ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หลังทำผ้าหรือเสื้อมัดย้อมสำเร็จสวยงามแล้ว ต่อไปก็ต้องล้างน้ำและซักด้วย การล้างน้ำจะขจัดสีย้อมส่วนเกิน ส่วนการซักก็เพื่อให้สีเซ็ตตัว ต่อไปจะได้ไม่สีตกหรือซีดจางเร็ว บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการซักผ้ามัดย้อมให้คุณเอง อาจจะมีเลอะเทอะและเสียเวลาบ้างระหว่างขั้นตอน แต่รับรองว่าคุ้ม โดยเฉพาะตอนเสื้อมัดย้อมสีสวยพร้อมใส่พร้อมโชว์

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ล้างน้ำ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บริเวณที่จะลงมือซักผ้ามัดย้อม แนะนำให้เป็นอ่างล้างจานเป็นต้น เพราะซักล้างด้วยน้ำและน้ำยาล้างจานได้สะดวก ถ้าเป็นอ่างล้างจานก็ดีตรงที่ใหญ่กว่าอ่างล้างหน้า หรือใครมีอ่างซักล้างโดยเฉพาะยิ่งดี ขั้นแรกเราต้องป้องกันสีย้อมเลอะหน้าเคาน์เตอร์จนเป็นคราบซะก่อน โดยปูหนังสือพิมพ์หรือทิชชู่ซับน้ำมันหนาๆ ไว้หลายๆ ชั้น
  2. สีย้อมผ้าเปื้อนแล้วล้างออกยากมาก อาจจะติดมือนานหลายวันเลย ให้ป้องกันไว้ก่อนโดยสวมถุงมือยางหนาๆ ขึ้นมาสูงกว่าข้อมือ และคอยเช็คถุงมือเรื่อยๆ ว่ามีรูรั่วหรือฉีกขาดหรือเปล่า ถ้าจำเป็นก็เปลี่ยนถุงมือคู่ใหม่ก็ได้ [1]
    • ถ้าสุดท้ายแล้วสีย้อมผ้าเลอะมืออยู่ดี ก็ให้ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากนั้นผสมเบคกิ้งโซดากับน้ำเล็กน้อย ให้ได้ paste เหนียวข้น แล้วใช้ paste นี้มาถูมือขจัดคราบ [2]
  3. ต้องแช่ผ้าที่มัดไว้ในสีย้อมนานพอควร กว่าสีจะเซ็ตตัว ยิ่งแช่ผ้าในสีย้อมนานเท่าไหร่ ก็ยิ่งล้างสีส่วนเกินออกง่าย โดยที่ผ้ายังสีสด ลายชัด แนะนำให้แช่ผ้าทิ้งไว้ข้ามคืนยิ่งดี [3]
  4. อย่าเพิ่งแกะผ้าที่ใช้หนังยางมัดไว้ แต่เปิดน้ำเย็นราดเลย ปล่อยน้ำไหลไปจนน้ำใส แปลว่าล้างสีย้อมส่วนเกินแล้ว ขั้นตอนนี้ปกติใช้เวลาประมาณ 2 - 3 นาที แต่บางทีก็นานกว่านั้น เพราะงั้นต้องเตรียมถือผ้ารองน้ำเย็นไว้ 20 - 30 นาที [4]
  5. พอล้างสีย้อมส่วนเกินขั้นแรกแล้ว ก็ถึงเวลาแกะเชือกหรือยางที่มัดผ้าไว้ โดยใช้กรรไกรตัดออกเลย แล้วคลี่ผ้าออก นี่ล่ะนาทีแรกที่จะได้ชื่นชมลายผ้าสวยๆ! [5]
  6. เปิดน้ำอุ่นใส่ผ้ามัดย้อมไปเรื่อยๆ จนน้ำใส ระวังอย่าใช้น้ำร้อนจัดจนลวกมือ ส่วนจะล้างนานแค่ไหนก็แล้วแต่อุณหภูมิของน้ำที่ใช้ ส่วนใหญ่จะประมาณ 5 นาที ไปจนถึงประมาณ 20 นาที
  7. ระหว่างเตรียมเครื่องซักผ้า ถ้ากลัวผ้ามัดย้อมทำหน้าเคาน์เตอร์เลอะสีไปด้วย ให้ปูแรปพลาสติกใสรองไว้เต็มพื้นที่ แล้วค่อยวางผ้าพักไว้ หรือถ้าปูหนังสือพิมพ์/ทิชชู่หนาๆ ไว้ก่อน แล้วค่อยปูแรปพลาสติกได้ยิ่งปลอดภัย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ซักแล้วตากหรืออบแห้ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอาจจะอยากถนอมผ้ามัดย้อมเนื้อผ้าบาง อย่างผ้าไหม หรือเรยอน จนยอมซักมือเอง แต่ผ้าส่วนใหญ่ซักเครื่องได้จะดีกว่า เพราะซักดีมีประสิทธิภาพ ซักสะอาดครบถ้วนอย่างที่ควรจะเป็น เพราะถ้าไม่ซักเอาสีย้อมส่วนเกินออกไป จะทำให้สีตก ลายจางได้
    • ถ้าที่บ้านไม่มีเครื่องซักผ้า ก็ไปซักบ้านญาติหรือบ้านเพื่อนแทน แต่ต้องทำความเข้าใจกันก่อน ว่าคุณจะซักผ้ามัดย้อม อาจจะต้องซักหลายรอบหน่อย หรือถ้ายืมเครื่องใครไม่ได้จริงๆ ก็ต้องใช้บริการร้านซักรีดหรือเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ ลองสอบถามบริษัทหรือร้านก่อนก็ได้ ว่าซักผ้ามัดย้อมได้หรือเปล่า
  2. เปิดเครื่องซักผ้า โดยตั้งค่าให้ซักน้ำเย็นตามปกติ. ก็เหมือนตอนเปิดน้ำราดผ้า ล้างสีส่วนเกิน แนะนำให้ซักผ้ามัดย้อมด้วยน้ำเย็นจัดก่อน เพื่อค่อยๆ ชะล้างสีย้อมส่วนเกินจนสะอาด โดยไม่ทำผ้าสีตก เนื้อผ้าส่วนใหญ่คุณสามารถซักรอบซักธรรมดาจนเสร็จสิ้นได้เลย แต่เสื้อผ้าบางชิ้นก็ต้องอ่านคำแนะนำการดูแลทำความสะอาดที่ป้ายซะก่อน แล้วทำตามอย่างเคร่งครัด [6]
    • ถ้าเป็นผ้าเรยอนหรือผ้าเนื้อบางอื่นๆ ให้เอาผ้าใส่ถุงตาข่ายก่อนซักแบบถนอมผ้า เพื่อไม่ให้เส้นใยเสียหาย ให้ใช้ถุงตาข่ายที่เลอะได้ไม่เป็นไร เพราะสีย้อมจะไปติดได้
  3. ถ้าเป็นเครื่องซักผ้าฝาบน ให้ใช้น้ำยาซักผ้า synthrapol. synthrapol เป็นน้ำยาซักผ้าเฉพาะทาง ใช้ขจัดสีย้อมส่วนเกินจากผ้าได้ดีเป็นพิเศษ น้ำยานี้เข้มข้นมาก ใส่แล้วน้ำจะขึ้นฟอง แนะนำให้ใช้กับเครื่องซักผ้าฝาบนเท่านั้น ให้เติมน้ำยาไปในเครื่องซักผ้า 1 - 2 ช้อนโต๊ะ (15 - 30 มล.) ถ้าสีย้อมเยอะเป็นพิเศษ อยากซักให้สะอาด ก็เพิ่มเป็น ¼ ถ้วยตวง (ประมาณ 120 มล.) ได้ [7]
  4. ถ้าเป็นเครื่องซักผ้าฝาหน้า ให้ใช้น้ำยาซักผ้าทั่วไป. ถ้ากลัวฟองฟ่อดออกมาจากเครื่องซักผ้าฝาหน้า ให้ใช้น้ำยาซักผ้าทั่วไป โดยใส่ในปริมาณเหมือนซักผ้าตามปกติ แต่อาจจะต้องซักซ้ำ 2 - 3 ครั้ง ถ้าใช้น้ำยาธรรมดา [8]
  5. อย่าซักผ้าในเครื่องมากชิ้นเกินไป แน่นอนว่าต้องซักผ้ามัดย้อมด้วยกันทั้งหมดป้องกันสีตกใส่ผ้าอื่น แต่อย่าลืมเผื่อที่ว่างในเครื่องซักผ้าไว้ด้วย จะได้ซักผ้าล้างสีส่วนเกินได้สะอาด ไม่ใช่กลายเป็นแช่ผ้าใน “น้ำขุ่น” [9]
    • ถ้ากลัวผ้ามัดย้อมสีตกใส่กันในเครื่อง ก็ซักทีละชิ้นแทน
  6. แนะนำให้ซักผ้ามัดย้อมแยกจากเสื้อผ้าทั่วไป ต่ออีก 2 - 3 รอบ ส่วนใหญ่ผ้ามัดย้อมต้องซักอย่างน้อย 1 - 2 ครั้ง กว่าจะล้างสีย้อมส่วนเกินได้หมด ทุกครั้งให้ใส่น้ำยาซักผ้า synthrapol หรือน้ำยาซักผ้าทั่วไป แล้วแต่ประเภทของเครื่องซักผ้า
  7. คอยเช็คสีของน้ำตอนซักน้ำสุดท้าย (rinse cycle) ว่ายังเหลือสีย้อมตกค้างไหม. ช่วงซักน้ำท้ายๆ ให้เช็คสีของน้ำว่าผ้ามัดย้อมสะอาดหรือยัง โดยเปิดฝาเครื่องซักผ้า (หรือถ้าเป็นประตูกระจก ก็ส่องดูได้เลย) ระหว่าง rinse cycle เพื่อเช็คสีของน้ำ ถ้าน้ำใส ไม่ขุ่นด้วยสีย้อมผ้า ก็แปลว่าเรียบร้อยแล้ว แต่ผ้าบางชนิดก็ต้องซักในน้ำอุ่น 2 - 3 ครั้ง กว่าน้ำซักผ้าจะใส [10]
  8. ผ้าแต่ละประเภทจะอบในเครื่องแบบไหนก็ต่างกันไป อย่างถ้าผ้าคอตตอน อาจจะหดนิดหน่อยในครั้งแรกที่เอาเข้าเครื่องอบผ้าจนเสร็จ ส่วนผ้าเนื้อบาง ขาดง่าย ก็ต้องตั้งค่าแค่ tumble-dry (ไม่ร้อนมาก) ยังไงให้อ่านแท็กติดเสื้อก่อน จะได้อบผ้าถูกวิธี [11]
    • ถ้ากลัวผ้าเสียผ้าหด แนะนำให้ตากผ้าแทนการอบผ้าในเครื่องจะดีกว่า
  9. พอล้างสี ซัก และอบผ้ามัดย้อมแล้ว ก็พร้อมใส่ ถ้าถึงเวลาต้องซักผ้าใหม่ ก็ใส่รวมกับผ้าที่จะซักตามปกติได้เลย ก็ซักแล้วอบไปตามปกติ โดยใช้น้ำยาซักผ้ากับแผ่นอบผ้าตามปกติ และทำตามขั้นเฉพาะของแต่ละเนื้อผ้า
    • ถ้ากลัวผ้าสีสันสดใสจะซีดจาง ให้ซักผ้ามัดย้อมด้วยน้ำเย็น รวมกับผ้าอื่นๆ ที่สีสดเหมือนกัน โดยใช้น้ำยาซักผ้าสำหรับผ้าสีโดยเฉพาะ เพื่อยืดอายุการใช้งาน สีไม่ซีดจางเร็ว
    โฆษณา

คำเตือน

  • ทำใจว่าผ้ามัดย้อม พอนานไปก็สีจางลงเป็นธรรมดา เหมือนผ้าทุกประเภท ที่พอซักซ้ำๆ สุดท้ายสีก็จะไม่สดเท่าเดิม แต่ก็จะสีซีดจางช้าลง ถ้าใช้น้ำยาซักผ้าสูตรถนอมผ้า ป้องกันสีซีดสีตก
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ทิชชู่หนาๆ หรือหนังสือพิมพ์
  • ถุงมือยาง
  • แรปพลาสติกใส
  • อ่างล้างจาน
  • เครื่องซักผ้า
  • ถุงมือแบบใช้แล้วทิ้ง
  • น้ำยาซักผ้า Synthrapol
  • น้ำยาซักผ้าทั่วไป

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 14,268 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา