ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การที่ต้องมาเห็นชีวิตของเพื่อนหรือคนในครอบครัวของคุณนั้นถูกทำลายจากโรคพิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism) เป็นสิ่งที่น่าเศร้าใจและน่าผิดหวังเป็นอย่างมาก คนบางคนถึงกับต้องเข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อรับการช่วยเหลือจากอาการเสพติดสุรา ถ้าคุณอยากช่วยพวกเขา สิ่งแรกที่คุณควรจะทำคือพิจารณาว่าคนๆ นั้นมีอาการติดสุราจริงหรือไม่ จากนั้น ช่วยเหลือเพื่อนของคุณให้เข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ขอให้เขาเลิกดื่ม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางคนที่มี “ปัญหาติดสุรา” อาจจะไม่ได้พัฒนาไปเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังโดยเต็มตัว ปัญหาติดสุรานั้นสามารถสังเกตเห็นและเอาชนะได้ด้วยตัวของเขาเอง แต่โรคพิษสุราเรื้อรังนั้นเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาได้ และการรักษาจะต้องอาศัยความช่วยเหลือในการควบคุมอาการ คนที่มีอาการของโรคพิษสุราเรื้อรังมักจะมีสัญญาณดังนี้ [1]
    • มีปัญหาในที่ทำงานหรือโรงเรียน เช่น มาสายหรือไม่มาแสดงตัวเพราะเมาค้าง
    • หมดสติหลังจากดื่มสุราอย่างหนักเป็นประจำ
    • มีปัญหาทางกฎหมายที่เกิดจากการดื่มสุรา เช่น ถูกจับจากการดื่มสุราในที่สาธารณะหรือเมาแล้วขับ
    • ไม่สามารถปล่อยให้สุราเหลืออยู่หรืออยู่ใกล้ๆ สุราโดยไม่ดื่มได้
    • วางแผนตั้งเวลาไว้เพื่อดื่มสุราและเผื่อเวลาสำหรับอาการเมาค้างที่จะตามมา
    • ความสัมพันธ์เริ่มสั่นคลอนอันเนื่องมาจากการดื่มสุรา
    • เมื่อตื่นนอนจะอยากดื่มสุราเป็นอันดับแรก และจะมีอาการลงแดงเมื่อไม่ได้ดื่มสุรา
  2. เมื่อคุณตัดสินใจแล้วว่าจะพูดเกี่ยวกับพฤติกรรมการดื่มสุราของเขา ให้ฝึกฝนให้แน่ใจว่าคุณจะพูดอะไรบ้าง พูดให้กระชับ อย่าต่อว่าหรือบังคับ และพูดให้ละเอียด เพราะการพูดยืดยาวและพูดให้เขารู้สึกว่าคุณใส่อารมณ์มากเกินไปจะทำให้เขาไม่ฟังและกีดกันคุณออกไป
    • พยายามจำประโยคหลักๆ ที่สำคัญกับคุณ ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะพูดว่า “ฉันรักคุณนะ ฉันจึงกังวลว่าคุณกำลังทำร้ายตัวเองจากการดื่มสุราในช่วงวันหยุด ฉันจะสนับสนุนคุณในการขอความช่วยเหลือถ้าคุณต้องการ” [2]
    • การพาเพื่อนที่คุณไว้ใจไปช่วยพูดกับคนที่คุณรักด้วยก็ช่วยได้เช่นกัน แต่ต้องระวังไม่ให้พวกเขาใส่อารมณ์มากเกินไป
  3. ถ้าคุณสังเกตเห็นอาการของโรคพิษสุราเรื้อรัง ให้ไปพูดกับเขาแล้วบอกเขาว่าคุณเป็นห่วง [3] อธิบายว่าพฤติกรรมของเขานั้นส่งผลถึงคนอื่น และมันถึงเวลาแล้วที่จะต้องเลิกดื่ม เพื่อประโยชน์ของตัวเขาเองและคนในครอบครัว บอกเขาถึงปัญหาที่เกิดจากการดื่มสุราของเขาด้วย [4]
    • เลือกเวลาที่จะคุยตอนที่เขาไม่ได้ดื่มอยู่ โดยช่วงเช้าจะเป็นช่วงที่ดีที่สุดที่จะพูดคุย ถึงเขาจะมีอาการเมาค้างแต่ก็ไม่เป็นไร ให้พูดความจริงว่าเขากำลังทำลายสุขภาพของตัวเองโดยการทำให้ตัวเองป่วยตลอดเวลา
    • เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการถูกปฏิเสธ คนติดสุราโดยทั่วไปนั้นจะโต้ว่าการดื่มสุราของตัวเองไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหา เขามักจะพยายามไม่รับรู้ถึงปัญหาหรือรับรู้ก็ไม่ได้เชื่อจริงจัง “จนกว่าเขาจะพร้อม” ในช่วงที่คุณพยายามที่จะบอกความจริงกับเขา ก็ขอให้เตรียมตัวรับความจริงที่ว่าอาจจะทำไม่สำเร็จด้วย
  4. หลีกเลี่ยงการทะเลาะ การออกคำสั่ง หรือจู้จี้จุกจิก. ในขณะที่คุณกำลังพูดคุยเรื่องพฤติกรรมการดื่มสุราของเขาอยู่นั้น อย่าเริ่มต้นโดยการกล่าวหาเขาหรือออกคำสั่งกับเขา หลีกเลี่ยงการจู้จี้เกี่ยวกับปัญหาดื่มของเขา เพราะมันจะทำให้ทุกอย่างแย่ลง การทะเลาะกันนั้นจะทำให้เขาเปิดใจรับฟังเหตุผลของคุณเกี่ยวกับการดื่มสุราได้ยากขึ้น [5]
    • ระวังไว้ว่าการทำแบบนี้อาจจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการโจมตีในเรื่องส่วนตัวหรือการวิจารณ์เรื่องส่วนตัว คนติดสุราบางคนนั้นจะป้องกันตัวเองจากการรับรู้ถึงผลเสียของพฤติกรรมการดื่มสุราของเขาโดยการสร้างเหตุผลที่ดื่มสุราให้คนอื่นฟัง ผลก็คือ ความเห็นใดๆ ก็ตามจะถูกโต้แย้งว่า “ปัญหา” นั้นไม่ใช่ปัญหาจากตัวเขาเอง แต่เป็นปัญหาที่เกิดจากผู้อื่น (เช่น ที่ทำงาน หรือ คนรัก)
    • พยายามรับฟังอย่างใจเย็นและมีเหตุผล แน่นอนว่าการคำพูดนั้นง่ายกว่าการกระทำ แต่การที่คนเราจะโมโหใส่คนที่ทำตัวน่าพอใจ เป็นที่ยอมรับ และซื่อสัตย์นั้นทำได้ยาก [6]
    • คุณไม่จำเป็นต้องยอมรับคำด่าหรือการทำร้าย ขอบเขตที่ดีนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการรับมือกับคนที่ติดสุรา เพราะบ่อยครั้งที่คนที่รับมือกับปัญหาที่เกิดจากการดื่มสุราไม่ได้สร้างขอบเขตเอาไว้ให้ดีพอ ไม่ว่าจะมีปัญหาที่เป็นผลมาจากการดื่มสุรามากแค่ไหนก็ตาม (เช่น ปัญหาด้านความสัมพันธ์) จำไว้ว่า ‘คุณไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคพิษสุราเรื้อรัง’ และการปฏิบัติต่อเขาอย่างรุนแรง หลอกลวง ขาดความรับผิดชอบ หรือในทางอื่นๆ ที่มีความรุนแรงนั้นก็ไม่เป็นที่ยอมรับ
      • คุณมีสิทธิ์ที่จะเดินจากไปหรือเลิกยุ่งกับคนที่มีลักษณะเป็นคนติดสุรา
      • แต่นี่ไม่ใช่การ “ทำตัวหยาบคาย” หรือ “ละทิ้ง” เขา ถ้าคนที่ติดสุราไม่ได้เจอกับพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อชีวิตของเขา เขาก็ยังดื่มสุราต่อไป
  5. เมื่อคุณกำลังพูดเกี่ยวกับการดื่มของเขา ให้มั่นใจที่จะถามถึงปัญหาหรือสิ่งที่ทำให้เขาเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาดื่มสุรา คุณควรจะตรวจสอบดูว่าเขานั้นมีระบบสนับสนุนที่ดีหรือไม่ ถ้าเขาไม่มี คุณอาจจะแนะนำให้เขาเข้ากลุ่มช่วยเหลือ [7]
    • เขาอาจจะไม่อยากพูดคุยถึงปัญหาที่ทำให้เขาดื่มสุราหรือปฏิเสธว่าเขาไม่มีปัญหาอะไร [8]
    • อย่างไรก็ตาม ให้เข้าใจว่าการดื่มสุรานั้นทำให้คนเปลี่ยนไปได้โดยสิ้นเชิง และมักจะเปลี่ยนไปในจุดที่ยากจะรู้ถึงสิ่งที่ทำให้เขาดื่มสุรา หรือแม้แต่ตัวตนในจิตใจของเขา
    • สุราอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่สมเหตุสมผล เช่น ตัดสินใจได้ไม่ดี คิดอะไรไม่ออก เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จะยังคงเป็นต่อไปเรื่อยๆ แม้ว่าเขาจะไม่ได้ดื่มอยู่ ณ ขณะนั้นก็ตาม ให้ถามเขาว่า “ทำไมคุณถึงทำแบบนี้” แต่อย่าคาดหวังถึงคำตอบที่ดี “คำตอบ” ที่ได้ก็มักจะเป็น “เพราะโรคติดสุราไงล่ะ”
    • ถ้าคุณไม่เข้าใจเขาก็ไม่เป็นไร คุณอาจจะเข้าใจเขาไม่ได้ และอาจจะไม่ได้อยู่ในจุดที่ทำได้ดี เพียงแค่การรักเขาให้มากๆ ไม่ได้หมายความว่าคุณจะช่วยเขาได้ ยกตัวอย่างเช่น
    • เด็กอายุ 14 ปีอาจจะไม่สามารถเข้าใจโลกในมุมมองของผู้ใหญ่อายุ 41 ปีได้
    • คนที่ไม่เคยทำสงครามหรือออกไปสู้รบก็คงไม่สามารถเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งว่าการที่ต้องเห็นเพื่อนเสียชีวิตในสนามรบนั้นเป็นอย่างไร
  6. โรคพิษสุราเรื้อรังนั้นเป็นโรคที่ซับซ้อน สิ่งที่รับมือได้ยากก็คือธรรมชาติของโรคที่ขัดแย้งในตัวเอง “การบังคับหรือพยายามทำให้เขาสงบนั้นอาจจะไม่ได้ผล” [9] จริงๆ แล้วนั้น จะยิ่งทำให้เขาดื่มสุรามากยิ่งขึ้น
    • คุณต้องเข้าใจว่าคุณไม่สามารถหยุดเขาไม่ให้ดื่มสุราได้ แต่คุณสามารถแนะนำและสนับสนุนเขาในการขอความช่วยเหลือได้ [10]
    • แต่การทำแบบนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณช่วยหรือยอมให้เขาดื่มสุรา
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

คอยสนับสนุน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การดื่มสุราใกล้กับคนที่ติดสุราไม่ว่าคุณจะชอบดื่มหรือไม่ก็ตามจะทำให้เขาเกิดข้อโต้แย้งว่า “คุณดื่ม แล้วทำไมฉันจะดื่มไม่ได้” มันไม่สำคัญว่าคุณสามารถควบคุมการดื่มได้ เพราะเขาทำแบบคุณไม่ได้ แต่ระวังไว้ว่าการดื่มสุราอาจจะทำให้คุณมีพฤติกรรมการดื่มสุราที่ส่งผลเสียต่อชีวิตของคุณเอง คุณอาจจะช่วยคนอื่นโดยการนัดพบและใช้เวลาร่วมกันในที่ที่ไม่มีแอลกอฮอล์จำหน่าย ซึ่งจะทำให้เขาเลิกดื่มสุราได้ง่ายขึ้น
  2. ถามคนที่อยู่ใกล้ชิดกับเขามากที่สุดเมื่อคุณสังเกตเห็นพฤติกรรมที่น่าเป็นห่วงหรือถ้าพวกเขาคิดว่าคนๆ นั้นมีปัญหา อย่างไรก็ตาม หลีกเลี่ยงการบอกพวกเขาว่าคนๆ นั้นติดสุราและระวังไว้ว่าอย่าไปบอกคนที่ไม่จำเป็นต้องรู้ อย่าทำอะไรที่เสี่ยงต่อการทำลายความเป็นส่วนตัวของเขา
    • ถ้าคุณคิดว่าเขาเป็นคนติดสุรา ก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องให้คนอื่นเข้าไปช่วยเหลือ เพราะนี่เป็นปัญหาที่ใหญ่เกินกว่าจะรับมือได้ด้วยตัวคนเดียว และคุณต้องขอความช่วยเหลือจากภายนอกให้เร็วที่สุด [11]
  3. เตือนเขาว่าคุณเป็นกังวลและเป็นห่วงเขา และอยากให้เขาได้รับการช่วยเหลือ แบ่งปันสิ่งที่คุณสังเกตเห็นและถามว่าคุณสามารถช่วยอะไรเขาได้บ้าง เตรียมใจไว้ด้วยว่าเขาอาจจะไม่ต้องการความช่วยเหลือจากคุณและหลบหน้าคุณไปพักหนึ่ง
    • ถ้าเขาเปิดใจที่จะรับความช่วยเหลือ ก็แนะนำให้เขาติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญ ทำรายการแสดงแหล่งข้อมูลและให้กับเขา ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลการติดต่อกับกลุ่มผู้ติดสุรานิรนามประจำท้องถิ่น (Alcoholics Anonymous groups) [12] ชื่อนักบำบัดและนักจิตวิทยาที่เชี่ยวชาญด้านการช่วยเหลือคนติดสุรา หรือรายชื่อศูนย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม [13]
  4. ถ้าเขาปฏิเสธที่จะเข้ารับการรักษาหรือกำลังพิจารณาอยู่ พยายามติดต่อกับนักบำบัด [14] นักบำบัดจะมีประสบการณ์ในการรับมือกับคนที่ติดสุราหลายรูปแบบ และช่วยคุณวางแผนที่จะช่วยเขา
    • นักบำบัดมืออาชีพจะรู้วิธีจัดการกับการปกป้องตัวเองและพฤติกรรมอื่นๆ ที่ทำให้คนในครอบครัวอารมณ์เสียหรือสับสน
  5. ถ้าเขายอมเข้ารับการรักษาและกำลังทำตามขั้นตอนอยู่ สิ่งที่ดีที่สุดที่เราควรทำคือแสดงให้เห็นชัดเจนว่าคุณนั้นคอยช่วยเหลือเขา คอยปลอบเขาจากความรู้สึกผิดและอับอายโดยการแสดงให้เห็นว่าคุณภูมิใจในตัวเขาที่เข้ารับการช่วยเหลือ
  6. [15] ถ้าเขาเข้าร่วมศูนย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเข้ารับการรักษาเสร็จสิ้นแล้ว เขาอาจจะยังเปราะบางอยู่ สำหรับคนส่วนใหญ่นั้น อาการติดสุรานั้นเป็นสิ่งที่ต้องดูแลอย่างสม่ำเสมอและการรักษานั้นไม่มีวันสิ้นสุด ครอบครัวหรือเพื่อนของคนที่ติดสุราควรสนับสนุนเขาต่อไปไม่ว่าอาการติดสุราของเขาจะกำเริบขึ้นมาหรือไม่ก็ตาม คนที่เคยติดสุราเกือบทุกคนจะกลับไปติดสุราอีกครั้ง
    • คิดหากิจกรรมที่ทำด้วยกันโดยไม่เกี่ยวข้องกับสุรา บ่อยครั้งที่คนติดสุราจะยกการดื่มสุราหนักๆ เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเขา การหากิจกรรมที่ไม่มีสุรามาเกี่ยวข้องอาจจะทำให้เขารู้สึกไม่เป็นธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม การเป็นตัวอย่างและเพื่อนที่ดีอาจจะทำให้เขาค้นพบว่าตัวเขานั้นก็มีความสนุกสนาน เป็นมิตร และผ่อนคลายได้แม้ไม่ต้องดื่มสุรา
    • ส่งเสริมให้เขาเข้าร่วมกลุ่มผู้ติดสุรานิรนามบ่อยๆ และเข้ารับคำปรึกษาในยามจำเป็น ให้เขารู้ว่าคุณนั้นคอยอยู่ข้างเขาเสมอถ้าเขาต้องการคุณ
  7. [16] การเป็นเพื่อนสนิทหรือคนในครอบครัวของคนที่ติดสุรานั้นเป็นเรื่องที่เหนื่อยและอาจทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองไม่มีประโยชน์และซึมเศร้าได้ โรคพิษสุราเรื้อรังนั้นมักจะเรียกว่า “โรคครอบครัว” เพราะมักจะส่งผลไปไกลกว่าชีวิตของคนที่ติดสุรา ให้หาเวลาทำกิจกรรมที่ทำให้คุณรู้สึกดีและคอยสร้างความมั่นใจและความเชื่อมั่นในตัวเองระหว่างที่ดูแลเขาด้วย
    • พิจารณาเข้ารับการรักษา ซึ่งจะช่วยได้มากในการหาใครสักคนเพื่อระบายความรู้สึกในช่วงที่อ่อนไหว
  8. ใช้เวลากับเพื่อนคนอื่นๆ และสมาชิกในครอบครัว. คุณต้องพักจากการรับมือกับปัญหาของคนที่ติดสุรา ในขณะที่คุณนั้นจดจ่ออยู่กับการทำให้สมาชิกในครอบครัวของคนที่ติดสุรามีความเป็นอยู่ที่ดี การใช้เวลากับคนอื่นๆ ในชีวิตของคุณเองก็จะช่วยดึงคุณออกมาพักและเติมพลังให้กับคุณได้
    • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณนั้นกำลังรับมือกับปัญหาส่วนตัวของคุณในระหว่างที่ดูแลคนติดสุราอยู่ด้วย หลีกเลี่ยงการจดจ่ออยู่กับคนที่ติดสุรามากเกินไป ซึ่งคุณอาจจะไปทำร้ายความสัมพันธ์อื่นๆ ในชีวิตของคุณเอง หรือทำให้ตัวคุณพึ่งพาตัวเองได้น้อยลง [17]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าเพื่อนของคุณไม่เต็มใจที่จะยอมรับปัญหาของเขา คุณก็ไม่สามารถทำอะไรได้อีกแล้ว อย่าทำให้มันเป็นเรื่องของตัวเองหรือรู้สึกต้องรับผิดชอบการกับดื่มสุราของเขา
  • ถ้าเขาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคุณ คุณอาจจะได้รับผลกระทบจากเขาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ลองไปเข้าร่วมกลุ่มผู้ติดสุรานิรนามหรืออย่างน้อยก็อ่านงานเขียนเกี่ยวกับกลุ่มผู้ติดสุรานิรนาม ซึ่งจะมีเคล็ดลับในการรับมือกับปัญหามากมาย
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 18,227 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา