ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ลูกยอ หรือเรียกอีกชื่อว่า โนนิ ได้ถูกใช้ช่วยรักษาปัญหาทางสุขภาพมานาน ณ บริเวณแปซิฟิกแล้ว ผู้ที่สนับสนุนให้ทานลูกยอได้อ้างว่าน้ำลูกยอนั้นช่วยได้ตั้งแต่ฟื้นฟูร่างกายที่อ่อนแอไปถึงรักษามะเร็งได้เลยนะ การทำน้ำลูกยอที่บ้านนั้นเพียงแค่ปั่นลูกยอและกรองเอาเมล็ดออกก็พอ หรือคุณจะซื้อน้ำลูกยอสำเร็จรูป หรือแบบที่สกัดออกมาก็ได้ และเมื่อลูกยอเป็นยาสมุนไพรที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะเริ่มดื่ม และถ้าหากรู้สึกว่าได้ผลกระทบทางสุขภาพในด้านตรงข้ามกับที่คิดไว้ ก็ให้หยุดดื่มซะ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

ปั่นน้ำลูกยอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลูกยอดิบจะมีลักษณะที่แข็ง โดยวางลูกยอดิบเอาไว้บนโต๊ะ หลังจากผ่านไปสองสามวัน คุณก็จะเห็นว่าลูกมันเริ่มเป็นสีใส เมื่อลูกยอนิ่มลง ก็แปลว่าพร้อมที่จะใช้แล้วล่ะ [1]
    • น้ำลูกยอก็มีขายเป็นขวด เป็นแบบอบแห้ง เป็นผง หรือเป็นแคปซูลยาด้วยเช่นกัน โดยสามารถนำมาทานได้ทันที และจะได้ไม่ต้องเจอกับรสชาติและกลิ่นที่น่ากระอักกระอ่วนของน้ำลูกยออีกด้วย
  2. ล้างลูกยอแล้วใส่ลงในเครื่องปั่น ใส่น้ำลงไปสักหน่อยเพื่อช่วยในการปั่นด้วยล่ะ ในกรณีนี้ ให้ใส่น้ำเย็นครึ่งถ้วย (120 มล.) แล้วค่อยเพิ่มหากต้องการ ปั่นผลไม้จนกว่าจะได้น้ำผลไม้ที่ออกมาดูข้นเหมือนซอสแอปเปิล [2]
    • ถ้ามันใส่เข้าไปในเครื่องปั่นไม่ได้ จะหั่นลูกยอให้เป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนก็ได้นะ และเพราะลูกยอมีความนุ่มนิ่ม ดังนั้นจะบดด้วยมือเลยก็ได้เช่นกัน
  3. หยิบกระชอนหรือที่กรองออกมา ถือเอาไว้เหนือชามเปล่าหรือกรวยที่วางบนแก้วที่จะเสิร์ฟ เทน้ำลูกยอลงไปในที่กรอง แล้วใช้ไม้พายคนน้ำลูกยอให้ผ่านการกรองลงไป ให้ใช้ไม้พายกวาดเอาน้ำลูกยอที่เหลือในเครื่องปั่นออกมาด้วยล่ะ ทีนี้ที่กรองก็จะดักเมล็ดมันเอาไว้เอง [3]
  4. น้ำลูกยอนั้นก็ยังข้นอยู่ดี ฉะนั้นให้เติมน้ำลงไปเพื่อเจือจางมันและทำให้ดื่มง่ายขึ้นอีกสักหน่อย โดยจะเติมน้ำเท่าไรก็ได้ตามต้องการในชามหรือแก้วพร้อมดื่ม [4]
    • คุณควรดื่มน้ำลูกยอเพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ของถ้วย (60 มล.) ก็พอ ลูกยอลูกเดียวให้น้ำได้มากพอที่จะกินกันสองคนเลยล่ะ ฉะนั้นไม่ต้องลังเลที่จะเติมน้ำเปล่าลงไปหรอก
  5. น้ำลูกยอมีรสชาติที่ไม่อร่อยและรสมันก็แรงด้วย คุณสามารถลดรสชาติของมันด้วยการทำน้ำลูกยอเป็นน้ำปั่นสมูทตี้ไปเลยก็ได้ ตัวอย่างเช่น ปั่นแครอท 0.14 กก. ส้มปอกเปลือกหนึ่งลูก กะทิสองช้อนโต๊ะ น้ำมะพร้าว 240 มล. สับปะรัด 0.11 กก. มะพร้าวขูดสองช้อนโต๊ะ และน้ำแข็งอีกหนึ่งถ้วยเข้ากับน้ำลูกยอที่กรองแล้วหนึ่งช้อนชาดูสิ
    • หรืออาจแค่เทน้ำผลไม้หรือน้ำผึ้งสักนิดลงในแก้วน้ำลูกยอก็ได้ มันอาจกลบรสชาติของน้ำลูกยอไม่ได้ แต่ถ้าดื่มไปหลายๆ ครั้งเดี๋ยวก็ชินเองแหละ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ดื่มน้ำลูกยอให้ปลอดภัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. น้ำลูกยอถือเป็นอาหารเสริมสมุนไพร ทางที่ดีคือควรไปปรึกษากับแพทย์เพื่อความแน่ใจว่าคุณจะดื่มได้อย่างปลอดภัยหรือไม่เสียก่อน น้ำลูกยอถูกกล่าวไว้ว่ามีสรรพคุณมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่มันก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ และอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ ฉะนั้นจึงควรติดต่อกับแพทย์เมื่อคุณรู้สึกได้รับผลกระทบทางลบจากน้ำลูกยอด้วย
  2. ให้เริ่มจากปริมาณสัก 30 มล. แค่แก้วเล็กๆ ต่อการดื่มหนึ่งครั้ง เมื่อเริ่มชินกับมันแล้ว ก็ค่อยเพิ่มปริมาณหรือดื่มอีกชุดในวันเดียวกันได้ โดยอย่าดื่มเกินสามถ้วย (750 มล.) ต่อวันล่ะ [5]
    • สำหรับลูกยอที่สกัดเป็นแคปซูล ก็อย่ากินเข้าไปเกินกว่า 500 มก. ต่อวัน อ่านฉลากด้วยว่าแต่ละเม็ดมีปริมาณสกัดออกมาแค่ไหน
  3. น้ำลูกยอเคยถูกใช้สำหรับการทำแท้งเมื่อนานมาแล้ว แม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าน้ำลูกยอจะทำร้ายตัวอ่อนหรือทารกได้ แต่ปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่า ห้ามทานลูกยอตอนที่กำลังอยู่ในภาวะดังกล่าวเด็ดขาดเลยล่ะ [6]
  4. หยุดดื่มน้ำลูกยอถ้าคุณมีปัญหาเกี่ยวกับตับหรือไต. ใครก็ตามที่มีโรคเกี่ยวกับตับหรือไตก็ไม่ควรทานลูกยอ โพแทสเซียมและส่วนประกอบอื่นๆ ในน้ำลูกยอจะทำให้โรคเหล่านั้นแย่ลงไปอีก ปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางเลือกอื่นซะเถอะ [7]
    • น้ำหนักลดอย่างไร้สาเหตุ อาการเมื่อยล้า และวิงเวียนศีรษะ ถือเป็นอาการหลักๆ ของโรคเหล่านี้ สำหรับโรคตับ ผิวอาจดูออกสีเหลือง ส่วนโรคไตนั้นจะทำให้หน้า มือ และเท้าบวม
  5. เลี่ยงที่จะดื่มน้ำลูกยอถ้าคุณมีปริมาณโพแทสเซียมสูง. ลูกยอเป็นแหล่งโพแทสเซียมชั้นดีสำหรับร่างกายเลยล่ะ การที่มีปริมาณโพแทสเซียมอยู่มาก หรือเป็นโรคโพแทสเซียมในเลือดสูงจะส่งผลกับการเต้นของหัวใจและการสั่งการของกล้ามเนื้อ ถ้าปริมาณโพแทสเซียมในร่างกายเปลี่ยนไป หรือรู้สึกว่าเริ่มมีปัญหา ก็ให้หยุดดื่มซะ [8]
    • อาการที่บ่งบอกว่ามีปริมาณโพแทสเซียมสูงก็รวมถึงความอ่อนแรง ชา มึนหัว เจ็บหน้าอก และใจสั่นด้วย
    โฆษณา

คำเตือน

  • ประโยชน์ทางด้านสุขภาพของลูกยอยังไม่ได้รับการพิสูจน์ ฉะนั้นให้ระมัดระวังตอนที่จะรักษาด้วยสมุนไพร และปรึกษาแพทย์ด้วยนะ
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ลูกยอ
  • เครื่องปั่น
  • ที่กรอง
  • น้ำ

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 18,784 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา