ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

มีผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าอาหารหลายชนิดช่วยลดหรือคลายอาการวิตกกังวลลงไปได้ แต่ก็มีอาหารบางชนิดที่เพิ่มหรือทำให้เกิดอาการวิตกกังวลหนักขึ้น ถ้าเราเป็นโรควิตกกังวล เราต้องเข้ารับการรักษาด้วยการบำบัดหรือยา [1] แต่ถ้าเรามีอาการวิตกกังวลที่ไม่รุนแรง เราอาจรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนอาหารการกินได้ แค่ปรับเปลี่ยนอาหารการกินและรูปแบบการดำเนินชีวิตไปสักหน่อยก็จะสามารถช่วยเราคลายความวิตกกังวลลงไปได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

กินอาหารที่ช่วยคลายความวิตกกังวล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยป้องกันการอักเสบและมีผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าช่วยทำให้อารมณ์โดยรวมดีขึ้น สามารถรับมือกับความเครียดและเลิกนิสัยติดสารเสพติด [2]
    • กรดไขมันโอเมก้า 3 พบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในน้ำมันปลา เช่น ทูน่า แมกเคอเรล และแซลมอน นอกจากนี้อาหารซึ่งมีไขมันที่ดีต่อสุขภาพยังมีวอลนัต น้ำมันมะกอก และอาโวคาโด ให้กินวันละ 1 หน่วยบริโภค [3]
  2. เชื่อว่าอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตชนิดนี้จะเพิ่มระดับเซโรโทนินในสมอง สารสื่อประสาทนี้มีส่วนช่วยในการรักษาอารมณ์ให้ปกติ [4] ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการมีเซโรโทนินที่สูงจะทำให้อารมณ์สงบ [5]
    • อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ได้แก่ ควินัว ข้าวโอ๊ตแบบไม่ขัดสี ข้าวกล้อง ขนมปัง และพาสต้าแบบโฮลวีต
    • อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนเป็นที่รู้กันอีกด้วยว่ามีเส้นใยอาหาร โปรตีน และวิตามินสูงกว่าคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีหรือคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว [6]
  3. ผลการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ได้แสดงให้เห็นว่าคาโมไมล์สามารถลดอาการวิตกกังวลได้ [7] คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรควิตกกังวลทั่วไปเห็นว่าชาคาโมไมล์ช่วยได้พอสมควรหลังจากบริโภคเป็นประจำ
    • คาโมไมล์มีวางขายอยู่หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ชา ขี้ผึ้งใช้ภายนอก แคปซูล ยาสกัดไหลเหลว และดอกไม้อบแห้ง [8]
    • ถ้าเลือกดื่มชาคาโมไมล์ ให้ดื่มสามถึงสี่ถ้วยต่อวันเพื่อให้ได้ผลพอสมควร [9]
  4. ทริปโตเฟนเป็นกรดอะมิโนที่สำคัญในอาหารของมนุษย์ เราสามารถได้กรดชนิดนี้จากอาหารเท่านั้น ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ [10] ทริปโตเฟนเป็นสารตั้งต้นในการสร้างเซโรโทนินซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่มีส่วนช่วยในการรักษาอารมณ์ให้ปกติ
    • นอกจากนี้ทริปโตเฟนยังลดความวิตกกังวลได้ด้วยการช่วยให้เรานอนหลับได้ง่ายขึ้น [11]
    • ตัวอย่างอาหารที่มีทริบโตเฟนสูง ได้แก่ ชีส ไก่ ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง ไข่ เต้าหู้ ปลา นม ไก่งวง ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วลิสง เนยถั่ว เมล็ดฟักทอง และเมล็ดงา [12]
    • การกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนสูงมีส่วนช่วยให้ทริบโตเฟนสูงขึ้นและร่างกายจะได้รับทริปโตเฟนอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ฉะนั้นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตชนิดนี้จึงช่วยให้สมองได้รับทริปโตเฟนเพื่อสร้างเซโรโทนินมากขึ้น [13]
  5. เชื่อว่าวิตามินบี (โดยหลักคือ โฟเลต วิตามินบี 12 และบี 1) ช่วยรักษาอาการวิตกกังวลได้ด้วยการส่งผลต่อการผลิตสารสื่อประสาทบางตัวของสมอง (เช่น เซโรโทนิน) [14] ฉะนั้นเราต้องกินอาหารที่มีวิตามินบีให้หลากหลายทุกมื้อ
    • พบวิตามินบีต่างๆ เช่น โฟเลต วิตามินบี 12 และบี 1 ในอาหารหลากหลายชนิด แต่พบโดยส่วนใหญ่ในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (เช่น เป็ด ไก่ ไข่ เนื้อและปลา) ผลิตภัณฑ์นม เมล็ดธัญพืช และธัญพืชที่ผ่านการเพิ่มคุณค่าทางอาหาร รวมทั้งผักใบเขียว
    • ผู้สูงอายุ ผู้ที่กินมังสวิรัติ และผู้เป็นโรคระบบทางเดินอาหารอย่างเช่น โรคโครห์ หรือ โรคเซลิแอคมีความเสี่ยงที่จะขาดวิตามินบีสูง [15] การขาดวิตามินบีอาจส่งผลให้มีอาการวิตกกังวล ฉะนั้นอาจต้องกินอาหารเสริมที่มีวิตามินบีเพิ่มเติม
  6. อาหารเช้าที่ให้พลังงานมากขึ้นช่วยให้เราต่อสู้กับผลกระทบจากความวิตกกังวลระหว่างวันได้ [5] อาหารเช้าที่อุดมไปด้วยโปรตีนยังช่วยให้เราอิ่มนานขึ้นตลอดวัน และรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ
    • แหล่งอาหารเช้าที่อุดมไปด้วยโปรตีน ได้แก่ ไข่ โยเกิร์ต ค็อตเทจชีส ชีส ข้าวโอ๊ตแบบไม่ขัดสี และธัญพืชอื่นๆ รวมทั้งเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ
  7. แม้แต่ภาวะขาดน้ำที่ไม่รุนแรงก็อาจส่งผลกระทบต่ออารมณ์และสมดุลพลังงาน [16] การดื่มน้ำให้เพียงพอตลอดวันช่วยจะรักษาปริมาณน้ำในร่างกายให้ปกติ
    • พยายามดื่มน้ำให้ได้ 8 แก้วต่อวัน ปริมาณน้ำที่เราต้องการอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละวัน แต่การดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว หรือ 64 ออนซ์ หรือประมาณ 2 ลิตรก็ยังเป็นหลักการดีๆ ที่ควรทำตามอยู่ [17]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่อาจเพิ่มความวิตกกังวล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กรดไขมันโอเมก้า 6 ซึ่งเราได้จากน้ำมันพืชอาจเพิ่มการอักเสบในสมองและมีส่วนทำให้อารมณ์ผิดปกติ [18]
    • แหล่งอาหารที่พบกรดไขมันโอเมก้า 6 มากที่สุด ได้แก่ น้ำมันเมล็ดคำฝอย น้ำมันข้าวโพด น้ำมันงา และน้ำมันถั่วเหลือง [19]
    • พยายามใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันคาโนลาในการปรุงอาหารและเตรียมอาหารแทนน้ำมันที่มีกรดไขมันโอเมก้า 6 สูง
  2. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์. นอกจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะทำให้จิตใจสงบลงยากแล้ว กระบวนการเผาผลาญแอลกอฮอล์ยังทำให้เรารู้สึกกระวนกระวายและขัดขวางการนอนหลับด้วย [20]
    • ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าแอลกอฮอล์จะกระตุ้นให้เกิดอาการตื่นตระหนกหรืออาการกระวนกระวาย [21]
    • ปริมาณแอลกอฮอล์ที่บริโภคได้สูงสุดต่อวันของผู้หญิงคือหนึ่งแก้วและของผู้ชายคือสองแก้ว แอลกอฮอล์หนึ่งแก้วจะเท่ากับเบียร์ประมาณครึ่งลิตร หรือไวน์ประมาณ 148 มิลลิลิตร [22] แต่ถ้าสามารถเลิกดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยเด็ดขาดจะดีที่สุด เพราะจะได้ช่วยคลายความวิตกกังวลลงไปได้ [23]
  3. นอกจากจะทำให้เกิดความวิตกกังวลสูงด้วยการทำให้รู้สึกกระวนกระวายใจแล้ว ผลของการดื่มคาเฟอีนยังใช้เวลามากถึงแปดชั่วโมงกว่าจะหมดฤทธิ์และขัดขวางการนอนหลับพักผ่อนด้วย [24] [25]
    • คาเฟอีนยังสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการกระวนกระวายและอาการตื่นตระหนกเช่นเดียวกับแอลกอฮอล์ [26]
    • โดยปกติพบคาเฟอีนในกาแฟและชาแต่ก็ยังพบในเครื่องดื่มเกลือแร่ เครื่องดื่มชูกำลัง และอาหารเสริมอื่นๆ ด้วย
    • ดื่มเครื่องดื่มที่ไม่มีคาเฟอีนอย่างเช่น กาแฟและชาแบบที่ไม่มีคาเฟอีน
  4. หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลเชิงเดี่ยว. ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีและน้ำตาลเชิงเดี่ยวมีผลข้างเคียงต่ออารมณ์ กำลังกาย และความวิตกกังวล [27] ฉะนั้นพยายามลดอาหารพวกนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
    • หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตหรือน้ำตาลเชิงเดี่ยวซึ่งได้แก่ น้ำหวาน ของหวานอย่างเช่น ลูกอมหรือเค้ก และอาหารที่ทำมาจากแป้งสาลี เช่น ขนมปังขาวหรือพาสต้า
  5. อาหารและวัตถุเจือปนอาหารบางอย่าง (เช่น วัตถุกันเสีย) สามารถก่อให้เกิดปัญหากับคนที่แพ้อาหารและวัตถุเจือปนอาหารนั้นได้ บางคนมีอารมณ์เปลี่ยนแปลง ฉุนเฉียวง่าย และมีอาการวิตกกังวล เมื่อรับประทานอาหารพวกนั้นเข้าไป [28]
    • พวกสารที่ก่อการระคายเคืองพบได้ทั่วไปในอาหาร เช่น ข้าวสาลี นม ไข่ และน้ำตาล รวมทั้งพบในยาสูบและควัน [29]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ทำกิจกรรมอื่นร่วมด้วยเพื่อลดความวิตกกังวล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาหารเสริมจากสมุนไพรบางชนิดมีผลการการศึกษาซึ่งได้แสดงให้เห็นว่ามีผลช่วยต้านความเครียด แต่ก่อนจะกินอาหารเสริมจากสมุนไพร ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าอาหารเสริมนั้นปลอดภัยและเหมาะสมกับสุขภาพเรา
    • กินอาหารเสริมจากรากของต้นวาเลอเรี่ยน มีผลการศึกษาได้ระบุไว้ว่าวาเลอเรี่ยนมีผลช่วยระงับประสาท จึงนิยมนำมาเป็นใช้ช่วยในการนอนหลับ [30] ผลการศึกษาอื่นๆ ได้แสดงให้เห็นว่ารากของต้นวาเลอเรี่ยนช่วยคลายความเครียดและความวิตกกังวลได้ [31]
    • กินสารสกัดจากดอกเสาวรส ผลการศึกษาบางอย่างได้แสดงให้เห็นว่าดอกเสาวรสช่วยลดความวิตกกังวลลงได้ [32]
    • กินอาหารเสริมจากสะระแหน่ ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าสะระแหน่สามารถลดอาการวิตกกังวลและอาการเครียดได้ [33] แต่ไม่ควรกินอาหารเสริมจากสะระแหน่ ถ้ามีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินกว่าปกติ
  2. การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยเราลดและคลายความวิตกกังวลได้ ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายสามารถช่วยจัดการกับความวิตกกังวลอย่างได้ผลทันทีและรับมือกับความวิตกกังวลได้นาน [34]
    • ทำกิจกรรมแอโรบิกแบบหนักปานกลางสัปดาห์ละ 150 นาที หรือทำกิจกรรมแอโรบิกแบบหนักมากสัปดาห์ละ 75 นาที [35]
    • ชวนเพื่อนหรือหาคู่หูมาออกกำลังกายด้วยกัน การชวนใครสักคนมาออกกกำลังกายด้วยกันจะทำให้การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่สนุก เราจะได้อยากออกกำลังกายบ่อยๆ
  3. เมื่อร่างกายของเราเครียดหรือเรากำลังรู้สึกวิตกกังวลสูง ร่างกายเราต้องการการนอนหลับพักผ่อนมาก [36] ฉะนั้นพยายามนอนหลับให้ได้ประมาณ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน [37]
    • เข้านอนแต่หัวค่ำ และอาจนอนตื่นสายบ้างถ้าจำเป็น
    • ปิดไฟทุกดวงและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดก่อนเข้านอน อย่าให้มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆ อยู่ในห้องนอน ถ้าทำได้
  4. บางครั้งความวิตกกังวลหรือโรควิตกกังวลทั่วไปต้องได้รับการรักษาและประเมินนอกเหนือไปจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตหรืออาหารการกิน ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิต ถ้าเห็นว่าอาการเริ่มรุนแรง มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือมีความวิตกกังวลมาก
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การเขียนแผนการกินช่วยให้เราสามารถปรับเปลี่ยนอาหารการกินอย่างค่อยเป็นค่อยไป
  • การกินอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนได้สัดส่วนและดีต่อสุขภาพอาจช่วยลดอาการวิตกกังวล แต่ไม่อาจรักษาหรือทำให้หายขาดได้ เราอาจต้องเข้าพบและรับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ
  • มีรูปแบบชีวิตหรือพฤติกรรมอื่นๆ อีกมากมายที่สามารถช่วยคลายความวิตกกังวลนอกเหนือไปจากอาหารการกิน การจดบันทึก การทำสมาธิ การหายใจเข้าลึกๆ หรือเข้าร่วมกลุ่มทำกิจกรรมกับผู้อื่นก็ช่วยคลายหรือลดความวิตกกังวลได้
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าตอนนี้ไม่ได้เข้ารับการรักษากับผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิต ลองเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญโรควิตกกังวล อาจต้องใช้วิธีพบผู้เชี่ยวชาญจริงๆ ถ้าหากว่าการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตและอาหารการกินไม่ได้ผล
  • ปรึกษาแพทย์ก่อนจะตัดสินใจปรับเปลี่ยนอาหารการกินและรูปแบบการดำเนินชีวิต เราจะได้แน่ใจว่าการปรับเปลี่ยนดังกล่าวนั้นปลอดภัยและเหมาะสมกับเรา


โฆษณา
  1. http://www.umm.edu/ency/article/002332.htm
  2. http://www.umm.edu/ency/article/002332.htm
  3. http://www.umm.edu/ency/article/002332.htm
  4. http://www.nytimes.com/2007/09/04/health/04real.html
  5. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/depression/expert-answers/vitamin-b12-and-depression/faq-20058077
  6. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/depression/expert-answers/vitamin-b12-and-depression/faq-20058077
  7. http://www.mayoclinic.com/health/coping-with-anxiety/AN01589
  8. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/water/art-20044256
  9. http://www.psychologytoday.com/blog/in-the-zone/201201/anxiety-and-omega-3-fatty-acids
  10. https://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/omega6-fatty-acids
  11. http://www.mayoclinic.com/health/coping-with-anxiety/AN01589
  12. http://www.adaa.org/tips-manage-anxiety-and-stress
  13. http://pubs.niaaa.nih.gov/publications/Practitioner/pocketguide/pocket_guide2.htm
  14. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/alcohol/art-20044551
  15. http://www.mayoclinic.com/health/coping-with-anxiety/AN01589
  16. http://www.mayoclinic.com/health/foods-that-help-you-sleep/AN01582
  17. http://www.adaa.org/tips-manage-anxiety-and-stress
  18. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/generalized-anxiety-disorder/expert-answers/coping-with-anxiety/faq-20057987
  19. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/generalized-anxiety-disorder/expert-answers/coping-with-anxiety/faq-20057987
  20. http://cchrflorida.org/can-anxiety-attack-symptoms-be-caused-by-food-allergies/
  21. http://www.mayoclinic.com/health/anxiety/DS01187/DSECTION=alternative-medicine
  22. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/generalized-anxiety-disorder/expert-answers/herbal-treatment-for-anxiety/faq-20057945
  23. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/generalized-anxiety-disorder/expert-answers/herbal-treatment-for-anxiety/faq-20057945
  24. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/generalized-anxiety-disorder/expert-answers/herbal-treatment-for-anxiety/faq-20057945
  25. http://www.adaa.org/living-with-anxiety/managing-anxiety/exercise-stress-and-anxiety
  26. http://www.adaa.org/tips-manage-anxiety-and-stress
  27. http://www.adaa.org/tips-manage-anxiety-and-stress
  28. http://www.adaa.org/tips-manage-anxiety-and-stress
  29. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/anxiety/basics/symptoms/con-20026282
  30. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/anxiety/basics/symptoms/con-20026282

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,511 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา