ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ปัญหาครอบครัวนั้นมีมากมาย ตัวอย่างเช่น มีสมาชิกคนใดคนหนึ่งเสียชีวิตไป มีคนในครอบครัวติดยา เริ่มประสบปัญหาด้านการเงิน มีสมาชิกที่มีอาการป่วยทางจิต เกิดการหย่าร้ายหรือการแยกทาง และต้องปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลง ปัญหาเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบกับสมาชิกในครอบครัวอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ตึงเครียดในครอบครัว ถ้าสมาชิกแก้ปัญหาด้วยการเอาแต่โทษกันไปมา ปัญหาก็อาจไม่ได้รับการแก้ไขทันท่วงที และอาจบานปลายจนนำไปสู่ความตึงเครียด ความไม่พอใจ และการทะเลาะเบาะแว้งจนถึงขั้นไม่อยากมองหน้ากันในที่สุด ความขัดแย้งในครอบครัวมีผลต่อการทำภารกิจประจำวันของสมาชิกทุกคน ฉะนั้นจงจัดการปัญหาภายในครอบครัวด้วยการเรียนรู้ทักษะการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

หาทางออกร่วมกัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเผชิญและก้าวผ่านปัญหาครอบครัวดูเหมือนอาจเป็นไปไม่ได้ ถ้าทำเพียงลำพัง แต่เมื่อสมาชิกทุกคนช่วยกัน ก็จะแก้ปัญหาความขัดแย้งภายในครอบครัวได้ง่ายขึ้น ก้าวแรกสู่การแก้ปัญหาคือการเห็นพ้องต้องกันว่ามีปัญหาเกิดขึ้นภายในครอบครัวจริงๆ จากนั้นพอเห็นว่าทุกคนต่างอารมณ์เย็นลงพอสมควร ก็ลองหาเวลาให้ทุกคนมานั่งคุยกันเพื่อคิดหาหนทางแก้ปัญหานั้น
    • หาเวลาที่ทุกคนสะดวกเพื่อพบปะพูดคุยกัน ให้สมาชิกทุกคนรู้ถึงจุดประสงค์ของการพบปะพูดคุยกันนี้และรู้ว่าพวกเขามีส่วนร่วมในการเสนอคำแนะนำและวิธีแก้ปัญหาภายในครอบครัว
    • ควรคำนึงว่าเรื่องที่จะพูดคุยกันภายในครอบครัวเหมาะที่เด็กเล็กจะเข้ารับฟังด้วยไหม ถ้าคาดว่าจะเกิดการระเบิดอารมณ์ใส่กัน หรือปัญหาที่พูดคุยกันเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ให้เด็กๆ ไปเล่นกันอยู่อีกห้องหนึ่งซะ
    • นักบำบัดมักแนะนำให้หาเวลาพบปะพูดคุยกันภายในครอบครัวเป็นประจำ [1] การได้พบปะพูดคุยกันทำให้สมาชิกในครอบครัวมีโอกาสพูดคุยประเด็นปัญหาอย่างเปิดอกก่อนที่ปัญหานั้นจะลุกลามกลายเป็นความหมางใจกัน การพูดคุยกันในครอบครัวเป็นประจำช่วยพัฒนาความสัมพันธ์และเพิ่มความใกล้ชิด
  2. เมื่อเกิดการทะเลาะเบาะแว้ง คนเรามักจะขุดคุ้ยปัญหาทุกอย่างซึ่งยังไม่ได้รับการแก้ไขขึ้นมาถกเถียง การทำแบบนี้จะทำให้เกิดอุปสรรคในการแก้ปัญหาและทำให้ออกนอกจุดประสงค์ของการมาพูดคุยกัน [2]
    • พยายามเข้าใจให้ชัดเจนว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในตอนนี้มีอะไรเป็นสาเหตุสำคัญ การหาหลักฐานหรือหยิบยกเรื่องไม่ดีเก่าๆ มาพูดไม่ช่วยให้เราแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่นี้
  3. การพูดออกมาตรงๆ นั้นสำคัญต่อการแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างยิ่ง สมาชิกแต่ละคนควรใช้คำพูดโดยเน้นคำว่า “ฉัน” เพื่อกล่าวถึงความต้องการ ความปรารถนาและความกังวลของตน [3]
    • จำไว้ว่าเรามีเป้าหมายลดความขัดแย้งและหาทางแก้ปัญหา การใช้คำพูดโดยเน้นคำว่า “ฉัน” ทำให้สมาชิกทุกคนยอมแสดงความรู้สึกของตนออกมา ขณะเดียวกันก็แสดงความเคารพผู้พูดด้วยการตั้งใจฟัง การใช้คำพูดโดยเน้นคำว่า “ฉัน” จะทำให้ผู้พูดแต่ละคนยอมรับว่ารู้สึกอย่างไรและในขณะเดียวกันก็ให้โอกาสผู้พูดแนะนำวิธีแก้ปัญหาด้วย
    • ตัวอย่างของการใช้คำพูดโดยเน้นคำว่า “ฉัน” ได้แก่ “ฉันทุกข์ใจที่ครอบครัวเรากำลังแตกแยก ฉันอยากให้พวกเรามาช่วยกันแก้ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นนี้” หรือ “ฉันกลัวพ่อตอนที่เขาดื่มหนัก เพราะเวลาเมา เขาชอบตะโกนโหวกเหวกโวยวาย ฉันอยากให้พ่อเลิกดื่มเหล้าเสียที” [4]
  4. ถ้าเราอยากได้ข้อตกลงร่วมกันในช่วงที่เกิดความขัดแย้งขึ้นในครอบครัว การรับฟังซึ่งกันและกันเป็นสิ่งสำคัญ แค่ตั้งใจฟังสิ่งที่แต่ละคนต้องการบอกก็สามารถช่วยให้เราเข้าใจว่าแต่ละคนต้องการอะไร การฟังอย่างได้ผลคือการจับน้ำเสียงและดูภาษากาย ให้สมาชิกแต่ละคนพูดโดยที่เราไม่ขัดหรือออกความเห็น แล้วกล่าวซ้ำสิ่งที่พูดหลังจากนั้นอีกครั้งเพื่อให้เรามั่นใจว่าเข้าใจถูกต้อง
    • การฟังที่ได้ผลจะทำให้ผู้พูดรู้สึกว่ามีคนตั้งใจฟังเขาพูดอยู่ จึงจูงใจให้ผู้พูดนั้นอยากตั้งใจฟังคนอื่นบ้าง จึงลดการโต้แย้งและความรู้สึกที่รุนแรงลงได้ รวมทั้งยังสร้างความสัมพันธ์ให้กลับมาดีดังเดิมในช่วงที่เกิดความขัดแย้งขึ้น [5]
  5. การยอมรับความคิดเห็นคือการแสดงให้เห็นว่าเรารับรู้ เห็นคุณค่า และยอมรับความคิด ความเห็น หรือความเชื่อของผู้อื่น [6] ถึงแม้ความเห็นของเราเองจะแตกต่างจากเขามาก แต่การยอมรับความคิดเห็นของคนอื่นก็แสดงให้เห็นว่าเราเห็นเขาเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ควรค่าแก่การเคารพและเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเรา [7]
    • แสดงการยอมรับสมาชิกในครอบครัวของเราด้วยการพูดอย่างเช่นว่า “ดีใจจริงๆ ที่ทุกคนยอมเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ฟัง” หรือ “ขอบใจที่ทุกคนอยากมาช่วยกันคิดหาวิธีแก้ปัญหา”
  6. พอทุกคนได้บอกเล่าถึงความต้องการ ความปรารถนา และความวิตกกังวลกันหมดแล้ว ก็ถึงเวลาหาทางออกร่วมกันเสียที ให้พิจารณาคำแนะนำจากทุกคนและหาข้อตกลงที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกัน วิธีที่ทุกคนนำเสนอนั้นเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดีทั้งนั้น เขียนเป็นสัญญาหรือข้อตกลงสรุปว่าเราจะจัดการปัญหาอย่างไรบ้าง [8]
  7. ถ้าเราไม่สามารถแก้ปัญหาเองได้ ลองปรึกษานักบำบัดครอบครัวเพื่อรับคำแนะนำไปจัดการปัญหาครอบครัว [9]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

รู้ว่าอะไรเป็นอุปสรรคในการพูดคุย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รู้ว่าสมาชิกในครอบครัวมีปฏิกิริยาต่อปัญหาแตกต่างกัน. อุปสรรคอย่างหนึ่งที่มีผลต่อการแก้ไขความขัดแย้งภายในครอบครัวคือการที่สมาชิกแต่ละคนตอบสนองต่อความเครียดหรือความตึงเครียดแตกต่างกัน เราต้องพิจารณาความแตกต่างนี้ด้วย และทุกคนในครอบครัวจะต้องมีความตั้งใจจริงที่จะเผชิญกับปัญหานี้เพื่อหาวิธีแก้ไขอย่างจริงจัง [10]
    • ความขัดแย้งทำให้บางคนกลายเป็นศัตรูและชอบแก้ตัว นี้เป็นการตอบสนองทางร่างกายแบบ “สู้” คนที่เป็นแบบนี้อาจเถียงไม่จบไม่สิ้นเพื่อปัดความรับผิดชอบ หรือปฏิเสธไม่ยอมฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
    • บางคนอาจมีการตอบสนองทางร่างกายแบบ “หนี” คนที่มีการตอบสนองแบบนี้อาจพยายามหนีความขัดแย้งทุกวิถีทาง พวกเขาอาจปฏิเสธว่าไม่มีปัญหาเกิดขึ้น หรือเชื่อว่าตนเองนั้นไม่มีทางแก้ปัญหาได้ สมาชิกครอบครัวที่เป็นแบบนี้อาจทำเป็นไม่สังเกตเห็นปัญหาใดๆ ในครอบครัวหรือไม่เห็นผลกระทบของปัญหาที่ส่งผลถึงตัว
  2. การรับรู้ความรู้สึกนั้นจำเป็นต่อการยอมรับประสบการณ์เฉพาะตัวของเราและผู้อื่น ถ้าเราไม่รู้ว่าตนเองรู้สึกอย่างไร เราจะควบคุมความรู้สึก หรือแสดงให้เห็นสิ่งที่เราต้องการได้ยากลำบาก เมื่อเกิดปัญหาในครอบครัวขึ้น [11] [12]
    • อย่างแรกที่ต้องทำคือพยายามรู้ให้ได้ว่าตนเองรู้สึกอย่างไร [13] ใคร่ครวญสิว่าเรารู้สึกอย่างไร ร่างกายเรารู้สึกอย่างไร และเราต้องการทำอะไร ตัวอย่างเช่น เราอาจกำลังคิดว่า “ฉันเกลียดครอบครัวแบบนี้” เรากำหมัดแน่นและอยากต่อยอะไรสักอย่าง ความรู้สึกที่รุนแรงดังกล่าวอาจถือเป็นความโกรธหรือความอับอายขายหน้าก็ได้
    • ต่อไปให้ตั้งใจควบคุมและลบความรู้สึกอันรุนแรงนี้ออกไป เราจะได้แก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ทำกิจกรรมสนุกๆ เพื่อลบความไม่สบายใจออกไป จะทำกิจกรรมอะไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของเรา ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเศร้า เราอาจอยากดูหนังตลก ถ้าเราโกรธ เราอาจระบายให้เพื่อนฟังหรือออกกำลังกายอย่างหนัก
  3. การกล่าวโทษใครสักคนว่าเป็นตัวต้นเหตุของปัญหาจะทำให้บุคคลนั้นเอาแต่แก้ตัว หรือไม่ก็ขัดขวางการแลกเปลี่ยนความคิดอันก่อให้เกิดประโยชน์ จงพยายามลงมือแก้ปัญหา ไม่ใช่พยายามหาเรื่องคน เราสามารถรัก ให้เกียรติ และเคารพใครสักคนโดยไม่ต้องชอบทุกๆ สิ่งที่เขาทำก็ได้ แต่ถ้าเราโทษคนที่เรารักว่าเป็นตัวต้นเหตุของปัญหา การก้าวผ่านเหตุการณ์นี้ไปก็จะยากลำบาก [14] [15]
    • การใช้คำพูดโดยเน้นคำว่า “ฉัน” เป็นกลวิธีที่ยอดเยี่ยมกลวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดการกล่าวโทษและการหาข้อแก้ตัวที่จะตามมา ตัวอย่างเช่น ควรพูดว่า “ฉันกลัวว่าการติดยาของเธอจะทำให้ครอบครัวต้องทุกข์ใจ” มากกว่าที่จะพูดว่า “พวกติดยาเป็นพวกอันตรายไม่น่าเข้าใกล้”
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวมีความสำคัญต่อชีวิตของเรา การเกิดความขัดแย้งในครอบครัวบ่อยๆ มีผลกระทบต่อความพึงพอใจในชีวิตอย่างมาก ถ้าเราไม่สามารถแก้ไขปัญหาในครอบครัวได้ ลองขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญดู
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 17,446 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา