ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การจำเนื้อหาต่างๆ ได้อย่างแม่นยำจะทำให้เราสามารถทำข้อสอบ นำเสนอข้อมูล และเพิ่มความรู้ได้มากยิ่งขึ้น ถ้าเราอยากจำเนื้อหาให้ได้ทั้งหมด เราก็ควรค่อยๆ จำเนื้อหาส่วนเล็กๆ ไปทีละส่วน เทคนิคช่วยจำอย่างเช่น การนึกภาพและการเคลื่อนไหวร่างกายจะช่วยให้นึกข้อมูลที่ต้องการใช้ออก บางครั้งเราก็ไม่จำเป็นต้องจำเนื้อหาเลยสักนิด แค่จำสาระหลักหรือคำกล่าวอ้างที่สำคัญก็เพียงพอแล้ว

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

จำเนื้อหาแต่ละส่วนให้ได้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วางแผนว่าเราจะใช้เวลาจำเนื้อหาต่างๆ นานเท่าไร ถ้าเรามีเวลามาก เราสามารถจำเนื้อหาไปทีละนิดได้ โดยจำเนื้อหาวันละยี่สิบหรือสามสิบนาที ถ้าเรามีเวลาแค่หนึ่งหรือสองวัน เราต้องมีช่วงจำเนื้อหาและช่วงพัก โดยจำเนื้อหาสามสิบนาทีสลับกับการพักหนึ่งหรือสองชั่วโมง [1]
  2. เริ่มจำเนื้อหาต่างๆ แต่เนิ่นๆ ให้เวลาตนเองจำเนื้อหาทุกย่อหน้าหรือทุกหน้าภายในหนึ่งหรือสองวัน พยายามจำเนื้อหาให้ได้ส่วนละหนึ่งวัน พอเราจำเนื้อหาไปได้สองส่วนแล้ว พยายามจำเนื้อหาสองส่วนนั้นรวมกัน [2]
  3. เราจะจำเนื้อหาได้ง่ายขึ้น ถ้าจำเนื้อหาส่วนเล็กๆ ทีละส่วน ฉะนั้นเราต้องแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนเล็กๆ ก่อน เราจะแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ แต่ละส่วนอาจประกอบด้วยประโยคสองสามประโยค ข้อความย่อหน้าหนึ่ง หรือเนื้อหาหนึ่งหน้า การแบ่งจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ความยาวของเนื้อหา [3]
  4. อ่านเนื้อหาออกมาดังๆ เพื่อจะได้จำเนื้อหาได้. เราต้องอ่านเนื้อหาออกมาดังๆ เพราะนี้เป็นการบังคับให้ตนเองต้องอ่านและเอ่ยทุกๆ คำในเนื้อหาออกมา การทำแบบนี้จะช่วยให้เราจำเนื้อหาได้ [4]
  5. หลังจากพยายามจำเนื้อหาไปสักระยะแล้ว ให้ปิดเนื้อหาและท่องเนื้อหาให้มากที่สุดเท่าที่เราจำได้ ตอนแรกเราอาจจำเนื้อหาได้ไม่มากนัก แต่ทุกครั้งที่เราพยายามจำและท่องเนื้อหาออกมา เราจะยิ่งจดจำข้อมูลได้มากยิงขึ้น [5]
    • ให้เพื่อนช่วยทดสอบความจำ ถ้าเราเกิดจำไม่ได้ไปสักคำหนึ่งหรือลืมข้อความไปสักบรรทัดหนึ่ง เพื่อนจะได้กระตุ้นความจำของเราด้วยการบอกว่าคำหรือสองคำต่อไปคืออะไร
  6. เริ่มจำเนื้อหาจากตอนท้ายก่อน ถ้าเห็นว่าการเริ่มจำตั้งแต่ต้นไม่ได้ผล. ถ้าข้อความยาวมาก เราอาจลองเริ่มจำเนื้อหาตอนท้ายก่อน บางครั้งการเริ่มจำประโยคสุดท้ายหรือย่อหน้าสุดท้ายแล้วค่อยจำย้อนกลับหลังไปทีละประโยคหรือทีละย่อหน้าอาจง่ายกว่า [6]
  7. แบ่งการจำเนื้อหาออกเป็นช่วงๆ เพื่อจะได้จดจำได้เร็วขึ้น. ถ้าเรามีเวลาในการจำเนื้อหาน้อย เราก็ควรจำไปทีละนิดโดยมีช่วงพักในแต่ละช่วงด้วย ใช้เทคนิคช่วยจำอย่างเช่น การนึกภาพและการเดินไปเดินมาเพื่อให้สามารถจำเนื้อหาได้ดีขึ้น [7]
    • ตัวอย่างเช่น เราอาจพยายามจำเนื้อหาเป็นเวลาสิบห้านาทีและพักสิบนาทีก่อนจำเนื้อหาต่อไปอีกสิบห้านาที่
    • พยายามเขียนเนื้อหาออกมาหนึ่งหรือสองครั้ง เราจะจำเนื้อหาได้ดีขึ้น [8]
    • อย่าคร่ำเคร่งอย่างหนักในคืนก่อนสอนหรือนำเสนอหน้าห้อง การจำเนื้อหาในคราวเดียวไม่ใช่วิธีการจำเนื้อหาที่ได้ผลดีนัก การจำเนื้อหาทีละเล็กทีละน้อยและท่องจำซ้ำๆ จะช่วยให้เราจำเนื้อหาได้ดีกว่าการคร่ำเคร่งจำเนื้อหาทั้งหมดในคราวเดียว
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

นึกข้อมูลให้ออก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นึกภาพให้สอดล้องกับเนื้อหาส่วนต่างๆ นึกภาพที่ตรงกับเนื้อหาขณะที่พยายามท่องจำ เมื่อจะท่องจำเนื้อหาส่วนใดส่วนหนึ่ง ให้นึกภาพที่ตรงกับเนื้อหาส่วนนั้น จะช่วยให้เราจำถ้อยคำในข้อความของเนื้อหาส่วนนั้นได้ดียิ่งขึ้น [9]
    • ตัวอย่างเช่น ส่วนแรกของเนื้อหาอาจกล่าวถึงการอนุรักษ์เสือ ฉะนั้นเราอาจนึกภาพเสือขณะที่กำลังท่องจำเนื้อหาตรงส่วนนี้ เนื้อหาส่วนที่สองอาจกล่าวถึงถิ่นที่อยู่อาศัย เราอาจนึกภาพป่าตอนที่ท่องจำเนื้อหาตรงส่วนนี้ก็ได้
  2. สร้างคลังความจำ. นึกภาพห้องหรือตึกแห่งหนึ่ง ให้สถานที่นี้เป็นตัวแทนของเนื้อหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เราต้องจำ นึกภาพว่ามีเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ถูกตั้งไว้ภายในนั้น ให้เฟอร์นิเจอร์เหล่านั้นแทนสาระสำคัญแต่ละอย่างที่เราต้องจำให้ได้ [10]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าสาระสำคัญของเนื้อหานั้นคือครอบครัว ความร่วมมือ และการสื่อสาร เราอาจนึกภาพรูปถ่าย (ครอบครัว) โต๊ะ (ความร่วมมือ) และโทรศัพท์ (การสื่อสาร)
    • เมื่อเราต้องนึกเนื้อหาให้ออก ให้นึกภาพเราเดินจากรูปถ่ายไปที่โต๊ะและจากนั้นก็เดินไปที่โทรศัพท์ตามลำดับ
  3. เคลื่อนไหวร่างกายให้สัมพันธ์กับเนื้อหาที่ท่องอยู่. การแสดงท่าทางสามารถช่วยเราจดจำเนื้อหาส่วนต่างๆ ได้ ฉะนั้นพยายามเคลื่อนไหวร่างกายให้สัมพันธ์กับคำต่างๆ ในเนื้อหานั้น เราอาจเคาะนิ้วเบาๆ แบบใดแบบหนึ่งเมื่อเริ่มนึกถึงข้อความหนึ่งย่อหน้า หรือยื่นมือไปด้านหน้าเมื่อพยายามนึกคำบางคำให้ออก [11]
    • การเดินไปมาสามารถช่วยให้เรานึกข้อมูลออกง่ายขึ้น บางคนอาจใช้การเต้นรำท่าง่ายๆ เพื่อให้ช่วยนึกข้อมูลออก
  4. มีตัวช่วยกระตุ้นความจำ เมื่อต้องออกไปพูดหน้าห้อง. เมื่อต้องนึกเนื้อหาให้ออก เราอาจต้องใช้ตัวช่วยกระตุ้นความจำ จะให้มีการบอกใบ้ การบอกบท หรือใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยให้ตนเองนึกข้อมูลที่ต้องการออกก็ได้ [12]
    • ฝึกใช้มือในการอธิบาย แสดงท่าทางแตกต่างไปตามเนื้อหาแต่ละส่วน
    • ถ้าได้รับอนุญาตให้ใช้บัตรคำ เราอาจเขียนเค้าโครงเนื้อหาอย่างง่ายๆ ใส่บัตรคำ เอาไว้ดูตอนที่พูด
    • เราอาจขอให้เพื่อนในกลุ่มผู้ฟังช่วยส่งสัญญาณ ถ้าเราลืมเนื้อหาไปบรรทัดหนึ่ง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

จดจำสาระสำคัญของเนื้อหาเอาไว้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เขียนสรุปย่อ โดยให้มีสาระสำคัญ แนวคิด และข้อพิสูจน์ต่างๆ ของเนื้อหาอยู่ในนั้น เราเขียนแต่ข้อมูลที่สำคัญเท่านั้นและเรียงลำดับข้อมูลเหล่านั้นให้ถูกต้อง เราอาจจำสรุปโดยย่อนี้แทนการจำเนื้อหาทั้งหมดก็ได้ [13]
  2. ถ้าเราต้องนึกคำกล่าวต่างๆ จากวรรณกรรมหรือบทความทางวิชาการให้ออก เขียนคำกล่าวอ้างนั้นลงในบัตรคำ จำคำกล่าวต่างๆ ให้ได้ทีละใบ อย่าลืมจำข้อมูลผู้เขียน ปี และข้อมูลใดๆ ที่อาจมีคนถามหรือออกข้อสอบด้วย [14]
  3. นำสาระสำคัญมาวาดเป็นแผนภาพ ถ้าเราเป็นคนที่เรียนรู้จากการมองเห็นได้ดี. นำสาระสำคัญของเนื้อหามาวาดเป็นแผนผังหรือแผนภาพ เขียนหัวข้อไว้ตรงกลางแผนภาพและลากเส้นจากหัวข้อนั้นไปที่สาระสำคัญที่สนับสนุนหัวข้อนั้น [15]
    • เมื่อเราต้องจำเนื้อหาให้ได้ ให้วาดแผนภาพนี้ออกมาอีกครั้ง จะได้จำเนื้อหาส่วนต่างๆ ได้หมด และนึกออกเมื่อจำเป็นต้องใช้
    • เราสามารถวาดภาพในแผนภาพของเราหรือร่างภาพเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาออกมาเป็นการ์ตูนก็ได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพจะช่วยให้ความจำของเราดีขึ้น
  • ถ้าต้องออกมานำเสนอเนื้อหาหน้าชั้นเรียน ฝึกรายงานต่อหน้าคนในครอบครัวและเพื่อนก่อนก็ได้
  • บันทึกเสียงตนเองเวลาอ่านเนื้อหาไว้ เราจะนำมาฟังได้หลายครั้ง
โฆษณา

คำเตือน

  • การคร่ำเคร่งเพื่อให้ตนเองจำเนื้อหาได้ก่อนออกไปรายงานหรือสอบอาจไม่ช่วยให้เราจำเนื้อหาได้ทั้งหมด เริ่มจำเนื้อหาตั้งแต่เนิ่นๆ ดีกว่า
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,596 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา