ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ในทางเศรษฐศาสตร์ อรรถประโยชน์เพิ่ม (MU) เป็นวิธีวัดมูลค่าหรือความพึงพอใจที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคบางสิ่ง ตามหลักทั่วไปแล้ว อรรถประโยชน์เพิ่มเท่ากับความเปลี่ยนแปลงของอรรถประโยชน์รวมหารด้วยความเปลี่ยนแปลงของปริมาณสินค้าที่ถูกบริโภค [1] วิธีคิดทั่วไปก็คือ อรรถประโยชน์เพิ่มคืออรรถประโยชน์ที่เราได้รับจากการบริโภคสินค้าเพิ่มขึ้นในแต่ละหน่วยนั่นเอง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ใช้สมการอรรถประโยชน์เพิ่ม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เข้าใจแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์เรื่องอรรถประโยชน์. อรรถประโยชน์คือ "มูลค่า" หรือ "ความพอใจ" ที่ผู้บริโภคได้รับจากการบริโภคสินค้าจำนวนหนึ่ง วิธีทำความเข้าใจที่ดีวิธีหนึ่งก็คือ อรรถประโยชน์คือจำนวนเงินที่ผู้บริโภคน่าจะจ่ายเพื่อความพอใจที่ได้รับจากสินค้านั้นๆ [2]
    • เช่น สมมุติว่าคุณหิวเลยจะซื้อปลามารับประทานเป็นอาหารเย็น สมมุติว่าปลา 1 ตัวราคา 60 บาท ถ้าคุณหิวมากจนคุณยอมจ่าย 240 บาทสำหรับปลา 1 ตัว ก็เท่ากับว่าปลามีอรรถประโยชน์อยู่ที่ 240 บาท พูดอีกอย่างคือคุณเต็มใจจ่ายเงิน 240 บาทเพื่อให้ได้ความพึงพอใจจากปลาไม่ว่าจริงๆ แล้วมันจะราคาเท่าไหร่ก็ตาม
  2. หาอรรถประโยชน์รวมจากการบริโภคสินค้าจำนวนหนึ่ง. อรรถประโยชน์รวมเป็นแค่แนวคิดเรื่องอรรถประโยชน์ที่ใช้กับสินค้ามากกว่า 1 อย่าง ถ้าการบริโภคสินค้า 1 อย่างให้อรรถประโยชน์กับคุณจำนวนหนึ่ง การบริโภคสินค้าเดียวกันมากกว่า 1 อย่างอาจให้อรรถประโยชน์สูงขึ้น น้อยลง หรือเท่าเดิม [3]
    • เช่น สมมุติว่าคุณคิดว่าจะรับประทานปลา 2 ตัว แต่หลังจากรับประทานปลาตัวแรกไปแล้ว คุณก็ไม่หิวเท่าก่อนหน้านี้ ตอนนี้คุณจะจ่ายแค่ 180 บาทเพื่อให้ได้ความพึงพอใจเพิ่มจากปลาตัวที่ 2 ณ ตอนนี้มันไม่ได้มีค่ากับคุณมากนักเพราะคุณเริ่มอิ่มแล้ว หมายความว่าปลา 2 ตัวรวมกันมี "อรรถประโยชน์รวม" เท่ากับ 180 + 240 (ปลาตัวแรก) = 420 บาท
    • จำไว้ว่ามันไม่เกี่ยวว่าคุณซื้อปลาตัวที่ 2 จริงๆ หรือเปล่า อรรถประโยชน์เพิ่มเกี่ยวกับว่าคุณจะจ่ายเท่าไหร่เท่านั้น ในชีวิตจริงนักเศรษฐศาสตร์ใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนในการคาดการณ์ว่าผู้บริโภคน่าจะจ่ายเท่าไหร่
  3. หาอรรถประโยชน์รวมจากการบริโภคสินค้าจำนวนต่างๆ กัน. ในการหาอรรถประโยชน์เพิ่ม คุณต้องหาอรรถประโยชน์รวม 2 ค่าที่แตกต่างกัน แล้วใช้ค่าความต่างระหว่าง 2 ค่านั้นมาคำนวณอรรถประโยชน์เพิ่ม [4]
    • สมมุติว่า ในสถานการณ์ตัวอย่างในขั้นตอน 2 คุณหิวมากจนกะว่าจะรับประทานปลาทั้งหมด 4 ตัว หลังจากรับประทานปลาตัวที่ 2 คุณก็เริ่มอิ่มเล็กน้อย คุณก็เลยจะจ่ายเงินแค่ 90 บาทสำหรับปลาตัวที่ 3 แล้วพอรับประทานปลาตัวที่ 3 หมด คุณก็เกือบจะอิ่มเต็มที่แล้ว ก็เลยจะจ่ายแค่ 30 บาทสำหรับปลาตัวที่ 4
    • ความพึงพอใจที่คุณจะได้แทบจะไม่เหลือเลยเพราะคุณรู้สึกอิ่มจนไม่สบายตัว คุณสามารถพูดได้ว่าปลา 4 ตัวมีค่าอรรถประโยชน์รวมอยู่ที่ 240 + 180 + 90 + 30 = 540 บาท
  4. หารค่าความต่างของอรรถประโยชน์รวมด้วยค่าความต่างของหน่วย คำตอบที่คุณได้จะเป็นอรรถประโยชน์เพิ่ม หรืออรรถประโยชน์ของสินค้าที่ถูกบริโภคเพิ่มแต่ละหน่วย [5] ในสถานการณ์ตัวอย่าง คุณสามารถคำนวณอรรถประโยชน์เพิ่มได้ดังนี้ :
    • 540 - 420 (ตัวอย่างจากขั้นตอน 2) = 120 บาท
    • 4 (ตัว) - 2 (ตัว) = 2
    • 120/2 = 60 บาท
    • หมายความว่า ระหว่างปลาตัวที่ 2 ถึงปลาตัวที่ 4 ปลาที่เพิ่มขึ้นแต่ละตัวมีอรรถประโยชน์กับคุณแค่ตัวละ 60 บาท นี่คือมูลค่าเฉลี่ย เพราะแน่นอนว่าปลาตัวที่ 3 มีมูลค่าแท้จริง 90 บาท และปลาตัวที่ 4 มูลค่าที่แท้จริงที่ 30 บาท
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

คำนวณอรรถประโยชน์เพิ่มต่อหน่วยที่เพิ่มขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้สมการหาอรรถประโยชน์เพิ่มของแต่ละหน่วยที่เพิ่มขึ้น. ในตัวอย่างด้านบน เราหา ค่าเฉลี่ย ของอรรถประโยชน์ของสินค้าหลายอย่างที่เราบริโภค ซึ่งก็เป็นวิธีใช้อรรถประโยชน์ที่ถูกต้องวิธีหนึ่ง แต่จริงๆ แล้วมันมักใช้กับหน่วยสินค้าที่ถูกบริโภคแต่ละหน่วยมากกว่า ซึ่งจะทำให้เราได้อรรถประโยชน์ที่ถูกต้องของสินค้าที่เพิ่มมาแต่ละหน่วย (ไม่ใช่มูลค่าเฉลี่ย) [6]
    • การหาค่านี้ง่ายกว่าที่อธิบายไป แค่ใช้สมการธรรมดาหาอรรถประโยชน์เพิ่มเมื่อการเปลี่ยนแปลงของจำนวนสินค้าที่ถูกบริโภคเท่ากับ 1
    • จากสถานการณ์ตัวอย่าง คุณรู้อรรถประโยชน์เพิ่มของปลาแต่ละตัวแล้ว ตอนที่คุณยังไม่ได้รับประทานปลาเลย ค่าอรรถประโยชน์เพิ่มของปลาตัวแรกคือ 240 บาท (240 บาทจากค่าอรรถประโยชน์รวม – 0 บาทจากปลาก่อนตัวก่อนหน้า/การเปลี่ยนแปลง 1 หน่วย) ค่าอรรถประโยชน์เพิ่มของปลาตัวที่ 2 คือ 180 บาท (420 บาทจากค่าอรรถประโยชน์รวม – 240 บาทของปลาตัวก่อนหน้า/การเปลี่ยนแปลง 1 หน่วย) ไปเรื่อยๆ
  2. ในทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ผู้บริโภคตัดสินใจว่าจะใช้เงินอย่างไรโดยพยายามให้ได้อรรถประโยชน์สูงสุด พูดอีกอย่างก็คือผู้บริโภคอยากได้ความพึงพอใจให้มากที่สุดจากเงินที่จ่ายไป หมายความว่าผู้บริโภคมีแนวโน้มจะจ่ายเงินซื้อผลิตภัณฑ์หรือสินค้าจนกว่าอรรถประโยชน์เพิ่มจากการซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นอีก 1 หน่วยจะน้อยกว่าต้นทุนส่วนเพิ่ม (ราคาจากการจ่ายเพิ่มอีก 1 หน่วย) [7]
  3. กลับไปดูที่สถานการณ์ตัวอย่างอีกครั้ง ตอนแรกเราบอกว่าปลาแต่ละตัวมีอรรถประโยชน์ 60 บาท จากนั้นเราก็กำหนดว่าปลาตัวแรกมีอรรถประโยชน์เพิ่ม 240 บาท ปลาตัวที่ 2 มีอรรถประโยชน์เพิ่ม 180 บาท ปลาตัวที่ 3 มีอรรถประโยชน์เพิ่ม 90 บาท และปลาตัวที่ 4 มีอรรถประโยชน์เพิ่ม 30 บาท [8]
    • ถ้าดูจากข้อมูลนี้ สุดท้ายแล้วคุณจะไม่ซื้อปลาตัวที่ 4 เพราะอรรถประโยชน์เพิ่มของมัน (30 บาท) น้อยกว่าต้นทุนส่วนเพิ่ม (60 บาท) โดยพื้นฐานแล้วคุณกำลังเสียอรรถประโยชน์จากการซื้อนี้ เพราะฉะนั้นมันจึงไม่ได้ให้ประโยชน์กับคุณ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ใช้แผนภูมิอรรถประโยชน์

ดาวน์โหลดบทความ
Tickets Bought Total utility Marginal utility
Example Chart: Tickets to a Film Festival
1
10 10
2
18 8
3
24 6
4
28 4
5
30 2
6
30 0
7
28 -2
8
18 -10
  1. แบ่งคอลัมน์ออกเป็นจำนวน อรรถประโยชน์รวม และอรรถประโชน์เพิ่ม. แผนภูมิอรรถประโยชน์ส่วนใหญ่จะมีอย่างน้อย 3 คอมลันม์ ซึ่งบางครั้งอาจจะมีมากกว่านั้น แต่แบบนี้จะแสดงข้อมูลที่สำคัญมากที่สุด โดยทั่วไปจะเรียงจากซ้ายไปขวา [9]
    • จำไว้ว่าชื่อคอลัมน์อาจจะไม่ได้เป็นแบบนี้เป๊ะๆ เช่น คอลัมน์ "จำนวน" อาจชื่อว่า "จำนวนที่ซื้อมา" "หน่วยที่ซื้อ" หรือ อะไรที่คล้ายๆ กัน สิ่งสำคัญคือข้อมูลที่อยู่ในคอลัมน์
  2. แผนภูมิอรรถประโยชน์เพิ่มแบบ "คลาสสิก" มักจะใช้เพื่อแสดงว่า ขณะที่ผู้บริโภคซื้อสินค้าใดสินค้าหนึ่งมากขึ้น ความปรารถนาที่จะซื้อสินค้าอื่นๆ มากขึ้นก็จะลดลง พูดอีกอย่างคือ ผ่านไปจุดหนึ่ง อรรถประโยชน์เพิ่มของสินค้าที่ซื้อเพิ่มมาแต่ละหน่วยจะเริ่มลดลง สุดท้ายแล้วผู้บริโภคจะเริ่มมีความพึงพอใจโดยรวมน้อยลงกว่าตอนก่อนซื้อสินค้าเพิ่ม [10]
    • จากตัวอย่างแผนภูมิด้านบน แนวโน้มของการลดน้อยถอยลงของผลผลิตเริ่มเกือบจะตั้งแต่เริ่มต้น ตั๋วเทศกาลภาพยนตร์ใบแรกให้ค่าอรรถประโยชน์มาก แต่ตั๋วแต่ละใบหลังจากตั๋วใบแรกก็จะมีค่าอรรถประโยชน์น้อยลงเรื่อยๆ หลังจากซื้อตั๋วไปแล้ว 6 ใน กลายเป็นว่าจริงๆ แล้วตั๋วที่เพิ่มมาแต่ละใบนั้นมีค่าอรรถประโยชน์ที่เป็นลบ ซึ่งลดความพึงพอใจสุทธิ คำอธิบายสำหรับเหตุการณ์นี้ก็คือ หลังจากไปดูมาแล้ว 6 ครั้ง ผู้บริโภคเริ่มจะเบื่อกับการดูภาพยนตร์เรื่องเดิมๆ ซ้ำไปซ้ำมาแล้ว
  3. นี่คือจุดที่ราคาสุดท้ายสูงกว่าค่าอรรถประโยชน์เพิ่ม แผนภูมิอรรถประโยชน์เพิ่มทำให้คุณคาดการณ์ว่าผู้บริโภคจะซื้อสินค้ากี่หน่วยได้ง่ายขึ้น แต่นึกไว้ด้วยว่าผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าจนกว่าราคาสุดท้าย (ราคาของสินค้าอีกแค่ 1 หน่วย) สูงกว่าค่าอรรถประโยชน์เพิ่ม ถ้าคุณรู้ว่าราคาสินค้าที่นำมาวิเคราะห์อยู่ที่เท่าไหร่ จุดที่อรรถประโยชน์จะสูงที่สุดก็คือแถวสุดท้ายที่อรรถประโยชน์เพิ่มสูงกว่าต้นทุนเพิ่ม [11]
    • สมมุติว่าตั๋วในแผนภูมิตัวอย่างราคาใบละ 90 บาท ในกรณีนี้อรรถประโยชน์จะสูงที่สุดเมื่อผู้บริโภคซื้อตั๋ว 4 ใบ ตั๋วใบถัดไปหลังจากนี้จะมีค่าอรรถประโยชน์อยู่ที่ 60 บาท ซึ่งน้อยกว่าต้นทุนเพิ่ม 90 บาท
    • จำไว้ว่าอรรถประโยชน์ไม่จำเป็นต้องสูงสุดเมื่อค่าอรรถประโยชน์เริ่มติดลบเสมอไป มันเป็นไปได้ที่สินค้าจะให้ประโยชน์บางอย่างแก่ผู้บริโภคแม้ว่ามันจะไม่ "คุ้มค่า" เช่น ตั๋วใบที่ 5 ในแผนภูมิข้างบนยังมีค่าอรรถประโยชน์เท่ากับ 60 บาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าอรรถประโยชน์เพิ่มไม่ได้ติดลบแต่ก็ยังลดอรรถประโยชน์รวมอยู่ดีเพราะมันไม่คุ้มราคา
  4. พอคุณมีคอลัมน์ "หลัก" 3 คอลัมน์ด้านบนแล้ว คุณก็จะได้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขของสถานการณ์จำลองที่แผนภูมิวิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะจริงเป็นพิเศษหากคุณใช้โปรแกรม spreadsheet เช่น Microsoft Excel ที่คิดเลขให้คุณได้ ต่อไปนี้เป็นข้อมูล 2 ประเภทที่คุณอาจจะอยากใส่เพิ่มไว้ทางด้านขวาของ 3 คอมลัน์ด้านบน: [12]
    • อรรถประโยชน์เฉลี่ย: อรรถประโยชน์รวมในแต่ละแถวที่หารด้วยจำนวนสินค้าที่ถูกซื้อไป [13]
    • ส่วนเกินผู้บริโภค: อรรถประโยชน์เพิ่มในแต่ละแถวลบต้นทุนเพิ่มของสินค้า ซึ่งแสดงถึง "กำไร" ในแง่ของอรรถประโยชน์ที่ผู้บริโภคได้จากการซื้อสินค้าแต่ละชิ้น ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า "ส่วนเกินทางเศรษฐกิจ" [14]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คุณต้องเข้าใจว่าสถานการณ์ที่ยกตัวอย่างมานั้นเป็นสถานการณ์จำลอง ซึ่งก็คือมันแสดงผู้บริโภคแบบสมมุติ (ไม่ใช่ผู้บริโภคตัวจริง) ในชีวิตจริงผู้บริโภคไม่ได้มีเหตุผลสมบูรณ์แบบ เช่น พวกเขาอาจะไม่ได้ซื้อสินค้าจำนวนมากเท่าที่จำเป็นเป๊ะๆ เพื่อให้ได้อรรถประโยชน์สูงสุด โมเดลเศรษฐศาสตร์ที่ดีเป็นเครื่องมือที่ช่วยคาดการณ์พฤติกรรมอย่างกว้างๆ ได้อย่างยอดเยี่ยม แต่ก็มักจะไม่ได้ "สอดคล้อง" กับชีวิตจริงเป๊ะๆ [15]
  • ถ้าคุณเพิ่มคอลัมน์ส่วนเกินผู้บริโภคเข้าไปในแผนภูมิ (ตามที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น) จุดที่อรรถประโยชน์มีค่าสูงสุดจะอยู่แถวสุดท้ายก่อนที่ส่วนเกินผู้บริโภคจะติดลบ
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 21,391 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา