ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Excel เป็นโปรแกรม spreadsheet ที่รวมอยู่ในชุดโปรแกรม Microsoft Office คุณใช้ Microsoft Excel คำนวณ monthly payment หรือค่างวดที่ต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือนได้เลย ไม่ว่าจะเป็นชำระยอดบัตรเครดิตหรือเงินกู้อื่นๆ จะได้แบ่งเงินไปชำระค่างวดและกำหนดงบการเงินส่วนบุคคลได้แม่นยำยิ่งขึ้น คุณคำนวณค่างวดรายเดือนด้วย Excel ได้ง่ายๆ โดยใช้ฟีเจอร์ "functions"

    • จะได้หาไฟล์นี้เจอง่ายๆ ภายหลังเวลาต้องการอ้างอิงหรือต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูล
  1. กำหนด label ในเซลล์ A1 ถึง A4 ไว้ใช้กับตัวแปรและผลลัพธ์การคำนวณค่างวด.
    • พิมพ์ "Balance (ยอดคงเหลือ)" ในเซลล์ A1, "Interest rate (อัตราดอกเบี้ย)" ในเซลล์ A2 และ "Periods (ระยะเวลา)" ในเซลล์ A3
    • พิมพ์ "Monthly Payment (ค่างวดผ่อนชำระรายเดือน)" ในเซลล์ A4
  2. ใส่ตัวแปร (variables) ของบัญชีเงินกู้หรือบัตรเครดิตของคุณในเซลล์ B1 ถึง B3 เพื่อสร้างสูตรใน Excel.
    • ยอดเงินคงค้างที่ต้องชำระ จะอยู่ในเซลล์ B1
    • อัตราดอกเบี้ยต่อปี หารด้วยระยะเวลาสะสมใน 1 ปี จะอยู่ในเซลล์ B2 ตรงนี้ใช้สูตร Excel ได้ เช่น "=.06/12" แทนดอกเบี้ย 6% ต่อปี ที่สะสมต่อเดือน
    • ระยะเวลาการกู้ จะอยู่ในเซลล์ B3 ถ้าจะคำนวณหาค่างวดของบัตรเครดิต ให้ใส่ระยะเวลาตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ต้องการปิดยอด ให้หน่วยเป็นเดือน
    • เช่น ถ้าอยากชำระหนี้บัตรเครดิตให้หมดใน 3 ปี ก็ต้องใส่ระยะเวลาเป็น "36" เดือน (3 ปีคูณ 12 เดือน ก็เท่ากับ 36 เดือนนั่นเอง)
  3. คลิกปุ่มลัดใส่ฟังก์ชั่น (function shortcut) ที่ขอบซ้ายของแถบ Formulas. ที่ปุ่มจะเขียนว่า "fx"
  4. อ้างอิงไปยังเซลล์ต่างๆ ที่ลงรายละเอียดไว้ ในแต่ละช่องของหน้าต่าง "Function Arguments".
    • คลิกในช่อง "Rate" แล้วคลิกเซลล์ B2 ช่อง "Rate" จะดึงข้อมูลจากเซลล์ที่ว่ามาใช้
    • ทำแบบเดียวกันกับช่อง "Nper" โดยคลิกในช่องนี้ แล้วคลิกเซลล์ B3 เพื่อดึงข้อมูลระยะเวลามา
    • ทำซ้ำอีกรอบกับช่อง "PV" โดยคลิกในช่อง แล้วคลิกเซลล์ B1 เพื่อดึงข้อมูลเงินกู้คงเหลือหรือยอดบัตรเครดิตมาใช้กับฟังก์ชั่น
  5. ปล่อยช่อง "FV" กับช่อง "Type" ในหน้าต่าง "Function Arguments" ว่างไว้.
    • ค่างวดผ่อนชำระรายเดือนที่คำนวณแล้ว จะไปโผล่ในเซลล์ B4 ข้าง label "Monthly Payment"
  6. โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ให้ copy เซลล์ต่างๆ ตั้งแต่ A1 - B4 แล้ว paste ในเซลล์ D1 - E4 จะได้แก้ไขรายละเอียดในการคำนวณครั้งที่ 2 และตรวจทานตัวแปรที่ต่างออกไป โดยยังคงการคำนวณแรกไว้
โฆษณา

คำเตือน

  • เช็คให้ชัวร์ว่าแปลงอัตราดอกเบี้ยเป็นทศนิยม และหารอัตราดอกเบี้ยต่อปีด้วยระยะเวลาใน 1 ปีที่ดอกเบี้ยสะสมแล้ว ถ้าดอกเบี้ยสะสมเป็นรายไตรมาส ก็ต้องหารอัตราดอกเบี้ยด้วย 4 แต่ถ้าปีละ 2 ครั้ง ก็ต้องหารด้วย 2
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • คอมพิวเตอร์
  • โปรแกรม Microsoft Excel
  • รายละเอียดบัญชี

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 22,927 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา