ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ลูคีเมียหรือโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นมะเร็งเม็ดเลือดที่ส่งผลกระทบต่อเม็ดเลือดขาวในร่างกายของคุณ ซึ่งตามปกติทำหน้าที่ต่อสู้กับการติดเชื้อและเชื้อโรคต่างๆ ผู้ป่วยโรคนี้มีเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติ ทำให้จำนวนเซลล์ที่มีสุขภาพดีลดน้อยลง และนำไปสู่ปัญหาร้ายแรงต่างๆ [1] ลูคีเมียสามารถเติบโตได้ทั้งอย่างรวดเร็วและอย่างเชื่องช้า รวมทั้งมีหลากหลายชนิด [2] จงรู้จักอาการโดยทั่วไปของมะเร็งเม็ดเลือดขาว และเรียนรู้ว่าเมื่อใดสมควรจะเข้ารับการบำบัดด้วยยา

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

เล็งเป้าที่อาการป่วยซึ่งพบบ่อยที่สุด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1
    ตรวจหาอาการที่คล้ายกับไข้หวัดใหญ่.อาการป่วยเหล่านี้รวมทั้งมีไข้ เหนื่อย หรือหนาวสั่น หากอาการหายไปหลังจากสี่ห้าวัน และคุณรู้สึกมีสุขภาพดีอีกครั้งหนึ่ง คุณอาจเพียงแค่เป็นไข้หวัด แต่หากอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ไม่บรรเทาลง จงไปพบแพทย์ ผู้ป่วยโรคลูคีเมียมักเข้าใจผิดว่าอาการของโรคลูคีเมียเป็นอาการของโรคไข้หวัดใหญ่หรือโรคติดเชื้ออื่นๆ จงมองหาอาการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง:
  2. อาการอ่อนเพลียเรื้อรังมักเป็นอาการขั้นต้นของโรคลูคีเมีย เพราะพบอาการอ่อนเพลียได้ค่อนข้างบ่อย ผู้ป่วยจำนวนมากจึงมองข้ามอาการป่วยของโรคนี้ นอกจากอ่อนเพลีย คุณยังอาจอ่อนแอและอ่อนแรงอย่างมากอีกด้วย [5]
    • อาการอ่อนเพลียเรื้อรังนั้นแตกต่างจากการที่คุณเพียงแค่เหนื่อย หากคุณรู้สึกว่าไม่มีสมาธิ หรือดูเหมือนว่าความจำไม่แม่นยำเหมือนปกติ คุณอาจมีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง อาการป่วยอื่นๆ รวมทั้งต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บกล้ามเนื้อตรงที่ใหม่ๆ ซึ่งไม่ได้คาดว่าจะเจ็บ เจ็บคอหรือหมดแรงอย่างหนักซึ่งยืดเยื้อนานเกินหนึ่งวัน [6]
    • คุณอาจสังเกตเห็นด้วยว่ารู้สึกอ่อนแอ เช่นที่แขนขา คุณอาจทำสิ่งต่างๆ ซึ่งเคยทำตามปกติได้ยากขึ้น
    • พร้อมๆ กับความอ่อนเพลียและอ่อนแอ คุณอาจสังเกตเห็นว่าสีผิวซีดลง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจเกิดจากภาวะโลหิตจาง ซึ่งเป็นกรณีที่คุณมีระดับค่าฮีโมโกลบินในเลือดต่ำ ฮีโมโกลบินทำหน้าที่ส่งออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อและเซลล์ทั้งหมดของคุณ [7]
  3. การที่น้ำหนักลดฮวบฮาบโดยไม่มีสาเหตุแน่ชัด มักเป็นอาการของโรคลูคีเมีย และโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ อาการนี้เรียกกันว่า ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก (Cachexia) [8] อาจเป็นอาการที่บอกเป็นนัยๆ ว่าเป็นโรคนี้ แต่หากคุณมีเฉพาะแต่อาการนี้เท่านั้น ไม่จำเป็นว่าเป็นลูคีเมีย แต่หากคุณกำลังมีน้ำหนักตัวลดลงทั้งที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอุปนิสัยเรื่องอาหารการบิน แถมยังออกกำลังกายตามปกติ มีความสำคัญที่คุณจะไปพบแพทย์ [9]
    • เป็นเรื่องปกติที่น้ำหนักตัวของคนเราจะขึ้นลงตลอดเวลา จงมองหากรณีที่น้ำหนักลดลงอย่างช้าๆ แต่แน่วแน่ โดยที่ตัวคุณเองไม่ได้พยายามลดน้ำหนัก
    • การที่น้ำหนักลดเพราะอาการป่วยมักตามมาด้วยความรู้สึกอ่อนแรงและอ่อนแอ มากกว่าจะมีสุขภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิม
  4. ผู้ป่วยเป็นลูคีเมียมีแนวโน้มที่จะมีแผลฟกช้ำ และมีเลือดออกได้ง่ายมากขึ้น เหตุผลส่วนหนึ่งก็คือมีปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือดลดน้อยลง ซึ่งอาจทำให้เป็นโรคโลหิตจางได้ [10]
    • จงจดบันทึก หากดูเหมือนว่าคุณมีรอยฟกช้ำหลังจากการชนกันเล็กๆ น้อยๆ ทุกครั้ง หรือคุณเริ่มมีเลือดออกจำนวนมากจากแผลเปิดขนาดเล็ก เพราะนี่คืออาการของโรคที่สำคัญเป็นพิเศษ [11] จงระวังเรื่องเลือดออกตามไรฟันด้วย [12]
  5. ตรวจดูผิวหนังของคุณเพื่อหาจุดสีแดงจิ๋วๆ (จุดเลือดออก หรือ Petechiae).จุดเหล่านี้จะดูผิดปกติ และไม่เหมือนกับจ้ำเลือดตามปกติที่ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากคุณออกกำลังกาย หรือรอยสิว
  6. ลงความเห็นว่าคุณเกิดอาการติดเชื้อบ่อยครั้งมากขึ้นหรือไม่. คุณอาจเกิดอาการติดเชื้อบ่อยๆ ได้ เพราะลูคีเมียสร้างความเสียหายให้กับจำนวนเซลล์เม็ดโลหิตขาวซึ่งมีสุขภาพดีของคุณ หากเกิดอาการติดเชื้อบ่อยครั้งที่ผิวหนัง ลำคอ หรือหู ภูมิคุ้มกันของคุณอาจอ่อนแอลง [15]
  7. รู้สึกได้ถึงอาการปวดกระดูกและมีอาการกดเจ็บ (Tenderness). การปวดกระดูกไม่ใช่อาการปกติของโรคแต่ก็เกิดขึ้นได้ หากคุณรู้สึกเจ็บกระดูกแบบตื้อๆ อย่างต่อเนื่องและระบม ในขณะที่หาไม่พบเหตุผลอื่นๆ ของอาการเจ็บ จงพิจารณาเรื่องเข้ารับการตรวจหาโรคลูคีเมีย
    • คุณอาจปวดกระดูกจากโรคลูคีเมีย เพราะไขกระดูกของคุณเริ่มมีเซลล์เม็ดเลือดขาวหนาแน่นมากเกินไป เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวของคุณยังอาจจะรวมกลุ่มกันอยู่ใกล้กับกระดูก หรืออยู่ภายในข้อต่อต่างๆ ด้วย [16]
  8. บางคนมีความโน้มเอียงมากกว่าที่จะเป็นโรคลูคีเมีย แม้ว่าการมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวแน่ๆ แต่การที่คุณยอมรับเรื่องปัจจัยเสี่ยงต่างๆ มีความสำคัญ และคุณอาจมีความเสี่ยงมากขึ้นหากคุณมี (เคยมี) ปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้
    • เข้ารับการบำบัดโรคมะเร็งก่อนหน้านี้ เช่น เคมีบำบัด หรือฉายแสง
    • โรคทางพันธุกรรมต่างๆ
    • เป็นนักสูบบุหรี่
    • มีสมาชิกในครอบครัวผู้เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว
    • ไม่ได้รับการป้องกันจากสารเคมีต่างๆ เช่น น้ำมันเบนซิน [17]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

เข้ารับการทดสอบว่าเป็นลูคีเมียหรือไม่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อคุณไปพบแพทย์ แพทย์จะตรวจดูว่าผิวของคุณซีดผิดปกติหรือไม่ เพราะอาจเป็นผลจากโรคโลหิตจางซึ่งเกี่ยวเนื่องกับลูคีเมีย แพทย์จะตรวจสอบด้วยว่าต่อมน้ำเหลืองของคุณโตหรือไม่ รวมทั้งจะทดสอบเพื่อดูว่าตับและม้ามของคุณโตผิดปกติหรือเปล่า [18]
  2. แพทย์จะเจาะเลือดคุณ หลังจากนั้น แพทย์อาจตรวจเลือดด้วยตัวเอง หรือส่งผลไปยังห้องแลปเพื่อประเมินเซลล์เม็ดเลือดขาวของคุณ หรือนับเกล็ดเลือด [21] หากของๆ คุณมีปริมาณสูงมาก แพทย์อาจสั่งให้ทำการตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อหาลูคีเมีย(เช่น ตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRIs เจาะน้ำไขสันหลัง หรือ Lumbar Punctures ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือ CT scan) [22]
  3. เข้ารับการเจาะไขกระดูกเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา (Bone Marrow Biopsy). สำหรับการตรวจชนิดนี้ แพทย์จะใช้เข็มรูปร่างเพรียวยาวเจาะเข้าไปในสะโพกของคุณเพื่อสกัดเอาไขกระดูก แพทย์ของคุณจะส่งตัวอย่างไปยังห้องแลปเพื่อประเมินว่ามีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือไม่ แพทย์อาจสั่งให้ทำการทดสอบเพิ่มเติมโดยขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ที่ได้ [23]
  4. เมื่อแพทย์ได้ตรวจสอบทุกแง่มุมที่เป็นไปได้ของอาการของคุณแล้ว ก็สามารถแจ้งผลการวินิจฉัยโรคให้คุณทราบได้ เรื่องนี้อาจใช้เวลาสักหน่อย เพราะเวลาที่ใช้ดำเนินการในห้องแลปแตกต่างกันไป ถึงกระนั้น คุณก็สมควรรู้ผลภายในสี่ห้าสัปดาห์ คุณอาจไม่ได้เป็นลูคีเมีย แต่หากคุณเป็นลูคีเมีย แพทย์ก็จะสามารถบอกกับคุณได้ว่า คุณเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดใด และจะได้หารือกันเรื่องทางเลือกในการรักษาที่เป็นไปได้
    • แพทย์จะแจ้งให้ทราบว่า คุณป่วยเป็นโรคลูคีเมียที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว (เฉียบพลัน) หรืออย่างเชื่องช้า (เรื้อรัง) [24]
    • ถัดจากนั้น แพทย์จะวินิจฉัยว่าเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดใดที่เป็นมะเร็ง มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ (Lymphocytic Leukemia) ส่งผลต่อเซลล์ลิมฟอยด์ มะเร็งเม็ดเลือดขาวไมอีโลจีนัสส่งผลต่อเซลล์ไมอีลอยด์
    • ในขณะที่ผู้ใหญ่อาจป่วยเป็นลูคีเมีย หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ทุกชนิด เด็กเล็กส่วนใหญ่จะป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ชนิดเฉียบพลัน (Acute Lymphocytic Leukemia) หรือ ALL
    • ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต่างสามารถป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันแบบไมอีลอยด์ (Acute Myelogenous Leukemia ) หรือ AML ได้ แต่โรคนี้เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเติบโตเร็วซึ่งพบบ่อยมากที่สุดในผู้ใหญ่
    • มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ชนิดเรื้อรัง (Chronic Lymphocytic Leukemia) หรือ CLL และมะเร็งเม็ดเลือดขาวซีเอ็มแอล (Chronic Myelogenous Leukemia) หรือ CML ส่งผลกระทบต่อผู้ใหญ่ และอาจใช้เวลาหลายปีกว่าจะแสดงอาการ [25]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 29,480 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา