ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเดินทางโดยเครื่องบินเป็นสิ่งที่ไม่แนะนำสำหรับสัตว์เลี้ยง เว้นเสียแต่ว่ามันจำเป็นอย่างเลี่ยงไม่ได้ จริงๆ แล้ว การเดินทางโดยเครื่องบินสามารถเป็นอันตรายต่อสัตว์ที่มีใบหน้าลักษณะ “ยุบเข้า” เช่น หมาบูลด๊อก หมาปั๊ก และแมวเปอร์เซีย เนื่องจากพวกมันอาจมีปัญหาทางการหายใจเวลาบินอันมีผลมาจากทางเดินอากาศที่จำกัดบวกกับความเครียด [1] แต่ถ้าคุณต้องย้ายไปอยู่ที่อื่นและจำเป็นต้องหอบหิ้วแมวไปด้วย คุณอาจไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากใช้บริการขนส่งมันไปทางเครื่องบิน มีเรื่องราวน่าสยดสยองมากมายที่เกี่ยวข้องกับการส่งแมวไปกับเครื่องบิน [2] แต่ถ้าคุณมีการเตรียมการที่ดี เพื่อนแมวของคุณจะไปถึงบ้านใหม่ของมันอย่างปลอดภัยและแข็งแรง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ขนส่งแมวในห้องโดยสาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สอบถามทางสายการบินถึงการขนส่งแมวในห้องโดยสาร. ติดต่อสายการบินที่คุณวางแผนจะบินเพื่อตรวจดูว่าคุณสามารถพาแมวใส่กรงเอาขึ้นเครื่องไปด้วยโดยวางไว้ใต้ที่นั่งข้างหน้าคุณได้หรือไม่ หลีกเลี่ยงการขนส่งแมวไปในคาร์โกหรือตรงส่วนบรรทุกสัมภาระถ้าเป็นไปได้ [3]
    • สายการบินส่วนใหญ่อนุญาตให้นำแมวขึ้นเครื่องไปด้วยได้โดยต้องจ่ายเงินเพิ่ม ให้ลองโทรศัพท์คุยกับสายการบินล่วงหน้าเพราะจะมีการอนุญาตเพียงจำนวนจำกัด
  2. บางสายการบินจำกัดจำนวนสัตว์เลี้ยงที่จะสามารถขึ้นเครื่องไปพร้อมผู้โดยสารในแต่ละเที่ยวบิน การจองตั๋วตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้มั่นใจว่ามีตำแหน่งเหลือสำหรับแมวคุณ เวลาเลือกที่นั่ง จำไว้ว่าคุณจะไม่สามารถนั่งตรงแถวประตูฉุกเฉินหรือตรงติดกับผนังกั้นแยกส่วน เพราะจำต้องมีเก้าอี้อยู่หน้าคุณให้วางกรง
  3. สายการบินควรสามารถให้ข้อมูลพื้นที่ว่างใต้เก้าอี้โดยสาร ซึ่งจะเป็นการบังคับขนาดของกรงที่คุณใช้ใส่แมวขึ้นเครื่องด้วย [4]
  4. ตรวจสอบว่ากรงแบบไหนที่อนุญาตให้นำขึ้นเครื่องได้. สายการบินส่วนใหญ่จะอนุญาตทั้งกรงแบบแข็งและกรงแบบนิ่ม กรงแบบนิ่มจะง่ายต่อการดันเข้าพื้นที่ว่างใต้เก้าอี้โดยสารมากกว่า แต่จะมีบางยี่ห้อเท่านั้นที่ผ่านเกณฑ์ได้รับอนุญาต ฉะนั้นเช็คดูว่าแบบไหนยี่ห้อใดที่อนุญาตให้ขึ้นเครื่องก่อนคุณจะซื้อกรง
    • หนึ่งเดือนก่อนเดินทาง ให้อาหารแมวในกรงเพื่อที่มันจะคุ้นชินกับกิจกรรมเชิงบวก เล่นกับแมวตอนอยู่ในกรงและปล่อยให้มันนั่งแช่หรือพักในกรงได้ จะทำให้มันรู้สึกพอใจเท่าที่จะเป็นไปได้
  5. นี่จะช่วยให้มันรู้สึกคุ้นเคยกรงและฝึกจนกลายเป็นกิจวัตร การฝึกให้มันเข้าออกกรงเป็นการเตรียมตัวที่ดีสำหรับตอนผ่านการตรวจด้านความปลอดภัย เมื่อแมวอาจต้องถูกสั่งให้นำออกจากกรง
  6. คุณยังต้องนำแมวไปให้สัตวแพทย์ตรวจและออกใบรับรองสุขภาพและประวัติการฉีดวัคซีนสำหรับการเดินทาง สายการบินต้องการเอกสารเหล่านี้เพื่อจะอนุญาตให้นำแมวขึ้นเครื่อง [5]
    • สัตวแพทย์จะออกใบรับรองสุขภาพที่รับรองว่าแมวนั้นมีสุขภาพแข็งแรงไม่มีเชื้อโรค การฉีดวัคซีนควรจะต้องปรับให้ทันตามปัจจุบัน รวมไปถึงการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อสุนัขบ้า [6]
    • สัตวแพทย์ยังอาจแนะนำการฝังไมโครชิพไว้ในตัวแมวเพื่อให้ตามตัวมันได้ง่ายขึ้นถ้าเผื่อมันเกิดหายไปในระหว่างการเดินทาง มันจะทำหน้าที่เสมือนบัตรประจำตัวของสัตว์เลี้ยงตราบสิ้นอายุขัย การฝังไมโครชิพในสัตว์เลี้ยงนั้นทำได้ง่ายมาก สัตวแพทย์จะฉีดไมโครชิพที่มีขนาดเท่าเมล็ดข้าว (12 มม.) ตรงระหว่างหัวไหล่ มันไม่ทำให้สัตว์รู้สึกเจ็บและไม่จำเป็นต้องใช้ยาสลบ [7]
  7. การเดินทางพร้อมกับแมวที่ท้องว่างจะจำกัดความเสี่ยงที่จะคลื่นไส้และอาเจียน คุณสามารถพกอาหารแมวติดตัวไปสักเล็กน้อย เผื่อในกรณีที่มันหิวจะทนไม่ไหวในระหว่างเดินทาง
    • อย่าลืมพกยาที่แมวอาจต้องใช้ไว้ในถุงพลาสติกใสด้วย
  8. ปูพื้นกรงด้วย “แผ่นรองซึม” ที่มีคุณสมบัติกันซึม. มันจะดูดซึมอุบัติเหตุใดๆ ที่แมวทำระหว่างเดินทาง ให้พกแผ่นสำรอง ถุงชนิดมีซิปล็อค กระดาษชำระ และถุงมือยางสำหรับเตรียมทำความสะอาดและใส่ขยะของการฉี่อึเหล่านี้
  9. มันจะช่วยหาตัวได้ง่ายในกรณีที่กรงเกิดสูญหายระหว่างต่อเครื่องหรือในสนามบิน ใส่ชื่อและที่อยู่ของคุณพร้อมเบอร์โทรศัพท์และจุดหมายปลายทางลงบนป้ายด้วย
  10. ติดปลอกคอสำหรับการตรวจความปลอดภัยในสนามบิน. กรงใส่แมวนั้นจะต้องนำผ่านอุปกรณ์เอกซเรย์สัมภาระในสนามบิน แต่แมวคุณห้ามอยู่ในนั้น ดังนั้นคุณจึงต้องหาปลอกคอพร้อมสายรั้งมาสวมคอแมวเพื่อป้องกันไม่ให้มันหนีไปไหน คุณควรอุ้มแมวไว้ในอ้อมแขนตอนเดินผ่านอุปกรณ์ตรวจผู้โดยสาร [8]
    • ก่อนจะนำแมวออกมาจากกรง ให้เตรียมตัวคุณเองพร้อมข้าวของสำหรับการผ่านกรรมวิธีตรวจ ถอดรองเท้า อุปกรณ์ทำความสะอาดกาย และอุปกรณ์ไฟฟ้าและวางไว้ในกระบะสำหรับผ่านเครื่องเอกซเรย์
    • ปล่อยแมวออกจากกรง รั้งมันไว้ด้วยสายรั้ง และส่งกรงผ่านเครื่อง
    • อุ้มแมวเดินผ่านอุปกรณ์ตรวจผู้โดยสาร จากนั้นนำแมวใส่กรงก่อนแล้วค่อยเก็บรวบรวมข้าวของต่างๆ
  11. ให้ยากล่อมประสาทแก่แมวหากสัตวแพทย์สั่งจ่ายยามา. แมวส่วนใหญ่สามารถเดินทางได้โดยไม่ต้องพึ่งยา แต่แมวบางตัวอาจรู้สึกเครียดอย่างมากในระหว่างเดินทางทางอากาศ ให้ปรึกษาสัตวแพทย์ถ้าคุณห่วงในความกังวลของแมวตอนบิน [9]
    • สัตวแพทย์อาจสั่งจ่ายยาบูพรีนอร์ฟีน (Buprenorphine), กาบาเพนติน (Gabapentin), หรือ อัลปราซอแลม (Alprazolam) แก่แมวคุณ ให้แน่ใจว่าได้ให้ยาแมวที่บ้านก่อนเดินทางเป็นการ “ซ้อมใหญ่” ให้แน่ใจว่าแมวไม่เกิดปฏิกิริยาขัดขืนยา
  12. ใช้ผ้าห่มตัวทารกหรือแผ่นเช็ดผสมฟีโรโมนเพื่อลดอาการกังวลของแมว. ถ้าอยากจะหลีกเลี่ยงการใช้ยา คุณอาจลอง Thundershirt ซึ่งจะเป็นผ้าห่มรัดรอบตัวแมวคล้ายกับผ้าห่มตัวทารกเพื่อลดความกังวล [10]
    • คุณสามารถใช้แผ่นเช็ดหรือสเปรย์ผสมฟีโรโมนฉีดที่กรงก่อนเดินทางเพื่อลดระดับความกังวลของมันลงมา
    • นอกจากนี้ยังมีปลอกคอพ่นฟีโรโมนให้แมวสงบที่คุณจะซื้อมากล่อมแมวลงตอนขึ้นเครื่องได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ขนส่งแมวทางส่วนบรรทุกสัมภาระ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สอบถามสายการบินถึงรายงานเหตุที่เกิดกับสัตว์ที่โดยสารไปด้วย. แม้จะไม่ใช่ตัวเลือกในฝัน บางสายการบินอาจไม่อนุญาตให้นำสัตว์ขึ้นเครื่องไปด้วย และถ้าแมวแข็งแรงสุขภาพดี พวกมันจะรับมือกับการเดินทางบนเครื่องบินในส่วนบรรทุกสัมภาระได้ สายการบินในสหรัฐจะมีข้อบังคับให้ต้องรายงานเหตุที่เกิดกับสัตว์ที่ถูกขนส่งในส่วนบรรทุกสัมภาระ [11] ให้มองดูประวัติที่ผ่านมาของสายการบินที่วางแผนจะบิน ถ้าเป็นไปได้ก็เลือกสายการบินที่มีเหตุรายงานไว้น้อยที่สุด
    • ในแต่ละปีจะมีสัตว์ที่บินไปในส่วนบรรทุกสัมภาระเกิดการตาย การบาดเจ็บและสูญหายบนสายการบินพาณิชย์ ด้วยอุณหภูมิที่ร้อนหรือหนาวเกินไปในบริเวณนี้ บวกกับการระบายอากาศที่ย่ำแย่และการขนถ่ายแบบไม่ระมัดระวังมักจะถูกตำหนิว่าเป็นต้นเหตุ [12] อย่างไรก็ตาม ส่วนบรรทุกสัมภาระของเครื่องบินหลายลำปัจจุบันได้รับการปรับความดันอากาศและมีอุณหภูมิที่ควบคุมไว้ในระดับปกติ ให้สอบถามทางสายการบินถึงสิ่งอำนวยความปลอดภัยในส่วนบรรทุกสัมภาระที่จะทำให้การเดินทางของแมวสะดวกสบายขึ้น
  2. มันจะช่วยตัดปริมาณการผ่านช่องตรวจความปลอดภัยที่คุณกับแมวต้องผ่านลง และยังลดเวลาที่ต้องล่วงยาวออกไปกับการนำแมวลงจากเครื่องบิน โดบเฉพาะเวลาที่แมวต้องเดินทางไปในส่วนบรรทุกสัมภาระ [13]
    • เดินทางเที่ยวเดียวกันกับแมวเสมอ คุณสามารถมั่นใจขึ้นโดยสอบถามสายการบินว่าคุณสามารถเห็นแมวถูกนำขึ้นไปยังส่วนบรรทุกสัมภาระก่อนเดินทางได้หรือไม่
    • มองหาเที่ยวบินในตอนเช้าตรู่หรือตอนดึกถ้าคุณเดินทางในช่วงหน้าร้อน เพราะมันเป็นช่วงที่อากาศเย็นลงของวันและทำให้ส่วนบรรทุกสัมภาระไม่ร้อนอบอ้าวสำหรับแมวจนเกินไป เลือกเที่ยวบินในตอนบ่ายถ้าเดินทางในฤดูหนาว เพราะส่วนบรรทุกสัมภาระจะไม่เย็นยะเยือก
  3. มองหาปลอกคอที่ไม่ติดรั้งกับประตูกรง ใส่ชื่อและที่อยู่ของคุณพร้อมเบอร์โทรศัพท์และจุดหมายปลายทางลงบนป้ายด้วย [14]
    • คุณควรติดป้ายเดินทางที่มีข้อมูลเดียวกันไว้ที่กรงด้วยเผื่อกรงหรือแมวเกิดสูญหายระหว่างเดินทาง
  4. มันจะช่วยป้องกันเล็บแมวไม่ให้ไปติดอยู่กับประตูกรง รูหรือรอยแยกต่างๆ ในส่วนบรรทุกสัมภาระ [15]
  5. คุณยังต้องนำแมวไปให้สัตวแพทย์ตรวจและออกใบรับรองสุขภาพและประวัติการฉีดวัคซีนสำหรับการเดินทาง สายการบินต้องการเอกสารเหล่านี้เพื่อจะอนุญาตให้นำแมวขึ้นเครื่อง [16]
    • สัตวแพทย์จะออกใบรับรองสุขภาพที่รับรองว่าแมวนั้นมีสุขภาพแข็งแรงไม่มีเชื้อโรค การฉีดวัคซีนควรจะต้องปรับให้ทันตามปัจจุบัน รวมไปถึงการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อสุนัขบ้า [17]
    • สัตวแพทย์ยังอาจแนะนำการฝังไมโครชิพไว้ในตัวแมวเพื่อให้ตามตัวมันได้ง่ายขึ้นถ้าเผื่อมันเกิดหายไปในระหว่างการเดินทาง มันจะทำหน้าที่เสมือนบัตรประจำตัวของสัตว์เลี้ยงตราบสิ้นอายุขัย การฝังไมโครชิพในสัตว์เลี้ยงนั้นทำได้ง่ายมาก สัตวแพทย์จะฉีดไมโครชิพที่มีขนาดเท่าเมล็ดข้าว (12 มม.) ตรงระหว่างหัวไหล่ มันไม่ทำให้สัตว์รู้สึกเจ็บและไม่จำเป็นต้องใช้ยาสลบ [18]
  6. การเดินทางพร้อมกับแมวที่ท้องว่างจะจำกัดความเสี่ยงที่จะคลื่นไส้และอาเจียน คุณสามารถให้น้ำแก่แมวในปริมาณเล็กน้อย หรือวางก้อนน้ำแข็งในถาดน้ำในกรงเพื่อให้แมวได้มีน้ำกินตลอด [19]
  7. ถ้าเกิดแมวหายหรือถูกสลับระหว่างตอนเดินทางหรือตอนลง รูปจะช่วยให้ฝ่ายรักษาความปลอดภัยของสนามบินหามันได้ง่ายขึ้น [20]
  8. ติดปลอกคอสำหรับการตรวจความปลอดภัยในสนามบิน. กรงใส่แมวนั้นจะต้องนำผ่านอุปกรณ์เอกซเรย์สัมภาระในสนามบิน แต่แมวคุณห้ามอยู่ในนั้น ดังนั้นคุณจึงต้องหาปลอกคอพร้อมสายรั้งมาสวมคอแมวเพื่อป้องกันไม่ให้มันหนีไปไหน คุณควรอุ้มแมวไว้ในอ้อมแขนตอนเดินผ่านอุปกรณ์ตรวจผู้โดยสาร [21]
    • ก่อนจะนำแมวออกมาจากกรง ให้เตรียมตัวคุณเองพร้อมข้าวของสำหรับการผ่านกรรมวิธีตรวจ ถอดรองเท้า อุปกรณ์ทำความสะอาดกาย และอุปกรณ์ไฟฟ้าและวางไว้ในกระบะสำหรับผ่านเครื่องเอกซเรย์
    • ปล่อยแมวออกจากกรง รั้งมันไว้ด้วยสายรั้ง และส่งกรงผ่านเครื่อง
    • อุ้มแมวเดินผ่านอุปกรณ์ตรวจผู้โดยสาร จากนั้นนำแมวใส่กรงก่อนแล้วค่อยเก็บรวบรวมข้าวของต่างๆ
  9. แจ้งให้กัปตันหรือพนักงานบริการประจำเครื่องอย่างน้อยหนึ่งคนได้รับรู้ว่าคุณมีสัตว์เลี้ยงมาด้วยในส่วนบรรทุกสัมภาระ. ให้ทำตอนขึ้นเครื่อง กัปตันนักบินอาจเพิ่มความระมัดระวังขณะบินมากขึ้น เช่นหลีกเลี่ยงบริเวณที่อากาศแปรปรวน
  10. ให้ยากล่อมประสาทแก่แมวหากสัตวแพทย์สั่งจ่ายยามา. สัตวแพทย์อาจสั่งจ่ายยาให้แมวเพื่อเดินทางโดยเฉพาะ เช่นยาบูพรีนอร์ฟีน, กาบาเพนติน หรืออัลปราซอแลม [22]
    • ให้แน่ใจว่าได้ให้ยาแมวที่บ้านก่อนเดินทางเป็นการ “ซ้อมใหญ่” ให้แน่ใจว่าแมวไม่เกิดปฏิกิริยาขัดขืนยา
  11. เปิดกรงทันทีที่คุณลงจากเครื่องและตรวจดูแมวให้ละเอียด. หากมีอะไรดูผิดปกติ นำแมวไปพบสัตวแพทย์ในทันที ให้สัตวแพทย์เขียนผลตรวจเป็นลายลักษณ์อักษร รวมถึงวันที่และเวลาตรวจ เผื่อคุณต้องเขียนใบคอมเพลนสายการบินเรื่องการปฏิบัติต่อแมวในส่วนบรรทุกสัมภาระ [23]
    โฆษณา


  1. http://www.vcahospitals.com/main/pet-health-information/article/animal-health/flying-with-your-cat/48
  2. http://www.transportation.gov/airconsumer/air-travel-consumer-reports
  3. http://www.humanesociety.org/animals/resources/tips/traveling_tips_pets_ships_planes_trains.html?credit=web_id110483989#airplane
  4. http://www.humanesociety.org/animals/resources/tips/traveling_tips_pets_ships_planes_trains.html?credit=web_id110483989#airplane
  5. http://www.humanesociety.org/animals/resources/tips/traveling_tips_pets_ships_planes_trains.html?credit=web_id110483989#airplane
  6. http://www.wikihow.com/Trim-Your-Cat%27s-Nails
  7. http://www.vcahospitals.com/main/pet-health-information/article/animal-health/flying-with-your-cat/48
  8. http://www.transitionsabroad.com/tazine/0810/moving-overseas-with-pets.shtml
  9. http://public.homeagain.com/how-pet-microchipping-works.html
  10. http://www.humanesociety.org/animals/resources/tips/traveling_tips_pets_ships_planes_trains.html?credit=web_id110483989#airplane
  11. http://www.humanesociety.org/animals/resources/tips/traveling_tips_pets_ships_planes_trains.html?credit=web_id110483989#airplane
  12. http://www.vcahospitals.com/main/pet-health-information/article/animal-health/flying-with-your-cat/48
  13. http://www.humanesociety.org/animals/resources/tips/traveling_tips_pets_ships_planes_trains.html?credit=web_id110483989#airplane
  14. http://www.humanesociety.org/animals/resources/tips/traveling_tips_pets_ships_planes_trains.html?credit=web_id110483989#airplane

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 13,590 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา