ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าคุณจะอยาก “ล้างขยะ” เพื่อจัดระเบียบข้อมูลรกๆ ในฮาร์ดไดรฟ์ หรืออยากทำความสะอาดชิ้นส่วนต่างๆ ในเคสคอม บทความวิกิฮาวนี้ก็มีวิธีการง่ายๆ ทีละขั้นตอนมาฝากกัน หลักๆ แล้วบทความนี้จะแนะนำวิธีการจัดระเบียบระบบปฏิบัติการและทำความสะอาดชิ้นส่วนต่างๆ ของคอม ซึ่งถ้าทำเป็นประจำแล้ว ระบบจะลื่นไหล ทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ช่วยยืดอายุการใช้งานให้คอม เดี๋ยวนี้คอมดีๆ จะมีโปรแกรมจัดระเบียบไฟล์ระบบโดยเฉพาะ หรือจะดาวน์โหลด utilities จากในเน็ตมาใช้ก็ได้

ถ้าช่องระบายอากาศไม่สะอาด มีฝุ่นผงอุดตัน CPU จะ overheat คือร้อนจัด จนระบบล่ม คอมค้าง หรือเสียหายได้ คุณทำความสะอาดได้โดยแยกส่วนเคสคอมซะก่อน พวกชิ้นส่วนในเคสคอมแบบนี้ต้องถอดออกมาทำความสะอาดจริงๆ ทำจากในระบบไม่ได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

จัดระเบียบฮาร์ดไดรฟ์และระบบปฏิบัติการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทั้ง Mac OS และ Windows จะปล่อยอัพเดทใหม่ๆ ออกมาเรื่อยๆ เพื่ออุดช่องโหว่ด้านความปลอดภัยและเพิ่มความเสถียรให้ระบบ ส่วนใหญ่ระบบปฏิบัติการปัจจุบันของคุณจะสามารถสแกนหาและอัพเดทใหม่ๆ ที่จำเป็นได้อยู่แล้ว ไม่ต้องไปนั่งตามหาเอง โปรแกรมในเครื่องที่ทำหน้าที่นี้จะมีชื่อบ่งบอกชัดเจน (เช่น Windows Update หรือ Software Update) ตามค่า default จะทำงานโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าคุณปิดการอัพเดทอัตโนมัติไว้ หรือไม่แน่ใจว่าคอมตัวเองอัพเดทเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดหรือยัง ก็ให้ลองเช็คตามขั้นตอนด้านล่างดู
  2. ใครท่องเน็ตเป็นประจำ ก็แน่นอนว่าจะมีชิ้นส่วนข้อมูลต่างๆ สะสมอยู่เต็มไปหมดจนทำให้คอมอืดได้ โดยเฉพาะคอมเก่าที่อืดอยู่แล้ว วิธีล้างข้อมูลจากการท่องเน็ตได้ง่ายที่สุด ก็คือใช้เครื่องมือ (tools) ที่มีในเบราว์เซอร์ที่คุณใช้งาน อย่าง Microsoft Internet Explorer ของ Windows ก็ล้างข้อมูลชั่วคราวพวกนี้ได้โดยเข้า Internet Options คลิกปุ่ม Delete ใน tab General ของหัวข้อย่อย Browsing History อีกที
  3. adware และ malware เป็นโปรแกรมเจาะระบบคอม นอกจากไม่ปลอดภัยแล้วยังทำให้คอมอืดได้ มีหลายโปรแกรมฟรีใช้สแกนแล้วลบ adware และ spyware ได้ ให้ติดตั้งและเปิดโปรแกรม (ง่ายๆ แค่นั้น) เพื่อค้นหาแล้วลบไฟล์อันตราย
  4. วิธีรักษาความปลอดภัยระบบ ป้องกันอันตรายต่างๆ ก็คือติดตั้งโปรแกรม antivirus ดีๆ ทั้ง Mac และ Windows มีโปรแกรมที่ฟรีแต่ดีให้เลือกใช้เสมอ ไม่จำเป็นต้องเสียเงิน ติดตั้งโปรแกรมแล้วก็เปิดโปรแกรมให้ทำงานอยู่เบื้องหลังไว้ ตอนแรกที่ติดตั้ง หรือกลัวว่าจะมีไวรัสหลงเหลืออยู่ในคอม ก็สแกนเองซ้ำอีกทีก็ได้
  5. คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะซ่อมบำรุงตัวเองอัตโนมัติ แต่จะจัดการเองก็ไม่ว่ากัน tools หลักๆ ที่ต้องใช้ก็คือ (1) disk defragmentation ที่ใช้จัดระเบียบชิ้นส่วนข้อมูลรกๆ ในไดรฟ์ ให้ระบบสามารถค้นเจอได้อย่างรวดเร็ว และ (2) disk cleanup ที่ใช้ลบไฟล์ซ้ำซ้อนและไฟล์ชั่วคราวที่ไม่จำเป็น เพื่อทวงคืนพื้นที่ไดรฟ์
  6. ถ้ามีโปรแกรมเยอะแยะไปหมด แล้วอยากลบโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้ใน Windows ก็แค่ใช้ Programs and Features (เวอร์ชั่นใหม่) หรือ Add/Remove Programs (เวอร์ชั่นเก่า) โดยเลือกโปรแกรมเพื่อดูตัวเลือกที่มี จากนั้นคลิกถอนการติดตั้ง พอลบโปรแกรมแล้ว ก็เท่ากับลบไฟล์ต่างๆ ของโปรแกรมที่ลงไว้ตามส่วนต่างๆ ของคอมไปทั้งหมดด้วย
  7. พอล้างข้อมูลในคอมแล้ว ก็ต้อง backup ข้อมูลระบบที่อยู่ในสภาพดีไว้ เผื่อเกิดเหตุสุดวิสัยจะได้ย้อนกลับไปได้ ขั้นตอนก็จะต่างกันออกไปตามระบบปฏิบัติการ ว่าคุณใช้ Mac หรือ Windows แต่ส่วนใหญ่ก็ทำได้ง่ายๆ ไม่ซับซ้อนอะไร
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ทำความสะอาดชิ้นส่วนต่างๆ ของคอม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จะทำความสะอาดชิ้นส่วนต่างๆ ของคอมได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ก็ต้องรวบรวมอุปกรณ์ที่จำเป็นซะก่อน ซึ่งอุปกรณ์ราคาย่อมเยาก็เพียงพอ ให้หาซื้ออากาศอัดกระป๋องจากร้านคอม มาไว้ใช้ฉีดพ่นกำจัดฝุ่นผงจากบริเวณที่บอบบางเสียหายง่าย ต่อมาคือหาซื้อคอตตอนบัดและแอลกอฮอล์ล้างแผลจากร้านขายยาหรือซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป และไขควงปากแฉก (Phillips) ขนาดเล็ก/กลาง และไขควงปากแบนจากร้านอุปกรณ์เครื่องมือช่าง ที่เหลือคือทิชชู่ ผ้า lint free (ไม่มีฝุ่นผ้า) และน้ำสะอาด
  2. ถ้าเป็นคอมตั้งโต๊ะ ก็คือ shut down ปิดสวิตช์ surge protector (กันไฟกระชาก) หรือปลั๊กรางทั่วไป แล้วถอดปลั๊กไฟจากด้านหลังของเคสคอม แต่ถ้าเป็นแล็ปท็อป ให้ shut down แล้วถอดปลั๊ก จากนั้นพลิกเครื่องเพื่อถอดแบตเตอรี่
  3. ถ้าใช้ไปนานๆ พัดลมและช่องระบายอากาศของคอม กับ CPU heat-sink ที่ช่วยระบายความร้อนให้ชิ้นส่วนต่างๆ ในคอม จะมีเศษผง ก้อนฝุ่น หรือฝุ่นผ้าไปอุดตันได้ จน CPU เกิด overheat (ร้อนจัด) และชิ้นส่วนต่างๆ ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เลยแนะนำให้หมั่นทำความสะอาดบ่อยๆ วิธีกำจัดฝุ่นก็คือเปิดฝาเคสของคอมออกมานั่นเอง
  4. เริ่มจากใช้คอตตอนบัดกับแหนบ คีบก้อนฝุ่นที่ใหญ่หน่อยและเศษผงต่างๆ ออกมา ตามด้วยฉีดพ่นอากาศอัดกระป๋อง ไล่ฝุ่นที่เหลือออกจากระบบระบายอากาศ ฉีดพ่นตามตำแหน่งต่างๆ ที่เหลือที่เข้าถึงด้วย โดยให้หัวฉีดอยู่ห่างจากชิ้นส่วนและพอร์ท I/O (รูเสียบสายต่างๆ) สัก 2 - 3 นิ้ว (5 - 8 ซม.) อย่าลืมเปิดไดรฟ์อ่านแผ่นมาฉีดพ่นกำจัดฝุ่นด้วย
  5. 5
    ทำความสะอาดบริเวณ CPU และรอบๆ ฮาร์ดไดรฟ์ของคอมตั้งโต๊ะ (ที่อาจจะมีพัดลมแยก และช่องลมพลาสติกที่ล็อค/เปิดออกได้ รวมถึงฝาครอบ CPU กับ heat-sink) แต่ระวังอย่าแตะต้องชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมไว้หรือสายเปลือยด้วยมือเปล่า. แนะนำให้แตะกรอบเคสที่เป็นพลาสติกและโลหะซ้ำๆ เพื่อถ่ายเทไฟฟ้าสถิตระหว่างมือกับบริเวณปลอดภัย
  6. ประกอบและปิดทุกส่วนที่แยกส่วนหรือเปิดไว้คืนที่ สุดท้ายปิดเคสคืน เสร็จแล้วใช้ที่ปัดฝุ่น ผ้าไมโครไฟเบอร์ หรือทิชชู่แห้งๆ กำจัดฝุ่นผงและสิ่งสกปรกจากทุกด้านของเคสคอม ตามด้วยใช้คอตตอนบัดจุ่มแอลกอฮอล์ล้างแผล มาเช็ดทำความสะอาดตามรอยต่อหรือขอบเครื่อง สุดท้ายพลิกด้านคอตตอนบัดเช็ดให้แห้งสนิทอีกที
    • พยายามเปลี่ยนคอตตอนบัดใหม่เรื่อยๆ อย่าใช้อยู่อันเดียวจนสกปรก!
  7. เริ่มจากพลิกคีย์บอร์ดคว่ำลง โดยรองหนังสือพิมพ์หรือทิชชู่ไว้ด้านล่าง เขย่าคีย์บอร์ดเบาๆ พอให้เศษสิ่งสกปรกหลุดออกมา แต่ไม่ทำคีย์บอร์ดเสียหาย โดยเฉพาะคีย์บอร์ดของแล็ปท็อป พอกำจัดเศษสิ่งสกปรกแล้ว ให้ฉีดพ่นอากาศอัดกระป๋องตามซอกมุมต่างๆ เพื่อทำความสะอาดเพิ่มเติม จากนั้นเขย่าคีย์บอร์ดอีกรอบ สุดท้ายเอาคอตตอนบัดชุบแอลกอฮอล์ เช็ดด้านบนของคีย์ทั้งหมดอีกที
  8. ถ้าเป็นจอ LCD เหมือนแล็ปท็อปส่วนใหญ่ ก็แค่ใช้ผ้าไร้ฝุ่น (ผ้าไมโครไฟเบอร์) นุ่มๆ ชุบน้ำเปล่าบิดหมาด เช็ดทำความสะอาดเบาๆ ให้ทั่วทั้งหน้าจอ ถ้าใช้จอ CRT หนาๆ (พวกคอมในห้องแล็บ) ให้ใช้น้ำยาทำความสะอาดกระจกเหมือนที่ใช้ในบ้านแทน โดยฉีดพ่นที่ผ้าแล้วค่อยเอาไปเช็ดจอ ไม่ฉีดพ่นที่หน้าจอโดยตรง
  9. ทุกส่วนของคอมต้องแห้งสนิท แล้วถึงประกอบกลับคืนและเสียบปลั๊ก อย่าลืมประกอบส่วนต่อขยายอื่นๆ ที่ถอดแยกไปตอนทำความสะอาดตามเดิม เช่น หน้าจอ เสร็จแล้วก็เปิดคอมตามปกติได้เลย แนะนำให้ทำความคอมซ้ำตามนี้ทุก 2 - 3 เดือนหรือบ่อยกว่าตามสมควร
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าทำทุกขั้นตอนที่ว่ามาแล้วคอมยังอืด ค้าง กระตุก แนะนำให้ปรึกษาช่างซ่อมคอมจะดีกว่า
  • ห้ามใช้ เครื่องดูดฝุ่น เพราะจะเกิดไฟฟ้าสถิตสะสม เป็นอันตรายต่อทั้งคุณและคอม
โฆษณา

คำเตือน

  • ห้ามลบไฟล์ไหนจนกว่าจะแน่ใจว่าลบได้ หรือไม่ก็ปล่อยเป็นหน้าที่ของ tools ต่างๆ ที่ทำงานอัตโนมัติจะดีกว่า
  • ห้าม แยกส่วนคอมเอง ถ้ายังอยู่ในประกัน เพราะประกันขาดได้เลย
  • ห้ามดาวน์โหลดและใช้งานโปรแกรมที่ไม่แน่ใจ 100% ว่าปลอดภัยไหมหรือใช้ทำอะไร แนะนำให้ดาวน์โหลด utility สำหรับจัดระเบียบฮาร์ดไดรฟ์จาก Majorgeeks.com และ Cnet.com เพราะฟรี ปลอดภัย และผ่านการทดสอบแล้วว่าใช้งานได้จริง รวมถึงมี สแกนไวรัสและแก้ปัญหาการใช้งานฟรี แต่บางทีถึงเขียนว่า "ดาวน์โหลดฟรี (free download)" กับ "สแกนฟรี (free scan)" แต่ก็ช่วยแก้ปัญหา ไม่ได้จริง จนกว่าจะเสียเงินและลงทะเบียนซะก่อน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,386 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา