PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

คุณสามารถคูณรากที่สองอันเป็นนิพจน์ติดรากรูปแบบหนึ่งได้เหมือนการคูณจำนวนเต็มทั่วไป บางครั้งรากที่สองอาจมีตัวสัมประสิทธิ์ (จำนวนเต็มที่อยู่หน้าเครื่องหมายกรณฑ์) แต่นั่นก็แค่เพิ่มขั้นตอนในการคูณขึ้นมาอีกขั้นเดียวและไม่ได้เปลี่ยนแปลงกระบวนการหาคำตอบแต่อย่างใด ส่วนที่จะหลอกเรามากที่สุดในการคูณรากที่สองนั้นอยู่ตรงการทอนนิพจน์ให้ได้คำตอบสุดท้ายต่างหาก แต่กระทั่งขั้นตอนนี้ก็ยังถือว่าง่ายหากคุณทราบกำลังสองสมบูรณ์

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

คูณรากที่สองที่ไม่มีตัวสัมประสิทธิ์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตัวถูกถอดกรณฑ์ (radicand) คือตัวเลขที่อยู่ใต้เครื่องหมายกรณฑ์ [1] ในการคูณตัวถูกถอดกรณฑ์นั้น ให้คูณตัวเลขเหมือนว่ามันเป็นจำนวนเต็ม ให้แน่ใจว่ายังคงเก็บผลลัพธ์ไว้ใต้เครื่องหมายกรณฑ์เดียวกัน [2]
    • ตัวอย่าง หากคุณกำลังคำนวณ , คุณจะต้องคิด ดังนั้น
  2. แยกตัวประกอบกำลังสองสมบูรณ์ภายในตัวถูกถอดกรณฑ์. ให้ดูว่ามีกำลังสองสมบูรณ์ที่เป็นตัวประกอบอยู่ในตัวถูกถอดกรณฑ์หรือไม่ [3] หากคุณไม่สามารถแยกตัวประกอบกำลังสองสมบูรณ์ได้เลย คำตอบของคุณนั้นอยู่ในรูปที่ง่ายที่สุดแล้วและไม่ต้องทำอะไรเพิ่มอีก
    • กำลังสองสมบูรณ์คือผลของการคูณจำนวนเต็ม (จำนวนเต็มทั้งบวกและลบ) ด้วยตัวมันเอง [4] เช่น 25 เป็นกำลังสองสมบูรณ์ เพราะ
    • ตัวอย่าง สามารถดึงตัวประกอบกำลังสองสมบูรณ์ 25 ออกมา:

      =
  3. วางกำลังสองของกำลังสองสมบูรณ์หน้าเครื่องหมายกรณฑ์. เก็บตัวประกอบอื่นไว้ใต้เครื่องหมายกรณฑ์ นี่เป็นการทอนพจน์ให้อยู่ในรูปง่ายขึ้น
    • ตัวอย่าง สามารถแยกตัวประกอบเป็น ดังนั้นคุณจะต้องดึงรากที่สองของ 25 (ซึ่งก็คือ 5) ออกมา:

      =
      =
  4. ในบางตัวอย่าง คุณจำเป็นต้องคูณรากที่สองด้วยตัวมันเอง การยกกำลังตัวเลขแล้วเอารากที่สองออกนั้นเป็นการทำตรงกันข้าม ดังนั้น มันจะหักล้างกันเอง ผลของการยกกำลังสองรากที่สองจะเป็นแค่ตัวเลขที่อยู่ใต้เครื่องหมายกรณฑ์ [5]
    • ตัวอย่าง คุณได้ผลเช่นนี้เพราะ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

คูณรากที่สองที่มีตัวสัมประสิทธิ์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตัวสัมประสิทธิ์ (coefficient) เป็นตัวเลขที่อยู่หน้าเครื่องหมายกรณฑ์ ให้ทำโดยไม่สนใจเครื่องหมายกรณฑ์กับตัวถูกถอดกรณฑ์ แค่คูณจำนวนเต็มทั้งสองเข้าด้วยกัน วางผลลัพธ์ที่ได้หน้าเครื่องหมายกรณฑ์ตัวแรก
    • ให้ความสำคัญกับเครื่องหมายบวกหรือลบเวลาคูณตัวสัมประสิทธิ์ อย่าลืมว่าลบคูณบวกได้ลบ และลบคูณลบได้บวก
    • ตัวอย่าง หากคุณกำลังคำนวณ คุณต้องคำนวณก่อนว่า ตอนนี้โจทย์ของคุณจึงกลายเป็น
  2. ทำโดยคูณตัวเลขราวกับมันเป็นจำนวนเต็ม ให้แน่ใจว่ายังคงเก็บผลลัพธ์ที่ได้อยู่ใต้เครื่องหมายกรณฑ์
    • ตัวอย่าง หากโจทย์ตอนนี้คือ ในการหาผลลัพธ์ของตัวถูกถอดกรณฑ์นั้น คุณต้องคำนวณ ดังนั้น โจทย์ตอนนี้จะกลายเป็น
  3. แยกตัวประกอบหากำลังสองสมบูรณ์ในตัวถูกถอดกรณฑ์ถ้าเป็นไปได้. คุณต้องทำเพื่อให้ได้คำตอบในรูปที่ง่ายที่สุด [6] หากคุณไม่สามารถดึงกำลังสองสมบูรณ์ออกมาได้ แสดงว่าคำตอบนั้นอยู่ในรูปง่ายที่สุดแล้วและข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย
    • กำลังสองสมบูรณ์คือผลของการคูณจำนวนเต็ม (จำนวนเต็มทั้งบวกและลบ) ด้วยตัวมันเอง [7] เช่น 4 เป็นกำลังสองสมบูรณ์ เพราะ
    • ตัวอย่าง สามารถแยกตัวประกอบเพื่อดึงกำลังสองสมบูรณ์ 4 ออกมา:

      =
  4. คูณรากที่สองของกำลังสองสมบูรณ์ด้วยตัวสัมประสิทธิ์. เก็บตัวประกอบที่เหลือไว้ใต้เครื่องหมายกรณฑ์ นี่จะเป็นการทอนพจน์ให้อยู่ในรูปง่ายที่สุด
    • ตัวอย่าง สามารถแยกตัวประกอบเป็น ดังนั้นคุณจะดึงรากที่สองของ 4 (ซึ่งก็คือ 2) แล้วคูณมันด้วย 6:

      =
      =
      =
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จำตัวที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์ให้ได้เพราะจะทำให้ทำโจทย์ได้ง่ายขึ้น!
  • ทำตามกฎเครื่องหมายปกติเพื่อดูว่าตัวสัมประสิทธิ์ใหม่นี้ควรเป็นบวกหรือลบ สัมประสิทธิ์บวกเมื่อคูณกับสัมประสิทธิ์ลบจะได้ลบ สัมประสิทธิ์บวกทั้งคู่คูณกันเองหรือสัมประสิทธิ์ลบทั้งคู่คูณกันเองจะได้บวก
  • พจน์ทั้งหมดที่อยู่ใต้เครื่องหมายรากจะเป็นบวกเสมอ คุณจึงไม่ต้องกังวลเรื่องกฎเครื่องหมายเวลาคูณตัวถูกถอดกรณฑ์
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ดินสอ
  • กระดาษ
  • เครื่องคิดเลข

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 132,475 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา