ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าเพื่อนของคุณกำลังรับมือกับการเลิกรา สูญเสียคนที่รักไปอย่างไม่มีวันกลับ หรือกำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบาก คุณก็อาจจะอยากทำทุกอย่างเท่าที่คุณทำได้เพื่อช่วยเพื่อน แม้ว่าจะไม่มีอะไรที่คุณจะทำหรือพูดให้ความเจ็บปวดมลายหายไปได้ แต่คุณก็สามารถคอยอยู่เคียงข้างเพื่อนและให้ความช่วยเหลือเพื่อนในรูปแบบต่างๆ ได้ แต่ไม่ว่าสถานการณ์ของเพื่อนจะเป็นอย่างไร การเป็นเพื่อนที่ดีนั้นสามารถช่วยเยียวยาหัวใจที่แตกสลายของเพื่อนได้จริงๆ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

อยู่เคียงข้างเพื่อน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพื่อนของคุณต้องรับมือกับอารมณ์ต่างๆ เพื่อที่จะก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้ เพราะฉะนั้นคุณควรสนับสนุนให้เพื่อนจัดการกับอารมณ์เหล่านี้โดยตรง เตือนเพื่อนว่าเขาจะไม่มีวันรู้สึกดีกว่าเดิมได้เลยหากเขาไม่ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นหรือไม่สนใจว่าตัวเองรู้สึกอย่างไรกับเรื่องนี้ [1]
    • บอกให้เพื่อนรู้ว่าเขาสามารถร้องไห้ออกมาได้ น้ำตาสามารถช่วยเยียวยาเพื่อนได้!
    • ถ้าคุณรู้สึกว่าเพื่อนกำลังเก็บอารมณ์ต่างๆ ไว้ข้างใน อธิบายให้เพื่อนฟังว่าการทำเช่นนั้นอาจทำให้เขาก้าวผ่านความเจ็บปวดได้ยากกว่าเดิม
    • โดยทั่วไปขั้นตอนของความโศกเศร้าได้แก่เศร้า ตกใจ รู้สึกผิด เมินเฉย และยอมรับ อย่าตกอกตกใจเกินไปหากเพื่อนประสบกับขั้นตอนเหล่านี้ หรือถ้าเพื่อนหลุดจากขั้นตอนนั้นไปแล้วแต่ก็กลับมาเป็นใหม่ [2]
    • ทุกคนแสดงอาการเศร้าโศกไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นพยายามอย่าตัดสินกระบวนการรับมือกับความเศร้าของเพื่อน แต่ถ้าเพื่อนดูเหมือนจะช็อกกับความเศร้าโศกและดูเหมือนจะไม่ดีขึ้นเลย คุณอาจจะแนะนำให้เพื่อนไปพบที่ปรึกษาด้านความเศร้าโศกดูก็ได้ [3]
    • ถ้าเพื่อนสูญเสียคนที่ใกล้ชิดเขาไป การวางแผนแสดงความระลึกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอาจช่วยให้เพื่อนระบายความรู้สึกออกมาได้ [4]
  2. การเล่าความรู้สึกช่วยให้เพื่อนเยียวยาหัวใจที่แตกสลายได้ เพราะฉะนั้นคุณต้องบอกให้เขารู้ว่าคุณอยู่ตรงนี้เพื่อรับฟังเขาเมื่อไหร่ก็ตามที่เขาต้องการคุณ เป็นผู้ฟังที่ดีและให้เพื่อนพูดนานเท่าไหร่ก็ได้เท่าที่เขาอยากพูด [5]
    • อย่าลืมบอกเพื่อนว่าคุณเต็มใจที่จะรับฟังเขา เพราะเขาอาจจะอยากคุยกับคุณจริงๆ เพียงแต่กังวลว่าจะมาเป็นภาระคุณ
    • ติดต่อเพื่อนทันทีที่คุณได้ยินข่าวว่าเกิดอะไรขึ้นและทำให้เขารู้ว่าคุณนึกถึงเขา คุณอาจจะใช้จังหวะนี้บอกเพื่อนว่าคุณเต็มใจที่จะรับฟังเขา แต่ก็อย่าไม่พอใจถ้าเพื่อนยังไม่อยากคุยตอนนี้
    • อย่าให้คำแนะนำนอกเสียจากว่าเพื่อนจะขอคำแนะนำจากคุณ เพราะเพื่อนอาจจะแค่อยากระบายก็ได้ [6]
    • ถ้าเพื่อนไม่อยากคุย บอกให้เพื่อนเขียนความคิดลงในสมุดบันทึก
    • คุณสามารถถามเพื่อนได้ว่าเกิดอะไรขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณเป็นเพื่อนสนิทกัน การทำเช่นนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจว่าเพื่อนกำลังเผชิญหน้ากับอะไรและคุณจะช่วยเหลือเขาได้อย่างไรบ้าง [7]
  3. ทำให้เพื่อนของคุณรู้ว่าคุณห่วงใยความรู้สึกของเขาและอยากจะช่วยให้เขาผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้ แทนที่จะไปตัดสินเขา แค่รับรู้ความเจ็บปวดและบอกเพื่อนว่าคุณเสียใจที่เขาต้องมาประสบกับเหตุการณ์เช่นนี้
    • แสดงความเสียใจแบบทั่วไปด้วยการพูดประมาณว่า "ฉันเสียใจกับเธอด้วยนะ" [8]
    • ถ้าเพื่อนคุณเพิ่งจะเลิกกับแฟนมา ไม่ต้องรู้สึกว่าตัวเองจะต้องพูดอะไรไม่ดีเกี่ยวกับแฟนเก่าเพื่อให้เพื่อนรู้สึกดีขึ้น แทนที่จะพูดประมาณว่า "มันก็แค่ผู้ชายห่วยๆ ชีวิตเธอจะดีขึ้นถ้าไม่มีมัน" ให้รับรู้ถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับเพื่อนด้วยการพูดว่า " มันคงยากมากๆ เลยนะที่ต้องสูญเสียใครสักคนที่เธอห่วงใยเขามากๆ" แทน [9]
    • นอกจากนี้การพยายามแสดงให้เห็นถึงด้านที่ดีในสถานการณ์ของเพื่อนก็มักจะไม่ช่วยให้อะไรๆ ดีขึ้นด้วยเช่นกัน แทนที่จะพูดว่า "ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมีเหตุผลของมัน" แค่พูดว่า "ฉันเสียใจด้วยนะที่เธอต้องมาเจอเรื่องแบบนี้ ฉันจะช่วยเธอได้ยังไงบ้าง" ก็พอ [10]
    • อย่าบอกเพื่อนว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมีเหตุผลของมัน เพราะการพูดแบบนี้เสี่ยงต่อการทำให้เพื่อนคิดว่าคุณเองมองว่าความเจ็บปวดของเขาเป็นเรื่องไร้สาระ [11]
  4. หัวใจที่แตกสลายอาจจะคงอยู่อย่างนั้นเป็นเวลานาน เพราะฉะนั้นอย่าคาดหวังว่าเพื่อนจะสบายดีหลังจากผ่านไปวันสองวัน ถามสารทุกข์สุกดิบเพื่อนอยู่เรื่อยๆ และถามว่าเขารู้สึกอย่างไรบ้าง เตือนเพื่อนเสมอว่าคุณอยู่เคียงข้างเขาและคอยช่วยเหลือทุกสิ่งที่เขาต้องการ [12]
    • อย่ารอให้เพื่อนติดต่อมาหาคุณก่อน เพื่อนอาจจะต้องการคุณจริงๆ แต่อาจจะไม่มีเรี่ยวแรงพอที่จะติดต่อมาหาคุณ [13]
    • โทรหาเพื่อน ส่งข้อความไปหา หรือเขียนโน้ตไว้ให้เขาเพื่อบอกให้เขารู้ว่าคุณคิดถึงเขา คุณอาจจะติดต่อไปทุกวันหรือทุก 2-3 วันจนกว่าเพื่อนจะดูเหมือนรู้สึกดีขึ้นเล็กน้อย แล้วแต่ว่าคุณสองคนสนิทกันแค่ไหน
    • โทรไปหาเพื่อนในช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อแสดงให้เพื่อนรู้ว่าคุณนึกถึงเขา เช่น ถ้าคนที่เพื่อนรักเพิ่งจากไป คุณไม่ควรโทรไปหาเขาช่วงงานศพ แต่จะดีกว่าถ้าคุณโทรไปหาเขาค่ำนั้นเลยหรือโทรหาในวันถัดไปเพื่อถามไถ่ว่าเพื่อนเป็นยังไงบ้าง
    • เวลาที่คุณถามไถ่สารทุกข์สุกดิบเพื่อน อย่าลืมเตือนเพื่อนว่าคุณอยู่ตรงนี้หากเขาอยากจะคุยกับใครสักคน
  5. ถ้าเพื่อนเศร้ามากๆ จนละเลยภาระหน้าที่ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ให้เสนอความช่วยเหลือให้เขา เช่น ซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ตไปให้เขาหรือไปหาเขาเพื่อช่วยทำการบ้านวิชาคณิต [14]
    • ถ้าเพื่อนปฏิเสธความช่วยเหลือ บอกให้เพื่อนรู้ว่าเขาจะกลับมาขอความช่วยเหลือจากคุณอีกครั้งเมื่อไหร่ก็ได้
    • ถ้าคุณเป็นเพื่อนสนิทกัน คุณอาจจะทำให้เขาประหลาดใจด้วยสิ่งที่เขาไม่ได้คาดคิดมาก่อน เช่น สั่งพิซซ่าไปส่งที่บ้าน
    • ชวนเขามารับประทานอาหารที่บ้าน วิธีนี้จะช่วยให้เขาได้สารอาหารตามที่ร่างกายต้องกายและยังช่วยให้เขาได้ออกจากบ้านด้วย ซึ่งก็อาจจะดีกับตัวเขาเองก็ได้ [15]
  6. แม้ว่าการที่คุณอยากจะช่วยเพื่อนจะเป็นเรื่องที่ดี แต่คุณก็สามารถช่วยเหลือเพื่อนในแบบต่างๆ ได้มากมาย คุณต้องให้เพื่อนได้แสดงความเสียใจในแบบของเขาและให้เวลาเพื่อนได้ก้าวผ่านความเจ็บปวด อย่าคาดหวังว่าเขากลับมาเป็นเหมือนเดิมทันทีหรือพยายามบังคับให้เขาหายเศร้าได้สักที [16]
    • จำไว้ว่าในช่วงเวลานี้เพื่อนของคุณอาจจะดูเหมือนเห็นแก่ตัวเล็กน้อยและอาจจะไม่ได้เป็นเพื่อนที่ดีที่สุดให้กับคุณ พยายามทำความเข้าใจและมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป เพราะสุดท้ายแล้วเดี๋ยวเขาก็กลับมาเป็นเขาคนเดิม
    • ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไปเวลากระตุ้นให้เพื่อนออกไปทำสิ่งต่างๆ บ้าง ถ้าเขารู้สึกไม่สบายใจที่จะไปงานปาร์ตี้ ก็ถามเขาว่าเขาอยากแวะมาดูหนังกับคุณที่บ้านไหม
  7. 7
    รักษาขอบเขตที่ดีต่อตัวคุณและอย่าพูดว่า “ได้” ทุกครั้งที่เขาขอความช่วยเหลือ. แม้ว่าการช่วยเหลือเพื่อนจะเป็นสิ่งที่ดี แต่การพูดว่า “ไม่” เวลาที่คุณช่วยเหลือเขาไม่ได้ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน คุณต้องไม่ให้เวลาและพลังงานทางอารมณ์กับเพื่อนมากจนเกินไป วิธีที่จะช่วยให้คุณรักษาขอบเขตที่ดีต่อตัวคุณเองได้ก็เช่น : [17]
    • ระบุว่าขอบเขตของคุณคืออะไร อะไรที่คุณเต็มใจช่วยและอะไรที่คุณไม่เต็มใจช่วย เช่น คุณอาจจะเต็มใจรับฟังเพื่อนบ่นเรื่องแฟนเก่า แต่ไม่เต็มใจที่จะทำตัวเป็นคนกลางที่คอยส่งข้อความหาแฟนเก่าเพื่อนหรือไปสืบว่าแฟนเก่าเพื่อนทำอะไรอยู่
    • แจ้งขอบเขตของคุณให้เพื่อนรู้ บอกเขาว่าคุณจะทำอะไรและไม่ทำอะไร เช่น คุณอาจจะบอกว่า “ฉันยินดีที่จะรับฟังเธอเมื่อไหร่ก็ตามที่ฉันทำได้ แต่ถ้าฉันทำงานอยู่ฉันจะรับโทรศัพท์ไม่ได้ เพราะฉะนั้นไว้ค่อยคุยกันหลังฉันเลิกงานนะ”
    • ถ้าเพื่อนล้ำเส้น คุณต้องบอกเพื่อนไปตามตรง เช่น พูดว่า “ฉันยินดีจะช่วยเหลือเธอทุกอย่างที่ฉันทำได้ แต่ก็อย่างที่ฉันบอกไปแล้วนั่นแหละว่าเรื่องนั้นฉันช่วยเธอไม่ได้”
    • สังเกตความรู้สึกของตัวเองและบอกให้เพื่อนรู้ถ้าคุณอยากพักสักหน่อย เช่น พูดว่า “ฉันก็อยากช่วยเธอนะ แต่ตอนนี้ฉันเองก็ไม่ไหวเหมือนกัน ไว้เราค่อยคุยกันพรุ่งนี้ได้ไหม”

    เคล็ดลับ: ถ้าคุณเองก็อยากจะช่วยเพื่อนแต่รู้สึกไม่ไหวจริงๆ ลองให้เพื่อนหันไปพึ่งพาแหล่งความช่วยเหลืออื่นๆ เช่น ถ้าเพื่อนรู้สึกแย่จริงๆ และอยากจะคุยกับใครสักคน ลองให้เขาติดต่อไปที่ “สายด่วนสุขภาพจิต” ที่เบอร์ 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้คุณยังสามารถแนะนำให้เขาโทรศัพท์ไปที่สะมาริตันส์ ประเทศไทย สายด่วนที่พร้อมรับฟังทุกปัญหาโดยอาสาสมัครจากหลากหลายอาชีพที่ผ่านการฝึกอบรมทักษะฟังด้วยใจ ที่พร้อมจะรับฟังเพื่อนอย่างตั้งใจและเข้าใจแน่นอน โดยสามารถโทรไปได้ที่หมายเลข 02-713-6793 ทุกวัน 12.00 - 22.00 น.

  8. 8
    ดูแลตัวเอง เพื่อชดเชยพลังงานทางอารมณ์ที่เสียไป. คุณไม่สามารถเทน้ำออกจากถ้วยเปล่าได้ เพราะฉะนั้นคุณจึงต้องหมั่นดูแลตัวเองระหว่างที่คุณพยายามช่วยเยียวยาเพื่อนด้วยเช่นกัน ทำในสิ่งที่คุณชอบและหล่อเลี้ยงหัวใจเพื่อเติมพลังงานทางอารมณ์ให้เต็ม [18] แบ่งเวลาในแต่ละวันอย่างน้อย 30 นาทีเพื่อทำในสิ่งที่คุณชอบและช่วยให้คุณผ่อนคลาย เช่น :
    • ออกไปเดินเล่น
    • แช่อ่างอาบน้ำนานๆ
    • ทำงานอดิเรกที่คุณชอบ เช่น ถักนิตติ้ง ระบายสี หรือเล่นวิดีโอเกม
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ช่วยให้เพื่อนข้ามผ่านมันไปให้ได้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ช่วงนี้เพื่อนอาจจะไม่ได้รู้สึกดีกับตัวเองมากนัก เพราะฉะนั้นการเตือนเพื่อนว่าเขาเป็นคนที่เข้มแข็งและพิเศษมากแค่ไหนจึงอาจช่วยเพื่อนได้ บอกเพื่อนว่ามีคุณสมบัติอะไรในตัวเขาที่คุณชื่นชมบ้าง และบอกเพื่อนว่าคุณสมบัติเหล่านี้แหละคือทั้งหมดที่เพื่อนต้องมีเพื่อที่จะผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปให้ได้ [19]
    • คุณอาจจะเขียนรายการคุณสมบัติที่ดีที่สุดในตัวเพื่อน แค่นี้ก็อาจจะช่วยให้เพื่อนร่าเริงขึ้นมาได้บ้าง
    • เขียนตัวอย่างที่เฉพาะเจาะจงว่าทำไมคุณถึงคิดว่าเพื่อนเป็นคนเข้มแข็ง เตือนให้เพื่อนนึกถึงสิ่งอื่นๆ ที่เพื่อนเคยรับมือกับมันมาแล้วในชีวิต และบอกเพื่อนว่าคุณภูมิใจกับวิธีการรับมือของเขามากแค่ไหน
  2. ถ้าเพื่อนเคยชินกับการทำทุกสิ่งทุกอย่างกับคนที่ไม่ได้อยู่ในชีวิตของเขาแล้ว เช่น แฟนเก่า เพื่อนก็อาจจะรู้สึกว่าเขาต้องการคนๆ นั้นในชีวิตเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ ช่วยให้เพื่อนตระหนักได้ว่าเขาสามารถที่จะมีชีวิตที่มีความสุขได้โดยไม่ต้องมีคนๆ นี้ด้วยการสนับสนุนให้เขาทำสิ่งต่างๆ กับเพื่อนๆ หรือทำคนเดียว [20]
    • วิธีนี้อาจจะเป็นการช่วยเพื่อนหางานอดิเรกใหม่ๆ ที่จะไม่ทำให้เขานึกถึงแฟนเก่า หรือช่วยให้เพื่อนได้รู้จักกับเพื่อนใหม่ ถ้าคนส่วนใหญ่ที่เพื่อนเคยใช้เวลาด้วยเป็นเพื่อนกับแฟนเก่าของเขา ลองแนะนำคนใหม่ๆ ที่ไม่รู้จักแฟนเก่าของเพื่อนให้เพื่อนรู้จัก
    • ถ้าเพื่อนมีงานอดิเรกหรือกิจกรรมที่เขาเคยชอบทำ คุณต้องสนับสนุนให้เพื่อนวุ่นอยู่กับสิ่งนั้น วิธีนี้จะช่วยให้เพื่อนไม่มัวไปคิดวนเวียนอยู่กับการเลิกรา [21]
  3. กิจกรรมที่ต้องออกแรงสามารถทำให้จิตใจกระชุ่มกระชวยได้ เพราะฉะนั้นพยายามให้เพื่อนได้เคลื่อนไหว จะเป็นการออกกำลังกายแบบไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเล่นกีฬาเป็นเรื่องเป็นราวหรือแค่ทำโน่นทำนี่ไปเรื่อยเปื่อย เท่านี้ก็ช่วยให้เพื่อนรู้สึกดีได้แล้ว [22]
    • คุณอาจจะชวนเพื่อนมาเข้าคลาสออกกำลังกายด้วยกันกับคุณก็ได้
    • ถ้าคุณไม่สามารถโน้มน้าวให้เพื่อนออกมาทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมากๆ ได้ ลองดูว่าเพื่อนยอมออกมาเดินเล่นกับคุณไหม
  4. สนับสนุนให้เพื่อนขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ. ถ้าเพื่อนของคุณมีปัญหาในการรับมือกับหัวใจที่แตกสลายมากเป็นพิเศษ สนับสนุนให้เพื่อนไปปรึกษานักจิตบำบัด เพราะผู้เชี่ยวชาญอาจจะสามารถให้ความช่วยเหลือและการสนับสนุนที่คนที่เขารักไม่สามารถให้ได้ [23]
    • เรื่องนี้สำคัญมากเป็นพิเศษหากเพื่อนรู้สึกอยากฆ่าตัวตายหรือเริ่มจะมีพฤติกรรมทำลายตัวเอง เช่น เสพยาเสพติดหรือทำร้ายตัวเอง เพื่อนของคุณต้องการความช่วยเหลือ เพราะฉะนั้นคุณต้องให้เพื่อนได้รับความช่วยที่จำเป็นกับเขา!
    • กลุ่มสนับสนุนก็อาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งแล้วแต่ว่าหัวใจที่แตกสลายที่เพื่อนกำลังรับมืออยู่นั้นเป็นเรื่องอะไร วิธีนี้จะทำให้เพื่อนมีโอกาสที่จะได้พูดคุยกับคนอื่นๆ ที่รู้ดีว่าเพื่อนกำลังเผชิญอยู่กับอะไร
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ป้องกันพฤติกรรมทำลายตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเพื่อนเพิ่งเลิกรากับแฟน เขาก็อาจจะคันปากอยากเล่าเรื่องไม่ดีเกี่ยวกับแฟนเก่าหรือพล่ามลงในโซเชียลมีเดีย ซึ่งไม่เป็นประโยชน์กับเพื่อนเลย พยายามโน้มน้าวให้เพื่อนออกห่างจากโซเชียลมีเดียบ้างและเก็บรายละเอียดเรื่องความสัมพันธ์ไว้เป็นเรื่องส่วนตัว วิธีนี้ยังช่วยให้เพื่อนไม่ไปเห็นว่าแฟนเก่าและ/หรือเพื่อนๆ โพสต์อะไรเกี่ยวกับการเลิกราบ้าง [24]
    • การจำกัดเวลาการใช้เทคโนโลยียังเป็นวิธีที่เหมาะกับหัวใจที่แตกสลายในแบบอื่นๆ ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีคนอื่นมาแสดงความเสียใจกับเพื่อนๆ อย่างล้นหลามจนเขารับไม่ไหว
  2. กิจกรรมบางอย่างมีแต่จะยิ่งทำให้ความเจ็บปวดของเพื่อนเลวร้ายลง เพราะฉะนั้นพยายามระบุนิสัยทำลายตัวเองที่ทำให้เพื่อนรู้สึกแย่และห้ามปรามไม่ให้เพื่อนทำสิ่งนั้น บอกให้เพื่อนรู้ว่าคุณรู้สึกอย่างไรกับสิ่งเหล่านี้และสนับสนุนให้เพื่อนเลิกพฤติกรรมนั้น [25]
    • คุณต้องห้ามปรามไม่ให้เพื่อนไประรานแฟนเก่าหลังจากเลิกกัน ถ้าเพื่อนโทรไปหาแฟนเก่าบ่อยๆ หรือถามทุกคนที่รู้จักว่าแฟนเก่าเป็นยังไงบ้าง บอกให้เพื่อนรู้ว่าคุณเป็นห่วง
    • ถ้าเพื่อนเพิ่งตกงาน ห้ามปรามไม่ให้เพื่อนอ่าน (หรือโพสต์) ความคิดเห็นที่ไม่ดีเกี่ยวกับบริษัทเก่าในอินเทอร์เน็ต
  3. เวลาที่เรากำลังเผชิญกับช่วงเวลาแย่ๆ เราอาจจะเผลอละเลยสุขภาพไปได้ง่ายๆ เพราะฉะนั้นอย่าให้เพื่อนเป็นแบบนี้ ถ้าคุณสังเกตว่าเพื่อนนอนไม่พอ รับประทานอาหารไม่เหมาะสม หรือเริ่มจะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเสพยาเสพติด แสดงออกให้เขารู้ว่าคุณเป็นห่วงและสนับสนุนให้เพื่อนหันมาทำในสิ่งที่ดีต่อสุขภาพมากกว่า [26]
    • ถ้าคุณสังเกตเห็นพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้จับเข่าคุยกับเพื่อนอย่างจริงจังแบบ 1 ต่อ 1 เขาอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเขากำลังทำอะไรกับตัวเอง
    • ถ้าคุณเป็นห่วงเพื่อนจริงๆ ให้พูดคุยกับคนอื่นๆ ที่สามารถช่วยให้คุณช่วยเพื่อนได้ เรื่องนี้สำคัญมากเป็นพิเศษหากเพื่อนของคุณเป็นผู้เยาว์ พ่อแม่ของเขาต้องรู้เรื่องที่เพื่อนมีพฤติกรรมทำลายตัวเอง
  4. มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยว่าการมีแฟนใหม่ทันทีหลังจากการเลิกรานั้นเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ ถ้าเพื่อนของคุณรีบมีแฟนใหม่ทันทีหลังจากที่เพิ่งเลิกกับแฟนเก่า คุณก็อาจจะคุยกับเพื่อนว่าทำไมเพื่อนถึงอยากมีคนรักใหม่เร็วขนาดนั้น
    • ถ้าเขาพยายามจะเติมที่ว่างที่แฟนเก่าทิ้งเอาไว้ด้วยการไปคบกับคนที่โดยปกติแล้วเพื่อนไม่ได้สนใจด้วยซ้ำ ความสัมพันธ์แบบคนคั่นเวลาก็อาจจะส่งผลร้ายกับเพื่อน (และคนที่เพื่อนเดตด้วย) มากกว่าผลดี [27]
    • แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเพื่อนรู้สึกว่าตัวเองพร้อมที่จะกลับไปเริ่มต้นใหม่และดูเหมือนว่าจะเข้าใจดีว่าเขากำลังมองหาอะไรในตัวคนรัก ความสัมพันธ์ครั้งใหม่ก็อาจจะเป็นสิ่งที่เขาต้องการก็ได้ [28]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าเพื่อนอยากจะพูด ก็ปล่อยให้เพื่อนพูดไป และคุณต้องตั้งใจฟังจริงๆ ด้วย อย่าพูดแทรก
  • คุณอาจจะพบว่าตัวเองกำลังตกที่นั่งลำบากหากเพื่อนของคุณเพิ่งเลิกรากับแฟนและคุณเองก็เป็นเพื่อนกับแฟนเก่าเพื่อนด้วยเช่นกัน คุณต้องคุยกับเพื่อนเรื่องความคาดหวังของเขา เขาจะได้ไม่มาโกรธคุณที่คุณไปคุยกับแฟนเก่าเขาในวันข้างหน้า
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณกลัวว่าเพื่อนอาจจะฆ่าตัวตายหรือเสี่ยงที่จะทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น คุณต้องจัดการกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง โทรศัพท์ไปที่สะมาริตันส์ ประเทศไทย ที่เบอร์ 02-713-6793 เวลา 12.00 - 22.00 น. สายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน 1669
โฆษณา
  1. http://psychcentral.com/blog/archives/2015/06/16/how-to-help-someone-going-through-a-tough-time/
  2. https://www.psychologytoday.com/blog/notes-self/201210/real-stages-grief
  3. http://psychcentral.com/blog/archives/2015/06/16/how-to-help-someone-going-through-a-tough-time/
  4. https://www.psychologytoday.com/blog/notes-self/201210/real-stages-grief
  5. https://www.psychologytoday.com/blog/me-we/201402/4-ways-be-good-friend-during-friends-breakup
  6. https://www.psychologytoday.com/blog/notes-self/201210/real-stages-grief
  7. https://www.psychologytoday.com/blog/me-we/201402/4-ways-be-good-friend-during-friends-breakup
  8. https://psychcentral.com/lib/10-way-to-build-and-preserve-better-boundaries/
  9. https://www.nami.org/Find-Support/Family-Members-and-Caregivers/Taking-Care-of-Yourself
  10. http://psychcentral.com/blog/archives/2011/02/18/10-tips-to-mend-a-broken-heart/
  11. http://psychcentral.com/blog/archives/2011/02/18/10-tips-to-mend-a-broken-heart/
  12. http://www.massgeneral.org/children/news/newsarticle.aspx?id=4358
  13. http://psychcentral.com/blog/archives/2011/02/18/10-tips-to-mend-a-broken-heart/
  14. http://psychcentral.com/blog/archives/2012/11/28/help-on-healing-from-heartbreak/
  15. http://www.massgeneral.org/children/news/newsarticle.aspx?id=4358
  16. http://psychcentral.com/blog/archives/2011/02/18/10-tips-to-mend-a-broken-heart/
  17. http://kidshealth.org/teen/your_mind/relationships/broken_heart.html#
  18. http://psychcentral.com/blog/archives/2012/11/28/help-on-healing-from-heartbreak/
  19. https://www.psychologytoday.com/blog/meet-catch-and-keep/201601/6-things-never-say-friend-dealing-breakup

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,953 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา