่อว่า “ดีโนโกอัน” ถ้าอยากรู้วิธีทำขนมปูโตเองแล้วล่ะก็ ไปดูวิธีทำกันเลย

ส่วนประกอบ

  • แป้งข้าวเจ้า 4 ถ้วยตวง
  • น้ำตาลทรายขาว 2 ถ้วยตวง
  • ผงฟู 2.5 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำกะทิ 2 ถ้วยตวง
  • น้ำ 2.5 ถ้วยตวง
  • เนยละลาย 0.5 ถ้วยตวง
  • ไข่ 1 ฟอง
  • เนยแข็งสำหรับโรยหน้า
  • สีผสมอาหาร (ไม่จำเป็น)
  • แป้งมันสำปะหลัง 1 ช้อนโต๊ะ (ไม่จำเป็น)
  1. การร่อนจะช่วยให้ส่วนผสมเข้ากันดี ไม่จับตัวกันเป็นก้อนและเบาขึ้นเพราะมีอากาศแทรกเข้าไป สามารถเทส่วนผสมลงชามผ่านเครื่องร่อนแป้งได้เลย โดยใช้ส้อมขูดตามด้านล่างของเครื่องร่อนเพื่อให้วัตถุดิบร่อนออกมาได้ง่ายขึ้นก็ได้ ผสมให้เข้ากันแล้วพักไว้
    • ถ้าหากไม่มีแป้งข้าวเจ้า จะใช้แป้งเอนกประสงค์แทนก็ได้ เพียงแต่จะไม่ตรงตามแบบดั้งเดิมเท่ากับแป้งข้าวเจ้า
    • ถ้าจริงจังกับการทำขนมปูโตมากๆ ให้ผสมแป้งข้าวเจ้าประมาณ 450 กรัมกับน้ำ 1.5 ถ้วยตวงใส่ชาม หาผ้าหรือแผ่นพลาสติกมาคลุมแล้วปล่อยทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องข้ามคืน
  2. เทเนยละลาย น้ำกะทิ ไข่และน้ำลงในชามแป้ง แล้วผสมให้เข้ากันดี. โดยใช้ไม้พาย ตะกร้อมือหรือที่ตีไข่ไฟฟ้าในการผสม ถ้าหากไม่มีน้ำกะทิ สามารถใช้นมข้นจืดหรือแม้แต่นมธรรมดา 1 ถ้วยตวงแทนก็ได้ แต่จะทำให้รสชาติของขนมปูโตจะเพี้ยนไปจากสูตรดั้งเดิม
    • ถ้าต้องการให้เนื้อขนมปูโตเหนียวขึ้น จะผสมแป้งมันสำปะหลังเข้าไปสัก 1 ช้อนโต๊ะก็ได้
    • สีผสมอาหารจะช่วยทำให้ขนมจานนี้สีสันสดใสขึ้นมาได้ สีที่มักใส่ในขนมปูโตได้แก่สีเขียวมะนาว สีเหลือง และสีม่วง ถ้าอยากทำขนมออกมาให้มีหลากหลายสี ให้แบ่งส่วนผสมออกเป็น 4 ส่วน แล้วใส่สีผสมอาหารสีละ 1-2 หยดลงไปในแป้งแต่ละส่วนสำหรับ 3 ส่วนแรก ส่วนสุดท้ายเหลือเป็นสีขาวไว้ให้ตัดกับสีอื่นๆ
  3. ถ้าไม่มีพิมพ์กระดาษรองก้น สามารถทาเนยที่ถาดแทนได้เพื่อป้องกันไม่ให้ขนมติดก้นถาด ตอนที่เทส่วนผสมลงไปไม่ควรเติมจนเต็มพิมพ์ ให้แป้งขึ้นมาประมาณ 3/4 ของพิมพ์ก็พอ ที่ควรเหลือที่ไว้นิดหน่อยเพราะขนมปูโตจะขยายตัวตอนนึ่ง
  4. โดยให้หั่นเนยแข็งเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าเล็กๆ ขนาดใหญ่กว่าเหรียญสิบนิดหน่อย ถ้าใช้เนยแข็งปกติก็ให้โรยไปบนหน้าขนมตั้งแต่ก่อนนึ่งเลย แต่ถ้าใช้เนยแข็งที่ละลายง่ายเป็นพิเศษ ให้โรยบนหน้าขนมตอนเหลือเวลานึ่งอีก 2 นาทีก็พอ
  5. เช็คให้ดีว่าใส่น้ำเพียงพอแล้วและนำไปตั้งไฟ สามารถใช้ผ้าขาวบางรองถาดขนม นำผ้ามาวางคลุมถาด หรือไม่ใช้ผ้าเลย ใช้แต่ฝาหม้อปิดก็ได้ ขั้นตอนการเตรียมหม้อนึ่งนี้ทำไปพร้อมกับตอนผสมแป้งก็ได้เพื่อไม่ให้เสียเวลา
  6. นำพิมพ์หรือถาดขนมใส่หม้อนึ่งแล้วนึ่งเป็นเวลา 20 นาที. หลังจากนึ่งไปแล้ว 10 นาทีให้ลองเช็คขนมดู ถ้าเอาไม้จิ้มฟันจิ้มตรงกลางแล้วไม่มีแป้งที่ยังไม่สุกติดไม้ออกมาแสดงว่าขนมปูโตสุกแล้ว แต่อย่าลืมเผื่อเวลาไว้ 2 นาทีสำหรับให้เนยแข็งละลายถ้าใช้เนยชนิดละลายเร็ว
  7. ทิ้งขนมปูโตไว้สัก 1-2 นาทีให้เย็นลงก่อนค่อยแกะออกจากพิมพ์ เมื่อแกะออกมาแล้วก็จัดขนมลงบนจาน
  8. ขนมปูโตจะอร่อยที่สุดตอนกำลังอุ่นๆ ดังนั้นจึงควรรีบกิน ขนมปูโตนี้จะกินตอนไหน กินกับอะไรก็ได้ แต่หลายคนนิยมกินกับกาแฟหรือซุปเลือดหมูชื่อ “ดีโนโกอัน”
    โฆษณา

อุปกรณ์ที่ใช้

  • พิมพ์หรือถาดคัพเค้กขนาดเล็ก
  • หม้อนึ่ง


เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,601 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา