ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณฝันอยากขี่จักรยานรับลมชมวิวดูสักครั้งใช่ไหม? หรือกำลังจะหัดลูกหลานให้ขี่จักรยานเป็น? อย่าว่าแต่เด็กเลย ผู้ใหญ่หลายคนก็ยังขี่กันไม่เป็น ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องน่าอายแต่อย่างใด ออกจะเป็นเรื่องน่าสนุกด้วยซ้ำ ที่ได้ลองทำอะไรใหม่ๆ แถมดีต่อสุขภาพอีกต่างหาก การหัดขี่จักรยานต้องมีการเตรียมตัวเตรียมใจ (เวลาล้ม) รวมถึงรู้เคล็ดลับเทคนิค แต่บอกเลยว่าใครๆ ก็ขี่จักรยานเป็นได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เตรียมตัว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ที่ที่เหมาะกับการหัดขี่จักรยาน คือที่ที่ไม่มีรถราขวักไขว่ เป็นที่โล่งกว้าง พื้นราบ เช่นทางเข้าบ้าน ลานจอดรถ หรือสวนสาธารณะ [1]
    • อาจจะเริ่มหัดในสนามหญ้าหรือลานหินเรียบๆ ก่อน เผื่อล้มจะได้ไม่เจ็บ แต่อาจจะทรงตัวยากหรือต้องออกแรงถีบมากกว่าปกติ
    • ถ้าอยากฝึกถีบจักรยานและทรงตัวตอนขึ้นลงเนิน ให้เลือกเนินที่ไม่ลาดชันมากจนเกินไป
    • ถ้าอยู่ในเมือง พยายามอย่าไปขี่จักรยานบนฟุตบาธเกะกะคนเดินถนน เดี๋ยวถูกจับไม่รู้ด้วย
  2. ให้ใส่สนับเข่าสนับศอกกันกระแทกและถลอก โดยเฉพาะเด็กๆ รวมถึงกางเกงขายาวและเสื้อแขนยาว
    • อย่าใส่กางเกงหลวมโพรกหรือกระโปรงยาว ไม่งั้นเดี๋ยวเข้าไปพันในซี่ล้อ อันตรายสุดๆ
    • อย่าใส่รองเท้าเปิดนิ้ว ถ้าพลาดอาจถูกล้อจักรยานทับหรือครูดกับพื้น
  3. จะหัดขี่จักรยานใหม่ๆ หรือขี่จนเชี่ยวชาญแล้วก็ควรใส่ทั้งคู่ เพราะอุบัติเหตุเกิดได้ทุกที่ทุกเวลา แขนขาหักยังดามให้หายได้ แต่หัวกระแทกอาจทำคุณเจ็บหนักหรือส่งผลเสียต่อสุขภาพแบบถาวร จักรยานก็เหมือนมอเตอร์ไซค์ ล้มเมื่อไหร่เป็นตัว/หัวกระแทก ระวังไว้ก่อนดีที่สุด [2]
    • หมวกกันน็อคดีๆ จะกระชับกับหัวของคนใส่ ขอบอยู่เหนือคิ้วขึ้นไปประมาณ 1 นิ้ว (2.5 ซม.) และมีสายรัดใต้คางให้ไม่ขยับไปไหน โดยที่คุณยังขยับปากได้สะดวก
    • commuter helmet หรือหมวกสำหรับใส่ขี่จักรยานโดยเฉพาะนี่แหละที่คนนิยมใส่กัน จะกลมๆ มนๆ ทำจากโฟมและพลาสติก หาซื้อได้ตามร้านขายจักรยานหรือในเน็ต [3]
    • ส่วน road helmet เป็นหมวกใส่ขี่จักรยานแบบโปรขึ้นมาอีกหน่อย รูปทรงจะออกยาวๆ มีช่องระบายอากาศ ทำจากโฟมและพลาสติก พวกนักแข่งหรือนักขี่จักรยานแบบออกถนนจริงจังเขาใช้กัน มีขายตามร้านจักรยานและในเน็ตเช่นกัน [4]
    • สำหรับเด็กโต (10 - 15 ปี) เด็กเล็ก (5 - 10 ปี) และเด็กวัยเตาะแตะ (ต่ำกว่า 5 ขวบ) ก็มีทั้งแบบ commuter helmet และ road helmet แค่ขนาดเล็กกว่าของผู้ใหญ่ แต่ถ้าเป็นหมวกของเด็กวัยเตาะแตะ จะเน้นโฟมมากหน่อย
    • mountain bike helmet (หมวกกันน็อคจักรยานเสือภูเขา) และ professional sports helmet (หมวกกันน็อคสำหรับนักกีฬา) จะมีกระบังและป้องกันลงไปถึงช่วงคอ สำหรับการขี่จักรยานลุยๆ แบบ off-road โดยเฉพาะ [5]
  4. จริงๆ กลางคืนก็ขี่ได้ แต่เราไม่แนะนำ โดยเฉพาะพวกมือใหม่หัดขี่และเด็กๆ อย่าลืมว่ายังทรงตัวได้ไม่เก่งนัก ถ้าจักรยานล้มหรือเอียงอาจไปเฉี่ยวชนกับรถคันอื่นได้ ที่สำคัญคือตอนกลางคืนทัศนวิสัยไม่ค่อยดีเท่าที่ควร ทั้งคุณไม่เห็นรถ และรถไม่เห็นคุณ [6]
    • ถ้าจำเป็นต้องออกไปขี่ตอนกลางคืนจริงๆ ต้องใส่ชุดสีสว่าง สะท้อนแสง รวมถึงติดไฟที่จักรยาน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

หัดขี่จักรยาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เช่น ทางเข้าบ้าน ทางเดินในหมู่บ้าน ถนนเงียบๆ หรือสวนและลานกีฬาส่วนกลาง ตอนนี้ยังไม่มีทางลาด เพราะงั้นถ้าจักรยานจะล้มก็ควบคุมง่ายอยู่ หยุดได้ทันเวลา
    • หญ้าสั้นๆ หรือลานหินก้อน ล้มแล้วจะไม่เจ็บมาก แต่จะทรงตัวยากแถมต้องออกแรงถีบมากกว่าปกติ
  2. ลงไปต่ำๆ ให้เท้ายืนถึงตอนนั่ง เวลาล้มจะได้ใช้เท้ายันไว้ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็ไม่ต้องเพิ่มล้อเสริม แต่เด็กๆ ใส่ล้อเสริมจะช่วยเรื่องการทรงตัว [7]
    • จะถอดบันไดจักรยานออกด้วยก็ได้ ถ้าเกะกะ แต่จริงๆ แล้วไม่จำเป็น
  3. ว่าใช้ได้ดี รวดเร็วทันใจหรือเปล่า ตอนทดสอบให้เดินจูงจักรยาน จากนั้นบีบเบรคให้ชินกับตำแหน่ง แรงกด และสังเกตว่าเวลาจักรยานเบรคเป็นยังไง พอเริ่มคุ้นเคย จะขี่สบายใจขึ้นเยอะ เพราะรู้แล้วว่าถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมาคุณหยุดจักรยานทันแน่นอน
    • ถ้าจักรยานเบรคได้ทั้ง 2 แฮนด์ ให้ทดสอบเบรคทีละข้าง ว่าข้างไหนเบรคล้อหน้า ข้างไหนเบรคล้อหลัง ถ้าไม่ถนัด จะให้ช่างสลับสายให้ก็ได้ [8]
    • สังเกตว่าบีบเบรคข้างหนึ่งแล้วล้อหลังจะ skid (ล็อคแล้วไถล) แต่ถ้าบีบเบรคอีกข้าง ล้อหน้าจะหยุด จักรยานจะสะดุดไปข้างหน้า [9]
    • ถ้าเบรคไม่ได้อยู่ที่แฮนด์ แสดงว่ามี coaster brake (ถอยหลังเบรค) เวลาจะเบรคให้เหยียบบันไดใกล้ล้อหลัง เหมือนเวลาจะถีบถอยหลัง [10]
    • ถ้าเป็นจักรยานแบบ fixed wheel หรือ fixed gear แท้ๆ จะไม่มีเบรค ต้องถีบช้าลงเอง หรือ skid โดยเหยียบบันไดจักรยานทั้ง 2 ข้างแล้วโน้มตัวไปข้างหน้า [11]
  4. ข้างไหนก็ได้ แต่จะดีกว่าถ้าใช้ข้างที่ถนัด เช่น คนถนัดขวาให้ยืนทางซ้ายของจักรยาน จากนั้นก้าวขึ้นจักรยานโดยยกขาขวา ตั้งจักรยานไว้อย่าให้ล้ม
    • พยุงจักรยานไว้ที่หว่างขวา แล้วค่อยๆ นั่งลงบนอาน ถ้าเท้ายันพื้นถึงก็ไม่ต้องกลัวจักรยานล้ม
    • ทิ้งน้ำหนักลงมาตรงๆ กลางจักรยาน นั่งตัวตรง อย่าเอียงไปซ้ายหรือขวา
  5. แทนที่จะออกแรงถีบ ให้เอาเท้าไถ ดันจักรยานไปข้างหน้าก่อน จากนั้นยกเท้าขึ้นวางบนบันได แล้วพยายามทรงตัวบนจักรยานอย่าให้ล้ม ถ้าเริ่มเอียง ให้รีบใช้เท้ายันพื้น แล้วไถออกไปอีกรอบ [12]
  6. จะได้รู้เวลาจักรยานมุ่งไปที่สิ่งกีดขวาง พยายามมองตรงแล้วหันหัวจักรยานไปในทางที่อยากไป ต้องฝึกสักพัก คุณถึงจะหายกลัวหรือวอกแวกไปกับสิ่งกีดขวางข้างทาง
    • ก่อนจะบังคับจักรยานได้สมบูรณ์ จักรยานหันไปทางไหน ก็พยายามประคองไปก่อน เช่น ช่วงแรกๆ จักรยานมักหักออกข้างทางหรือวนเป็นวง ก็อย่าพยายามหยุด ให้ไหลไปเรื่อยๆ พยุงไว้ให้อย่าล้มเป็นใช้ได้ [13]
    • ถ้าช่วยฝึกเพื่อนหรือน้องๆ หนูๆ ให้หัดขี่จักรยาน ให้ช่วยประคองโดยจับท้ายจักรยานหรือตรงอานไว้
  7. เอาเท้าข้างหนึ่งยันพื้น ส่วนอีกข้างดันบันไดจักรยานไปข้างหน้า แล้วรีบยกเท้าอีกข้างขึ้นมาปั่นโลด! ถีบต่อไปให้ได้นานที่สุด
    • ยิ่งปั่นเร็วก็ยิ่งทรงตัวได้ดี แต่อย่าปั่นเร็วไปจนคุมไม่อยู่
  8. อย่าอยู่ๆ เบรคโดยเอาเท้าลงมายันพื้น ให้ฝึกบีบเบรคตรงแฮนด์ โดยหยุดปั่น ทิ้งน้ำหนักไปทางบันไดข้างที่อยู่ต่ำกว่า แล้วบีบเบรคทั้ง 2 แฮนด์ (ถ้ามี) พอจักรยานหยุดแล้ว ให้ยกตัวขึ้น แล้วก้าวลงจากจักรยาน [14]
    • ถ้าระหว่างบีบเบรค คุณเอาเท้าลงพื้นเร็วเกินไป แรงโน้มถ่วงจะเหวี่ยงตัวคุณไปกระแทกแฮนด์จนจุกได้ [15]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ฝึกฝนกับเนินลาด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จูงจักรยานขึ้นไปบนเนิน ขึ้นขี่ แล้วไถลงมา พอถึงพื้นราบให้จักรยานค่อยๆ ชะลอเอง จากนั้นเดินจูงจักรยานขึ้นเนินแล้วไถลงมาอีก ทำซ้ำจนคุณทรงตัวและควบคุมจักรยานได้คล่องแคล่ว [16]
    • ทิ้งน้ำหนักลงเท้าให้มั่นคง หลังตรงและทิ้งน้ำหนักตัวลงที่อานตรงๆ งอศอก อย่าเกร็งตัว [17]
    • ถ้าคล่องและมั่นใจพอแล้ว ก็ยกเท้าขึ้นเหยียบบันไดทั้ง 2 ข้าง แล้วไหลลงเนินมาเลย
  2. พอคล่องจนเอาเท้าขึ้นได้ทั้ง 2 ข้างแล้ว คราวนี้ตอนลงเนินให้ลองบีบเบรคเบาๆ จะได้รู้วิธีชะลอจักรยานโดยไม่เอียง ถลาไปข้างหน้า หรือเสียการทรงตัว
  3. พอไหลลงเนินและเบรคคล่องแล้ว คราวนี้ให้หัดหันหัวจักรยานเปลี่ยนทิศทางโดยไม่ให้ล้มหรือเสียการทรงตัว ดูว่าเลี้ยวขณะลงเนินแล้วเป็นยังไง พยายามทรงตัวให้ได้
  4. รวบรวมเทคนิคที่ผ่านมา แล้วลองปั่นและเลี้ยวลงเนินโดยไม่หยุด ลองเลี้ยวให้แคบแล้วเบรคเมื่อถึงพื้นราบ
  5. ปั่นจากพื้นราบขึ้นไปบนเนิน ต้องออกแรงหน่อย ให้โน้มตัวระหว่างปั่นหรือจะยืนก็ยิ่งออกแรงมากขึ้น ลองปั่นขึ้นลงเนินหลายๆ รอบจนชำนาญ
    • พอมั่นใจแล้ว ให้ลองปั่นขึ้นเนินแล้วหยุดกลางทาง จากนั้นค่อยปั่นขึ้นไปต่อ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • พอขี่จนคล่องแล้ว ให้ลองปรับอานสูงขึ้น จนแตะพื้นได้แค่ปลายเท้า
  • สวมอุปกรณ์ป้องกันเสมอ เช่น หมวกกันน็อคและสนับเข่า/ศอก
  • จักรยานแบบเปลี่ยนเกียร์ได้ไม่ค่อยเหมาะกับมือใหม่ แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ ก็ให้เปลี่ยนเกียร์สูงขึ้นตอนขึ้นเนิน
  • อย่าเดาใจรถคันอื่น คิดไว้ก่อนว่าเขาไม่เห็นคุณ แล้วคอยระวังตัว
  • ตามองตรงเสมอตอนขี่จักรยาน ถ้าเหลือบข้างเมื่อไหร่ จักรยานไถลแน่นอน
  • ตอนหัดขี่ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของพ่อแม่ผู้ปกครอง ไม่ว่าจะเด็กเล็กหรือเด็กโต ผู้ใหญ่มีคำแนะนำดีๆ ให้แน่นอน
  • หัดขี่หลายๆ คนสนุกกว่า อย่างเด็กหรือใครที่กลัวล้ม มีกันหลายๆ คนจะได้สนุกจนลืมกลัว
  • ถ้าไม่มีหมวกกันน็อคกับสนับเข่า/ศอก ให้ขี่บนหญ้าแทน อย่าขี่บนถนนหรือพื้นปูน
โฆษณา

คำเตือน

  • อุบัติเหตุระหว่างขี่จักรยานเกิดขึ้นได้เสมอ บางครั้งก็อันตราย เพราะงั้นให้สวมหมวกกันน็อคป้องกันหัวบาดเจ็บเสมอ รวมถึงสนับเข่า/ศอกกันกระแทกและถลอก
  • เคารพกฎจราจร สวมหมวกกันน็อคเสมอ และอย่าขึ้นไปขี่กีดขวางทางเดิน
  • พอขี่จักรยานเป็นแล้ว ต้องเรียนรู้การขับขี่อย่างปลอดภัย เช่น อย่าขี่เร็วไป ระวังรถ และสังเกตสัญญาณและป้ายจราจร
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • จักรยาน
  • กระบอกสูบลมยาง
  • หมวกกันน็อค
  • สนับเข่า (ไม่จำเป็น)
  • สนับศอก (ไม่จำเป็น)
  • ที่โล่งกว้าง พื้นราบ

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 28,912 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา