PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

สถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (The American Academy of Pediatrics) ระบุว่า ในแต่ละปี มีคนประมาณ 2.4 ล้านคนซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งมีวัยต่ำกว่าหกขวบ ได้กินหรือสัมผัสกับสสารที่มีพิษ ยาพิษสามารถถูกหายใจเข้าไป กลืนลงไป หรือดูดซึมผ่านผิวหนัง สาเหตุของปัญหาที่มีพิษอันตรายมากที่สุด รวมทั้ง ยา ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด นิโคตินเหลว สารป้องกันการแข็งตัวของน้ำ น้ำยาเช็ดกระจก ยาฆ่าแมลง น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด และน้ำมันตะเกียง [1] ผลกระทบจากยาพิษเหล่านี้ และยาพิษชนิดอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากนั้นมีหลากหลาย จนบ่อยครั้งเป็นเรื่องท้าทายที่จะแยกแยะว่าได้เกิดอะไรขึ้น ซึ่งทำให้วินิจฉัยโรคได้ล่าช้าในหลายกรณี ทั้งนี้ คุณสมควรรับมือเป็นอย่างแรกและอย่างสำคัญที่สุด กับกรณีใดๆ ที่สงสัยว่าเป็นยาพิษ โดยแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือแจ้งศูนย์ควบคุมพิษในทันที

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ขอความช่วยเหลือทางการแพทย์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. สัญญาณต่างๆที่บ่งบอกว่ากินยาพิษเข้าไปจะขึ้นอยู่ชนิดของยาพิษที่กิน เช่น ยาฆ่าแมลง ยารักษาโรค หรือถ่านไฟฉายขนาดเล็ก ยิ่งกว่านั้น อาการโดยทั่วไปของการกินยาพิษมักจะคล้ายคลึงกับอาการทางการแพทย์อื่นๆ ซึ่งรวมทั้ง อาการชัก ปฏิกิริยาอินซูลิน (Insulin Reactions) โรคหลอดเลือดในสมอง และภาวะถูกพิษ หนึ่งในวิธีดีที่สุดเพื่อจะรู้ว่าได้กินยาพิษลงไปหรือไม่ คือมองหาเบาะแสต่างๆ เช่น กล่องหรือขวดเปล่า คราบหรือกลิ่นบนตัวบุคคล หรือในจุดใกล้เคียง วัตถุที่อยู่ผิดที่ผิดทาง หรือตู้ลิ้นชักที่เปิดอยู่ นอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอาการป่วยทางกายอื่นๆ ที่คุณสมควรจะมองหา รวมทั้ง: [2]
    • รอยไหม้ และ/หรือรอยแดงบริเวณรอบๆ ปาก
    • ลมหายใจที่มีกลิ่นสารเคมี (น้ำมันเบนซิน หรือทินเนอรฺ์สำหรับใช้ผสมสี)
    • อาเจียน หรือสำรอก
    • อาการหายใจขัด
    • อาการเซื่องซึม หรือนอนหลับ
    • อาการสับสนทางจิต หรืออาการอื่นๆ ของระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนไป(altered mental status)
  2. มองหา อาการขยับสูงขึ้นบริเวณทรวงอก ฟัง เสียงอากาศเข้าและออกจากปอด สัมผัส อากาศโดยส่ายใบหน้าด้านข้างของคุณไปมาเหนือริมฝีปากของผู้ป่วย [3] [4]
    • หากผู้ป่วยไม่หายใจ หรือไม่แสดงสัญญานชีพอื่นๆ เช่น เคลื่อนไหว หรือไอ จงทำ CPR และแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือขอให้คนที่อยู่ใกล้ๆ ช่วยแจ้งให้ [5]
    • หากผู้ป่วยกำลังอาเจียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากหมดสติ ให้ตะแคงศีรษะเพื่อป้องกันการสำลัก
  3. แจ้ง 911 (ในสหรัฐฯ) หรือหมายเลขเหตุฉุกเฉินในท้องถิ่นของคุณ (ในไทย แจ้ง 191) หากผู้ป่วยหมดสติและคุณสงสัยว่าผู้ป่วยได้รับสารพิษ หรือสงสัยว่ามีการใช้ยา ยาเสพติด หรือแอลกอฮอล์เกินขนาด (หรืออาจใช้สารเหล่านี้รวมๆ กัน) นอกจากนี้ จงแจ้ง 191 ในทันที หากสังเกตเห็นว่าผู้ป่วยแสดงอาการอย่างรุนแรงของการได้รับสารพิษดังต่อไปนี้ [6] [7]
    • เป็นลม
    • หายใจลำบาก หรือหยุดหายใจ
    • กระวนกระวาย หรืออยู่ไม่สุข
    • อาการชัก
  4. หากคุณวิตกว่าอาจมีกรณีผู้ได้รับสารพิษอยู่ในความดูแล โดยผู้ป่วยยังมีอาการทรงตัว และไม่ได้แสดงอาการของโรค หากเป็นในสหรัฐฯ ให้โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือเรื่องสารพิษที่โทร.1-800-222-1222 และหากคุณรู้หมายเลขโทรศัพท์ของศูนย์พิษวิทยาในภูมิภาคของคุณ ให้แจ้งขอความช่วยเหลือ (ในไทยคือ ศูนย์พิษวิทยา รามาธิบดี สายด่วน 1367 ศูนย์พิษวิทยา รพ.ศิริราช โทร.02 - 4197007 ฯลฯ) ศูนย์พิษวิทยาเป็นแหล่งชั้นยอดสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับยาพิษ และในหลายๆ สถานการณ์ อาจให้คำแนะนำกับคุณว่า การเฝ้าดูอาการและการรักษาตัวที่บ้าน (ดูส่วน 2) คือทั้งหมดที่จำเป็นต้องทำ [8] [9]
    • หมายเลขโทรศัพท์ของศูนย์พิษวิทยาในแต่จะพื้นที่อาจแตกต่างกัน แต่การเสิร์จหาอย่างง่ายดายในเว็บ น่าจะช่วยให้ได้หมายเลขที่เหมาะสมสำหรับที่อยู่ของคุณ เป็นบริการฟรีที่สามารถช่วยให้คุณไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมราคาแพง เป็นค่าห้องฉุกเฉินและค่าตรวจรักษาโดยแพทย์
    • ศูนย์พิษวิทยาเปิดให้บริการตลอดทั้งวัน ทุกวัน นักพิษวิทยาของศูนย์จะแนะนำทีละขั้นตอนของกระบวนการรักษาสำหรับผู้ที่กินยาพิษเข้าไป นักพิษวิทยาอาจจะให้คำแนะนำแก่คุณเรื่องการรักษาผู้ป่วยที่บ้าน แต่ก็อาจจะบอกให้คุณรีบนำผู้ป่วยส่งห้องฉุกเฉินด้วยเช่นกัน จงทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด และไม่ทำสิ่งใดเพิ่มอีก นักพิษวิทยามีทักษะสูงในการช่วยเหลือเรื่องยาพิษที่กินเข้าไป
    • คุณยังสามารถใช้ เว็บไซต์ของศูนย์พิษวิทยา เพื่อทราบแนวทางพิเศษที่สมควรทำ อย่างไรก็ตาม จงใช้เว็บไซต์นี้เฉพาะสำหรับผู้ป่วยวัย 6 เดือน ถึง 79 ปี และจะเป็นประโยชน์หากเป็นผู้ป่วยในระยะที่ยังไม่แสดงอาการ เป็นผู้ป่วยที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ เป็นยาพิษที่กลืนเข้าไป เป็นยาพิษที่สงสัยว่าเป็นยาเสพติด ยา ของใช้ในบ้าน หรือผลเบอร์รี่ต่างๆ เป็นการกลืนกินเป็นไปโดยไม่ได้ตั้งใจ และเป็นการกินเพียงครั้งเดียว
  5. เตรียมพร้อมเพื่อแจ้งต่อเจ้าหน้าที่การแพทย์ เรื่องอายุ น้ำหนัก อาการป่วย ยาอื่นๆ ที่ผู้ป่วยใช้อยู่ และข้อมูลใดๆ ที่หาได้เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้ป่วยได้กินเข้าไป คุณยังจำเป็นต้องแจ้งบ้านเลขที่ของคุณให้ผู้ที่คุณพูดสายอยู่ทราบด้วย [10]
    • จงทำให้แน่ใจเช่นกันเรื่องเก็บรวบรวมฉลาก หรือบรรจุภัณฑ์ที่แท้จริง (ขวด กล่อง ฯลฯ ) ของสิ่งที่ได้กินเข้าไป พยายามประเมินอย่างดีที่สุดว่าผู้ป่วยกินในปริมาณมากเพียงใดด้วย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ให้ความช่วยเหลือในทันที

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้ผู้ป่วยคายทุกสิ่งที่ยังค้างอยู่ในปากออกมา และทำให้แน่ใจว่า ยาพิษอยู่ห่างเกินเอื้อมถึงแล้วในตอนนี้ ห้ามทำให้ผู้ป่วยอาเจียน และห้ามใช้น้ำเชื่อมไอปิแคค (Ipecac) เพราะแม้จะเคยเป็นวิธีปฏิบัติมาตรฐาน แต่สมาคมกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (the American Academy of Pediatrics) กับสมาคมศูนย์ควบคุมสิ่งเป็นพิษแห่งอเมริกา (American Association of Poison Control Centers) ได้เปลี่ยนข้อแนะนำเป็นเตือนไม่ให้ทำเช่นนั้น และแนะนำให้แจ้งเหตุฉุกเฉินหรือแจ้งศูนย์พิษวิทยา และให้ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างชัดเจนของหน่วยงานเหล่านั้น [11] [12]
    • หากผู้ป่วยกลืนถ่านกระดุม ให้แจ้งเหตุฉุกเฉินในทันที เพื่อเข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุดที่จะทำได้ กรดจากถ่านสามารถไหม้ท้องไส้ลูกของคุณได้ภายในสองชั่วโมง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องรักษาอย่างรวดเร็ว [13]
  2. ล้างตาข้างที่ได้รับผลกระทบอย่างอ่อนโยน โดยใช้น้ำเย็นหรือน้ำอุ่นจำนวนมากเป็นเวลานาน 15 นาที หรือจนกว่าความช่วยเหลือทางการแพทย์จะมาถึง พยายามเทน้ำให้ไหลอย่างต่อเนื่องเข้าไปในมุมด้านในของดวงตา การทำเช่นนี้จะช่วยทำให้พิษเจือจางลง [14] [15]
    • อนุญาตให้ผู้ป่วยกระพริบตา และอย่าบังคับให้เปิดตาอยู่ในตอนที่คุณเทน้ำใส่
  3. เวลารับมือกับควันพิษหรือไอพิษ เช่น คาร์บอน มอนอกไซด์ นั้น สิ่งที่ทำได้ดีที่สุดจนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึงคือ พาออกไปรับอากาศบริสุทธิ์ที่ข้างนอก [16] [17]
    • พยายามตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ป่วยได้สูดสารเคมีชนิดใดเข้าไป จะได้สามารถบอกกับทางศูนย์พิษวิทยา หรือ หน่วยฉุกเฉินต่างๆ เพื่อตัดสินใจเรื่องการรักษาเพิ่มเติม หรือการดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
  4. หากคุณสงสัยว่าผิวหนังของผู้ป่วยได้สัมผัสกับสารพิษ หรือสารอันตราย จงถอดเสื้อผ้าปนเปื้อนทุกชิ้นออกโดยใช้ถุงมือทางการแพทย์ เช่น ถุงมือไนไตร ซึ่งทนทานต่อสารเคมีทุกอย่างที่ใช้ในครัวเรือน หรือใช้สิ่งทอชนิดอื่นๆ เพื่อปกป้องมือของคุณไม่ให้ได้รับผลกระทบ ล้างผิวของผู้ป่วยนาน 15 - 20 นาทีด้วยน้ำเย็นหรือน้ำอุ่น ในที่อาบน้ำฝักบัว หรือโดยใช้สายยาง [18] [19]
    • มีความสำคัญเช่นเดียวกันที่คุณจะสังเกตหาแหล่งที่มาของยาพิษ เพื่อตัดสินใจเรื่องการรักษาขั้นต่อไป ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่การแพทย์จำเป็นต้องรู้ว่าเป็นยาพิษที่มีฤทธิ์เป็นด่าง หรือเป็นยาพิษที่มีฤทธิ์เป็นกรด หรือเป็นชนิดอื่นใด เพื่อประเมินว่าอาจสร้างความเสียหายต่อผิวหนังได้มากน้อยเพียงใด รวมทั้งวิธีหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาอาการดังกล่าว
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ห้ามเรียกยาว่า "ลูกกวาด" ในความพยายามจะให้เด็กๆ ยอมกินยา เพราะเด็กๆ อาจจะอยากได้ “ลูกกวาด” ในตอนที่คุณไม่ได้อยู่ใกล้ๆ เพื่อช่วยเหลือ [20]
  • เก็บหมายเลขโทรศัพท์ของศูนย์พิษวิทยา (ศูนย์พิษวิทยา รามาธิบดี สายด่วน 1367ศูนย์พิษ วิทยา รพ.ศิริราช โทร.02 - 4197007 ฯลฯ ) ไว้บนตู้เย็น หรือข้างโทรศัพท์ของคุณเพื่อพร้อมโทรแจ้งเมื่อจำเป็นต้องใช้ [21]
โฆษณา

คำเตือน

  • แม้จะหาซื้อน้ำเชื่อมไอปิแคค (Ipecac) และถ่านกัมมันต์ (Activated Charcoal) ได้ตามร้านขายยาส่วนใหญ่ สมาคมกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (the American Academy of Pediatrics) และสมาคมศูนย์ควบคุมสิ่งเป็นพิษแห่งอเมริกา (the American Association of Poison Control Centers) ไม่แนะนำอีกต่อไปให้ใช้ในการรักษาตัวที่บ้าน เพราะอาจเป็นอันตรายมากกว่าจะเป็นประโยชน์ [22] [23]
  • ป้องกันไม่ให้ใช้สารพิษด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง การป้องกันเป็นวิธีดีที่สุดที่จะป้องกันการถูกสารพิษ จงใส่กุญแจเก็บยาทั้งหมด ถ่านไฟฉาย น้ำมันชักเงา ผงซักฟอก และอุปกรณ์ทำความสะอาดในครัวเรือนไว้ในตู้เก็บของอย่างปลอดภัย จงเก็บสารพิษไว้ในภาชนะบรรจุดั้งเดิมเสมอ และจงอ่านฉลากอย่างรอบคอบเพื่อทำให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจวิธีใช้อย่างถูกต้อง [24] [25]
โฆษณา
  1. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-poisoning/basics/art-20056657
  2. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-poisoning/basics/art-20056657
  3. https://www.aap.org/en-us/about-the-aap/aap-press-room/news-features-and-safety-tips/pages/poison-prevention-and-treatment-tips-.aspx
  4. https://www.aap.org/en-us/about-the-aap/aap-press-room/news-features-and-safety-tips/pages/poison-prevention-and-treatment-tips-.aspx
  5. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-poisoning/basics/art-20056657
  6. https://www.aap.org/en-us/about-the-aap/aap-press-room/news-features-and-safety-tips/pages/poison-prevention-and-treatment-tips-.aspx
  7. http://www.poison.org/actfast/firstaid.asp
  8. https://www.aap.org/en-us/about-the-aap/aap-press-room/news-features-and-safety-tips/pages/poison-prevention-and-treatment-tips-.aspx
  9. http://www.poison.org/actfast/firstaid.asp
  10. https://www.aap.org/en-us/about-the-aap/aap-press-room/news-features-and-safety-tips/pages/poison-prevention-and-treatment-tips-.aspx
  11. https://www.aap.org/en-us/about-the-aap/aap-press-room/news-features-and-safety-tips/pages/poison-prevention-and-treatment-tips-.aspx
  12. http://www.redcross.org/prepare/disaster/poisoning
  13. American Academy of Pediatrics, Guidelines, 2015
  14. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-poisoning/basics/art-20056657
  15. https://www.aap.org/en-us/about-the-aap/aap-press-room/news-features-and-safety-tips/pages/poison-prevention-and-treatment-tips-.aspx
  16. http://www.redcross.org/prepare/disaster/poisoning

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,431 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา