ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าคุณจะมีปัญหาสุขภาพหรือแค่ดื่มน้ำมากไปหน่อย พอถึงจุดนึงคุณก็อาจจะรู้สึกปวดปัสสาวะมากๆ ตอนที่ไม่มีห้องน้ำให้เข้า ซึ่งมักจะเกิดกับคนที่ขับรถทางไกลและที่งานแข่งกีฬา แต่ถ้าเป็นคนที่มีปัญหาสุขภาพ เหตุการณ์แบบนี้อาจเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ และเมื่อปวดคุณก็ต้องหาทางปัสสาวะออกมา เพราะไม่อย่างนั้นคุณอาจปัสสาวะราดหรือเกิดอาการแทรกซ้อนร้ายแรงได้ [1] การหัดปัสสาวะใส่ขวดจึงช่วยทั้งในเรื่องของสุขภาพและทำให้คุณไม่ต้องอับอายด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เลือกอุปกรณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณปัสสาวะบ่อยหรือกังวลว่าจะมีเหตุการณ์ที่คุณอาจจะปวดปัสสาวะอย่างมาก คุณก็อาจจะลงทุนซื้อกระบอกปัสสาวะ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาให้ปากขวดเข้ามุมที่ช่วยให้คุณปัสสาวะลงไปได้แบบไม่หกเลอะเทอะ นอกจากนี้ยังมีขนาดใหญ่มากและสามารถเก็บปัสสาวะได้หลายครั้ง [2]
    • กระบอกปัสสาวะมีขายทางออนไลน์หรือผ่านผู้จำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีใบอนุญาต ซึ่งมักจะขายในราคาค่อนข้างถูก
  2. ในการเลือกขวดนั้น คุณต้องเลือกขวดที่มีขนาดพอเหมาะ แม้ว่าคุณจะไม่สามารถคาดการณ์ได้เป๊ะๆ ว่าคุณจะปัสสาวะออกมามากน้อยแค่ไหน แต่คุณก็ควรเลือกขวดที่ใหญ่พอที่จะใส่ปริมาณปัสสาวะโดยเฉลี่ยได้ จริงอยู่ที่ว่าร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่โดยทั่วไปแล้วปริมาณปัสสาวะจะอยู่ที่ 120-465 มล. หรือประมาณ 0.12-0.47 ลิตร [3]
    • เลือกขวดที่สามารถเก็บปัสสาวะได้อย่างน้อย 465 มล. หรือประมาณ 0.47 ลิตร [4] ถ้าขวดจะใหญ่กว่านั้นก็ไม่เป็นไร จำไว้ว่าขวดใหญ่เกินไปดีกว่าเล็กเกินไปเสมอ
    • ขวดน้ำอัดลมโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 0.35 ลิตรหรือประมาณ 355 มล. ถ้าเป็นขวดใหญ่จะมีขนาด 1.75 ลิตร (1,750 มล.) แต่จำไว้ว่าปากขวดน้ำอัดลมจะแคบมากไม่ว่าจะขนาดไหนก็ตาม [5]
    • เครื่องดื่มเกลือแร่ เช่น เอ็มสปอร์ตและสปอนเซอร์ ปากขวดมักจะกว้างกว่า เช่น เอ็มสปอร์ตความจุ 250 มล. นั้นปากขวดจะกว้างกว่าขวดน้ำอัดลม ด้วยเหตุนี้หลายคนจึงชอบปัสสาวะใส่ขวดเครื่องดื่มเกลือแร่มากกว่า แต่ข้อเสียคือเก็บปัสสาวะได้น้อย [6]
  3. ไม่ว่าคุณจะอยู่คนเดียวในรถหรือในเต็นท์หรือมีคนอื่นอยู่ด้วย คุณต้องทำเครื่องหมายลงบนขวดน้ำที่เก็บฉี่คุณไว้เพื่อไม่ให้สับสน [7] คุณอาจจะแค่ใช้ปากกาเพอร์มาเนนท์เขียนเครื่องหมาย "X" ตัวใหญ่ๆ ลงบนขวด หรือจะเขียนให้ชัดเจนกว่านั้น (เช่น "ห้ามดื่ม") ก็ได้
  4. อุปกรณ์ช่วยยืนปัสสาวะหรือกรวยรองปัสสาวะสำหรับผู้หญิงเป็นกรวยเล็กๆ สำหรับให้ผู้หญิงยืนปัสสาวะหรือปัสสาวะลงไปในขวด ซึ่งมีหลายยี่ห้อ เช่น Carrycare และ Primo ซึ่งออกแบบมาให้ผู้หญิงสามารถปัสสาวะเวลาหาห้องน้ำเข้าไม่ได้ [8]
    • ในการใช้อุปกรณ์ช่วยยืนปัสสาวะนั้น แค่ถือกรวยไว้ใต้อวัยวะเพศเข้าหาร่างกาย ปัสสาวะลงไปในอุปกรณ์และปรับมุมตรงปลายให้ปัสสาวะไหลลงเข้าสู่ปากขวด [9]
    • คุณสามารถหาซื้ออุปกรณ์ช่วยยืนปัสสาวะได้ทางออนไลน์หรือร้านค้าปลีกทั่วไป เช่น ร้านขายอุปกรณ์กิจกรรมกลางแจ้ง
  5. นอกจากขวดแล้ว คุณก็ต้องพกอุปกรณ์ทำความสะอาดให้เพียงพอด้วย ถ้าคุณเป็นผู้หญิง คุณก็ต้องพกกระดาษชำระหรือกระดาษทิชชูเพื่อเช็ดทำความสะอาด และต้องมีสบู่กับน้ำหรือน้ำยาล้างมือแอลกอฮอล์ติดไปด้วยไม่ว่าจะเป็นเพศไหนก็ตาม [10]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ปัสสาวะใส่ขวด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเป็นไปได้ให้หาที่ลับตาคน ถ้าคุณอยู่ในรถ คนอื่นจะเห็นหน้าคุณก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าคุณอยู่ในงานที่มีคนเยอะ เช่น งานแข่งขันกีฬาหรือพาเหรดและไม่สามารถไปเข้าห้องน้ำได้ การปัสสาวะใส่ขวดก็อาจจะยากสักหน่อย คุณต้องระวังไม่ให้ใครเห็น เพราะนอกจากจะน่าอายแล้ว การเปิดเผยอวัยวะเพศให้คนอื่นเห็นยังผิดกฎหมายอีกด้วย
    • หาที่ที่คุณจะได้อยู่คนเดียวและไม่มีใครเห็นคุณ อาจจะเป็นตรงปล่องบันได้หรือหลบหลังตึกก็ได้ แล้วแต่ว่าคุณอยู่ที่ไหน
    • ใช้วิจารณญาณของคุณให้ดีที่สุดและระมัดระวัง อย่าทำท่ามีพิรุธ และเตือนอีกครั้งว่าอย่าให้ใครเห็นคุณ
  2. ถ้าคุณใช้กระบอกปัสสาวะ การปัสสาวะลงขวดจะค่อนข้างง่าย เพราะมุมปากขวดจะป้องกันไม่ให้ปัสสาวะกระฉอกหรือกระเด็นเข้าหาตัวอยู่แล้ว แต่ถ้าคุณใช้ขวดเครื่องดื่มเปล่า คุณจะต้องหามุมขวดเพื่อไม่ให้หกเลอะเทอะหรือล้นออกมา แค่เอียงมุมขวดเข้าหาลำตัวเพื่อให้ปัสสาวะไหลลงไปตรงก้นขวด ถ้าจะให้ดีต้องเป็นมุมที่ปัสสาวะไหลลงไปด้านล่างตรงก้นขวดพอดี [11]
    • ถ้าคุณเป็นผู้หญิง หลังปัสสาวะเสร็จคุณต้องเช็ดให้แห้ง เพราะฉะนั้นคุณต้องมีกระดาษชำระติดตัวด้วย อย่าลืมเช็ดจากหน้าไปหลังเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ถ้าแบคทีเรียจากบริเวณทวารหนักเข้าสู่บริเวณที่เป็นรูเปิดของกระเพาะปัสสาวะ [12]
  3. หลังจากที่คุณปัสสาวะเรียบร้อยแล้ว คุณต้องนำขวดปัสสาวะไปทิ้งให้ถูกที่ แม้ว่าประเทศไทยจะไม่มีกฎหมายห้ามนำสิ่งปฏิกูลของมนุษย์ไปวางไว้ข้างถนน แต่มันก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสุขอนามัยของพนักงานก่อสร้างริมถนนและนักจัดสวน เพราะฉะนั้นคุณต้องคิดถึงส่วนรวมด้วย [13]
    • อย่าลืมหมุนฝาขวดให้สนิทเพื่อไม่ให้มันหกเลอะเทอะถ้าคว่ำหรือตกพื้น
    • เก็บขวดไว้ให้มิดชิดที่ตัวหรือในรถ
    • เมื่อคุณเจอถังขยะหรือห้องน้ำแล้ว ให้คุณโยนขวดลงถังขยะหรือเทปัสสาวะลงในโถส้วม
  4. หลังจากปัสสาวะเสร็จแล้ว คุณต้องล้างมือให้สะอาด ถ้าคุณสามารถหาก๊อกน้ำได้และมีสบู่ติดตัวอยู่ ให้ถูสบู่เป็นฟองลงบนมือและระหว่างนิ้ว จากนั้นเปิดก๊อกเพื่อล้างมือประมาณ 20 วินาที วิธีนี้จะช่วยป้องกันการแพร่เชื้อโรคและลดโอกาสที่คุณหรือคนอื่นๆ จะป่วย [14]
    • ถ้าคุณหาก๊อกน้ำไม่ได้ ซึ่งเป็นไปได้มากๆ เพราะคุณหาห้องน้ำเข้าไม่ได้ คุณก็ควรใช้น้ำยาล้างมือหรือทิชชูเปียกที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียอยู่ดี ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์เหล่านี้จะไปฆ่าแบคทีเรียที่อยู่บนมือ ซึ่งช่วยป้องกันการกระจายของเชื้อโรค [15]
    • ในการใช้น้ำยาล้างมือนั้น แค่ฉีดผลิตภัณฑ์ออกมาให้เพียงพอที่จะล้างทั้งสองมือได้ทั่ว จากนั้นถูมือทั้งสองข้างเข้าหากันให้ทั่วทุกนิ้วและพื้นผิวมือทั้งหมดจนกว่าผลิตภัณฑ์จะระเหยไปเอง [16]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ป้องกันและรับมือกับเหตุฉุกเฉิน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณมักจะปวดปัสสาวะบ่อยหรือรู้ว่าตัวเองจะต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถหาห้องน้ำเข้าได้ คุณก็อาจจะเลี่ยงการดื่มของเหลวทั้งก่อนและระหว่างที่อยู่ในสถานการณ์นั้น เช่น ถ้าคุณต้องเดินทางด้วยรถเป็นระยะทางไกลๆ จำกัดการบริโภคของเหลวสักหนึ่งหรือสองชั่วโมงก่อนออกเดินทาง และจำกัดปริมาณเครื่องดื่มระหว่างเดินทาง [17]
    • แต่ก็อย่าถึงขั้นอดน้ำไปเลย ถ้าคุณหิวน้ำ คุณก็ต้องดื่มน้ำบ้างเพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ แต่พยายามจำกัดปริมาณในการดื่มเพื่อไม่ให้เกิดเหตุฉุกเฉิน [18]
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีสารขับปัสสาวะ เช่น กาแฟ ชา โคล่า และเครื่องดื่มอื่นๆ ที่มีคาเฟอีน สารขับปัสสาวะจะทำให้คุณปวดปัสสาวะบ่อยและปวดหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินในขณะที่ไม่มีห้องน้ำเข้า [19]
  2. เมื่อเวลาผ่านไป การเข้าห้องน้ำตอนที่คุณไม่จำเป็นต้องเข้าจะทำให้กระเพาะปัสสาวะของคุณเคยชินกับการปวดปัสสาวะทั้งที่ปัสสาวะยังไม่เต็ม และเนื่องจากว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของนิสัยการเข้าห้องน้ำในระยะยาว คุณจึงควรอั้นปัสสาวะไว้จนกว่าจะถึงเวลาที่จำเป็นต้องปัสสาวะจริงๆ [20] อย่างไรก็ตามถ้าคุณออกเดินทางบนถนนหรือไปยังสถานที่ที่หาห้องน้ำเข้ายาก คุณก็อาจจะปัสสาวะทุกครั้งที่มีโอกาส [21]
    • วางแผนช่วงพักเข้าห้องน้ำทุกครั้งที่เดินทางหรือไปเที่ยว พยายามคาดการณ์ล่วงหน้าว่าที่ไหนมีห้องน้ำและที่ไหนไม่มี และวางแผนพักเข้าห้องน้ำตามนั้น [22]
    • ไม่ต้องรีบ ปัสสาวะออกมาให้หมด ไม่อยากนั้นคุณอาจจะปวดปัสสาวะอีกทีหลังได้ [23] นอกจากนี้คุณควรปล่อยให้ปัสสาวะไหลด้วยความเร็วตามธรรมชาติจะดีที่สุด แทนที่จะบีบเชิงกรานเพื่อบังคับให้มันไหลเร็วขึ้น [24]
  3. อาการปวดปัสสาวะส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มของเหลวมากเกินไปหรือไม่ก็ได้รับสารขับปัสสาวะมากเกินไป ส่วนอาการปวดปัสสาวะอื่นๆ เกิดจากแรงกดดันในช่องท้องจากปัจจัยต่างๆ เช่น การตั้งครรภ์หรือน้ำหนักเกิน [25] อย่างไรก็ตามการปวดปัสสาวะบางครั้งก็อาจจะเกิดจากปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่ ลองปรึกษาแพทย์หากคุณมีอาการใดอาการหนึ่งดังต่อไปนี้ :
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าให้ใครดื่มสิ่งที่อยู่ในขวดเด็ดขาด!
  • ในท้องตลาดมีผลิตภัณฑ์ประเภทกรวยมากมายที่ช่วยให้ผู้หญิงยืนปัสสาวะหรือปัสสาวะใส่ขวดได้ง่ายขึ้น ถ้าคุณเป็นผู้หญิงที่ปวดปัสสาวะบ่อย ลองมองหาตัวเลือกเหล่านี้
  • ถ้าคุณตั้งใจจะนำขวดปัสสาวะกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิล ให้ใส่แอลกอฮอล์หรือน้ำยาฆ่าเชื้ออื่นๆ ลงไปเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย วิธีนี้จะช่วยป้องกันการเกิดกลิ่นปัสสาวะหมักหมมในขวด
  • อย่าวางขวดฉี่ไว้ใกล้ครัวหรือบริเวณที่คนอื่นรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม เพราะเขาอาจจะนึกว่าปัสสาวะของคุณเป็นเครื่องดื่มได้!
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณยังปัสสาวะใส่ขวดไม่คล่อง คุณก็อาจจะโดนปัสสาวะกระเด็นใส่ตัวนิดหน่อย ถ้าคุณคิดว่าอาจมีเหตุการณ์ที่คุณต้องปัสสาวะใส่ขวด ให้ฝึกที่บ้านก่อน
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ขวด
  • กรวย (สำหรับผู้หญิง) ถ้าจำเป็น
  • ปากกามาร์กเกอร์ (สำหรับทำเครื่องหมายที่ขวด)
  1. http://emergency.cdc.gov/disasters/handhygienefacts.asp
  2. http://gearjunkie.com/backpacking-camping-pee-bottle
  3. http://emedicine.medscape.com/article/1958794-overview
  4. http://www.nbcnews.com/id/7912464/ns/us_news-environment/t/urine-trouble-some-states-warn-truckers/# .VlJ9vN-rTEY
  5. http://emergency.cdc.gov/disasters/handhygienefacts.asp
  6. http://emergency.cdc.gov/disasters/handhygienefacts.asp
  7. http://emergency.cdc.gov/disasters/handhygienefacts.asp
  8. http://www.webmd.com/baby/urination-frequency
  9. http://www.webmd.com/baby/urination-frequency
  10. http://www.webmd.com/baby/urination-frequency
  11. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/incontinence-prevention-tips
  12. http://www.bladderbowel.gov.au/assets/doc/LiveBetter.html
  13. http://www.bladderbowel.gov.au/assets/doc/LiveBetter.html
  14. http://www.bladderbowel.gov.au/assets/doc/LiveBetter.html
  15. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/incontinence-prevention-tips
  16. http://www.webmd.com/urinary-incontinence-oab/frequent-urination-causes-and-treatments
  17. http://www.mayoclinic.org/symptoms/frequent-urination/basics/when-to-see-doctor/sym-20050712
  18. http://www.mayoclinic.org/symptoms/frequent-urination/basics/when-to-see-doctor/sym-20050712
  19. http://www.mayoclinic.org/symptoms/frequent-urination/basics/when-to-see-doctor/sym-20050712
  20. http://www.mayoclinic.org/symptoms/frequent-urination/basics/when-to-see-doctor/sym-20050712
  21. http://www.mayoclinic.org/symptoms/frequent-urination/basics/when-to-see-doctor/sym-20050712
  22. http://www.mayoclinic.org/symptoms/frequent-urination/basics/when-to-see-doctor/sym-20050712

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,207 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา