ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ทุกสิ่งทุกอย่างมีอยู่บนอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นหนัง เพลง โปรแกรม หนังสือ ภาพถ่าย และอื่นๆ อีกมากมาย และถ้าคุณอยากได้ วิธีการก็ง่ายแสนง่าย เพราะวิธีการดาวน์โหลดไฟล์เหล่านี้แบบฟรีๆ มีอยู่มากมาย และการโหลดบิทก็เป็นวิธีการที่เรียกได้ว่าได้รับความนิยมสูงสุดเลยทีเดียว

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การดาวน์โหลดไฟล์ทอเรนท์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เว็บไซต์ที่มีไฟล์ทอเรนท์ให้คุณเลือกนั้นมีอยู่มากมาย แต่ก็มีบางเว็บที่น่าเชื่อถือกว่าสักหน่อย เว็บบิททอเรนท์ แทรคเกอร์หลักๆ แล้วมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ เว็บบิทสาธารณะและเว็บบิทส่วนตัว
    • เว็บบิทสาธารณะเป็นเว็บที่ทุกคนสามารถเข้าใช้ได้ คุณสามารถพบเว็บไซต์เหล่านี้ได้เมื่อพิมพ์ค้นหาเว็บบิทบนอินเตอร์เน็ต แต่เพราะเป็นเว็บสาธารณะ ไฟล์ทอเรนท์จำนวนมากจึงถูกเจ้าของลิขสิทธิ์ตรวจพบ และการดาวน์โหลดอาจทำให้ต้องรับผิดตามที่ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตกำหนดด้วยเช่นกัน
    • สำหรับเว็บแทร็คเกอร์ประเภทส่วนตัวนั้นจำเป็นต้องมีคนเชิญให้เข้าร่วม คุณจึงไม่สามารถเข้าใช้ได้จนกว่าจะมีสมาชิกคนอื่นเชิญคุณเข้าไป อีกทั้งยังมักมีข้อกำหนดต่างๆ เช่น ต้องแชร์ไฟล์ในขนาดเท่ากับที่คุณดาวน์โหลด แต่เว็บบิทส่วนตัวจะมีโอกาสได้รับจดหมายแจ้งยุติหรือระงับการใช้งานจากเจ้าของลิขสิทธิ์น้อยกว่า
  2. เว็บบิทสาธารณะส่วนใหญ่จะมีทั้งละคร หนัง อัลบัมเพลง และเกมให้คุณเลือก รวมถึงไฟล์เก่าๆ ที่ได้รับความนิยม
    • ใช้ตัวย่อยอดนิยมเพื่อค้นหาไฟล์ที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณอยากได้ละครตอนที่ 2 จากซีซั่นที่ 3 ให้ลองค้นหาด้วยคำว่า <ชื่อละคร> s03e02
  3. เพราะความเร็วในการดาวน์โหลดไฟล์ทอเรนท์จะขึ้นอยู่กับจำนวนผู้แจกไฟล์ (seeder) ที่มีอยู่บนเว็บ ผู้แจกไฟล์ คือผู้ใช้ที่มีไฟล์เต็มพร้อมให้คุณดาวน์โหลดนั่นเอง
    • เว็บบิทส่วนใหญ่จะมีฟีเจอร์ให้คุณค้นหาผลลัพธ์จากจำนวนผู้แจกไฟล์ได้ ดังนั้น ให้มองหาไฟล์ที่มีผู้แจกจำนวนมากเข้าไว้ เพราะนอกจากจะดาวน์โหลดได้เร็วขึ้นแล้ว ยังช่วยลดโอกาสที่ไฟล์จะเป็นของปลอมหรือติดไวรัสได้อีกด้วย
    • จำนวนของผู้รับไฟล์ (leecher) มีผลต่อความเร็วในการดาวน์โหลดด้วยเช่นเดียวกัน ผู้รับไฟล์ คือผู้ใช้งานที่กำลังดาวน์โหลดไฟล์ โดยไม่แจกไฟล์ด้วยในเวลาเดียวกัน ผู้รับไฟล์จะกลายเป็นผู้แจกทันทีเมื่อการดาวน์โหลดเสร็จสมบูรณ์ แต่ถ้าจำนวนผู้รับไฟล์มีมากกว่าผู้แจกค่อนข้างมากล่ะก็ แบนด์วิดท์ที่คุณได้รับจะน้อยลงตามไปด้วย และทำให้ดาวน์โหลดไฟล์ได้ช้าลง
  4. เลือกไฟล์ทอเรนท์ดีๆ โดยเปรียบเทียบขนาดกับคุณภาพ. ข้อนี้สำคัญมากโดยเฉพาะกับไฟล์วิดีโอ เพราะการบีบอัดจะมีผลต่อคุณภาพ ภาพและเสียงในไฟล์ขนาดเล็กจึงมักมีคุณภาพด้อยกว่าวิดีโอเดียวกันที่มีขนาดใหญ่กว่า
    • ในอีกด้านหนึ่ง การดาวน์โหลดไฟล์ขนาดใหญ่อาจใช้เวลามากกว่าค่อนข้างมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเครือข่ายของคุณ
    • อ่านความคิดเห็นให้มากที่สุด เพื่อดูว่าผู้ใช้รายอื่นคิดว่าคุณภาพไฟล์ดีและคุ้มค่ากับการเสียเวลารึเปล่า โดยเว็บบิทบางแห่งจะมีระบบให้คะแนน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถโหวตได้ว่าไฟล์นั้นๆ ดีรึเปล่า
  5. ไฟล์ลักษณะนี้จะต่างจากไฟล์ทอเรนท์ตามมาตรฐานทั่วไปเล็กน้อย เพราะจะอาศัยการจับคู่ข้อมูลจากค่าเอกลักษณ์ที่สามารถเข้าถึงได้โดยไม่จำเป็นต้องมีแทรคเกอร์ตัวกลาง ลิงก์แม่เหล็กเป็นเพียงข้อความง่ายๆ และทำให้คุณไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดไฟล์ทอเรนท์ [1]
  6. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณสามารถเปิดดูเนื้อหาได้. เว็บบิทสามารถใช้ในการส่งต่อไฟล์ชนิดใดก็ได้ ด้วยเหตุนี้ ไฟล์ที่คุณดาวน์โหลดจึงอาจเป็นไฟล์ที่คุณไม่คุ้นเคย คุณจึงควรอ่านคำแนะนำไฟล์เพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีโปรแกรมที่จำเป็นสำหรับใช้อ่านไฟล์หลังจากที่ดาวน์โหลดมาแล้ว
    • โปรแกรม VLC Player เป็นเครื่องเล่นมีเดียที่ไม่จำกัดการใช้งาน จึงสามารถเล่นไฟล์มีเดียชนิดใดก็ได้ที่คุณดาวน์โหลดมา
    • ไฟล์ ISO เป็นไฟล์ภาพ และจำเป็นต้องนำไปเบิร์นหรือติดตั้งลงในไดรฟ์เสมือนเพื่อเปิดดู
  7. เพราะไฟล์ทอเรนท์ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในพื้นที่สีเทาทางกฎหมาย จึงไม่มีการกำกับดูแลชนิดของไฟล์ที่นำมาแจก นั่นหมายความว่า แฮกเกอร์อาจจะฝังไวรัสลงไปในไฟล์ทอเรนท์ที่ตั้งใจให้กระจายไปสู่ผู้ใช้รายอื่น โดยไฟล์ประเภทนี้มักปรากฏอยู่ในรายการค้นหายอดนิยมเพื่อหาเหยื่อให้ได้มากที่สุด
    • สแกนหาไวรัสในไฟล์ทั้งหมดที่ดาวน์โหลดมา
    • พยายามดาวน์โหลดไฟล์ที่ปล่อยจากแหล่งที่น่าเชื่อถือในกลุ่ม
    • อย่าลืมตรวจสอบความคิดเห็นและคะแนนทุกครั้ง เพื่อดูว่ามีใครโดนไวรัสจากไฟล์ทอเรนท์นั้นๆ รึเปล่า
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การดาวน์โหลดเนื้อหา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ระบบแชร์ไฟล์งานระหว่างผู้ใช้ (BitTorrent Protocol) ทำให้คุณสามารถแลกเปลี่ยนหรือแจกจ่ายข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องมีเซิร์ฟเวอร์ตัวกลางเข้ามาเข้าข้องเกี่ยว ทำให้คุณสามารถดาวน์โหลดข้อมูลจากผู้ใช้รายอื่น (ผู้แจกไฟล์) ได้โดยตรง แต่คุณต้องมีโปรแกรมไคลเอนท์เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับแม่ข่าย (host) และดูแลการดาวน์โหลด โปรแกรมไคลเอนท์ฟรีมีอยู่มากมายบนอินเตอร์เน็ต ตัวอย่างโปรแกรมฮิตๆ ได้แก่
    • µTorrent
    • Vuze
  2. ไฟล์ทอเรนท์ที่ดาวน์โหลดมาจากเว็บบิทจะมีขนาดเล็กมาก โดยมักมีขนาดเพียงไม่กี่กิโลไบต์ (KB) เท่านั้น แต่ไฟล์ตัวนี้จะไม่มีเนื้อหาที่คุณกำลังดาวน์โหลด เพราะเพียงทำหน้าที่เป็นตัวนำทางในการดาวน์โหลดค่าต่างๆ ของไฟล์จากไคลเอนท์อื่นเท่านั้น โดยให้ใช้โปรแกรมไคลเอนท์สำหรับบิททอเรนท์ที่ติดตั้งในขั้นตอนก่อนหน้านี้เพื่อเปิดไฟล์
    • โปรแกรมไคลเอนท์ของคุณมักจะถูกตั้งค่ามาให้เปิดไฟล์ทอเรนท์โดยอัตโนมัติ แต่ถ้าไม่ล่ะก็ คุณสามารถลากไฟล์ทอเรนท์เข้าไปในหน้าต่างโปรแกรมไคลเอนท์เพื่อเพิ่มลงในคิวดาวน์โหลดได้เลย
  3. ขั้นตอนนี้จะขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของโปรแกรมไคลเอนท์ที่คุณใช้ โปรแกรมอาจถามว่าคุณต้องการเก็บไฟล์ที่ดาวน์โหลดไว้ในตำแหน่งใดเมื่อกดเปิดไฟลทอเรนท์ โดยให้เลือกตำแหน่งที่คุณสามารถจดจำได้
  4. คุณสามารถตรวจสอบความคืบหน้าของการดาวน์โหลดได้ในโปรแกรมไคลเอนท์ ไคลเอนท์ส่วนใหญ่จะมีฟีเจอร์ให้คุณดูจำนวนผู้แจกไฟล์ที่คุณเชื่อมต่อถึงได้ และจะดาวน์โหลดด้วยความเร็วสูงสุดที่เครือข่ายของคุณเอื้ออำนวยให้โดยอัตโนมัติ
    • การดาวน์โหลดหลายไฟล์ในคราวเดียวจะทำให้ความเร็วในการโหลดแต่ละไฟล์ช้าลง
    • ถ้าไม่อยากใช้แบนด์วิดท์ทั้งหมดไปกับการดาวน์โหลด คุณสามารถคลิกขวาที่ไฟล์ในหน้าต่างไคลเอนท์ และเลือก "Bandwidth Allocation" (คำจะต่างกันไปในแต่ละไคลเอนท์) ในหน้าต่างนี้ คุณจะสามารถจำกัดความเร็วในการดาวน์โหลดและอัพโหลดได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในกรณีที่คุณอยากสตรีมหนังรอในระหว่างที่กำลังดาวน์โหลดไฟล์
  5. ถ้าคุณเจอปัญหายุ่งยากซึ่งทำให้เชื่อมต่อกับผู้ปล่อยไฟล์ได้ไม่พอที่จะดาวน์โหลดไฟล์ คุณสามารถลองเพิ่มแทรคเกอร์ในการโหลดบิทดูได้ แต่อย่าเผลอนำวิธีนี้ไปใช้กับแทรคเกอร์ส่วนตัวเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้โดนแบนได้นั่นเอง
    • ค้นหารายชื่อแทรคเกอร์ที่เปิดให้บริการบนอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ที่มีแทรคเกอร์ให้โหลดบิทนั้นมีอยู่มากมาย จากนั้นก็ลงมือคัดลอกรายชื่อแทรคเกอร์ลงคลิปบอร์ด
    • คลิกขวาที่ไฟล์ทอเรนต์ในหน้าต่างไคลเอนท์ เลือก Properties จากในเมนู
    • เลือกแท็บ General คุณจะเห็นรายชื่อแทรคเกอร์ในกล่อง (อาจมีแค่ตัวเดียว) ให้วางรายชื่อที่คัดลอกมาลงในกล่อง อย่าลืมเว้นบรรทัดระหว่างแทรคเกอร์แต่ละตัวที่ใส่ลงไป แล้วจึงกด OK จากนั้นทอเรนท์จะพยายามเชื่อมต่อกับแทรคเกอร์ที่เพิ่มเข้าไปโดยอัตโนมัติ
  6. หลังจากดาวน์โหลดเสร็จเป็นที่เรียบร้อย คุณจะสามารถนำไฟล์ที่ดาวน์โหลดไปใช้ได้ตามปกติ แต่ถ้าคุณทำการย้ายหรือลบไฟล์ คุณจะไม่สามารถแจกไฟล์ได้อีก
    • คุณจะไม่สามารถเปิดใช้ไฟล์ได้จนกว่าการดาวน์โหลดจะเสร็จสิ้น ตัวอย่างเช่น คุณจะไม่สามารถเปิดไฟล์วิดีโอดูได้ก่อนที่ไฟล์จะสมบูรณ์ เพราะไฟล์ที่คุณดาวน์โหลดจะทยอยมาแบบแยกส่วน และไม่ได้มาตามลำดับเสียด้วยสิ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การแจกไฟล์ทอเรนท์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลังจากดาวน์โหลดเสร็จเป็นที่เรียบร้อย ก็ลงมือแจกไฟล์ได้. หลังจากที่คุณดาวน์โหลดเนื้อหาของไฟล์ทอเรนท์ได้ครบเสร็จสรรพแล้ว คุณจะกลายเป็นผู้แจกไฟล์ หรือที่ภาษาฝรั่งเรียกกันว่าซีดเดอร์ การเป็นซีดเดอร์ คือการที่คุณอัพโหลดข้อมูลให้กับไคลเอนท์รายอื่นที่เชื่อมต่อกับเข้ากับแทรคเกอร์
    • แหล่งดาวน์โหลดบิทดำรงอยู่ได้ด้วยการแจกไฟล์ เพราะถ้าไม่มีคนแจกไฟล์ ก็ไม่มีใครสามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้นั่นเอง
  2. รักษาอัตราส่วนระหว่างการอัพโหลด/ดาวน์โหลด (ratio). หากคุณกำลังใช้เว็บบิทส่วนตัว คุณมักจะต้องรักษาอัตราส่วนในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับชุมชนให้อยู่ในระดับบวกเข้าไว้ ซึ่งหมายความว่า อย่างน้อยๆ คุณจะต้องอัพโหลดให้ได้เท่ากับปริมาณที่ดาวน์โหลดมา
  3. เปิดโปรแกรมไคลแอนท์ค้างไว้ให้ทำงานอยู่ในเบื้องหลัง. แพคเกจอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่จะมีความเร็วในการอัพโหลดต่ำกว่าความเร็วในการดาวน์โหลด นั่นแสดงว่าการอัพโหลดเพื่อรักษาค่า Ratio อาจใช้เวลานานกว่าการดาวน์โหลดไฟล์ขนาดเท่ากันมากพอตัว อย่างไรก็ตาม คุณสามารถปล่อยให้โปรแกรมดาวน์โหลดบิททำงานต่อไปในเบื้องหลังได้ในขณะที่คุณทำงานตามปกติ แล้วคุณจะพบว่าเปอร์เซ็นต์การอัพโหลดพุ่งขึ้นโดยไม่รู้ตัวเลยทีเดียว
    • การเปิดโปรแกรมไคลเอนท์ทิ้งไว้ในเบื้องหลังจะไม่มีผลกับการเล่นอินเตอร์เน็ตหรือการประมวลผลบนโปรแกรม Office มากนัก โดยโปรแกรมที่กินเน็ตมากๆ เช่น การสตรีมวิดีโอหรือเล่นเกม อาจจะได้รับประโยชน์จากโปรแกรมดาวน์โหลดบิทก่อนใครอื่น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ในปัจจุบัน มีเว็บค้นหาไฟล์ทอเรนท์ที่ช่วยค้นหาเว็บบิทฮิตๆ ให้คุณได้ ถือว่าช่วยประหยัดเวลาให้คุณไม่ต้องไล่ค้นหาจากแต่ละเว็บด้วยตัวเองได้ดีทีเดียว
  • คำแนะนำหนึ่งที่ได้ผลจริง คือให้ดาวน์โหลดไฟล์ทอเรนท์ที่มีฐานผู้ใช้ขนาดใหญ่เข้าไว้ นั่นหมายความว่า คุณควรดาวน์โหลดเฉพาะไฟล์ทอเรนท์ที่มีผู้ดาวน์โหลดและอัพโหลดเยอะๆ หรือมีให้ดาวน์โหลดมานานพอสวมควร เหตุผลก็คือ คงไม่มีใครอยากปล่อยไฟล์ทอเรนท์ที่ติดไวรัส เพราะไฟล์จะไม่ได้รับความนิยมและไม่มีคนเอาไปปล่อยต่อนั่นเอง เพราะฉะนั้น ให้ระวังไฟล์ทอเรนท์ที่ปล่อยมาแค่ 1 สัปดาห์ และมีคนปล่อยแค่ 1 หรือ 2 คนเข้าไว้
  • เมื่อมองหาไฟล์ทอเรนท์ ให้มองหาไฟล์ที่มีคนแจกหลายๆ คน เพื่อให้โหลดได้เร็วขึ้นนั่นเอง และส่วนใหญ่ เมื่อเสิร์ชหาไฟล์ทอเรนท์ คุณจะสามารถจำแนกผลลัพธ์ตามผู้แจกได้ เพียงคลิกที่คอลัมน์ผู้แจกด้านบน
  • คุณสามารถทิ้งให้โปรแกรมโหลดบิททำงานข้ามคืนเพื่อดาวน์โหลดไฟล์ในขณะที่คุณไม่อยู่หน้าจอคอม หรือจะปิดโปรแกรมและคอมพิวเตอร์เพื่อประหยัดไฟก็ได้เช่นเดียวกัน โปรแกรมโหลดบิทส่วนใหญ่จะมีฟังก์ชันใน Preferences สำหรับเปิดโปรแกรมจากคอมพิวเตอร์ คุณสามารถเปิดหรือปิดฟังก์ชันนี้ได้โดยเปิดหน้าต่าง "Run..." จากปุ่ม Start Menu แล้วพิมพ์ msconfig ลงไป
  • คุณสามารถตั้งค่าฟังก์ชันบนเว็บเบราว์เซอร์เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ลงในโฟลเดอร์ที่กำหนด จากนั้นจึงใช้ฟังก์ชันในโปรแกรมไคลแอนท์เพื่อให้สามารถโหลดบิทได้อัตโนมัติจากโฟลเดอร์เดิมที่เลือกไว้ วิธีการนี้จะทำให้คอมพิวเตอร์ดาวน์โหลดบิทให้โดยอัตโนมัติโดยที่คุณแทบไม่ต้องทำอะไรเลย
  • โปรแกรมดาวน์โหลดบิทส่วนใหญ่จะดาวน์โหลดต่อโดยอัตโนมัติเมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นใหม่ แต่ถ้าโปรแกรมไม่ดาวน์โหลดต่อให้อัตโนมัติ ก็จะมีฟังก์ชันให้เริ่มการดาวน์โหลดต่อ โดยคลิกขวาที่ไฟล์และเลือก Start หรืออาจจะมีปุ่มตรงไหนสักแห่งในหน้าโปรแกรม
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าลืมอัพเดทโปรแกรมป้องกันไวรัสอย่างสม่ำเสมอ เพราะโปรแกรมที่ดาวน์โหลดมาจากแหล่งที่ไม่รู้จักบนอินเตอร์เน็ตอาจเป็นรังของไวรัสตัวร้าย ปัจจุบันมีโปรแกรมไวรัสฟรีมากมายให้คุณเลือก รวมถึงโปรแกรมขั้นเทพ เช่น Microsoft Security Essentials, AVG และ Avast แต่ถ้าบังเอิญติดไวรัสมาแล้วล่ะก็ จงกำจัดมันซะ
  • ในประเทศส่วนใหญ่ การใช้เว็บบิทเพื่อดาวน์โหลดสื่อที่ติดลิขสิทธิ์ถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
  • การดาวน์โหลดบิทอาจทำให้คอมของคุณทำงานช้าลงได้ สเปกคอมที่แนะนำสำหรับแต่ละไคลแอนท์จะแตกต่างกันไป แต่โดยเฉลี่ยแล้วควรจะแรมอย่างน้อย 512 MB และซีพียูอย่างน้อย 1 GHz และต้องมีพื้นที่พอสำหรับไฟล์ที่ต้องการบันทึกด้วยเช่นกัน
  • ในศาลบางแห่ง การดาวน์โหลดข้อมูลผ่านเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ (peer to peer network) เช่น เว็บ BitTorrent ถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
  • เมื่อใช้งานโปรแกรมที่ใช้อินเตอร์เน็ตค่อนข้างมาก อย่าลืมตรวจสอบปริมาณดาต้าที่ใช้ไปแล้ว ถ้าแพคเกจอินเตอร์เน็ตของคุณมีการจำกัดโควตาการใช้งาน (90 GB/เดือน) และอย่าลืมด้วยว่า ไฟล์ทอเรนท์ที่ดาวน์โหลดเสร็จแล้วจะถูกแจกต่อ (อัพโหลดให้คนอื่น) ถ้าคุณเปิดโปรแกรมดาวน์โหลดบิททิ้งไว้ ซึ่งอาจทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ตเกินโควตาโดยไม่รู้ตัว
  • การดาวน์โหลดบิทเป็นสิ่งที่ใช้อินเตอร์เน็ตมากพอตัวจนผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตบางรายส่ายหน้าไม่ยอมรับ ทำให้ขนาดของเส้นทางการรับส่งบิทถูกจำกัด ทำให้ดาวน์โหลดได้ช้าลง หรืออาจทำให้การดาวน์โหลดล้มเหลวไปเลยก็ได้ การเข้ารหัสเส้นทางสามารถแก้ปัญหานี้ได้ แต่ก็อาจได้ผลหรือไม่ได้ผลในกรณีของคุณ
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลดวิดีโอจากทุกเว็บไซต์ได้แบบฟรีๆ
แก้ปัญหาเข้าบางเว็บไม่ได้
หาวันที่เผยแพร่ข้อมูลของเว็บไซต์
ดูว่าใครแชร์โพสต์ของคุณบนเฟซบุ๊ก
แก้ปัญหาเซิร์ฟเวอร์ DNS ไม่ตอบสนอง
เช็คตำแหน่งปัจจุบันใน Google Maps
รู้ความหมายของอีโมจิรูปหัวใจสีดำ
ตั้งชื่ออีเมลให้โดนใจ
เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในคอมพิวเตอร์ Windows
เปิดใช้งานคุกกี้ในเว็บเบราว์เซอร์อินเตอร์เน็ตของคุณ
หาละติจูดกับลองจิจูดใน Google Maps
เว้นวรรคห่างๆ ใน HTML
อิโมจิซ่อนความสยิวที่คนใช้แชตกันมากที่สุด
หา URL ของเว็บไซต์
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,197 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา