ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การจดบันทึกที่ดีเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการประสบความสำเร็จทั้งการเรียนและการงาน บันทึกจะช่วยให้คุณทำงานสำเร็จอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังช่วยให้สอบและทำงานผ่านได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณอาจจะยังไม่รู้วิธีการจดบันทึก ให้ใช้เทคนิคการจดบันทึกสำหรับการเขียนและการนำเสนอ เช่น การเรียน การสัมมนา หรือการประชุม

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

จดบันทึกให้ชัดเจนและกระชับ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พยายามจดบันทึกให้เป็นระเบียบเรียบร้อยด้วยการเขียนรายละเอียดที่สำคัญบริเวณด้านบนสุดของหน้ากระดาษ ให้เขียนข้อมูลจำพวก วันที่ ข้อมูลบรรณานุกรม และหมายเลขหน้า การจดรายละเอียดจะทำให้คุณกลับมาอ่านบันทึกและรวบรวมข้อมูลที่สำคัญได้ง่ายขึ้น [1]
  2. เขียนข้อสำคัญ แนวคิด และรายละเอียดด้วยภาษาของคุณเอง หลีกเลี่ยงการจดทุกคำพูด หรือจดคำต่อคำ นอกจากว่าเป็นวลีหรือคำพูดอ้างอิงที่คุณต้องใช้ในภายหลัง การจดบันทึกด้วยภาษาของคุณเองจะส่งผลต่อสมองของคุณ ช่วยให้คุณเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น ช่วยให้คุณจดจำข้อมูลได้มากขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงจากการลอกเลียนวรรณกรรม (Plagiarism) ได้อีกด้วย
    • พัฒนาระบบสัญลักษณ์และคำย่อของตัวเอง การทำแบบนี้จะช่วยให้คุณจดบันทึกและทบทวนได้เร็วขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ใช้คำว่า “ตปก.” สำหรับคำว่า “ตัวประกอบ” หรือ ตย. สำหรับคำว่า “ตัวอย่าง” เป็นต้น [2]
  3. พิจารณาเนื้อหาที่คุณกำลังอ่านหรือเรียนอยู่ โดยเนื้อหาอาจจะมีจำนวนมากและยากที่จะเข้าใจ หลีกเลี่ยงการจดบันทึกด้วยประโยคเต็มๆ ให้ใช้คำสำคัญในการพูดสิ่งที่เหมือนกันเพื่อให้บันทึกดูสั้นและจัดระเบียบได้ง่ายและเร็วต่อการกลับมาทบทวน [3]
    • ยกตัวอย่างเช่น สำหรับการจดจำเนื้อหาทางสูติศาสตร์ คุณอาจจะจดบันทึกคำจำพวก ผดุงครรภ์ ภาวะคลอดก่อนกำหนด ภาวะไข้หลังคลอด และภาวะครรภ์เป็นพิษ
  4. เมื่อคุณเขียนคำสำคัญและแนวคิดแล้ว ให้เว้นพื้นที่ว่างระหว่างบรรทัดเอาไว้ การมีพื้นที่ว่างจะช่วยให้คุณจดบันทึกเพิ่มเติมหรือทำความเข้าใจเนื้อหาที่คุณไม่เข้าใจได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณมีและค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคำสำคัญหรือความคิดได้อย่างรวดเร็ว [4]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ใช้วิธีการจดบันทึกแบบจำเพาะเจาะจง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พยายามอดทนอย่าใช้วิธีพิมพ์ในการจดบันทึกในสิ่งที่คุณอ่านหรือได้ยิน ให้ใช้ลายมือในการจดบันทึก การเขียนสิ่งที่คุณอ่านหรือได้ยินจะช่วยให้คุณกลับมาททบทวน จดจำ และนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างลื่นไหล [5]
    • ให้แน่ใจว่าคุณเขียนชัดเจนและอ่านออก! ถ้าขนาดอ่านลายมือตัวเองไม่ออก ก็คงเรียนไม่รู้เรื่องหรอก
    • ถ้าคุณต้องทำ ให้ใช้กลวิธีในการจดบันทึก เช่น วิธีของคอร์เนล หรือโครงร่างในการเขียนบันทึกด้วยมือ [6]
    • พิจารณาใช้โปรแกรมหรือแอพ เช่น Evernote หรือ Microsoft Onenote เพื่อช่วยให้คุณจดบันทึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ให้แบ่งกระดาษออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกเป็นส่วนเล็กๆ เอาไว้เตือนความจำ ส่วนที่สองเป็นส่วนใหญ่สำหรับจดบันทึก และส่วนสุดท้ายเป็นส่วนสรุปอยู่ด้านล่างของกระดาษ จากนั้นให้จดบันทึกตามช่องดังต่อไปนี้: [7]
    • ส่วนการจดบันทึก: ให้ใช้ส่วนที่ใหญ่ที่สุดในการเขียนแนวคิดหลักของเนื้อหาหรือการเรียน เว้นที่ว่างไว้เผื่อจดบันทึกหรือมีคำถามในภายหลัง ดูให้ดีว่าคุณได้บันทึกแนวทางที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในส่วนนี้ไว้
    • ส่วนเตือนความจำ: หลังจากที่คุณบันทึกเสร็จแล้ว ให้ใช้ส่วนที่เล็กกว่าในการเขียนคำถามที่ช่วยทำให้ความหมายชัดเจน สร้างการเชื่อมโยง และแสดงให้เห็นถึงความต่อเนื่อง
    • ส่วนสรุป: หลังจากที่คุณจดบันทึกเสร็จแล้ว ให้ใช้พื้นที่เล็กๆ ที่อยู่ด้านล่างสุดของกระดาษในการสรุปสิ่งที่คุณเขียนภายใน 2-4 ประโยค
  3. เมื่อคุณอ่านหรือฟังการเรียนการสอนมาแล้ว ให้ทำบันทึกของคุณเป็นรูปแบบ เขียนข้อมูลทั่วไปโดยเริ่มต้นจากมุมซ้ายของกระดาษ จากนั้นเขียนไปทางขวาและเพิ่มรายละเอียดและตัวอย่างไว้ข้างใต้ [8]
  4. จดบันทึกด้วยวิธี สร้างแผนที่ความคิด . วาดวงกลมขนาดใหญ่และเขียนประเด็นที่คุณได้ยิน ให้ขีดเส้นใต้ประเด็นหลักและเขียนคำสำคัญสั้นๆ ที่ช่วยสรุปข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าว สุกท้าย ให้ขีดเส้นใต้ขนาดเล็กที่รายละเอียดปลีกย่อย แผนที่ความคิด (Mind Mapping) เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นคนเรียนรู้จากการมองเห็นหรือคุณไม่รู้ลักษณะการสอนของอาจารย์
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ตั้งใจฟังเพื่อจดบันทึก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ประเมินเวลาให้ไปถึงที่ประชุม ห้องเรียน หรือการพบปะอื่นๆ ก่อนเวลาจริงประมาณ 2-3 นาที เลือกที่นั่งที่สามารถฟังผู้พูดได้ดีและมีตัวดึงความสนใจน้อยที่สุด การเข้าร่วมชั้นเรียนหรือการนำเสนอตรงเวลาจะช่วยลดความเสี่ยงที่คุณจะพลาดข้อมูลสำคัญได้
    • หยิบบันทึกขึ้นมาให้พร้อมก่อนที่จะเริ่มชั้นเรียน เพื่อจะได้ไม่ต้องรีบร้อนเกินไปเวลาเริ่มเรียนจริง
  2. เขียนข้อมูลที่ช่วยให้คุณระบุบันทึกได้บริเวณด้านบนสุดของกระดาษ โดยให้เขียนวันเวลา ชื่อวิชาหรือหมายเลขการประชุม หัวข้อหรือแนวคิดหลักของการประชุม และข้อมูลอื่นๆ ที่คุณคิดว่าสำคัญ พยายามเขียนข้อมูลดังกล่าวก่อนเริ่มบันทึกเพราะให้คุณไม่พลาดข้อมูลที่สำคัญจากผู้พูด
    • การจัดระเบียบข้อมูลอยู่เสมอจะช่วยให้บันทึกของคุณมีคุณภาพมากขึ้น
  3. ก่อนที่จะเริ่มต้นนั้น ตรวจสอบดูก่อนว่าคุณได้เขียนคำสำคัญบนกระดาน ได้รับเอกสารที่ผู้พูดแจกแล้ว การมีตัวช่วยเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงที่คุณจะพลาดข้อมูลที่สำคัญ และช่วยให้คุณเข้าใจสิ่งที่ผู้พูดกล่าวถึงได้ดียิ่งขึ้น
    • เขียนวันที่ไว้มุมบนสุดของเอกสาร พร้อมกับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจดบันทึก ให้อ้างถึงเอกสารในบันทึกของคุณเพื่อให้คุณรู้ว่าต้องกลับไปอ่านระหว่างทบทวน
  4. ตั้งใจฟังระหว่างชั้นเรียนหรือการประชุม หลีกเลี่ยงตัวดึงความสนใจ เช่น คนอื่นๆ คอมพิวเตอร์ หรือสื่อสังคมใดๆ การฟังอย่างตั้งใจจะช่วยให้คุณจดบันทึกได้ดียิ่งขึ้น ช่วยให้เข้าใจเอกสารที่ได้รับ และจำข้อมูลไปใช้ในภายหลังได้
  5. ส่วนหนึ่งของการตั้งใจฟังคือการฟังคำที่นำไปสู่สิ่งที่สำคัญที่คุณควรเขียนลงในบันทึก คำเชื่อมหลายๆ คำจะเป็นสัญญานเริ่มต้นให้เขียนบันทึกในส่วนใหม่ ให้ฟังคำดังต่อไปนี้ที่ช่วยให้คิดรู้ว่าคุณควรเริ่มเขียนประเด็นใหม่: [9]
    • หนึ่ง สอง สาม
    • ที่สำคัญ ส่วนสำคัญ
    • จุดเปลี่ยนที่สำคัญ
    • ในทางกลับกัน
    • ยกตัวอย่างเช่น
    • ในทางตรงกันข้าม
    • นอกจากนี้
    • ผลที่ได้
    • จำไว้ว่า
  6. หลังจากที่ชั้นเรียนหรือการประชุมเสร็จสิ้น ให้ทบทวนบันทึกให้เร็วที่สุด แล้วเขียนส่วนที่ต้องอธิบายเพิ่มเติมหรือคุณไม่เข้าใจ การทบทวนบันทึกหลังจากที่เขียนไปแล้วอย่างรวดเร็วจะช่วยยืนยันได้ว่าคุณเข้าใจและจดบันทึกจากการประชุมหรือการเรียนได้ครบถ้วน
    • เขียนบันทึกใหม่ให้เร็วที่สุด การทำแบบนี้จะช่วยให้คุณค้นหาส่วนที่ต้องอธิบายเพิ่มเติมได้เร็วขึ้น และช่วยให้คุณจดจำข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

การอ่านเพื่อการจดบันทึก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนที่คุณจะเริ่มจดบันทึกนั้น ให้อ่านเนื้อหาทั้งหมดอย่างรวดเร็ว หลีกเลี่ยงการจดบันทึกหรือหยุดอ่านเพื่อเน้นข้อความ ซึ่งคุณสามารถทำได้เมื่อคุณเข้าใจแล้วว่าเนื้อหานั้นกล่าวถึงอะไร การอ่านแบบกราดจะช่วยให้คุณเข้าใจแนวคิดสำคัญของเนื้อหาและเข้าใจว่าส่วนใดคือส่วนที่สัมพันธ์กับคำถามหรือหัวข้อ ให้ตั้งใจอ่านส่วนดังต่อไปนี้ : [10]
    • หัวข้อและบทสรุป หรือบทคัดย่อของเนื้อหา
    • บทนำหรือเนื้อหาย่อหน้าแรก
    • หัวเรื่องเพื่อเข้าใจการจัดระเบียบโดยรวม
    • เนื้อหาเสริมด้านกราฟิก
    • บทสรุปหรือเนื้อหาย่อหน้าสุดท้าย
  2. หลังจากที่คุณอ่านเนื้อหาแล้ว ให้ค้นหาจุดประสงค์ของการอ่านบันทึกและเหตุผลที่คุณต้องจดบันทึก ถามตัวเองด้วยคำถามดังต่อไปนี้เพื่อแนะแนวประเภทของบันทึกที่คุณจดเอาไว้: [11]
    • ฉันกำลังพยายามเข้าใจเนื้อหาหรือแนวคิดใช่ไหม
    • ฉันต้องรู้ข้อมูลจำเพาะหรือรายละเอียดจากเนื้อหาหรือไม่
  3. เนื้อหาส่วนใหญ่จะมีข้อถกเถียงและแนวคิดหลักที่ต้องการจะสื่อ ให้สังเกตแนวคิดสำคัญที่คุณเจอด้วยวลีหรือประโยคสั้นๆ การเน้นข้อความเหล่านั้นด้วยภาษาของคุณเองจะช่วยให้คุณมีข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับเนื้อหาทั้งหมด
    • นอกจากนี้ ในการขีดเส้นใต้แนวคิดสำคัญของบันทึกนั้น คุณสามารถขีดเส้นใต้หรือเน้นข้อความด้วยดินสอหรือปากกา ดูให้ดีว่าคุณได้เขียนเลขหน้าในบันทึกเพื่อให้คุณย้อนกลับไปอ่านหนังสือที่มีเนื้อหาเดิมได้
    • ยกตัวอย่างเช่น “การล่มสลายของสาธารณรัฐเวย์มาร์” นั้นจัดการข้อความได้ง่ายกว่า “สถานการณ์โดยรวมที่ส่งผลให้กลุ่มนาร์ซีเข้าใช้กำลังในเดือนมกราคม ปี1993 เป็นผลจากสงครามระหว่างประเทศที่ทำลายสาธารณรัฐตั้งใหม่.”
  4. ละจากการอ่านบันทึกประมาณ 2-3 ชั่วโมง จากนั้นกลับมาอ่านสิ่งที่คุณเขียนและดูว่ามีส่วนใดที่คุณไม่เข้าใจบ้าง อธิบายคำสำคัญหรือแนวคิดที่คุณไม่เข้าใจเพิ่มเติม และเพิ่มความคิดหรือข้อสังเกตที่ช่วยให้คุณเข้าใจได้ง่ายขึ้น
    • ตั้งเวลาในการทบทวนบันทึกของคุณเป็นประจำ ยิ่งคุณทบทวนมากเท่าใด คุณก็จะจำได้มากเท่านั้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เขียนให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ คุณคงไม่อยากจะนั่งแกะลายมือตัวเองเมื่อคุณทบทวนบันทึก อย่าเขียนด้วยลายมือที่อ่านยาก
  • ถ้าคุณเป็นคนชอบเรียนรู้ผ่านการมองเห็น และชอบสีสัน การใช้หมึกสีที่แตกต่างกันเพื่อแยกประเด็นหรือแนวคิดจะมีประโยชน์อย่างมาก
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • สมุดหรือกระดาษฉีก
  • ดินสอและปากกา
  • ปากกาเน้นข้อความ

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,977 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา