ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

search engine อย่าง Google เป็นศูนย์รวมของหน้าเว็บเป็นล้านๆ หน้า

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ฐานข้อมูลใน Deep Web

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เช่น ค้นใน search engine ทั่วไปว่า "wildlife database" (ฐานข้อมูลสัตว์ป่า) "hip hop database" (คลังเพลงฮิปฮอป) หรืออะไรที่คุณสนใจ (ถ้าภาษาอังกฤษน่าจะมีข้อมูลเยอะกว่า) ข้อมูลในฐานข้อมูลเหล่านี้มักต้องพิมพ์คำค้นหาแบบเฉพาะเจาะจงก่อนถึงจะเจอ เพราะไม่มีการแปะลิงค์ทั่วไป ปกติ search engine ทั่วไปจะหาแหล่งข้อมูลพวกนี้ไม่เจอ เลยทำให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ "deep web" ไป แต่ search engine ก็ยังพาคุณไปยังหน้าแรกของเว็บพวกนี้ได้ แล้วคุณค่อยเข้าเว็บไป search ต่อในแถบค้นหา
  2. ถึงเว็บ Internet Public Library จะปิดตัวไปแล้ว แต่คุณก็ยังเข้าไปค้นหาข้อมูลได้ แม้จะไม่มีการอัพเดทแล้วก็ตาม หรือลองเข้าเว็บ searchengineguide.com แล้วใช้ search engine แบบเฉพาะเจาะจง เพื่อค้นหาฐานข้อมูลและข้อมูลในหัวข้อที่คุณต้องการ
  3. ห้องสมุด/หอสมุดตามมหาวิทยาลัยมักสมัครใช้ฐานข้อมูลแบบเสียค่าบริการไว้หลายแหล่ง เพราะงั้นก็มีข้อมูลที่หาไม่ได้ใน search engine ทั่วไปแน่นอน ลองสอบถามบรรณารักษ์ดูว่ามีฐานข้อมูลไหนบ้าง คุณน่าจะเข้าถึงฐานข้อมูลพวกนี้ได้โดยใช้ข้อมูลล็อกอินจากบัตรห้องสมุดของคุณ แต่ก็ต้องแล้วแต่เงื่อนไขการใช้งานของแต่ละห้องสมุดและเจ้าของฐานข้อมูลด้วย
  4. โครงการ Internet Archive นั้นได้รวบรวมข้อมูลดิจิตอลมหาศาลไว้เพื่อเก็บรักษาในระยะยาว คุณเข้าไปค้นหาเว็บที่ตอนนี้อันตรธานไปจากโลกออนไลน์แล้วได้ รวมถึงไฟล์เสียงและวีดีโอที่หาดูได้ยาก กระทั่งวีดีโอเกมเก่าๆ รุ่นพ่อยังเอ๊าะก็มีให้ลองเล่นกัน
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

เครือข่าย Tor

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เป็นส่วนของ deep web ที่บางทีก็เรียกกันว่า Dark Net เป็นแหล่งสำหรับค้าขายแลกเปลี่ยนข้อมูล สนทนา และค้นคว้าวิจัยแบบลับๆ [1] ต้องใช้โปรแกรม Tor ถึงจะเข้ามาเยี่ยมเยียนส่วนนี้ได้ เช่น เข้าเว็บที่ลงท้ายด้วย ".onion" ถึงภาพจำส่วนใหญ่จะเป็นแหล่งข้อมูลมืดหรือออกเทาๆ แต่จริงๆ แล้วนักข่าวก็นิยมเข้ามาหาข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ไม่อยากเปิดเผยตัวตนกัน รวมถึงคนที่สนใจท่องเน็ตแบบลับสุดยอดด้วย
    • คุณเข้าส่วนนี้ของ deep web ได้ ไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด แต่บางคนหรือบางกิจกรรมในนั้นอาจไม่ค่อยโปร่งใสนักก็เท่านั้นเอง
  2. Tor เป็นโปรแกรมฟรีใช้เข้าเว็บแบบไม่เปิดเผยตัวตน ทำให้คนอื่นยากจะติดตามแกะรอยกิจกรรมออนไลน์ของคุณ (ถ้าทำถูกขั้นถูกตอนแล้ว) หลายชุมชนใน deep web เข้าได้ผ่าน Tor เท่านั้น เพราะมุ่งเน้นความเป็นส่วนตัวและไม่เปิดเผยตัวตน ให้คุณเข้าไป ดาวน์โหลดเบราว์เซอร์ Tor ก่อน แล้วถึงจะเชื่อมต่อได้
    • หน้าเว็บที่เข้าผ่าน Tor ไม่ค่อยเสถียรเท่าไหร่ บางทีก็ล่มเป็นชั่วโมงๆ หรืออาจเป็นวัน ไม่ก็ถาวร แถมต้องรอโหลดหน้าเว็บทีละนานๆ เพราะ Tor จะเปลี่ยนเส้นทางคุณไปที่คอมเครื่องอื่นก่อน เพื่อปกปิดตัวตนของคุณ
    • เบราว์เซอร์ Tor สำหรับ Android กับ iOS ก็มีเหมือนกัน แต่ไม่ค่อยปลอดภัยเลยไม่แนะนำเท่าไหร่ [2] พวก add-ons ของ Tor ที่เอาไว้ใช้กับเบราว์เซอร์อื่นก็เช่นกัน คือไม่ค่อยปลอดภัยและทาง Tor เองไม่รองรับ ไม่แนะนำให้ใช้งาน
  3. การเข้า deep web ผ่าน tor นั้นไม่ผิดกฎหมาย เพียงแต่พอปกปิดตัวตนได้ หลายคนเลยหาช่องทำเรื่องผิดกฎหมายซะอย่างนั้น คุณถึงต้องระวังให้มาก โดยเฉพาะพวกหวังเจาะคอม หรือระวังอย่าให้ถูกทางการแกะรอย
    • คลิกโลโก้ตัว "S" ทางซ้ายของแถบค้นหาในเบราว์เซอร์ Tor แล้วคลิก "Forbid scripts globally" [3]
    • เปิด firewall ของ Windows หรือ Mac ที่ใช้อยู่
    • อย่าดาวน์โหลดไฟล์ใดๆ จากหน้าเว็บที่เข้าผ่าน Tor กระทั่งไฟล์ .pdf หรือ .doc ก็ไม่ได้ ยิ่งโหลดบิทยิ่งอันตราย
  4. ทำความรู้จัก deep web โดยเข้าเว็บบอร์ด "surface web" อ่านคำแนะนำและวิธีการที่อัพเดทตลอด. หรือลองโพสต์ในเว็บย่อยของ reddit ดู เช่น /r/deepweb , /r/onions หรือ /r/Tor
    • ลิงค์ส่วนใหญ่ใน deep web ส่วนนี้จะเข้าได้ผ่าน Tor เท่านั้น
  5. ใช้ search engine ของ deep web. ปกติ deep web ก็ถูกออกแบบมาให้สลับซับซ้อน ยากจะค้นหาและจัดระเบียบข้อมูลอยู่แล้ว เพราะงั้นต้องทำใจถ้า search engine ในนี้ใช้ไม่ค่อยสะดวกสบายเหมือน search engine ทั่วไป ถ้าอยากได้ผลการค้นหาแบบหลากหลาย ให้ลองใช้หลายๆ search engine เช่น Torch (http://xmh57jrzrnw6insl.onion/) กับ TorSearch (http://kbhpodhnfxl3clb4.onion/) เป็นต้น
    • ถ้าอยากหาเว็บดังๆ ใน deep web ส่วนใหญ่ค้นใน search engine ทั่วไปอย่าง google ก็จะมีลิงค์โผล่มา [4]
  6. ใช้เว็บเข้า deep web โดยเฉพาะ. ถึง deep web จะมีชื่อเสีย(ง)ด้านกิจกรรมสีเทาออกดำ แต่จริงๆ ก็พอมีเว็บที่ขาวสะอาดอยู่บ้างเหมือนกัน เช่น เว็บแชร์รูปเหมือนที่เราเห็นทั่วไป (เช่น http://www.zw3crggtadila2sg.onion/imageboard/) หรือเน้นหนักเรื่องวัฒนธรรมเฉพาะของชาว deep web อย่างเว็บสำหรับเปิดโปงข้อมูลวงในแบบไม่เสี่ยงอันตราย (เช่น http://5r4bjnjug3apqdii.onion/) ไปจนถึงเว็บรวม eBook ที่เน้นแฉข้อมูลโดยเฉพาะ (เช่น https://xfmro77i3lixucja.onion.lt/)
  7. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับชาว deep web. เว็บพวกนี้จะ "ปลิว" บ่อยๆ เพราะพฤติกรรมแฉข้อมูลอันตรายกันไปมา และเพราะทีมแอดมินมีแค่คนเดียวหรือไม่กี่คน ทุนก็ไม่หนาเหมือนเว็บดังทั่วไป ถ้าอยากติดตามเว็บใหม่ที่ย้ายตลอด ต้องลองพูดคุยกับชาว OnionChat (http://www.chatrapi7fkbzczr.onion/) ดู
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • Vertical search engine สำหรับค้นข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงก็มี เช่น http://www.findthatfile.com เป็นเว็บสำหรับ 'ค้นไฟล์โดยเฉพาะ' ไม่มีหน้าเว็บ เป็นไฟล์ binary โดยเฉพาะจากสารพัดแหล่ง
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 17,622 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา