ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการค้นหาเว็บไซต์ผ่าน Google ที่เป็น search engine ใหญ่สุดของโลก พอรู้วิธีค้นหาเบื้องต้นแล้ว ก็ไปเรียนรู้วิธีการค้นหาขั้นสูงแบบใช้พารามิเตอร์เฉพาะเจาะจง รวมถึง tools และฟิลเตอร์ต่างๆ ให้ผลการค้นหาออกมาตรงตามความต้องการที่สุด

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ค้นหาเว็บทั่วไป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณใช้งาน Google ได้จากเบราว์เซอร์ไหนก็ได้ เช่น Safari, Microsoft Edge, Google Chrome และ Mozilla Firefox
    • Android: ถ้าใช้มือถือหรือแท็บเล็ต Samsung ให้แตะไอคอน Internet หรือ Samsung Internet ถ้าเป็นยี่ห้ออื่น ให้แตะ Chrome , Browser , Web หรืออื่นๆ ที่ใกล้เคียง
    • iPhone and iPad: แตะไอคอน Safari ที่เป็นรูปเข็มทิศ ทางด้านล่างของหน้า home เพื่อเปิดเบราว์เซอร์
    • Mac: ปกติเครื่อง Mac จะมาพร้อมเบราว์เซอร์ Safari ก็เปิดได้โดยคลิกไอคอนเข็มทิศ ที่ Dock ปกติจะอยู่ด้านล่างของหน้าจอ
    • Windows 10: ปกติ PC จะมาพร้อมเบราว์เซอร์ Microsoft's Edge ให้เปิดโดยคลิกโลโก้ Windows ที่มุมซ้ายล่างของหน้าจอ แล้วคลิกช่อง Microsoft Edge ในเมนู
    • Windows 8 and earlier: ให้ใช้เบราว์เซอร์ Internet Explorer ที่ไอคอนเป็นตัว "e" สีฟ้า ในเมนู Start
  2. แถบ address ก็คือช่องยาวๆ ด้านบนของเบราว์เซอร์ ถ้าใช้มือถือหรือแท็บเล็ต ให้แตะแถบ address แล้วคีย์บอร์ดจะโผล่มา ก็เริ่มพิมพ์ได้เลย ถ้าใช้คอม ให้คลิกแถบ address แล้วเริ่มพิมพ์ได้เลย
    • หากคุณใช้แอป Google ในโทรศัพท์หรือแท็บเล็ต ให้ข้ามไปขั้นตอนที่ 4
    • เบราเซอร์บางตัว เช่น Chrome, Safari, และ KaiOS ยอมให้คุณพิมพ์คำที่ค้นหาลงไปในแถบ address ได้โดยตรงแทนที่จะต้องไปเข้าเว็บของ Google ก่อน แต่เบราเซอร์อื่นอาจตั้งค่าดั้งเดิมไว้ที่เสิร์จเอนจินตัวอื่น เช่น Microsoft Edge กับ Bing
  3. ถ้าใช้มือถือหรือแท็บเล็ต ให้แตะปุ่ม Search หรือ Enter ที่คีย์บอร์ดแทน เบราว์เซอร์จะโหลด homepage ของ Google ขึ้นมา
  4. เช่น ถ้าอยากหาร้านชานมไข่มุกแถวสีลม ก็แค่พิมพ์ "ชานมไข่มุก สีลม"
    • จะพิมพ์เป็นคำเดี่ยวๆ ("หมูกระทะ", "ฟิตเนส") วลี ("บริษัทเงินเดือนดี", "ชานมไข่จากมุกไต้หวัน") คำถาม ("กรุงเทพมหานครมีประชากรทั้งหมดกี่คน?", "ในหนึ่งวันควรดื่มน้ำกี่แก้ว?") หรืออื่นๆ ก็ได้
    • ถ้าอยากพูดมากกว่าพิมพ์ ก็แค่คลิกหรือแตะไอคอนไมโครโฟน เพื่อเปิด Search by Voice (ค้นด้วยเสียง) ทำตามขั้นตอนที่ปรากฏในหน้าจอ อนุญาตให้ Google ใช้งานไมโครโฟนได้ แล้วพูดคำที่ต้องการค้นหาได้เลย
  5. เพื่อค้นหาข้อความที่พิมพ์ไป แล้วจะมีผลการค้นหาโผล่ขึ้นมาเป็นรายการ
  6. ถ้าเจอเว็บไซต์ รูป คลิก หรือข้อมูลอื่นๆ ที่ต้องการ ก็ให้คลิกหรือแตะเพื่อเปิดขึ้นมาในเบราว์เซอร์ได้เลย ถ้าจะกลับไปที่รายการผลการค้นหา ก็แค่คลิกหรือแตะปุ่ม back ของเบราว์เซอร์ (ปกติจะเป็นลูกศรชี้ซ้าย ตรงมุมซ้ายบนของหน้าต่าง)
    • ผลการค้นหาจะโผล่มาแตกต่างกันไป แล้วแต่ว่าค้นหาอะไร เช่น ถ้าค้นหาคำที่อยู่ในพจนานุกรม ก็จะเป็นความหมายและแนะนำการใช้งานคำนั้นขึ้นมา ที่ด้านบนของผลการค้นหาทั้งหมด แต่ถ้าค้นหาสถานที่ ก็จะมีแผนที่โผล่มาแทน
    • ถ้าเลื่อนไปจนสุดหน้าแรกแล้ว ยังไม่เจออะไรที่ค้นหา ให้คลิกหรือแตะ Next ทางด้านล่าง เพื่อไปยังผลการค้นหาหน้าถัดไป แต่ผลการค้นหาที่เกี่ยวข้องมากที่สุด มักจะอยู่ในไม่เกิน 2 - 3 หน้าแรกเท่านั้น
  7. ลองปรับคำค้นหาใหม่ น่าจะช่วยให้ค้นหาง่ายขึ้น. ถ้าไม่เจอข้อมูลประเภทที่ต้องการ ลองปรับเปลี่ยนคำที่ใช้ค้นหาดู โดยพิมพ์คำหรือวลีใหม่ในช่องว่างด้านบนของหน้าจอ แล้วค้นหาดูอีกรอบ อาจจะเจาะจง ตีวงแคบขึ้น หรือค้นหาให้กว้างขึ้นก็ได้ ถ้าผลการค้นหาออกมาเจาะจงไป
    • เช่น แทนที่จะค้นหาว่า "ร้านอาหารดังเมืองนนท์" ลองพิมพ์ว่า "ก๋วยเตี๋ยวเรือ ร้านดัง นนทบุรี 2563" แทน
    • ถ้าอยากรู้วิธีค้นหาให้ได้ผลลัพธ์ตรงใจยิ่งขึ้น ให้เลื่อนลงไปอ่านวิธีการ ปรับแต่งผลการค้นหาให้ละเอียดยิ่งขึ้น
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ปรับแต่งผลการค้นหาให้ละเอียดยิ่งขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. search engine operators เป็นอักขระพิเศษที่ใช้แล้ว search engine เข้าใจ ช่วยให้ค้นหาได้แบบเฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น ตัวอย่างการค้นหาด้วย search engine operators ก็เช่น [1]
    • ถ้าใช้หลายๆ คำรวมกันเป็นวลีเดียว เช่น อ้างถึงคำพูดของใคร หรือวัตถุบางประเภท ให้ใส่เครื่องหมายคำพูด (") ครอบไว้ Google จะได้รู้ว่าให้ค้นหาเฉพาะวลีที่ตรงตามนั้นเป๊ะๆ เหมาะสำหรับคนที่จำได้แค่บางท่อน แต่อยากค้นหาเนื้อของทั้งเพลง หรือชื่อเพลง
    • พิมพ์เครื่องหมายลบ (-) หน้าคำที่อยากละไว้ในผลการค้นหา เช่น ถ้าจะค้นหาคำว่า "nano" แต่ไม่อยากได้ผลลัพธ์เกี่ยวกับ iPod Nano ก็ให้พิมพ์ว่า nano -iPod
    • ปกติเวลาค้นหา Google ไม่ค่อยนับรวมคำสามัญ อย่าง "how" และ "the" แต่ถ้าอยากให้นับรวมไปด้วย ก็ต้องใส่เครื่องหมายบวก (+) ไว้ข้างหน้า
    • ถ้าจะค้นหาในโซเชียลมีเดียต่างๆ อย่าง Twitter และ Facebook ให้พิมพ์ @ นำหน้าคำค้นหา เช่น @wikihow
    • ถ้าอยากได้ผลลัพธ์แบบเจาะจงเว็บ ให้ใส่ site: หน้าคำค้นหา เช่น อยากค้นหา "iOS 13" ใน wikiHow ให้พิมพ์ site:wikiHow.com "iOS 13"
    • ถ้าจะค้นหาสินค้าแบบระบุช่วงราคา ให้ใช้ syntax: synthesizer $300..$700 ตามตัวอย่างนี้เป็นการค้นหาเครื่อง synthesizer ที่อยู่ในช่วงราคา $300 ถึง $700 (1,000 - 2,000 บาท)
  2. อันนี้แล้วแต่ว่าคุณค้นหาอะไร คุณเลือกที่ด้านบนของหน้าผลการค้นหาได้ ว่าจะดูเฉพาะผลการค้นหาบางประเภท เช่น แสดงเฉพาะรูป คลิป หรือข่าว ขั้นตอนก็คือ
    • คลิกหรือแตะ Images ทางด้านบนของหน้าผลการค้นหา แล้วจะเห็นแค่รูปที่ตรงกับคำค้นหาที่กรอกไป
    • คลิกหรือแตะ Videos แล้วจะเห็นรายชื่อวิดีโอที่ตรงกับคำค้นหา จากในเว็บต่างๆ เช่น YouTube
    • คลิกหรือแตะ News และจะเห็นข่าวที่มีเนื้อหาตามต้องการ จากเว็บข่าวดัง
    • คลิกหรือแตะ Books แล้วจะเห็นรายชื่อหนังสือ ตามหัวข้อที่ต้องการ
      • ถ้าอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องฟีเจอร์ค้นหาหนังสือของ Google ลองหาอ่านเพิ่มเติมในเน็ตดู
    • คุณใช้ตัวเลือกอื่นๆ เช่น Maps , Flights และ Finance กับบางข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ด้วย เช่น ถ้าพิมพ์ address ไป แล้วคลิก Maps' ก็ดูแผนที่ได้เลย หรือคลิก Flights ก็จะเห็นเที่ยวบินไปยังสถานที่นั้น
  3. ถ้าอยากดูเฉพาะผลการค้นหาจาก 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา หรือปีที่แล้ว หรือช่วงเวลาอื่นๆ ก็กำหนดได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
    • เลือก Tools หรือ Search Tools ถ้าใช้คอม จะเห็นลิงค์ Tools ทางด้านบนของหน้า เหนือผลการค้นหา ถ้าใช้มือถือหรือแท็บเล็ต ปกติให้ปัดแถบลิงค์เหนือผลการค้นหา (แถบที่เขียนว่า ALL, NEWS, VIDEOS และ IMAGES) ไปทางซ้าย แล้วแตะ SEARCH TOOLS ตอนสุดท้าย
    • คลิกหรือแตะเมนู Any Time
    • เลือกช่วงเวลาที่ต้องการ เพื่อรีเฟรชหน้า ให้เห็นแต่ผลการค้นหาของช่วงเวลานั้น
    • คลิกหรือแตะ Clear ทางด้านบน เพื่อล้างฟิลเตอร์ช่วงเวลา
  4. ถ้าจะค้นหารูปหรือคลิป ก็มีวิธีใช้ฟิลเตอร์กำหนดเงื่อนไขต่างๆ เช่น คุณภาพ ขนาด ระยะเวลา และอื่นๆ
    • เลือก Tools หรือ Search Tools ทางด้านบนของผลการค้นหา Image (รูป) หรือ Video (คลิป) แล้วจะเห็นหลายเมนูโผล่มา
    • ถ้าจะค้นหาคลิป ให้ใช้เมนูที่ขยายลงมาทางด้านบน เพื่อระบุช่วงเวลา (นานแค่ไหน) แหล่งที่มา (เช่น YouTube, Facebook) และว่าอยากดูเฉพาะคลิปที่มีคำบรรยายหรือเปล่า
    • ถ้าจะค้นหารูป ให้ขยายเมนูด้านบนลงมา แล้วระบุขนาดรูป ประเภท สี และสิทธิ์ในการใช้งาน
    • ถ้าอยากกำหนดให้ละเอียดกว่านี้ ว่าค้นแล้วจะเจอรูปแบบไหนบ้าง ให้ลองใช้ Google's Advanced Image Search
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ค้นหาขั้นสูง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ค้นหาใน https://www.google.com/advanced_search เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำที่สุด. เว็บ Google's Advanced Search ให้คุณเจาะจงค่าพารามิเตอร์ที่ใช้ค้นหาในแต่ละครั้งได้ละเอียดมาก จะเข้าเว็บนี้จากเบราว์เซอร์ไหนก็ได้ในคอม มือถือ และแท็บเล็ต
  2. จะอยู่ที่ด้านบนของแบบฟอร์ม [2] ไม่ต้องกรอกทุกช่องก็ได้ แค่เลือกอันที่จำเป็นต่อการค้นหาของคุณ
    • ตรง "all these words" ให้พิมพ์คำสำคัญที่จะค้นหา จะได้เฉพาะผลการค้นหาที่มีทุกคำที่ระบุในช่องนี้เท่านั้น
    • ตรง "this exact word or phrase" ให้พิมพ์วลีหรือประโยคที่ต้องการค้นหาตามนั้นเป๊ะๆ เพื่อให้แสดงผลการค้นหาเฉพาะเว็บที่มีวลีหรือประโยคตรงตามที่พิมพ์เท่านั้น
    • ให้เลือก "any of these words" ถ้าอยากให้แสดงผลลัพธ์ที่มีคำไหนก็ได้ที่ระบุไป
    • ตรง "none of these words" ให้พิมพ์คำไหนก็ได้ที่ไม่อยากให้โผล่มาในผลการค้นหา
    • ตรง "numbers ranging from" ให้พิมพ์ช่วงจำนวนที่อยากให้แสดง เหมาะสำหรับเวลาค้นหาช่วงราคาหรือขนาดที่ต้องการ
  3. คุณกำหนดตัวเลือกฟิลเตอร์ของผลการค้นหาที่แสดงได้ ไม่จำเป็นต้องเลือกทุกตัวเลือกที่มี แค่ตัวเลือกที่จะใช้ค้นหาให้ผลลัพธ์แคบขึ้นเท่านั้น
    • ให้ใช้เมนู "Language" กำหนดภาษาที่อยากให้แสดงในผลการค้นหา
    • ให้ใช้เมนู "Region" ถ้าอยากดูเฉพาะเว็บที่เผยแพร่ในประเทศหรือพื้นที่ที่ต้องการ
    • เมนู "Last Update" ใช้กำหนดความเก่าใหม่ของเว็บที่โผล่มาในผลการค้นหา
    • พิมพ์ address ของเว็บในช่อง "Site or domain" ถ้าอยากได้ผลการค้นหาเฉพาะจากเว็บนั้น
    • ในช่อง "Terms appearing" ให้เลือกว่าจะค้นหาคำนั้นตรงไหนในเว็บ เช่น ชื่อเว็บ หรือในเนื้อหาของบทความ
    • ให้ใช้เมนู "SafeSearch" เลือกว่าจะแสดงผลการค้นหาที่มีเนื้อหาผู้ใหญ่ด้วยหรือเปล่า
    • เมนู "File Type" ใช้กำหนดฟอร์แมตของไฟล์ที่ต้องการค้นหา เช่น ไฟล์ PDF หรือไฟล์ DOC ของ Word
    • "Usage rights" เอาไว้เลือกว่าจะดูเฉพาะผลการค้นหาที่ไม่ติดลิขสิทธิ์หรือกลับกัน
  4. ทางด้านล่างของแบบฟอร์ม เท่านี้ผลการค้นหาก็จะโผล่มา โดยใช้ฟิลเตอร์ตามที่กำหนดไว้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หลังผ่านไปหลายๆ วัน ถ้าค้นหาแบบเดียวกัน ก็อาจจะได้ผลลัพธ์ออกมาต่างกัน (ใกล้เคียง)
  • หลายเบราว์เซอร์จะมีช่องค้นหาติดอยู่ด้วย เอาไว้ค้นหาใน Google และ search engine อื่นๆ แบบนั้นก็แค่พิมพ์คำค้นหาลงไปในช่อง ไม่ได้โหลดหน้าเว็บขึ้นมา
  • คุณตั้งค่า preferences สำหรับผลการค้นหาใน Google ได้ โดยใช้ลิงค์ Preferences ข้างช่องค้นหาของ Google
  • ถ้าใช้บัญชี Google ก็จะใช้เครื่องมือในการค้นหา และ internet tools ของ Google ได้เต็มรูปแบบ
  • เลือกคีย์เวิร์ดที่จะใช้ อาจจะเป็นคำเดียวหรือหลายคำ ที่เจาะจงหัวข้อที่ต้องการค้นหา เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาเฉพาะในหัวข้อนั้นโดยเฉพาะ
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลดวิดีโอจากทุกเว็บไซต์ได้แบบฟรีๆ
แก้ปัญหาเข้าบางเว็บไม่ได้
หาวันที่เผยแพร่ข้อมูลของเว็บไซต์
ดูว่าใครแชร์โพสต์ของคุณบนเฟซบุ๊ก
แก้ปัญหาเซิร์ฟเวอร์ DNS ไม่ตอบสนอง
เช็คตำแหน่งปัจจุบันใน Google Maps
รู้ความหมายของอีโมจิรูปหัวใจสีดำ
ตั้งชื่ออีเมลให้โดนใจ
เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในคอมพิวเตอร์ Windows
เปิดใช้งานคุกกี้ในเว็บเบราว์เซอร์อินเตอร์เน็ตของคุณ
หาละติจูดกับลองจิจูดใน Google Maps
เว้นวรรคห่างๆ ใน HTML
อิโมจิซ่อนความสยิวที่คนใช้แชตกันมากที่สุด
หา URL ของเว็บไซต์
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 19,607 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา