ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเห็นเพื่อนเกิดอาการแพนิกอาจเป็นเรื่องที่น่าตกใจไม่น้อย คุณรู้สึกเหมือนตัวเองทำอะไรไม่ได้ในสถานการณ์ที่ดูเข้าใจได้ไม่ยาก (แต่บ่อยครั้งมันก็ไม่ง่ายเลย) ทั้งนี้คุณสามารถทำตามแนวทางต่อไปนี้ได้เพื่อให้เหตุการณ์ผ่านไปอย่างรวดเร็ว

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เข้าใจสถานการณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คนที่เป็นโรคแพนิกจะถูกอาการตื่นตระหนกเข้าจู่โจมแบบทันทีทันใดและเกิดขึ้นซ้ำๆ เป็นเวลาหลายนาทีหรือเป็นชั่วโมง แต่มักจะไม่เกินนั้นเพราะว่าร่างกายไม่มีพลังมากพอที่จะรองรับอาการแพนิกได้นานขนาดนั้น อาการแพนิกคือความกลัวว่าจะเกิดอันตรายร้ายแรงหรือกลัวว่าจะควบคุมไม่ได้แม้ว่าจะไม่มีอันตรายเกิดขึ้นจริงๆ ก็ตาม [1] อาการแพนิกสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีสัญญาณเตือนมาก่อนหรือไม่มีเหตุผลที่แน่ชัด ในกรณีร้ายแรงอาการอาจจะเกิดร่วมกับ ความกลัว ตายอย่างรุนแรง แม้ว่าจะมันจะค่อนข้างน่าหดหู่และอาจกินเวลาตั้งแต่ 5 นาทีไปจนถึงร่วมชั่วโมง แต่อาการแพนิกโดยตัวมันเองแล้วไม่ใช่อาการที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
    • อาการแพนิกจะกระตุ้นร่างกายไปถึงระดับความตื่นเต้นที่สูงที่สุด ซึ่งจะทำให้คนๆ นั้นรู้สึกเหมือนควบคุมตัวเองไม่ได้ สมองจะเข้าสู่โหมดสู้หรือหนี บังคับให้ร่างกายเข้าควบคุมเพื่อช่วยให้เหยื่อเผชิญหน้าหรือวิ่งหนีจากสิ่งที่คิดว่าเป็นอันตราย ไม่ว่าจะมีจริงๆ หรือไม่มีก็ตาม
    • ฮอร์โมนคอร์ติซอลและอะดรีนาลินจะหลั่งออกจากต่อมหมวกไตเข้าสู่กระแสเลือด และกระบวนการทั้งหมดก็จะเริ่มขึ้น สิ่งนี้ทำให้หัวใจเต้นแบบตื่นตระหนก สมองไม่สามารถแยกแยะระหว่างอันตรายจริงๆ กับอันตรายที่อยู่ในความคิดได้ ถ้าคุณเชื่อว่ามันเป็นความจริง สมองของคุณก็จะเชื่อตามนั้นว่ามันจริง มันจะทำงานเหมือนกับว่าชีวิตของคุณกำลังตกอยู่ในอันตรายและมันก็รู้สึกแบบนั้นจริงๆ ลองคิดแบบนี้ดูว่า ถ้ามีคนเอามีดมาจ่อคอคุณแล้วบอกว่า "ฉันจะเอามีดปาดคือแก แต่ฉันจะรอแล้วปล่อยให้แกเดาเอาเองว่าฉันจะลงมือตอนไหน อาจจะเป็นตอนไหนก็ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป"
    • ไม่เคยมีบันทึกมาก่อนว่าเคยมีใครเสียชีวิตจากอาการแพนิก [2] อาการแพนิกอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตก็ต่อเมื่อมีอาการของโรคอื่นๆ เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ เช่น โรคหอบหืด หรือทำอะไรที่เป็นอันตรายหลังจากเกิดอาการแพนิก (เช่น กระโดดลงจากหน้าต่าง)
  2. ถ้าคนๆ นั้นไม่เคยมีอาการแพนิกมาก่อน เขาก็จะตื่นตระหนกในสองระดับที่แตกต่างกัน ซึ่งระดับที่สองคือการไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นนั่นเอง แต่ถ้าคุณระบุได้ว่าสิ่งที่เขากำลังเจอคืออาการแพนิก มันก็จะช่วยบรรเทาอาการลงได้ครึ่งหนึ่ง อาการของโรคแพนิกได้แก่ [3]
    • อาการใจสั่นหรือเจ็บหน้าอก
    • อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น (หัวใจเต้นเร็ว)
    • การหายใจถี่เร็ว (การหายใจถี่เกินไป)
    • ตัวสั่น
    • เวียนหัว/มึนหัว/เหมือนจะเป็นลม (ซึ่งมักเกิดจากการหายใจถี่เร็ว)
    • เหน็บชา/ชาที่นิ้วมือหรือนิ้วเท้า
    • เสียงวิ้งในหูหรือสูญเสียการได้ยินไปชั่วขณะ
    • เหงื่อออก
    • คลื่นไส้
    • เป็นตระคริวที่ท้อง
    • ร้อนหรือเย็นวูบ
    • ปากแห้ง
    • กลืนลำบาก
    • บุคลิกวิปลาส (รู้สึกใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว)
    • ปวดหัว
  3. ถ้านี่เป็นครั้งแรกที่คนๆ นั้นมีอาการแพนิก ให้ขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉิน. ถ้าสงสัยให้ขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ทันทีจะดีที่สุด เพราะมันจะยิ่งสำคัญเป็นสองเท่าหากคนๆ นั้นเป็นโรคเบาหวาน โรคหอบหืด หรือเป็นโรคอื่นๆ คุณต้องนึกไว้ว่าสัญญาณและอาการแพนิกนั้นคล้ายกับอาการหัวใจวาย นึกถึงข้อนี้ไว้ให้ดีเวลาประเมินสถานการณ์
  4. คุยกับเขาและระบุให้แน่ชัดว่าเขาหรือเธอกำลังมีอาการแพนิก ไม่ใช่อาการของโรคอื่นๆ (เช่น โรคหอบหืดหรืออาการหัวใจวาย) ซึ่งต้องได้รับการช่วยเหลือทางการแพทย์โดยทันที ถ้าเขาเคยมีอาการแพนิกมาก่อน เขาก็อาจจะพอบอกคุณได้ว่าเกิดอะไรขึ้น
    • อาการแพนิกหลายๆ ครั้งเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ หรืออย่างน้อยที่สุดคนที่มีอาการก็ไม่รู้แน่ชัดว่าสาเหตุเกิดจากอะไร ด้วยเหตุนี้การระบุสาเหตุจึงอาจจะไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ ถ้าคนๆ นั้นไม่รู้ว่าทำไมถึงเกิดอาการแพนิกก็ให้เชื่อเขาและไม่ต้องถามอะไรต่อ เพราะไม่ใช่ว่าทุกเรื่องจะสามารถหาเหตุผลมาอธิบายได้เสมอไป
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ช่วยให้เขาผ่อนคลาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เขาอาจจะอยากออกไปจากที่ที่เขาอยู่มากๆ (แต่อย่าพาเขาออกไปถ้าเขาไม่ได้บอกว่าเขาอยากออกไปจากที่นี่ การพาเขาไปที่อื่นโดยไม่บอกกล่าวจะยิ่งทำให้เขาแพนิกมากขึ้นคนเราจะเกิดอาการตื่นตระหนกเวลาที่เรารู้สึกไม่ปลอดภัยและไม่รู้สึกถึงสภาพแวดล้อมรอบตัว เพราะฉะนั้นถ้าคุณจะพาเขาไปไหนให้ขออนุญาตเขาก่อนและบอกเขาว่าคุณจะพาเขาไปไหน) ในการช่วยเหลือพวกเขาให้ออกจากที่นั้นอย่างปลอดภัย ให้พาเขาไปที่อื่น โดยควรจะเป็นที่เปิดโล่งและผ่อนคลาย อย่าแตะต้องคนที่กำลังมีอาการแพนิกโดยไม่ขออนุญาตและไม่ได้รับอนุญาตอย่างแน่ชัด ในบางกรณีการสัมผัสคนที่กำลังมีอาการแพนิกโดยไม่ขออนุญาตก่อนจะยิ่งทำให้อาการรุนแรงมากกว่าเดิมและทำให้สถานการณ์แย่ลงด้วย
    • บางครั้งคนที่เป็นโรคแพนิกจะมีเทคนิคหรือยาที่เขารู้ว่าจะสามารถช่วยให้เขาผ้านพ้นช่วงเวลานี้ไปได้ เพราะฉะนั้นให้ถามเขาว่ามีอะไรที่คุณช่วยได้ไหม เพราะเขาอาจจะมีที่ที่เขาอยากไปก็ได้
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    Lauren Urban, LCSW

    นักบำบัดทางจิตวิทยา
    ลอเรน เออร์บันเป็นนักบำบัดทางจิตวิทยาในบรู๊คลีน นิวยอร์ก ที่มีประสบการณ์บำบัดทั้งเด็ก ครอบครัว คู่สมรส ไปจนถึงบุคคลแต่ละคนมากว่า 13 ปี เธอจบปริญญาโทด้านสังคมสงเคราะห์จากมหาวิทยาลัยฮันเตอร์ในปี 2006 และทำงานกระตุ้นลูกค้าให้สามารถเปลี่ยนแปลงสถานการณ์รอบข้างและชีวิตของพวกเขา
    Lauren Urban, LCSW
    นักบำบัดทางจิตวิทยา

    ถามเขาว่าต้องการอะไรก่อนพยายามเข้าช่วยเหลือ คุณสามารถหาน้ำ อาหาร พื้นที่ หรือการกุมมือแก่เขาอย่างไม่ลุกลน กระนั้น คุณควรถามเขาก่อน แล้วทำตามคำตอบที่เขาให้มา

  2. พูดกับเขาด้วยน้ำเสียงที่ปลอบโยนแต่หนักแน่น. เตรียมตัวให้พร้อมเพราะว่าเขาอาจจะพยายามหนีไปจากตรงนั้น แม้ว่าคุณจะพยายามช่วยเขาอย่างเต็มที่ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือตัวคุณเองก็ต้องใจเย็นๆ เหมือนกัน บอกเขาว่าทำใจดีๆ แต่อย่าไปจับ คว้า หรือแม้แต่จะรั้งตัวเขาไว้เบาๆ ถ้าเขาอยากเคลื่อนไหว บอกให้เขาบิดขี้เกียจ กระโดดตบ หรือไปเดินเร็วกับคุณ
    • ถ้าเขาอยู่ที่บ้านเขาเอง บอกเขาให้ไปจัดตู้เสื้อผ้าหรือทำงานบ้านหนักๆ เนื่องจากว่าร่างกายของเขากำลังอยู่ในภาวะสู้หรือหนี การทุ่มพลังงานไปที่สิ่งของที่จับต้องได้ งานที่มีจำกัด และงานที่มีประโยชน์จะสามารถช่วยให้เขารับมือกับผลกระทบทางสรีรวิทยาได้ และการทำอะไรสักอย่างให้สำเร็จลุล่วงไปได้ก็อาจจะช่วยปรับอารมณ์ของเขา ในขณะที่การมีกิจกรรมอื่นๆ ให้จดจ่อก็อาจจะช่วยกำจัดความวิตกกังวลไปได้
    • ถ้าเขาไม่ได้อยู่ที่บ้าน ให้หากิจกรรมที่ช่วยให้เขาได้จดจ่อ อาจจะเป็นกิจกรรมธรรมดาๆ อย่างการยกแขนขึ้นและลง พอเขาเริ่มเหนื่อย (หรือเบื่อกับการทำอะไรซ้ำๆ) ใจเขาก็จะจดจ่อกับอาการแพนิกน้อยลง
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    Lauren Urban, LCSW

    นักบำบัดทางจิตวิทยา
    ลอเรน เออร์บันเป็นนักบำบัดทางจิตวิทยาในบรู๊คลีน นิวยอร์ก ที่มีประสบการณ์บำบัดทั้งเด็ก ครอบครัว คู่สมรส ไปจนถึงบุคคลแต่ละคนมากว่า 13 ปี เธอจบปริญญาโทด้านสังคมสงเคราะห์จากมหาวิทยาลัยฮันเตอร์ในปี 2006 และทำงานกระตุ้นลูกค้าให้สามารถเปลี่ยนแปลงสถานการณ์รอบข้างและชีวิตของพวกเขา
    Lauren Urban, LCSW
    นักบำบัดทางจิตวิทยา

    ถ้าหากเขาไม่สามารถบอกสิ่งที่ต้องการออกมาให้ชัดเจนได้ ก็แค่อยู่เคียงข้างเขา เขาอาจไม่สามารถให้คำตอบแก่คุณว่าต้องการอะไร ในกรณีนี้ แสดงให้เขารู้ว่าคุณอยู่เคียงข้างเขาเว้นแต่เขาจะขอร้องให้คุณไปเสีย

  3. ความกลัวของเขา. การพูดประมาณว่า "ไม่มีอะไรต้องกังวลหรอกนะ" หรือ "เธอคิดไปเองทั้งนั้น" หรือ "เธอก็ทำเวอร์เกิน" จะยิ่งทำให้ปัญหาแย่เข้าไปใหญ่ สำหรับเขาแล้วความกลัวในตอนนั้นจริงยิ่งกว่าจริงเสียอีก และสิ่งที่ดีที่สุดที่คุณจะทำได้คือการช่วยเขารับมือกับความกลัวนั้น การไม่เห็นความสำคัญหรือการเพิกเฉยต่อความกลัวของเขาไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตามอาจจะทำให้อาการแพนิกแย่ลง แค่พูดว่า "ไม่เป็นไรนะ" หรือ "เธอไม่ได้เป็นอะไรหรอกนะ" แล้วก็ไม่ต้องพูดอะไรต่อ
    • ภัยคุกคามทางอารมณ์มีผลต่อร่างกายเหมือนภัยคุกคามที่แขวนอยู่บนความเป็นความตาย นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณถึงต้องใส่ใจความกลัวของเขา ถ้าความกลัวของเขาไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริง และเขาก็กำลังตอบสนองต่อเรื่องในอดีตอยู่ การดึงเขากลับสู่โลกความเป็นจริงก็อาจช่วยได้ "คนที่เราพูดถึงคือแดนนะ เขาไม่เคยหัวฟัดหัวเหวี่ยงใส่ใครที่ทำผิดพลาดเหมือนฟูมหรอก เขาก็แค่แสดงออกแบบที่เขาทำเป็นประจำนั่นแหละแล้วเขาก็อารมณ์ดีขึ้น เดี๋ยวมันก็ผ่านไปนะ แล้วเขาก็ไม่ได้มองว่ามันเป็นเรื่องใหญ่หรอก"
    • การถามคำถามเหมือนถามอะไรทั่วไปและใจเย็นๆ อย่าง "ตอนนี้เธอกำลังกลัวสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้หรือว่าเรื่องในอดีต" อาจช่วยให้ผู้ที่กำลังมีอาการแพนิกจัดระเบียบความคิดของเขาหรือเธอเพื่อให้แยกได้ว่าอะไรเป็นภาพในอดีตและอะไรที่เป็นสัญญาณอันตรายที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้ รับฟังและยอมรับทุกคำตอบของเขา บางครั้งคนที่เคยอยู่ในสถานการณ์ที่มีการทำร้ายมาก่อนก็อาจจะตอบสนองต่อสัญญาณเตือนภัยจริงๆ อย่างรุนแรง การถามคำถามและการให้เขาได้คิดว่าเขากำลังตอบสนองอะไรอยู่เป็นวิธีการช่วยเหลือที่ดีที่สุด
  4. อย่าพูดว่า "ใจเย็นๆ" หรือ "ไม่มีอะไรให้ตกอกตกใจหรอก". การพูดเหมือนกับว่าคุณเข้าใจสถานการณ์ดีกว่าเขาจะยิ่งทำให้เขาตื่นตระหนกเข้าไปใหญ่ ยิ่งไปกว่านั้นการบอกเขาว่าไม่ได้มีเรื่องอะไรให้ตกใจอาจจะยิ่งย้ำว่าเขาอยู่ห่างจากความเป็นจริงแค่ไหน ซึ่งจะทำให้เขาตื่นตระหนก มากกว่าเดิม แต่ให้พูดว่า "ฉันรู้นะว่าเธอไม่โอเค แต่ไม่เป็นไรนะ ฉันอยู่ตรงนี้คอยช่วยเธอนะ" หรือ "เดี๋ยวก็หายนะ ฉันอยู่ตรงนี้ ฉันรู้ว่าเธอกลัว แต่อยู่กับฉันเธอปลอดภัยนะ" [4]
    • คุณจะต้องมองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาจริงๆ เหมือนว่าเขาถูกฟันที่ขาอย่างรุนแรงและมีเลือดไหลท่วมตัว แม้ว่าคุณจะไม่เห็นว่าจริงๆ แล้วมันเกิดอะไรขึ้น แต่เขากำลังเจอสิ่งที่น่ากลัวมากๆ สถานการณ์นี้เกิดขึ้นจริงในความรู้สึกของเขา และการทำเหมือนว่ามันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงก็เป็นทางเดียวที่คุณจะช่วยเขาได้
    เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ

    Lauren Urban, LCSW

    นักบำบัดทางจิตวิทยา
    ลอเรน เออร์บันเป็นนักบำบัดทางจิตวิทยาในบรู๊คลีน นิวยอร์ก ที่มีประสบการณ์บำบัดทั้งเด็ก ครอบครัว คู่สมรส ไปจนถึงบุคคลแต่ละคนมากว่า 13 ปี เธอจบปริญญาโทด้านสังคมสงเคราะห์จากมหาวิทยาลัยฮันเตอร์ในปี 2006 และทำงานกระตุ้นลูกค้าให้สามารถเปลี่ยนแปลงสถานการณ์รอบข้างและชีวิตของพวกเขา
    Lauren Urban, LCSW
    นักบำบัดทางจิตวิทยา

    ก่อนอื่น ใช้เวลาสักครู่ในการสำรวจ ตัวคุณเอง ให้แน่ใจว่าคุณสงบพอ คุณคงช่วยอะไรไม่ได้ถ้าตัวคุณเองยังมีความกังวลอย่างเห็นได้ชัด

  5. นี่ไม่ใช่เวลาที่จะบังคับให้เขาหาคำตอบหรือทำในสิ่งที่ยิ่งทำให้ความวิตกกังวลเพิ่มทวีคูณ ลดระดับความเครียดของเขาให้เหลือน้อยที่สุดด้วยการทำตัวเองให้นิ่งและปล่อยให้เขาเข้าสู่ภาวะผ่อนคลาย อย่าดึงดันที่จะหาคำตอบให้ได้ว่าเขาแพนิกเพราะอะไรเพราะมันจะยิ่งทำให้สถานการณ์ยิ่งแย่ลง
    • คอยรับฟังอย่างตั้งใจถ้าจู่ๆ เขาเกิดพยายามหาสาเหตุขึ้นมาว่าเขากำลังตื่นตระหนกกับเรื่องอะไร อย่าตัดสิน แค่รับฟังและปล่อยให้เขาพูด
  6. การกลับมาควบคุมการหายใจได้อีกครั้งจะทำให้อาการแพนิกหายไปและช่วยให้เขากลับมาสงบสติอารมณ์ได้อีกครั้ง หลายคนจะหายใจสั้นๆ เร็วๆ เวลามีอาการแพนิก และบางคนก็จะลืมหายใจไปเลย ซึ่งจะไปลดปริมาณการรับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายที่จะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ใช้เทคนิคต่อไปนี้เพื่อให้เขากลับมาหายใจได้ตามปกติ
    • นับลมหายใจ วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เขาทำวิธีนี้ได้ก็คือให้เขาหายใจเข้าและออกตามที่คุณนับ เริ่มจากการนับดังๆ เพื่อกระตุ้นให้เขาหายใจเข้า 2 หายใจออก 2 แล้วค่อยๆ นับเพิ่มไปที่ 4 จนถึง 6 ถ้าเขาทำได้ จนกว่าเขาจะหายใจช้าลงและควบคุมการหายใจได้
    • ให้เขาหายใจใน ถุงกระดาษ ถ้าเขาเชื่อคุณ ให้เอาถุงกระดาษให้เขา แต่ระวังว่าสำหรับบางคน ถุงกระดาษอาจจะยิ่งไปกระตุ้นความกลัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเขาเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดีจากการถูกบังคับให้หายใจในถุงตอนที่มีอาการแพนิกครั้งก่อน
      • เนื่องจากวิธีนี้ใช้เพื่อป้องกันภาวะระบายลมหายใจเกิน วิธีนี้จึงอาจจะไม่จำเป็นถ้าคุณกำลังช่วยคนที่ลืมหายใจหรือหายใจช้าเวลามีอาการแพนิก แต่ถ้าจำเป็นให้ใช้วิธีนี้โดยการสลับระหว่างการหายใจเข้าออกในถุง 10 ครั้ง ตามด้วยการหายใจนอกถุง 15 วินาที คุณจะต้องไม่ให้เขาหายใจในถุงมากเกินไปเพราะว่าระดับคาร์บอนไดออกไซด์อาจจะขึ้นสูงเกินไปและระดับออกซิเจนจะลดต่ำเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงอื่นๆ ตามมาได้
    • ให้เขาหายใจเข้าทางจมูกและหายใจออกทางปาก โดยให้หายใจออกเหมือนเป่าลมเวลาเป่าลูกโป่ง ทำแบบนี้เป็นเพื่อนเข้าด้วย
  7. อาการแพนิกอาจจะเกิดร่วมกับความรู้สึกร้อนโดยเฉพาะอย่างรอบลำคอและใบหน้า ของเย็นๆ หรือถ้าจะให้ดีที่สุดก็คือผ้าเช็ดตัวเปียกมักจะช่วยลดอาการนี้ลงได้และช่วยลดความรุนแรงของอาการแพนิกด้วย
  8. อยู่กับเขาจนกว่าเขาจะหายจากอาการแพนิก อย่าปล่อยให้คนที่กำลังมีปัญหาเรื่องการหายใจไว้เพียงลำพัง คนที่มีอาการแพนิกอาจจะดูไม่เป็นมิตรหรือหยาบคาย แต่ให้เข้าใจว่าเขากำลังเผชิญกับอะไรและรอจนกว่าเขาจะกลับมาเป็นปกติ ถามเขาว่าก่อนหน้านี้อะไรที่ช่วยบรรเทาอาการได้และถามว่าเขาเคยรับประทานยาไหมหรือเมื่อไหร่
    • ถึงคุณจะรู้สึกว่าตัวเองช่วยอะไรไม่ได้มาก ก็ขอให้รู้ว่าคุณคือสิ่งที่เบี่ยงเบนความสนใจของเขาได้ ถ้าเขาอยู่คนเดียว เขาก็จะมีแค่ตัวเองกับความคิดของเขา คุณมีประโยชน์ในการดึงเขาไว้กับโลกแห่งความเป็นจริง การอยู่คนเดียวตอนที่เกิดอาการแพนิกเป็นสิ่งที่เลวร้ายมาก แต่ถ้าเป็นในที่สาธารณะ คุณต้องกันไม่ให้คนอื่นเข้าใกล้เขา พวกเขาอาจจะหวังดีก็จริง แต่มันจะทำให้อาการยิ่งแย่ลง
  9. ถึงมันจะดูเหมือนนานมากๆ (แม้แต่กับตัวคุณเอง แล้วคิดดูว่ามันจะนานแค่ไหนสำหรับเขา) อาการแพนิกก็ จะผ่านไป อาการแพนิกทั่วไปมักจะขึ้นสู่จุดสูงสุดในช่วง 10 นาทีและจากนั้นจะค่อยๆ ดีขึ้นและลดระดับลงเรื่อยๆ [5]
    • แต่อาการแพนิกเล็กน้อยมักจะกินเวลา นานกว่า แต่ว่ากันว่าเขาจะรับมือกับอาการแพนิกแบบนี้ได้ดีกว่า เพราะฉะนั้นระยะเวลาจึงไม่ใช่ปัญหา [5]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รับมือกับอาการแพนิกแบบรุนแรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 ชั่วโมง ให้ขอคำแนะนำทางการแพทย์ฉุกเฉิน แม้ว่าจะไม่ใช่ความเป็นความตาย แต่ก็ให้โทรศัพท์ไปที่โรงพยาบาลแม้จะแค่ขอคำแนะนำก็ตาม แพทย์ฉุกเฉินจะให้ Valium หรือ Xanax และอาจจะ Beta-Blocker อย่าง Atenolol เพื่อให้หัวใจเต้นช้าลงและให้อะดรีนาลีนเข้าสู่ร่างกาย
    • ถ้านี่เป็นครั้งแรกที่เขาหรือเธอมีอาการแพนิก เขาอาจจะอยากได้ความช่วยเหลือจากแพทย์เพราะเขากลัวสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับเขา แต่ถ้าเขาเคยมีอาการแพนิกมาแล้วหลายครั้ง เขาอาจจะรู้ว่าการเข้ารับการรักษาฉุกเฉินจะยิ่งทำให้สภาวะของเขาแย่ลง คุณต้องถามเขา เพราะการตัดสินใจนี้สุดท้ายแล้วจะขึ้นอยู่ประสบการณ์ของเจ้าตัวและปฏิสัมพันธ์ที่คุณมีกับเขา
  2. อาการแพนิกเป็นความวิตกกังวลรูปแบบหนึ่งที่ควรได้รับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ นักบำบัดที่ดีจะสามารถหาสิ่งที่มากระตุ้นอาการแพนิกหรืออย่างน้อยที่สุดก็ช่วยให้เขาเข้าใจสถานการณ์ในแง่สรีรวิทยามากขึ้น ถ้าเขาเริ่มเข้ารับการบำบัด ก็ปล่อยให้เขาค่อยๆ เยียวยาไปตามระยะเวลาของเขา
    • บอกให้เขารู้ว่าไม่ได้มีแต่คนบ้าเท่านั้นที่เข้ารับการบำบัด แต่เป็นรูปแบบการช่วยเหลือที่สมเหตุสมผลที่มีผู้ใช้บริการหลายล้านคน ยิ่งไปกว่านั้นนักบำบัดอาจจะจ่ายยาที่ไประงับปัญหาไม่ให้บานปลาย แม้ว่ายาอาจจะไม่สามารถหยุดอาการแพนิกให้หายสนิทได้ แต่จะลดความรุนแรงและความถี่ได้อย่างแน่นอน
  3. คุณอาจจะรู้สึกผิดมากๆ ที่ตัวเองลนลานตอนที่เพื่อนมีอาการแพนิก แต่มันเป็นเรื่องปกติ รู้ว่าการลนลานและความกลัวอ่อนๆ เป็นการตอบสนองปกติเวลาที่เห็นคนอื่นมีอาการแพนิก ถ้าช่วยได้ให้ถามเขาว่าคุณจะคุยเรื่องนี้กับเขาทีหลังได้ไหม เพื่อที่คุณจะได้รับมือกับมันได้ดีขึ้นในภายภาคหน้า
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าเขามีความกลัวต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างรุนแรงและสิ่งนั้นกระตุ้นอาการแพนิก ให้นำเขาออกจากสิ่งนั้น
  • พาเขาออกไปข้างนอกถ้าอาการแพนิกเกิดขึ้นในที่ที่คนเยอะๆ หรือเสียงดัง เขาต้องผ่อนคลายและออกไปอยู่ที่โล่งๆ
  • ถ้าเขามีสัตว์เลี้ยงอยู่ใกล้ๆ งานวิจัยบอกว่าการสัมผัสสุนัขช่วยลดความดันโลหิตได้
  • ถ้าคนใกล้ตัวเป็นโรคแพนิกและมีอาการแพนิกเกิดขึ้นบ่อยครั้ง มันก็อาจจะทำลายความสัมพันธ์ได้ วิธีรับมือกับผลกระทบของโรคแพนิกที่มีต่อความสัมพันธ์นั้นเกินขอบเขตของบทความนี้ แต่ก็ควรได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ
  • อาการที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักได้แก่:
    • ความคิดที่มากระทบจิตใจหรือความคิดเชิงลบ
    • ความคิดแล่นไปมาในหัว
    • การรู้สึกถึงสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง
    • การรู้สึกว่าสิ่งร้ายๆ กำลังจะเกิดขึ้น
    • การรู้สึกว่าความตายกำลังใกล้เข้ามา
    • มีตุ่มขึ้น
  • ถ้าเขาอยากอยู่คนเดียวให้ถอยออกมา แต่อย่าปล่อยเขาไว้เพียงลำพัง
  • บอกให้เขานึกภาพสิ่งที่สวยงามอย่างมหาสมุทรหรือทุ่งหญ้าสีเขียวเพื่อให้ใจสงบ
  • ถ้าไม่มีถุงกระดาษ ให้เขาลองหายใจในอุ้งมือทั้งสองข้าง หายใจผ่านรูเล็กๆ ระหว่างนิ้วโป้งทั้งสองข้าง
  • อย่าลังเลที่จะเรียกรถพยาบาลเพื่อขอความช่วยเหลือ มันเป็นหน้าที่ของเขาอยู่แล้ว!
  • บอกให้เขากำหนดจิตไปที่สี ลวดลาย และการนับ เพราะถ้านึกถึงสิ่งนี้แล้วสมองจะไม่สามารถจดจ่อกับอาการแพนิกได้ นอกจากนี้ถ้าอาการแพนิกเกิดขึ้นซ้ำๆ ให้บอกให้เขามั่นใจว่าเขาไม่เป็นไร บอกให้เขาพูดซ้ำๆ ว่า "ฉันจะไม่เป็นไร"
  • บอกให้เขาไปเข้าห้องน้ำ การปัสสาวะช่วยให้ของเสียไหลออกจากร่างกายและยังช่วยให้ใจเขาจดจ่อกับสิ่งอื่นด้วย
  • ให้เขาทำท่าเด็กหมอบ (เป็นท่าโยคะ) เพื่อให้เขาสงบลง
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าใช้ถุงกระดาษหายใจ ถุงกระดาษควรคลุมรอบจมูกและปากพอให้เขาได้หายใจเอาอากาศที่หายใจออกกลับเข้าไปใหม่ อย่าเอาถุงกระดาษครอบศีรษะและห้ามใช้ถุงพลาสติก เด็ดขาด
  • จำไว้ว่าคนที่เป็นโรคหอบหืดหลายคนมีอาการแพนิก และคนกลุ่มนี้จำเป็นจะต้องควบคุมการหายใจอีกครั้งให้ได้ ถ้าเขาไม่สามารถควบคุมการหายใจเข้าออกให้กลับไปเป็นรูปแบบปกติได้และไม่ได้รับการช่วยเหลือทางการแพทย์อย่างทันท่วงที อาการหอบหืดที่ตามมาอาจทำให้เกิดผลร้ายแรงตามมาและในบางกรณีอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • อาการแพนิกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่ไม่เคยมีอาการมาก่อน มักจะเหมือนอาการหัวใจวาย แต่อาการหัวใจวายอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ และถ้าคุณสงสัยว่ามันคืออาการไหนกันแน่ ให้เรียกรถพยาบาลจะดีที่สุด
  • ดูให้ดีว่าสาเหตุของการหายใจขัดข้องไม่ได้มาจากโรคหอบหืด เพราะโรคหอบหืดเป็นอาการที่แตกต่างจากอาการแพนิกอย่างสิ้นเชิงและต้องการการรักษาที่แตกต่างกัน
  • ระหว่างที่แพนิก คนที่เป็นโรคหอบหืดอาจจะรู้สึกว่าเขาต้องการเครื่องช่วยหายใจเพราะว่าเขาแน่นหน้าอกและหายใจสั้น คุณต้องดูให้ดีว่ามันเป็นอาการแพนิกจริงๆ ไม่ใช่อาการหอบหืด เพราะการใช้เครื่องช่วยหายใจเวลาที่ไม่จำเป็นต้องใช้อาจทำให้อาการแพนิกแย่ลงได้ เพราะตัวยามีไว้เพื่อเร่งอัตราการเต้นของหัวใจ
  • การหายใจในถุงกระดาษทำให้เกิดการหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดจากการหายใจ ภาวะเลือดเป็นกรดจากการหายใจเป็นอาการที่อันตรายที่ขัดขวางการจับกันของออกซิเจนกับฮีโมโกลบิน (เลือด) เพราะฉะนั้นการใช้ถุงกระดาษเพื่อควบคุมอาการแพนิกควรใช้ต่อเมื่อมีการดูแลอย่างใกล้ชิด หรือเลี่ยงไม่ใช้ไปเลย
  • แม้ว่าอาการแพนิกส่วนใหญ่จะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ถ้าอาการแพนิกเกิดจากสาเหตุที่ซ่อนอยู่ เช่น ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ภาวะหัวใจเสียจังหวะ โรคหอบหืด และ/หรือกระบวนการทางสรีรวิทยาของระบบประสาทอัตโนมัติไม่สอดคล้องกันก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ ภาวะหัวใจเต้นเร็วที่ไม่ได้รับการควบคุมอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ถุงพลาสติก ( แล้วแต่สถานการณ์ )
  • ผ้าเปียก

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,573 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา