ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณแม่บางคนอาจชื่นชอบหรือจำเป็นต้องปั๊มน้ำนมเก็บสำรองไว้สำหรับป้อนให้ลูกน้อยเมื่อไม่ได้อยู่กับลูก ซึ่งคุณแม่จะต้องเก็บรักษาน้ำนมไม่ให้เสียหรือบูดจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพของทารกได้ การเก็บรักษาน้ำนมแม่ให้คงคุณภาพนานที่สุดสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งโชคดีที่คุณแม่สามารถตรวจสอบความสดใหม่ของน้ำนมได้อย่างง่ายดายด้วยขั้นตอนที่หลายๆ คนต่างคุ้ยเคยกันดี

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ทดสอบการเน่าเสียของน้ำนมแม่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในบางครั้งสีหรือสัมผัสของน้ำนมแม่อาจเปลี่ยนไปซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ตามปกติ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วสีหรือสัมผัสของน้ำนมจะเปลี่ยนไปตามความต้องการสารอาหารที่แตกต่างกันไปตามช่วงเวลาของทารก ดังนั้นลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิมจึงไม่สามารถใช้วัดความสดใหม่ของน้ำนมได้ [1]
    • สีของน้ำนมสามารถเปลี่ยนไปในระหว่างการจัดเก็บหรือแม้กระทั่งในช่วงที่กำลังป้อนน้ำนมให้ทารกได้ ซึ่งตามธรรมชาติแล้วน้ำนมอาจมีสีออกฟ้า ออกเขียว ออกเหลือง หรือแม้แต่ออกน้ำตาล
    • นอกจากนี้น้ำนมแม่ยังอาจเกิดการแยกชั้นออกจนเห็นเป็นส่วนที่ใสๆ และส่วนที่เข้มข้นได้เช่นกัน ซึ่งแม้ว่าจะเป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติและไม่เป็นอันตรายใดๆ แต่แนะนำให้คุณแม่แกว่งน้ำนมเบาๆ เพื่อให้ส่วนที่แยกออกจากกันเข้ากันดีเสียก่อน
  2. โดยส่วนใหญ่แล้วน้ำนมแม่ที่ปั๊มออกมาจะสามารถเก็บรักษาได้มากกว่า 3 วัน ทั้งนี้ทั้งนั้นอายุการเก็บรักษาของน้ำนมแม่อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บรักษา ดังนั้นหลังจากเก็บน้ำนมไว้ในตู้เย็นนานกว่า 3 วันแล้ว คุณแม่ควรลองดมกลิ่นของน้ำนมเพื่อตรวจสอบดูว่าน้ำนมยังคงสดใหม่ดีหรือไม่ [2]
    • ในทำนองเดียวกัน คุณแม่ควรพึงระวังน้ำนมที่ตั้งทิ้งไว้ข้างนอกนานกว่า 3 ชั่วโมงโดยไม่ได้แช่ในตู้เย็นไว้ [3]
    • คุณแม่สามารถตั้งน้ำนมทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องได้ประมาณ 3-6 ชั่วโมงโดยขึ้นอยู่กับความเย็นภายในห้อง หรือหากคุณแม่จัดเก็บน้ำนมไว้ในกระติกเก็บความเย็น น้ำนมจะสามารถเก็บรักษาได้นานถึง 24 ชั่วโมงโดยไม่บูด
  3. น้ำนมแม่ที่มีรสเปรี้ยวจะมีกลิ่นรุนแรงที่เป็นลักษณะเฉพาะเหมือนกับนมวัวที่เปรี้ยว ซึ่งกลิ่นดังกล่าวเป็นเพียงสิ่งเดียวที่จะบอกได้ว่าน้ำนมบูดแล้วหรือไม่
  4. อย่ากังวลกับรสชาติคล้ายเหล็กหรือสบู่ในน้ำนม. คุณแม่บางคนอาจสังเกตเห็นว่าน้ำนมแม่จะเริ่มมีรสชาติที่คล้ายกับสบู่หรือเหล็กหลังจากที่เก็บไว้สักพัก ซึ่งรสชาติดังกล่าวไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าน้ำนมเสียแล้วหรือไม่และทารกโดยส่วนใหญ่มักไม่มีปัญหากับรสชาติดังกล่าว
    • หากทารกไม่ยอมทานน้ำนมแม่ ลองนำน้ำนมไปลวกในน้ำร้อนก่อนจัดเก็บเพื่อป้องกันการเกิดกลิ่นคล้ายเหล็กหรือสบู่ในน้ำนม
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ป้องกันไม่ให้น้ำนมแม่เน่าเสีย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การวางน้ำนมแม่ไว้ในช่องเก็บของข้างประตูตู้เย็นหรือบริเวณใกล้กับประตูตู้เย็นจะทำให้น้ำนมได้รับความร้อนหรือเกิดการแปรปรวนของอุณหภูมิจากการเปิดปิดตู้เย็นอยู่บ่อยครั้ง ในขณะที่พื้นที่ด้านในสุดของตู้เย็นจะมีความเย็นมากขึ้นและสามารถเก็บรักษาน้ำนมแม่ได้นานมากกว่า [4]
  2. แก้ว ถุงเก็บน้ำนมพกพาแบบใช้แล้วทิ้ง หรือถุงเก็บน้ำนมแม่โดยเฉพาะเป็นภาชนะที่เหมาะสำหรับใช้บรรจุน้ำนมแม่มากที่สุด โดยมองหาถุงเก็บน้ำนมที่ทำจากพลาสติกแข็งชนิดพอลิโพรพีลีนหรือพอลิบิวทิลีนแทนแบบพลาสติกอ่อนชนิดโพลีเอทิลีน
    • รวมทั้งอย่าลืมตรวจสอบให้แน่ใจว่าภาชนะอื่นๆ ในตู้เย็นปิดสนิทดีแล้วเช่นกันเพื่อไม่ให้น้ำนมแม่ดูดซับกลิ่นเหม็นจากอาหารอื่นๆ ได้
    • คุณสามารถนำเบคกิ้งโซดาที่เปิดกล่องไว้วางไว้ในตู้เย็นเพื่อดูดซับกลิ่นภายในตู้เย็น [5]
  3. อย่าลืมเขียนวันที่ที่ปั๊มน้ำนมออกมาไว้ข้างภาชนะให้ชัดเจนเพื่อให้คุณแม่เลือกหยิบใช้น้ำนมแม่ที่เก่ากว่าก่อนก่อนที่น้ำนมจะเน่าเสีย โดยคุณอาจติดฉลากไว้ข้างภาชนะแต่ละชิ้นจนครบหรือจะใช้วิธีบรรจุน้ำนมทั้งหมดของสัปดาห์หรือเดือนเดียวกันไว้ในถุงหรือกล่องเดียวกันที่มีฉลากกำกับไว้
  4. หากยังไม่มีความจำเป็นที่ต้องหยิบใช้น้ำนมแม่ภายใน 5-8 วันนี้ คุณแม่ควรนำน้ำนมจัดเก็บไว้ในช่องแช่แข็งให้เหมาะสมโดยบรรจุไว้ในภาชนะที่ปิดแน่นและวางไว้ให้ชิดด้านในสุดของช่องแช่แข็ง น้ำนมแช่แข็งที่นำออกมาละลายแล้วควรทานให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง [6]
    • น้ำนมแม่ที่จัดเก็บไว้ในช่องแช่แข็งสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน 3 เดือนไปจนถึง 1 ปีขึ้นอยู่กับความถี่ในการเปิดปิดช่องแช่แข็ง [7]
    • อย่าละลายน้ำนมแช่แข็งในไมโครเวฟหรือนำไปต้มให้ร้อน โดยให้คุณแม่ใช้วิธีเปิดน้ำอุ่นให้ไหลผ่านน้ำนมแทน
    • น้ำนมแม่ที่ผ่านการแช่แข็งสามารถแยกชั้นออกระหว่างนมและครีมได้ตามปกติ ดังนั้นอย่าลืมแกว่งน้ำนมเบาๆ เพื่อให้ส่วนที่แยกกันเข้ากันดีดังเดิม [8]
  5. ลองนำน้ำนมที่มีรสชาติคล้ายสบู่ไปลวกในน้ำร้อนหากทารกไม่ยอมทาน. หากคุณแม่สังเกตเห็นว่าน้ำนมแม่มีรสชาติที่คล้ายกับสบู่จนส่งผลให้ทารกไม่ยอมทานน้ำนม ให้คุณแม่ลองนำน้ำนมไปลวกในน้ำร้อนให้มีอุณหภูมิประมาณ 82°C (น้ำนมจะเริ่มมีฟองขึ้นมาแต่ยังคงไม่เดือนปุดๆ) หลังจากนั้นจึงทำให้เย็นลงทันทีก่อนจัดเก็บให้เรียบร้อย
    • หากทารกไม่มีปัญหาใดๆ กับรสชาติดังกล่าว คุณแม่ก็ไม่จำเป็นต้องนำน้ำนมไปลวกในน้ำร้อนเพราะจะทำให้สูญเสียสารอาหารบางส่วนไป [9]
    โฆษณา

คำเตือน

  • หากคุณแม่มีอาการป่วยหรือกำลังทานยาในช่วงที่ต้องให้นมบุตร ลองปรึกษาแพทย์ว่าคุณแม่จะสามารถทำการปั๊มน้ำนมเพื่อเก็บสำรองไว้ได้หรือไม่
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 13,174 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา