ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ทุกคนต่างเคยรู้สึกประหม่าเป็นบางครั้งเมื่อต้องกินข้าวร่วมโต๊ะกับผู้อื่น ถ้าไม่อยากรู้สึกเคอะเขินเวลากินข้าวตอนออกเดทครั้งแรก ตอนร่วมรับประทานอาหารกับผู้อื่น หรือครอบครัว ลองทำตามคำแนะนำในบทความนี้ดูสิ การจัดการสาเหตุที่ทำให้เราประหม่าและฝึกฝนทักษะเพื่อลดความประหม่าให้ได้จะช่วยให้เรามีความมั่นใจมากขึ้น เมื่อต้องนั่งร่วมโต๊ะรับประทานอาหารกับผู้อื่น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ปรับกลวิธีในการกิน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เราต้องกินอาหารทีละนิดเพื่อให้สะดวกเวลาต้องพูดคุยกับคนอื่น ถ้ามีใครเกิดถามเราขึ้นมาระหว่างนั้น เราจะได้พร้อมตอบเขาทุกเวลา การกินทีละนิดช่วยให้ใช้เวลาเคี้ยวและกลืนอาหารไม่นาน จึงทำให้สนทนากับผู้อื่นได้เร็วขึ้น
  2. ถ้าจำเป็น ผ้าเช็ดปากจะช่วยเราได้ หากอาหารเลอะปากขึ้นมา ให้ใช้ผ้าเช็ดปากซับบริเวณริมฝีปาก จะได้ดูสุภาพเรียบร้อย
  3. อาหารที่มีซอสมากหรือต้องใช้มือกินจะทำให้เราต้องกินอย่างระมัดระวังมากขึ้น ไม่อย่างนั้นจะเปรอะเสื้อผ้าได้ง่าย ฉะนั้นถ้าไม่อยากพบความยุ่งยากในการกิน ให้สั่งอาหารที่กินด้วยช้อนส้อมได้ง่ายและพอดีคำ ตัวอย่างอาหารที่กินได้ง่ายเช่น พาสต้าที่มีเส้นสั้น และผักลวก เนื้อหั่นเป็นชิ้นบางๆ กับมันฝรั่งอบ เพราะอาหารพวกนี้ถูกตัดให้มีขนาดพอดีคำจึงกินง่าย ไม่ต้องกังวลว่ากินแล้วจะเลอะ
    • บางครั้งเวลากินอาหารอยู่ ก็อาจเกิดหกเลอะเทอะได้ ฉะนั้นถ้าอาหารหกเลอะเทอะ ให้เรียกบริกรมาทำความสะอาดให้ เพราะบริกรจะคุ้นเคยกับการจัดการเรื่องพวกนี้ในร้านอาหารอยู่แล้ว
  4. เรียนรู้มารยาทบนโต๊ะอาหารจากแหล่งความรู้ต่างๆ ที่เชื่อถือได้. อ่านหนังสือ เข้าเรียน และหาผู้เชี่ยวชาญมาช่วยฝึกมารยาทบนโต๊ะอาหารให้เรา
    • ค้นหาวิธีกินอาหารร่วมกับผู้อื่นที่เหมาะกับเราและเริ่มฝึกปฏิบัติ เป้าหมายคือการเรียนรู้วิธีการอันเหมาะสมในการรับมือกับตนเองเมื่อต้องนั่งรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ยิ่งฝึก ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มความมั่นใจในตนเองมากขึ้นและพร้อมที่จะนำทักษะต่างๆ ที่ได้จากการฝึกไปใช้จริง
    • มารยาทบนโต๊ะอาหารแตกต่างกันไปตามแต่ละวัฒนธรรม จงเรียนรู้และยอมรับความแตกต่างนั้น ถ้าเราอยู่ในสังคมที่มีวัฒนธรรมหลากหลาย เราก็จะมีโอกาสเห็นความแตกต่างและเรียนรู้ความแตกต่างนั้นได้ง่ายขึ้น [1]
    • ก่อนเดินทางไปต่างประเทศ จงเรียนรู้มารยาทบนโต๊ะอาหารของประเทศนั้นเพื่อที่จะปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น บางวัฒนธรรมการเรอระหว่างรับประทานอาหารเป็นเรื่องธรรมดา แต่บางวัฒนธรรมถือว่าไม่สุภาพ
  5. ถ้าเรารู้มารยาทบนโต๊ะอาหารเป็นอย่างดี ความมั่นใจในการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นก็จะเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน การฝึกมีมารยาทจนเป็นนิสัยต้องใช้เวลา [2] เรามีโอกาสฝึกจนสำเร็จได้อย่างแน่นอน ถ้าเราฝึกครบตามจำนวนมื้ออาหารในแต่ละวัน
    • กินอาหารหน้ากระจกหรือหน้ากล้องถ่ายวีดีโอเพื่อจะได้ประเมินตนเอง ปรับเปลี่ยนท่าทางการกิน ถ้าเห็นว่าจำเป็นและกินแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนเห็นว่าตนเองมีท่าทางการกินที่น่าพอใจแล้ว ถ้าเราได้รู้ว่าคนอื่นมองเราอย่างไร เราก็จะวิจารณ์ตนเองน้อยลง
    • ถ้ารู้ตัวว่าตนเองชอบกินอาหารคำใหญ่หรือพูดคุยขณะที่มีอาหารอยู่เต็มปาก ให้ปรับพฤติกรรมเสียใหม่ จับตาดูพฤติกรรมบนโต๊ะอาหารของตนเอง ถ้าเห็นว่ามีพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่ดี ให้ปรับปรุงแก้ไขเสีย
  6. เมื่อเราเริ่มชินกับมารยาทบนโต๊ะอาหารและการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นแล้ว ลองแนะนำวิธีการของเราให้ผู้อื่นลองนำไปใช้และช่วยฝึกเขาด้วย จะทำให้เราเชี่ยวชาญและมีความมั่นใจมากขึ้น อาจมีใครหลายคนที่ไม่รู้ว่าควรทำตัวอย่างไรเมื่อต้องรับประทานอาหารร่วมกับคนอื่นและรู้สึกอายที่ต้องมานั่งกินอาหารร่วมกัน ฉะนั้นจงช่วยเหลือพวกเขาด้วยการให้คำแนะนำและฝึกจนกว่าจะคุ้นชิน
    • อย่าช่วยคนที่เขาไม่ได้ขอความช่วยเหลือ เพราะมารยาทบนโต๊ะอาหารเป็นเรื่องละเอียดอ่อน การทำเป็นตัวอย่างน่าจะดีที่สุด
    • จะใช้วิธีสอนและฝึกแบบเล่นเกมสนุกๆ ก็ได้ ถ้าเห็นว่าเหมาะสม
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

คลายความประหม่า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตั้งใจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองเวลากินอาหารร่วมโต๊ะกับผู้อื่น การรู้ว่ามีปัญหาอะไรที่ต้องแก้ไขบ้างจะช่วยให้เราเห็นขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลงตนเอง [3] การคิดหาวิธีแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์เป็นกุญแจสำคัญของการแก้ปัญหา
    • เขียนรายการพฤติกรรมการกินอาหารร่วมกับผู้อื่นที่เราอยากเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่น อยากสั่งอาหารด้วยความมั่นใจ หรือพูดคุยกับผู้อื่นอย่างสนุกสนาน และไม่ต้องกังวลว่าจะมีอาหารมาติดที่ใบหน้า
    • หาวิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ให้กับทุกปัญหาที่เราเขียนลงไป ค้นรายการอาหารของร้านอาหารต่างๆ และเลือกเมนูที่ต้องการไว้ในใจก่อนที่จะไปที่นั่น พอเรามาถึงร้านอาหารแล้ว เลือกเมนูที่รับประทานง่าย ถ้ามีอาหารติดที่ใบหน้า ก็ใช้ผ้าเช็ดปากซับออกไป
    • เมื่อเราเขียนปัญหาและวิธีแก้ไขทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว ให้ลงชื่อเพื่อเป็นการแสดงถึงการยอมแก้ไขปัญหาเพื่อเปลี่ยนแปลงตนเองให้ดีขึ้น ให้มีพยานรู้เห็นและลงชื่อด้วยเพื่อเขาจะได้ช่วยกระตุ้นเราให้ทำตามสิ่งที่ตั้งใจไว้ได้สำเร็จ
    • ถ้าวิธีแก้ปัญหาที่มีอยู่ยังใช้ไม่ได้ผล ให้คิดสิว่าเรามีวิธีอื่นอีกไหม และถ้าวิธีแก้ปัญหาไหนใช้ได้ผล ให้จดจำไว้
  2. เมื่อจิตใจเราสงบ เราสามารถทำทุกอย่างออกมาได้ดี ฉะนั้นสิ่งที่เราต้องทำคือสงบจิตใจของตนเองลงให้ได้เพื่อที่จะสามารถสนุกกับการกินแทนที่จะมัวกังวล ขอแนะนำวิธีการที่สามารถช่วยเราให้ผ่อนคลายได้ดังต่อไปนี้ [4]
    • ก่อนที่จะกินอาหาร ให้หลับตาและนึกภาพเราสนุกกับการกินอาหารและพูดคุยกับผู้อื่นอย่างสนุกสนาน นึกภาพบริกรวางอาหารที่ขึ้นชื่อของทางร้านให้เราลิ้มลอง และสังเกตเห็นว่าคนอื่นต่างจับจ้องอาหารของตนเอง ไม่ใช่มองเราอยู่
    • สูดหายลมหายใจเข้าลึกๆ ทุกครั้งที่กินอาหารเข้าไป เราจะได้ผ่อนคลายและสงบลงเมื่อเกิดรู้สึกประหม่าขึ้นมา [5] บอกตนเองว่าทุกครั้งที่สูดลมหายใจเข้าลึกๆ และผ่อนลมหายใจออก เราจะผ่อนคลายลงลงเรื่อยๆ
    • หลังจากกินอาหารเสร็จ ให้นั่งอยู่สักสองสามนาที นึกถึงความอร่อยของอาหารที่เรากินเข้าไป เพื่อนที่มาร่วมกินอาหารกับเรา และความสนุกที่ได้จากการรับประทานอาหารร่วมกัน นี้จะเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่เรา
  3. การตัดสินตนเองไปในทางไม่ดีมักจะเกิดจากความรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่าพอและจะยิ่งแย่ลงไปอีก ถ้าเราชอบเอาตนเองไปเปรียบเทียบกับผู้อื่นอยู่เสมอ [6] เราอาจรู้สึกแย่กับตนเองเหลือเกินจนถึงกับประหม่าเวลานั่งร่วมโต๊ะอาหารกับคนอื่น จงให้กำลังใจตนเองแทนที่จะต่อว่าตนเองว่าเป็นคนโง่เขลา ซุ่มซ่าม หรือกลัวว่าจะทำอะไรที่น่าขายหน้าเวลาอยู่กับคนอื่น
    • อย่าปล่อยให้ความรู้สึกที่ไม่ดีมาขัดขวางไม่ให้ได้เราพยายามรับประทานอาหารร่วมกับเพื่อนและครอบครัวในโอกาสพิเศษ
    • มองตนเองในกระจกแล้วพูดว่า “นายไม่ใช่คนโง่เขลา ซุ่มซ่าม และนายจะไม่ทำอะไรขายหน้าเมื่อนั่งกินข้าวร่วมโต๊ะกับคนอื่น” [7]
    • ตั้งคำถามกับตนเอง เราอาจตัดสินตนเองรุนแรงเกินไป อีกทั้งไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่าเราจะทำอะไรที่น่าขายหน้าเมื่อต้องรับประทานอาหารร่วมกับคนอื่น
    • หันไปมองทางอื่น ถ้าเห็นว่าตนเองกำลังตัดสินวิธีกินของคนอื่นขณะที่กำลังจ้องมองพวกเขากินอยู่ เมื่อเราตัดสินคนอื่น เราก็มักจะเชื่อว่าคนอื่นก็กำลังตัดสินเราเช่นกัน เพราะเราเองก็ทำกับคนอื่นแบบนั้นอยู่ ความจริงแล้วไม่ใช่ทุกคนที่จะชอบตัดสินคนอื่น เราเองก็สามารถเป็นฝึกตนเองให้เป็นคนที่ไม่ตัดสินใครก่อนได้เช่นกัน [8]
  4. ความคิดสามารถเปลี่ยนความรู้สึกที่มีได้ และเมื่อความรู้สึกเปลี่ยนไป ความเชื่อก็จะเปลี่ยนตาม ให้เลือกนึกถึงอะไรดีๆ ที่ได้รับจากการกินอาหารร่วมกับผู้อื่นเพื่อจะได้รู้สึกดีขึ้น เราอาจเห็นตนเองคิดอะไรในแง่ร้ายบ่อยๆ เมื่อรู้ตัวแล้ว หาทางเปลี่ยนแปลงความคิดของตนให้ไปในทางที่ดีมากขึ้น พยายามเอาความคิดที่เป็นบวกมาแทนความคิดที่เป็นลบ
    • การคิดว่า “ฉันประหม่าทุกทีที่กินข้าวกับคนอื่น” อาจมาจากที่เรารู้สึกไปเองว่า “คนอื่นจะตัดสินเราจากท่าทางการกิน” ความรู้สึกนี้สะท้อนให้เห็นความเชื่อที่ไม่ดีว่า “ฉันซุ่มซ่ามและไม่อาจแก้ไขนิสัยนี้ได้”
    • ถ้าเราเห็นว่ากำลังคิดอะไรกับตนเองในแง่ร้าย ให้หยุดและท้าทายความคิดเหล่านั้น เขียนความคิดเหล่านั้นลงไปในบันทึกความคิด เราจะได้ติดตามความคิดในแง่ร้ายนั้นได้ ถามตนเองว่าเช่นว่า เมื่อฉันรู้สึกประหม่า งุ่นง่าน และเคอะเขิน ฉันบอกตนเองว่าอย่างไร ฉันดูถูกดูแคลนตนเองในเรื่องอะไรบ้าง ฉันต่อว่าตนเองอย่างไรบ้าง
    • พอเขียนความเชื่อที่เรามีต่อตนเองลงไปแล้ว ให้ประเมินความเชื่อนั้นว่าอยู่ระดับใดตั้งแต่ 0 ถึง 100 ต่อมาให้ท้าทายความเชื่อของตนด้วยการถามว่ามีหลักฐานอะไรไหมที่สนับสุนความเชื่อของเรา เป้าหมายของการใช้บันทึกความคิดคือประเมินตนเองอย่างพอเหมาะพอดี [9]
    • เรียนรู้ที่จะยอมรับตนเอง [10] ลองคิดดูสิว่าเรามีคุณสมบัติอะไรบ้างและเขียนลงไป ตัวอย่างเช่น ถามตนเองว่าเราถนัดอะไรบ้าง เราผ่านอุปสรรคอะไรมาบ้าง คนอื่นเห็นคุณสมบัติอะไรในตัวเราบ้าง เราเป็นคนมีความรับผิดชอบ คำนึงถึงจิตใจของคนอื่น หรือมีความคิดสร้างสรรค์ใช่ไหม อย่าคิดว่าคุณสมบัติที่เรามีเป็นสิ่งด้อยค่าหรือไม่มีความสำคัญ คุณสมบัติเหล่านี้สำคัญกับเราเสมอ
    • หยุดเกลียดตนเองและเลิกคิดว่าตนเองไม่ดีพอเสียที [11] เวลาทำอะไรประสบความสำเร็จ จงเป็นบุคคลแรกที่ชื่นชมยินดีกับความสำเร็จของตนเอง พยายามเห็นด้านดีของตนเองเหมือนอย่างที่คนอื่นเห็นด้านดีของเรา
  5. พูดเรื่องดีๆ กับตนเองเพื่อเตรียมตัวร่วมรับประทานอาหารกับผู้อื่น. [12] จงเป็นผู้สร้างกำลังใจอย่างดียิ่งให้ตนเองและอยู่เคียงข้างตนเองเสมอ บอกตนเองว่า “เราชอบอาหารที่กินและมั่นใจว่าอาหารที่ชอบนั้นมีรสชาติอร่อยและดีต่อสุขภาพ ถ้ากินแล้วมีการหกเลอะเทอะไปบ้าง เราก็ใช้ผ้าเช็ดปากซับให้เรียบร้อยเสีย ก็หมดเรื่อง ไม่เห็นมีอะไรต้องกังวลเลย”
  6. อาหารคือแหล่งพลังงานและมนุษย์ทุกคนต้องการพลังงานเพื่อนำมาใช้ทำกิจกรรมประจำวันได้ตามปกติ ถ้าเราเปลี่ยนมุมมองการกินอาหารจากการเข้าสังคมเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เราก็จะกดดันตนเองน้อยลง ทุกครั้งที่เรานั่งกินอาหารร่วมกับผู้อื่นให้คิดเสียว่าได้เวลาเติมพลังงานและบำรุงร่างกายแล้ว เราจะไม่มีแรงทำอะไรเลย ถ้าเราไม่กินอาหาร
    • คิดเสียว่าเรากำลังกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของตนเอง แทนที่จะกังวลว่าคนอื่นจะมองท่าทางการกินของเราเป็นอย่างไร
    • สำรวจและเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ [13] เมื่อได้เมนูของร้านอาหารไว้ในมือ เราก็พร้อมที่จะเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพมารับประทาน
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ฝึกรับประทานร่วมกับผู้อื่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เริ่มฝึกทีละเล็กทีละน้อย เพื่อนสนิทและสมาชิกในครอบครัวอยากให้ความช่วยเหลือเราแน่ ถ้าขอให้พวกเขาช่วยเราฝึกการรับประทานร่วมกับผู้อื่น
    • ขอให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวช่วยสังเกตท่าทางการกินของเราและบอกว่ามีจุดไหนที่ดูประหลาดบ้าง การพูดคุยกันอย่างเปิดกว้างจะช่วยให้เราปรับปรุงแก้ไขตนเองได้อย่างตรงจุด เราอาจได้พบด้วยว่าคนอื่นๆ ก็มีประสบการณ์เช่นเดียวกับเราและได้นำสิ่งที่พูดคุยแลกเปลี่ยนกันไปใช้ประโยชน์
    • จงเปิดรับความคิดเห็นใหม่ๆ เพราะความคิดเห็นนั้นอาจช่วยเราให้ปรับปรุงตนเองได้ง่ายขึ้น
  2. การหัวเราะอาจช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น [14] ให้ตนเองหัวเราะและมีอารมณ์ดีขึ้น อย่าจริงจังกับทุกอย่างมากจนเกินไป การรู้สึกเคอะเขินเมื่อกินข้าวอยู่กับผู้อื่นไม่ใช่ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดในชีวิต อาจมีปัญหาหนักกว่านี้ให้เราเผชิญในอนาคต ฉะนั้นจงหัวเราะและมองเห็นสิ่งดีๆ ในชีวิตเข้าไว้
    • หาสถานที่อันเหมาะสม เวลาทำอะไรหกเลอะเทอะ จะได้ไม่เป็นการไปรบกวนคนอื่นและเก็บกวาดได้สะดวก นั่งลงกินข้าวกับเพื่อน ตั้งใจกินอย่างมูมมามและตะกละตะกลามให้มากที่สุด ได้เวลาเล่นกันแล้ว! เริ่มลงมือละเลงอาหารไปทั่วใบหน้าของเรา เล่นอาหารของเราและของเพื่อนเราเสีย เป้าหมายคือปลดปล่อยแรงกดดันอันเกิดมาจากความกังวล และเรียนรู้ประสบการณ์แปลกใหม่ในการกินอาหารร่วมกับผู้อื่นครั้งนี้
  3. ถ้ากลัวว่าจะทำอะไรผิดต่อหน้าผู้คน เราก็จะทำอะไรไม่สะดวก เราจะรู้สึกอึดอัดและหวาดระแวง ไม่สามารถกินอาหารได้อย่างสบายใจ คนที่มองโลกในแห่งดีมักจะไม่กลัวความผิดพลาดและยอมใช้ความผิดพลาดนั้นมาเป็นบทเรียนเพื่อที่จะพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น [15]
    • กินอาหารทุกมื้อพร้อมกับมีทัศนคติที่ดีและบอกตนเองว่า “อาหารมื้อนี้จะต้องอร่อยมากและไม่มีใครจะมาห้ามฉันไม่ให้กินได้ ฉันจะไม่หยุดกินจนกว่าจะอิ่ม”
    • เราสามารถค้นพบความสนุกและความอร่อยได้ทุกมุมโลก ถ้าเราสามารถกินอาหารร่วมโต๊ะกับผู้อื่นได้อย่างสบาย
  4. เราอาจตื่นเต้นเหลือเกิน เมื่อมีโอกาสออกเดทกับใครสักคน ต่างคนก็ต่างอยากรู้ว่าจะเข้ากับอีกฝ่ายได้ไหม และเรื่องนั้นอาจก่อให้เกิดความตึงเครียด ให้ใช้เทคนิคการผ่อนคลายและใช้ทักษะที่เราฝึกในสถานการณ์จริง เราอาจเป็นฝ่ายพูดคุยมากกว่า น้อยกว่า หรือต่างฝ่ายต่างผลัดกันพูดคุย ไม่ว่าจะอย่างไรก็จงกินข้าวกับคู่เดทของเราด้วยความมั่นใจเข้าไว้
    • อาจแค่นัดดื่มกาแฟและกินของว่างเพื่อสร้างความมั่นใจในตนเองมากขึ้น
    • ถ้าออกไปกินอาหารกลางวันหรืออาหารเย็นด้วยกัน พยายามอย่าสั่งอาหารเช่น สปาเกตตี ข้าวโพดแบบเป็นฝัก ซี่โครงหมูบาร์บีคิว และอาหารอะไรก็แล้วแต่ที่กินยากและมีโอกาสเลอะมากเวลากิน
    • ถ้ากินไม่หมด ก็สามารถให้ทางร้านช่วยห่อกลับไปกินที่บ้านได้ ไม่ต้องกดดันตนเองให้พยายามกินทุกอย่างหมดตอนนั้น
    • ถ้าเราและคู่เดทต่างสนุกและมีความสุขที่ได้ใช้เวลาอยู่ด้วยกัน การแบ่งปันของหวานกินด้วยกันนั้นอาจเป็นอะไรที่สร้างความประทับใจไม่รู้ลืม
  5. เมื่อเราถึงจุดที่สามารถกินข้าวร่วมกันเพื่อนสักคนหนึ่งหรือหลายคนได้อย่างสะดวกใจแล้ว ความมั่นใจจะทำให้ทุกอย่างออกมาราบรื่นและรู้สึกว่าเราสามารถทำทุกอย่างได้ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ไหน เราอาจไม่กินอะไรมากนักระหว่างอยู่ในกลุ่มเพื่อน แต่เมื่อเรารับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่นแล้ว เราก็จะได้ประสบการณ์ดีๆ กลับไป
    • การได้พบปะผู้คนในแต่ละครั้งจะทำให้เรามีโอกาสปรับปรุงตนเองและคุ้นชินกับการนั่งรับประอาหารร่วมกับผู้อื่นมากขึ้น
  6. อาการประหม่าเวลานั่งกินข้าวกับผู้อื่นอาจเป็นหนึ่งในอาการของโรคกลัวการเข้าสังคม ถ้าเรามีอาการประหม่าอย่างรุนแรง ให้เข้าพบผู้เชี่ยวชาญหรือนักให้คำปรึกษาเพื่อจะได้หาทางรักษาและแก้ไขบ
    • สัญญาณว่าเราเป็นโรคกลัวการเข้าสังคมหรือโซเชียลโฟเบีย (Social Phobia) คือ กลัวการพบผู้คนมาก เพราะเกรงจะถูกผู้อื่นตัดสินตัวตน เกรงว่าจะทำอะไรที่น่าขายหน้า และกลัวคนอื่นสังเกตเห็นว่าตนเองประหม่าอยู่ เมื่อต้องเข้าสังคมพบปะผู้อื่น ก็จะวิตกกังวล โชคดีที่โรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ เข้าพบแพทย์หรือนักบำบัดเพื่อเข้ารับการรักษา
    • การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถรักษาโรคกลัวการเข้าสังคมให้หายได้ [16]
    • การบำบัดเป็นกลุ่มพร้อมกับเสนอวิธีแก้ปัญหาก็เป็นวิธีที่ได้ผลเช่นกัน [17] อาจจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อรักษาโรคกลัวการเข้าสังคมโดยเฉพาะ หรือจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อช่วยฝึกทักษะเข้าสังคมและแก้ปัญหา
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การเปลี่ยนแปลงตนเองนั้นอาจเป็นอะไรที่ยากลำบาก แต่ก็เป็นความพยายามที่คุ้มค่า
  • ถึงเราจะผิดหวังในตนเองสักแค่ไหน แต่เราก็ต้องเป็นคนแรกที่ให้โอกาสตนเองแก้ตัว
  • ทำลายความเชื่อเก่าๆ ที่ไม่ดีทิ้งไป ถ้าเรายังคิดว่าตนเองไร้ความสามารถ ให้เปลี่ยนความคิดนั้นเสียใหม่
  • อย่าพยายามกินอะไรรองท้องมาล่วงหน้า เพราะถ้าหากถึงเวลาต้องนั่งกินข้าวร่วมโต๊ะกับคนอื่น เราจะได้หิวมากๆ และสนใจแต่อาหาร
  • อย่าคาดหวังกับตนเองในเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ จงเห็นใจตนเองบ้างเมื่อพบเจอความยากลำบาก
  • อย่ารู้สึกอับอายขายหน้า ถ้าเราเกิดทำอาหารหกใส่ตนเอง ผู้อื่น หรือพื้น เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ
  • หาโอกาสลุกไปเข้าห้องน้ำเพื่อตรวจความเรียบร้อยของตนเอง ลองดูกระจกสิว่ามีอะไรติดที่ใบหน้าหรือฟันไหม จะได้ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ขายหน้าได้
  • ดีกับคนที่คอยสนับสนุนช่วยเหลือเราและหลีกเลี่ยงคนที่ชอบซ้ำเติมเรา
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าเห็นว่ามีใครในชีวิตชอบจับผิดเราตลอดเวลา ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม ให้พยายามเลิกคบหา ไม่อย่างนั้นเราจะไม่มีทางมีความสุขได้เลย
  • อย่าปล่อยให้ปัญหานี้เรื้อรัง เพราะอาจทำลายความสนุกในชีวิตด้วยการทำให้เราไม่มีโอกาสออกไปเปิดหูเปิดตา ถ้าเราปฏิเสธคำชวนออกไปเที่ยวของเพื่อนอยู่เรื่อยๆ สุดท้ายพวกเขาก็จะไม่มาชวนเราอีก เราจะรู้สึกโดดเดี่ยวและอาจเริ่มมีปัญหาทางจิตหนักขึ้น
  • ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนที่ไว้ใจมากที่สุดในยามที่ยากลำบาก
  • ถ้าเรารู้สึกวิตกกังวลหรือกลัวอย่างหนักเวลาต้องพบปะผู้คน ให้เข้าพบนักให้คำปรึกษาเพื่อหาทางรักษา


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,285 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา