ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
ทุกคนย่อมมีเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงานที่ดูดพลังออกจากตัวคุณโดยการบ่นเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในโลกที่ไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อพวกเขา โชคร้ายที่คุณต้องรับมือกับคนที่คิดลบตลอดชีวิต อย่างไรก็ตาม ความคิดแง่ลบของคนอื่นสามารถมีผลกระทบกับความผาสุกของคุณเช่นกัน [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง Goodhart, D. E. (1985). Some psychological effects associated with positive and negative thinking about stressful event outcomes: Was pollyanna right? Journal of Personality and Social Psychology, 48(1), 216-232. ดังนั้น เพื่อเป็นการดูแลความผาสุกของคุณ คุณต้องหลีกเลี่ยงความคิดแง่ลบและทำให้ความคิดเป็นกลางเมื่อมีโอกาส โชคดีที่คุณมีวิธีในการรับมือกับคนที่คิดลบดังนี้
ขั้นตอน
-
จำไว้ว่าคุณไม่จำเป็นต้องพยายามทำให้พวกเขารู้สึกดีขึ้น แก้ปัญหาของพวกเขาหรือหาทางแก้ไข. มันดีที่คุณพยายามเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ให้พวกเขา แต่จำไว้ว่าคุณไม่จำเป็นต้องทำสำเร็จและมันไม่ใช่งานของคุณ
- บางครั้งวิธีที่ดีที่สุดในการรับมือกับคนที่คิดลบคือการที่คุณคิดบวกเสมอและเพิกเฉยต่อความคิดลบๆ ของพวกเขา
- คำแนะนำที่ไม่พึงประสงค์นั้นมักไม่เป็นที่ต้องการ รอจนกว่าคนๆ นั้นบอกคุณว่าเขาต้องการได้ยินความเห็นของคุณ
- บางครั้งมันก็มีเหตุผลที่ดีสำหรับบางคนที่จะอยู่ในภาวะลบๆ คุณต้องให้เกียรติเขาในแบบนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการกวนใจคนที่อารมณ์เสียคือการบอกว่าเขาไม่ควรจะอารมณ์เสีย ในขณะที่มันอาจจะจริง มันก็อาจจะไม่เป็นประโยชน์นัก
- เป็นตัวอย่างที่ดีในการคิดบวก บางครั้งสิ่งที่ดีที่สุดที่ควรทำคือการมีท่าทางบวกๆ เพียงแค่การคิดบวกและรักษาความคิดบวกเอาไว้ท่ามกลางมรสุมของความคิดลบก็จะสามารถส่งผลกระทบได้
-
ให้การสนับสนุน. ครั้งแรกที่คุณเจอคนที่รู้จักซึ่งกำลังคิดลบ คุณควรรับฟังอย่างเห็นอกเห็นใจ พยายามช่วยเหลือหากเขาขอร้อง ทุกคนล้วนมีวันแย่ๆ หรือต้องการความช่วยเหลือกับบางอย่างเป็นบางครั้งบางครา เพียงแค่คุณเป็นคนที่มีประโยชน์และเห็นอกเห็นใจก็สามารถส่งต่อความคิดบวกๆ ได้
- หากคนๆ นั้นยังคงพูดเรื่องลบๆ เรื่องเดิมไม่รู้จบ คุณอาจจะรู้สึกเหนื่อยใจหลังจากพูดคุยกับเขาและเขาใช้คำและประโยคที่เป็นลบอย่างพร่ำเพรื่อ (ฉันทำไม่ได้, พวกเขาไม่ได้, ฉันเกลียด เป็นต้น) เมื่อนั้นคือเวลาที่คุณควรจะพยายามปลดวางความคิดลบของพวกเขา
-
อย่ามีส่วนร่วมในการคิดลบ. มันง่ายมากที่จะถูกดูดเข้าไปในวังวนของการคิดลบเมื่อคุณเผชิญหน้ากับคนที่คิดลบ การเลือกที่จะไม่เข้าไปมีส่วนร่วมไม่ได้แปลว่าคุณละเลยพวกเขาแต่มันคือการรักษาระยะห่างทางอารมณ์
- หลีกเลี่ยงการพยายามเถียงว่าทำไมคนๆ นี้ไม่ควรคิดลบ ในการพยายามทำให้คนคิดลบเปลี่ยนความคิดนั้น สัญชาตญาณแรกคือการพยายามเถียงว่าทำไมคนๆ นี้ไม่ควร โชคร้ายที่มันมักจะไม่ได้ผล คนขี้กลัวมักจะมีเหตุผลมากมายว่าทำไมและจะมีข้อแก้ตัวในการเป็นเช่นนั้น คุณจะเสียเวลาและความพยายามโดยเปล่าประโยชน์และอาจจะเผลอคิดลบไปด้วย
- คนที่คิดลบมักจะคิดเกินเหตุ มุ่งเน้นไปที่ความคิดแง่ลบและละเลยความคิดแง่บวก แทนที่จะพยายามทำให้พวกเขาเห็นว่าพวกเขากำลังคิดลบ (ซึ่งส่วนใหญ่จะนำไปสู่การเผชิญหน้าและการสนับสนุนความคิดว่าทุกคนต่อต้านพวกเขา) คุณควรลองให้คำตอบแบบปัดๆ ซึ่งไม่สนับสนุนหรือประจานความคิดลบๆ วิธีนี้แสดงว่าคุณกำลังฟังโดยไม่บอกว่าคุณเห็นด้วย
- คำตอบแบบปัดๆ ได้แก่ “โอเค” หรือ “อ๋อเหรอ”
- คุณสามารถติดตามผลด้วยความคิดแง่บวกของคุณแต่พยายามอย่าขัดแย้งกับคน นี้: "อ๋อ มันลำบากมากเวลาที่ลูกค้าดูไม่พอใจแบบนั้น ฉันพยายามไม่คิดมาก”
-
ใช้การถามแบบชื่นชม. หากคนๆ นี้แสดงความคิดแง่ลบเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือหัวข้อใดๆ คุณสามารถพูดกับเขาโดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า “การถามแบบชื่นชม” การถามแบบชื่นชมคือกระบวนการถามคำถามเพื่อช่วยให้คนๆ นี้เห็นอนาคตที่เป็นบวกมากขึ้น หากพวกเขาบ่นเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้ว คุณสามารถถามโดยเน้นไปที่ด้านที่เป็นบวกของประสบการณ์ของพวกเขาหรือถามคำถามเกี่ยวกับอนาคต [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง Cooperrider, D. L., & Whitney, D. (2001). A positive revolution in change: Appreciative inquiry. Public administration and public policy, 87, 611-630.
- คำถามเหล่านี้ ได้แก่ “คุณหวังว่าคราวหน้าจะเป็นอย่างไร?” หรือ “อะไรคือสิ่งที่เป็นบวกเกี่ยวกับประสบการณ์นี้?”
- คำถามนี้ควรจะนำไปสู่เรื่องราวเกี่ยวกับว่าอนาคตที่สดใสกว่าเดิมควรเป็นอย่างไรและต้องทำอะไรจึงจะได้มันมา
-
เปลี่ยนทิศทางของบทสนทนา. หากคำถามแบบชื่นชมไม่นำไปสู่บทสนทนาที่มีประสิทธิผลและเป็นบวก คุณก็ควรเปลี่ยนทิศทางของบทสนทนาให้มาเกี่ยวกับบางสิ่งที่ไม่ร้ายแรง [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- เช่น “ฉันเข้าใจว่าคุณโกรธเรื่องเพื่อนร่วมงานของคุณ มันน่าจะลำบากมากๆ ไหนลองบอกฉันเกี่ยวกับแผนการสำหรับสุดสัปดาห์นี้หน่อยสิ” หรือ “ว้าว มันฟังดูแย่จัง แต่เธอได้ดูสารคดีใหม่หรือเปล่า?”
-
ลองขัดขวางการครุ่นคิดแง่ลบ. การครุ่นคิด (คิดแต่เรื่องลบๆ ซ้ำไปซ้ำมา) มีแต่จะทำให้ความเป็นลบยิ่งแข็งกร้าวขึ้นและยังเกี่ยวข้องกับระดับของความหดหู่ที่มากขึ้น [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง Nolen-Hoeksema, S., Parker, L.E., Larson, J. (1994). Ruminative coping with depressed mood following loss. Journal of Personality and Social Psychology, 67, pp. 92–104. หากคนๆ นี้ชอบครุ่นคิด ให้คุณลองขัดขวางกระบวนการนี้โดยการดึงให้เขาคิดเรื่องอื่นแทน
- ในขณะที่การเปลี่ยนทิศทางของบทสนทนาหมายถึงการดึงคนๆ นี้ไปสู่หัวข้อที่มีความสุขมากขึ้นเกี่ยวกับวัตถุเดิม การขัดขวางการครุ่นคิดแง่ลบมักจะหมายถึงการเปลี่ยนหัวข้อโดยสิ้นเชิง หากคนๆ นี้ครุ่นคิดเกี่ยวกับการงาน ให้คุณลองพูดเกี่ยวกับรายการทีวีโปรดของเขา สัตว์เลี้ยงแสนรักหรืออย่างอื่นที่จะนำไปสู่บทสนทนาที่เป็นบวกมากขึ้น
-
ช่วยให้คนๆ นี้เห็นว่าเขาอาจจะคุมสถานการณ์. คนที่คิดลบมักจะโทษทุกสิ่งอย่างยกเว้นตัวเขาเอง คนที่โทษปัจจัยภายนอกเวลามีปัญหามักจะมีความผาสุกทางอารมณ์ที่ไม่ค่อยดีเมื่อเทียบกับคนที่มองโลกในมุมที่ต่างกัน [5] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง Garnefski, N., Kraaij, V., & Spinhoven, P. (2001). Negative life events, cognitive emotion regulation and emotional problems. Personality and Individual differences, 30(8), 1311-1327. พยายามสนับสนุนคนที่คิดลบให้พัฒนาแผนการรับมือกับเหตุการณ์ที่เป็นลบ [6] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง Garnefski, N., Kraaij, V., & Spinhoven, P. (2001). Negative life events, cognitive emotion regulation and emotional problems. Personality and Individual differences, 30(8), 1311-1327.
- การบ่นเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เป็นลบไม่จำเป็นต้องเป็นการตอบรับที่ไม่ดี บ่อยครั้งที่เรามักจะพยายามและพัฒนาการกระทำเพื่อจัดการกับปัญหาในช่วงนี้ พยายามช่วยเหลือคนๆ นี้ให้ถ่ายทอดพลังงานทางลบในวิถีที่มีโครงสร้าง เช่น คุณสามารถถามว่าคนๆ นี้ทำอะไรเพื่อเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในที่ทำงานได้บ้าง
-
ช่วยคนๆ นี้ให้ยอมรับเหตุการณ์ที่เป็นลบ. นอกเหนือจากการสอนให้คนๆ นี้ตอบโต้กับเหตุการณ์ที่เป็นลบได้แล้ว คุณยังสามารถช่วยให้เขายอมรับเหตุการณ์ที่เป็นลบอย่างสุดกำลัง [7] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง Garnefski, N., Kraaij, V., & Spinhoven, P. (2001). Negative life events, cognitive emotion regulation and emotional problems. Personality and Individual differences, 30(8), 1311-1327. เช่น ลองนึกว่าเพื่อนกำลังถูกตำหนิที่ทำงานเพราะเขามาสาย เขาบ่นให้คุณฟังช่วงมื้อเที่ยง คร่ำครวญเกี่ยวกับความจริงที่ว่าเขานั่งรถเมล์มาทำงาน บ่นว่าเจ้านายอาละวาดใส่เขา เป็นต้น คุณสามารถลองพูดหลายๆ สิ่งในสถานการณ์นี้ เช่น:
- “เจ้านายรายงานการมาสายของเธอไปเรียบร้อยแล้วและมันเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้แต่อีกหกเดือนรายงานนี้ก็สิ้นสุดแล้ว จากนั้นเธอก็สามารถทำให้เจ้านายเห็นว่าเธอทุ่มเทกับงานแค่ไหน”
- “เธอลองขี่จักรยานมาทำงานแทนมั้ย? จะได้ไม่ต้องหวังพึ่งรถเมล์ให้มาตรงเวลาและเธอจะได้ออกจากบ้านได้สายหน่อย”
- "เธอเศร้ามาก ฉันดูออกเลย ฉันเสียใจกับเรื่องที่เกิดขึ้นจริงๆ หากเธอต้องการความช่วยเหลือเพื่อมาทำงานในตอนเช้าก็บอกฉันได้นะ"
-
สร้างขอบเขต. เมื่อต้องรับมือกับคนที่คิดลบ คุณต้องสร้างขอบเขตสำหรับวิธีที่คุณจะรับมือกับเขา ความเป็นลบของคนอื่นไม่ใช่ความรับผิดชอบที่คุณต้องจัดการ หากเขาทำให้คุณรู้สึกแย่เกินไป คุณต้องใช้เวลาให้ห่างจากเขา
- หากคนที่คิดลบคือเพื่อนร่วมงาน ตัดรำคาญความเป็นลบของเขาอย่างนิ่มนวลด้วยการบอกเขาว่าคุณต้องกลับไปทำงาน มิฉะนั้นความเป็นลบของเขาจะยิ่งเตลิด
- หากคนที่คิดลบคือสมาชิกในครอบครัว (โดยเฉพาะคนที่คุณอาศัยอยู่ด้วย) ลองออกห่างจากเขาให้มากที่สุด ไปห้องสมุดหรือร้านกาแฟแถวบ้านและไม่ต้องรับสายเวลาเขาโทรมา
โฆษณา
-
ระบุตัวคนที่คิดลบ. ส่วนหนึ่งของการรับมือกับคนที่คิดลบในระยะยาวคือการชี้ว่าเขาคิดลบหรือไม่หรือเป็นแค่คนที่มีวันที่แย่ๆ [8] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- คนที่คิดลบมักจะเป็นเช่นนั้นเพราะโดนทำให้ผิดหวังหรือทำร้ายมามากและความโกรธที่เกี่ยวข้องกับผลของการกระทำเหล่านี้
- คนที่คิดลบมักจะโทษปัจจัยภายนอกมากกว่าตัวเอง แน่นอนว่าเขาเป็นคนที่คิดลบสุดๆ เกี่ยวกับตัวเองและมันน่าเพลียสำหรับคนที่ต้องฟัง
-
หลีกเลี่ยงการสอนหรือบ่นคนๆ นี้. มิตรภาพหรือความสัมพันธ์ในที่ทำงานระยะยาวกับคนที่คิดลบสามารถกัดกินความอดทนของคุณมากพอๆ กับเวลาและพลังงาน แต่คุณต้องหลีกเลี่ยงการสอนหรือการบ่นคนๆ นี้ [9] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง แม้แต่คนที่คิดบวกสุดๆ ก็ยังยอมรับคำวิจารณ์ไม่เก่งและคนที่คิดลบมักจะมองคำวิจารณ์ว่าเป็นหลักฐานว่าคุณต่อต้านเขามากกว่าเป็นคำตอบรับที่มีรูปแบบ
- ถึงแม้ “การพูดมันออกไป” จะช่วยให้คุณระบาย มันจะไม่ช่วยสถานการณ์นี้อย่างเต็มที่ [10] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง หากคุณต้องระบายเรื่องคนที่คิดลบ คุณควรพูดกับคนที่คุณไว้ใจในกลุ่มที่คอยสนับสนุนแต่ไม่ใช่กับคนที่คิดลบ
-
ลงมือทำแทนการโต้ตอบ. วิธีหนึ่งที่จะช่วยคุณและคนที่คิดลบให้กำจัดความเป็นลบคือการทำสิ่งดีๆ กับคนที่คิดลบที่ไม่ได้ถูกกระตุ้นโดยสถานการณ์หรือบทสนทนาจำเพาะ การปฏิเสธจากคนอื่นจะทำให้มุมมองโลกที่เป็นลบชัดเจนขึ้น ฉะนั้นการยอมรับสามารถช่วยได้ [11] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง Segrin, C., & Abramson, L. Y. (1994). Negative reactions to depressive behaviors: A communication theories analysis. Journal of Abnormal Psychology, 103(4), 655-668.
- คนเราอาจจะเห็นแรงสนับสนุนที่เขาได้รับเมื่อเขามีกรอบความคิดแบบลบว่าเป็นของตาย แสดงให้เขาเห็นการกระทำที่เป็นบวกในทิศทางของเขาแม้ในเวลาที่มันไม่ได้เกิดจากสถานการณ์ที่เป็นลบก็ตาม คุณอาจจะมีผลกระทบที่ใหญ่กว่าต่อปฏิสัมพันธ์ที่คนๆ นี้มีต่อคุณโดยการทำเช่นนี้
- เช่น หากคุณชอบมีข้ออ้างว่าทำไมคุณจึงไม่คบคนที่คิดลบในขณะที่เขากำลังตำหนิสถานการณ์ที่เป็นลบ ลองชวนคนๆ นี้ไปเที่ยวเวลาที่เขาอารมณ์ดีหรือไม่ได้คิดลบ
-
ย้ำเตือนสิ่งที่เป็นบวกเพื่อช่วยให้เขามุ่งเน้นความเป็นบวกอีกครั้ง. ย้ำเตือนคนๆ นี้ถึงเวลาที่สนุกที่คุณใช้ด้วยกันหรือสถานการณ์ที่ตลก ชมเขาสำหรับสิ่งที่คุณคิดว่าเขาทำได้ดี มันช่วยเตือนคนๆ นี้ว่าบางคนห่วงใยเขาและมันช่วยนำความเป็นบวกมาให้วันที่เขามี [12] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง Garnefski, N., Kraaij, V., & Spinhoven, P. (2001). Negative life events, cognitive emotion regulation and emotional problems. Personality and Individual differences, 30(8), 1311-1327.
- เช่น “บทความนั้นเยี่ยมมาก ฉันประทับใจการค้นคว้าที่เธอทำมากๆ”
-
ทำสิ่งที่น่ารักๆ ที่เขาไม่ได้คาดหวังไว้บ้าง. เช่น หาวันเพื่อชวนเขามาดูหนังกับคุณหรือไปเดินเล่นด้วยกัน นี่คือวิธีที่ดีในการย้ำความเป็นบวกให้กับคนที่คิดลบโดยไม่ทำให้มันเป็นการบ่นท่าทางของเขาซึ่งน้อยคนนักที่จะรับได้
-
ไปเที่ยวเป็นกลุ่ม. บางครั้งวิธีที่ดีที่สุดในการรับมือกับคนที่คิดลบ (โดยเฉพาะหากเขาอยู่ในกลุ่มเพื่อนของคุณ) คือการจัดงานกลุ่มเพื่อที่ความเป็นลบของเขาจะถูกสลายไปท่ามกลางผู้คนที่หลากหลาย [13] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง อย่างไรก็ตาม คุณต้องระวังเพื่อที่สถานการณ์เหล่านี้จะไม่กลายเป็นการรุมคนที่คิดลบ
- ขั้นตอนนี้ได้ผลดีที่สุดเมื่อทุกคนในกลุ่มแสดงความเห็นใจต่อคนที่คิดลบและใช้วิธีเดียวกันเพื่อพยายามช่วยคนๆ นี้ให้เอาชนะความเป็นลบได้
-
รับผิดชอบความสุขของตัวเอง. ในการเป็นสัตว์สังคมนั้น ความสุขของมนุษย์มักจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของความสัมพันธ์กับคนอื่น อย่างไรก็ตาม คุณเท่านั้นที่ต้องรับผิดชอบความเป็นบวกและความสุขของตัวเอง [14] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- การเป็นสุขโดยไม่คำนึงถึงสถานการณ์คือการมีการควบคุมเหนือการตอบโต้ทางอารมณ์มากกว่าสถานการณ์ เช่น หากคุณกำลังรับมือกับเพื่อนที่คิดลบ คุณสามารถปล่อยให้เพื่อนดึงพลังบวกออกจากคุณหรือคุณดูแลตัวเองด้วยคำย้ำเตือนของสิ่งที่เป็นบวกก่อนและหลังการรับมือกับเพื่อนคนนี้
- การควบคุมการตอบโต้ทางอารมณ์ก็เหมือนการสร้างกล้ามเนื้อ คุณต้องฝึกควบคุมอารมณ์ของตัวเองเพื่อโต้ตอบกับสถานการณ์ภายนอก เช่น การรับมือกับคนที่คิดลบ
-
ประเมินบทบาทของคนๆ นี้ในชีวิตของคุณ. บางครั้งวิธีที่ดีที่สุดในการรับมือกับคนที่คิดลบคือการกำจัดเขาออกจากชีวิตของคุณโดยสิ้นเชิง บ่อยครั้งที่ความเป็นลบของเขาทำให้คุณรู้สึกแย่เกินไปที่จะหยิบยื่นความสัมพันธ์ที่เติมเต็มและเท่าเทียมกันได้
- คุณจะต้องตรวจสอบข้อดีและข้อเสียของการกำจัดบางคนออกจากชีวิต มันอาจจะทำได้ยากหากคนๆ นี้อยู่ในกลุ่มเพื่อน มันอาจจะเป็นไปไม่ได้เลยด้วยซ้ำ เช่น เมื่อคนๆ นี้เป็นเพื่อนร่วมงานหรือเจ้านาย.
- รับเอาสิ่งที่ซื่อตรงเกี่ยวกับสิ่งที่ได้จากความสัมพันธ์ของคุณกับคนๆ นี้และอย่าพึ่งพาวิถีที่ความสัมพันธ์ “เคยเป็น” มากเกินไปหากเขาเป็นคนคิดลบในช่วงหลายเดือนหรือปีที่ผ่านมา
-
หลีกเลี่ยงคนๆ นี้. หากคุณไม่สามารถกำจัดคนๆ นี้ออกไปได้อย่างสิ้นเชิง การหลีกเลี่ยงเขาจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของคุณ คุณไม่ได้เป็นหนี้เวลาหรือพลังงานให้ใคร โดยเฉพาะหากคนๆ นี้ทำให้คุณรู้สึกแย่ด้วยความเป็นลบโฆษณา
เคล็ดลับ
- จำไว้ว่าคนเรามีเหตุผลที่ต่างกันสำหรับความเป็นลบ รวมถึงความไม่มั่นคง ความเคารพตัวที่มีน้อย อดีตที่โหดร้าย ความสับสนในชีวิต ความไม่มั่นใจ เป็นต้น
- คนเหล่านี้อาจจะไม่สามารถเห็นด้านหรือผลลัพธ์ในชีวิตที่เป็นบวก จำไว้ว่าคนเหล่านี้ต้องอยากเปลี่ยนวิธีคิดด้วยตัวเอง
- อย่าโต้ตอบความเห็นที่เป็นลบ หากคุณไม่โต้ตอบตามที่เขาต้องการ เขาก็จะหยุดเพราะพฤติกรรมของการเรียกร้องความสนใจนั้นไม่ได้ผล
- คุณควรทำตัวสุภาพ หลีกเลี่ยงการเป็นคนใจร้ายและฝึกการใจเย็น
โฆษณา
คำเตือน
- คนที่คิดลบตลอดเวลาอาจจะซึมเศร้า หากความเป็นลบปรากฏในบทสนทนาที่เกี่ยวกับการทำร้ายตนเองหรือคนอื่น คุณต้องกระตุ้นให้คนๆ นี้ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ
- อย่าให้ความเป็นลบของคนอื่นทำให้คุณกลายเป็นคนคิดลบ คุณต้องจำความรับผิดชอบของคุณที่มีต่อความสุขส่วนตัวให้ได้
โฆษณา
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ Goodhart, D. E. (1985). Some psychological effects associated with positive and negative thinking about stressful event outcomes: Was pollyanna right? Journal of Personality and Social Psychology, 48(1), 216-232.
- ↑ Cooperrider, D. L., & Whitney, D. (2001). A positive revolution in change: Appreciative inquiry. Public administration and public policy, 87, 611-630.
- ↑ http://tinybuddha.com/blog/how-to-deal-with-negative-people-or-difficult-people/
- ↑ Nolen-Hoeksema, S., Parker, L.E., Larson, J. (1994). Ruminative coping with depressed mood following loss. Journal of Personality and Social Psychology, 67, pp. 92–104.
- ↑ Garnefski, N., Kraaij, V., & Spinhoven, P. (2001). Negative life events, cognitive emotion regulation and emotional problems. Personality and Individual differences, 30(8), 1311-1327.
- ↑ Garnefski, N., Kraaij, V., & Spinhoven, P. (2001). Negative life events, cognitive emotion regulation and emotional problems. Personality and Individual differences, 30(8), 1311-1327.
- ↑ Garnefski, N., Kraaij, V., & Spinhoven, P. (2001). Negative life events, cognitive emotion regulation and emotional problems. Personality and Individual differences, 30(8), 1311-1327.
- ↑ http://www.psychologytoday.com/blog/sapient-nature/201303/dealing-negative-people
- ↑ https://www.psychologytoday.com/blog/sapient-nature/201303/dealing-negative-people
- ↑ https://www.psychologytoday.com/blog/sapient-nature/201303/dealing-negative-people
- ↑ Segrin, C., & Abramson, L. Y. (1994). Negative reactions to depressive behaviors: A communication theories analysis. Journal of Abnormal Psychology, 103(4), 655-668.
- ↑ Garnefski, N., Kraaij, V., & Spinhoven, P. (2001). Negative life events, cognitive emotion regulation and emotional problems. Personality and Individual differences, 30(8), 1311-1327.
- ↑ http://www.lifehack.org/articles/communication/9-helpful-tips-to-deal-with-negative-people.html
- ↑ http://www.psychologytoday.com/blog/sapient-nature/201112/taking-personal-responsibility-your-happiness
โฆษณา