ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

รูปเรขาคณิตแต่ละรูปมีลักษณะที่แตกต่างกันไป แต่เราก็สามารถจัดประเภทได้ โดยอาจดูจากรูปร่าง ความยาวด้าน หรือไม่ก็ลักษณะของมุมภายใน ซึ่งสำหรับรูปสามเหลี่ยม จะเห็นได้ว่ามีการเรียกชื่อใน 2 ลักษณะ คือเรียกตามด้านกับเรียกตามมุม นั่นแสดงว่าเรามีเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของสามเหลี่ยม 2 เกณฑ์ คือแบ่งตามความยาวด้านกับแบ่งตามมุมภายใน ถ้าคุณอยากรู้ว่าสามเหลี่ยมมีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร ใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ก็อ่านเนื้อหาที่อยู่ด้านล่างนี้ได้เลย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

จัดประเภทของสามเหลี่ยมตามความยาวด้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นำไม้บรรทัดมาใช้วัดความยาวในแต่ละด้านของสามเหลี่ยม
  2. วางไม้บรรทัดตรงจุดที่เส้นมาบรรจบกัน แล้ววัดความยาวจากจุดนั้นไปยังจุดที่เส้นมาบรรจบกันอีกจุดหนึ่ง ทำให้ครบทั้ง 3 เส้น
  3. สังเกตดูว่ามีบางด้านยาวกว่าด้านอื่นไหม หรือมีสองด้านยาวเท่ากันไหม หรือทุกด้านยาวเท่ากันหมดไหม
  4. ระบุประเภทของสามเหลี่ยมโดยดูจากการเปรียบเทียบความยาวในแต่ละด้าน
    • สามเหลี่ยมหน้าจั่ว คือ สามเหลี่ยมที่มีด้านสองด้านยาวเท่ากัน
    • สามเหลี่ยมด้านเท่า คือ สามเหลี่ยมที่มีด้านทั้งสามด้านยาวเท่ากัน
    • สามเหลี่ยมด้านไม่เท่า คือ สามเหลี่ยมที่ไม่มีด้านใดเท่ากันเลย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

จัดประเภทของสามเหลี่ยมตามมุมภายใน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้ไม้โพรแทรกเตอร์วัดมุมภายในทั้ง 3 มุมของสามเหลี่ยม
    • ผลรวมของมุมภายในทั้ง 3 มุมของสามเหลี่ยมต้องมีค่าเท่ากับ 180 องศาเสมอ
  2. สังเกตขนาดของมุมต่างๆ โดยดูว่าเป็นมุมฉาก มุมแหลม หรือมุมป้าน
  3. ระบุประเภทของสามเหลี่ยมโดยดูจากขนาดและลักษณะของมุม
    • สามเหลี่ยมมุมป้าน คือ สามเหลี่ยมที่มีมุมใดมุมหนึ่งกางมากกว่า 90 องศา หรือเป็นมุมป้าน
    • สามเหลี่ยมมุมฉาก คือ สามเหลี่ยมที่มีมุมใดมุมหนึ่งกางเท่ากับ 90 องศา หรือเป็นมุมฉาก
    • สามเหลี่ยมมุมแหลม คือ สามเหลี่ยมที่มีมุมทุกมุมกางน้อยกว่า 90 องศา หรือเป็นมุมแหลม
    • ถ้ามุมทุกมุมของสามเหลี่ยมกางเท่ากัน ก็ถือว่าสามเหลี่ยมนั้นเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่า เนื่องจากมุมภายในของสามเหลี่ยมด้านเท่าทุกมุมกาง 60 องศา ซึ่งจากนิยาม มุมภายในของสามเหลี่ยมทุกมุมต้องรวมกันได้ 180 องศา ดังนั้นเมื่อแบ่งเป็นสามส่วนเท่าๆ กัน แต่ละมุมก็จะกาง 60 องศาพอดี ซึ่งนี่ก็คือขนาดของมุมภายในแต่ละมุมของสามเหลี่ยมด้านเท่า
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เราสามารถจัดให้สามเหลี่ยมด้านเท่าเป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่วได้ เนื่องจากนิยามของสามเหลี่ยมหน้าจั่วคือ ต้องมีสองด้านใดๆ ที่ยาวเท่ากัน
โฆษณา

คำเตือน

  • แม้สามเหลี่ยมมุมป้านกับสามเหลี่ยมมุมฉากจะมีสองมุมที่เป็นมุมแหลม แต่เราก็ไม่สามารถจัดให้เป็นสามเหลี่ยมมุมแหลมได้ เนื่องจากมุมภายในของสามเหลี่ยมมุมแหลมทุกมุมต้องเป็นมุมแหลมหรือกางน้อยกว่า 90 องศา
  • ควรใช้เครื่องมืออย่างไม้บรรทัดหรือไม้โพรแทรกเตอร์ในการวัด ไม่ใช่ใช้ตากะๆ เอา ไม่ว่าจะเป็นความยาวหรือขนาดของมุม เราอาจเห็นว่าเท่ากัน แต่ความจริงแล้วมันอาจต่างกันเล็กน้อยก็ได้ ซึ่งความคลาดเคลื่อนเพียงเล็กน้อยนี้เองจะทำให้เราจัดประเภทของสามเหลี่ยมผิด
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ไม้บรรทัด
  • ไม้โพรแทรกเตอร์

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 13,096 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา