ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ต้องเล่นละครเวที หนัง หรือหนังสั้นอย่างนั้นเหรอ หรือว่ากะจะแต่งตัวแบบชาร์ลีน ชีนในบทฆาตกรให้สมจริงไปงานฮัลโลวีนกันล่ะ ไม่ว่าเหตุผลของคุณจะเป็นอะไร แต่การแต่งกายแบบ "คนเมายา" ก็เป็นข้ออ้างที่คุณจะได้ทำตัวประหลาดๆ และตลกๆ สักหน่อย และการเล่นบทบาทนี้อย่างสมจริงก็จะยิ่งทำให้คุณเป็นนักแสดงที่มีฝีมือขึ้นไปอีกขั้น แต่อย่างไรก็ตาม จำไว้ว่าขั้นตอนในบทความนี้เป็นเพียง ภาพจำเหมารวมกว้างๆ ที่พบได้บ่อย ที่เป็นเพียงแนวทางที่คุณต้องนำไปปรับใช้เพื่อแสดงบทบาทในแบบของคุณเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ดูเหมือนว่าคุณกำลังเมายา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถือเป็นดวงตาของ "คนขี้ยา" ฉบับคลาสสิก การสูบบุหรี่จะทำให้เส้นเลือดดำในตาขยาย ซึ่งจะทำให้เห็นชัดเจนขึ้นมาก ทำให้ตาดูแดงๆ เพราะมันเป็นลักษณะทั่วไปของคนขี้ยาที่คนจำได้
    • นอกจากนี้คุณยังสามารถนำหอมหัวใหญ่หั่นสดๆ หรือสารสกัดจากเปปเปอร์มินต์มาถูใต้ตาเพื่อให้น้ำตาไหลได้ด้วย ซึ่งก็ทำให้ตาแดงเหมือนกัน
    • พยายามอย่ากระพริบตา มันไม่สนุกหรอก แต่มันจะทำให้ตาแดง
  2. คลายกล้ามเนื้อใบหน้าและร่างกาย ให้มันย้อยลงมาและดูเนือยๆ. เปลือกตาและริมฝีปากของคุณจะย้อยลงมาหาพื้นเล็กน้อยเหมือนกึ่งหลับกึ่งตื่น ทิ้งตัวลงบนเก้าอี้หรืองอตัวเล็กน้อยทุกครั้งที่ยืน คุณจะต้องดูผ่อนคลายสุดๆ
    • ถ้าคุณจ้องมองแบบไร้จุดหมายเป็นเวลานานโดยที่ร่างกายแทบไม่ไหวติง แสดงว่าคุณกำลังเข้าถึงบทบาท
  3. นายไม่ได้รีบร้อนไปไหนเพื่อน เพราะฉะนั้นยุกยิกให้น้อยที่สุด เคลื่อนไหวก็ต่อเมื่อจำเป็นจริงๆ เท่านั้น หนุ่มๆ สาวๆ ที่เมายามักไม่ค่อยอยากทำอะไรที่ไม่จำเป็นต้องทำจริงๆ เท่าไหร่ เพราะฉะนั้นคุณก็ต้องไม่ทำเหมือนกัน เวลาที่เคลื่อนไหว ก็ให้เคลื่อนไหวช้าๆ
    • พยายามไหลไปตามการเคลื่อนไหว เหมือนภาพของพวกฮิปปี้ที่โยกไปมาในการ์ตูนหรือวิดีโอเก่าๆ
  4. จินตนาการว่าลำคอและปากของคุณแห้งผากเหมือนที่คนสูบบุหรี่เป็นประจำหลายคนเป็น ลดเสียงลงต่ำให้อยู่ในระดับเสียงเบสและเค้นเสียงให้ฟังดูแหบแห้งเล็กน้อย
  5. มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบสักถุงหรือโอรีโอสักกล่องเป็นอุปกรณ์เสริมที่เหมาะกับหนุ่มเมายามากๆ พยายามหาอะไรเข้าปากตลอดเวลาไม่หยุด ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมถุงขนมมันฝรั่งและเพรตเซลจึงมักเป็นอุปกรณ์ที่คุณควรถือติดตัวไว้มากที่สุด "ความรู้สึกอยากหาอะไรใส่ปาก" มักจะทำให้อยากกินของเค็มๆ หรือหวานๆ และคนขี้ยาบางคนก็รู้สึกว่ามันควบคุมไม่ได้ การวางขนมไว้ในที่เหมาะๆ กับเคี้ยวหนุบหนับตลอดเวลาจะทำให้คุณเล่นได้สมบทบาทยิ่งขึ้น
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ดูเหมือนว่าคุณเสพยากล่อมประสาท

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จ้องมองบางสิ่งบางอย่างเป็นเวลานานแสนนานด้วยความสงสัย. ยากล่อมประสาททำให้ผู้เสพหลายคนเห็นลวดลาย สีสันใหม่ๆ หรือแม้กระทั่งสิ่งของและผู้คนออกมาจากชีวิตประจำวัน ทำให้โลกทั้งใบเป็นเหมือนสนามเด็กเล่นสุดมหัศจรรย์ การมองโลกรอบตัวราวกับว่าคุณเพิ่งเคยเห็นมันเป็นครั้งแรกและตกตะลึงไปกับสิ่งของรอบข้างที่แวบไปแวบมาคือกุญแจสำคัญของการรับบทคนเสพยากล่อมประสาท
    • ตาเบิกโพลง พยายามมองนั่นมองนี่ให้ได้มากที่สุด
    • ความสงสัยคือหลักการที่เป็นแนวทางในการเล่นบทนี้
  2. จริงๆ แล้วแทบจะไม่มีเรื่องตลกเกิดขึ้นเลย แต่คนที่เสพยากล่อมประสาทจะรู้สึกว่ามันตลก โดยทั่วไปแล้วการหัวเราะแบบนี้แค่ผุดขึ้นมาในหัวของคนที่เสพยากล่อมประสาทเนื่องจากว่าเขาเห็นอะไรเจ๋งๆ ผิวสัมผัสแปลกใหม่ หรือความคิดที่อยู่ๆ ก็แวบขึ้นมาแบบหาที่มาไม่ได้
  3. จับนั่นจับนี่ ลูบผิวสัมผัสต่างๆ ไปมาอย่างเพลิดเพลิน. คนที่เสพยากล่อมประสาทมักจะได้รับข้อมูลทางประสาทสัมผัสมากเกินไป และการจับก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่คนกลุ่มนี้ชอบทำมากที่สุด อย่างไรก็ตามรู้ไว้อย่างหนึ่งว่า คนที่เสพยากล่อมประสาทมักจะไม่ได้จดจ่ออยู่กับประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งในคราวเดียว สิ่งที่คุณลูบไล้มักจะเปลี่ยนสีหรือมีภาพออกมาเป็นรูปร่างอยู่ใต้มือคุณด้วย
    • ย้ำอีกครั้งว่าการแสดงความสงสัยคือกุญแจสำคัญของการเล่นบทนี้ คุณไม่จำเป็นต้องอธิบายว่าคุณเห็นอะไร แค่เคลิบเคลิ้มไปกับมันก็พอ [1]
  4. ดำดิ่งและพูดถึงประสบการณ์และตำแหน่งร่วมของมนุษย์ในจักรวาลเชิงปรัชญา. คนที่เสพยากล่อมประสาทมักจะไม่ค่อยคิดถึงแต่ตัวเอง เพราะว่าเขาอยู่กับโลกภายนอกมากเกินกว่าจะมัวมาหมุกมุ่นกับตัวเองได้ แต่พวกเขามักจะ "เห็น" การเชื่อมโยงระหว่างคนทุกคนและสิ่งมีชีวิตทุกสิ่งที่คนที่ไม่ได้เมายาไม่เห็น เวลาที่คนเสพยากล่อมประสาทพูด เขามักจะพูด "ในเชิงปรัชญา" ที่คนที่ไม่ได้เมายามักจะไม่เข้าใจ :
    • การพูดพล่ามถึงความงามและการเชื่อมโยงระหว่างคุณกับโลกใบนี้ยืดยาวคือลักษณะของคนเสพยากล่อมประสาท
    • ถ้าคุณหมดมุกเชิงปรัชญาที่จะพูดออกมาสดๆ ได้แล้ว ให้หยุดกระทันหันขณะคิด ราวกับว่าคุณอยู่ภายใต้อิทธิพลของความจริงใหม่ที่น่าเหลือเชื่อและอธิบายไม่ได้
  5. ถ้าคุณเป็นนักแสดงจริงๆ คุณอาจจะสร้าง "อาการกลัวภาพหลอน" ปลอมๆ ขึ้นมาพร้อมกับอาการสติแตก. พร้อมเดิมพันทุกอย่างเพื่อสร้างภาพหลอนปลอมๆ ขึ้นมาใช่ไหม ก็ทำให้มันเป็นภาพหลอนที่น่ากลัวสิ! คุณจะต้องเล่นบทสติแตกให้สมจริง และคุณจะต้องจ้องมองไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งแบบตาไม่กระพริบ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของที่ "กลายร่าง" ไปเป็นปีศาจหรือพื้นที่ในจินตนาการที่คุณบอกว่ามัน "เต็มไปด้วยพลังงานอันน่าสยดสยอง" ลักษณะของอาการกลัวภาพหลอนได้แก่ :
    • ตาเบิกโพลงด้วยความกลัว
    • ดจ่ออยู่กับความกังวล ความเครียด หรือความกลัวที่เกิดขึ้นจริงหรือในจินตนาการ
    • เหงื่อแตกพลั่กและลุกลี้ลุกลน
    • คลื่นไส้
    • อยากไปไหนก็ได้ที่ไม่ใช่ตรงนี้
    • ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ (ขยับร่างกายไม่ได้เพราะความกลัว)
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ดูเหมือนว่าคุณเสพ "สารกระตุ้น" (โคเคน ยาบ้า และอื่นๆ)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คนอื่นอาจจะไม่อยากอยู่ใกล้คุณเท่าไหร่ แต่นั่นแหละคือภาระของการแสดง อาการพูดจ้อไม่หยุดมักเกิดขึ้นกับคนที่เสพยาเสพติดที่กระตุ้นพลังงาน เช่น โคเคน เพราะความคิดมันจะพรั่งพรูออกมาเร็วมากจนผู้เสพไม่สามารถพูดออกมาได้ทันกับที่คิด คุณจะพูดอะไรออกมาก็ได้ แค่พูดไปเรื่อยๆ ไม่หยุดก็พอ
  2. เคาะนิ้วและเท้า ลุกขึ้นยืนและเดินไปรอบๆ ทุก 2-3 นาที กลอกตากลับไปกลับมาทั่วห้องแบบควบคุมไม่ได้ คุณต้องรู้สึกเหมือนกับว่ามีพลังงานจำนวนมากสะสมอยู่ข้างในเต็มเปี่ยม คอยเติมพลังให้คุณราวกับเป็นกระต่ายถ่านไฟฉาย Energizer
    • ผู้เสพโคเคนหลายคนรายงานว่าพวกเขาหายใจถี่กว่าปกติ
  3. ถ้าคุณแกล้งทำเป็นว่าคุณเสพยาเข้าไป คุณจะต้องเกาจมูกและเช็ดขี้มูกที่ไหลออกมาตลอดทั้งคืน
  4. เวลาที่พลังงานทั้งหมดมาจากยาเสพติด อาการกระสับกระส่ายจะเปลี่ยนไปเป็นความหงุดหงิดอย่างรวดเร็ว คุณอาจจะตะคอกใส่คนอื่นได้ง่ายๆ หัวเสีย หรือแค่เริ่มแสดงอาการอึดอัดและบิดตัวไปมาบ่อยๆ ซึ่งมักเกิดจากอารมณ์ที่แปรปรวนขั้นรุนแรง ซึ่งจะยิ่งชัดเจนหากเสพในปริมาณมากและเมายาเป็นเวลานาน [2]
  5. เข้าสู่ระยะ "ขาดยา" ชนิดไร้เรี่ยวแรงถ้าคุณไม่ได้ "เติมพลัง" ระหว่างเล่นบทนั้น. สารกระตุ้นมักจะออกฤทธิ์ไม่นาน แต่จะดูดพลังงานของผู้เสพออกไปจนหมดและทำให้เขาซึมเศร้ากว่าตอนเริ่มเสพมากๆ เช่น โคเคนมักจะออกฤทธิ์แค่ 20 นาทีเท่านั้น [3]
    • อาการง่วงเหงาหาวนอน หงุดหงิด และเฉื่อยชาเป็นอาการที่พบได้บ่อยในระยะขาดยา
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ดูเหมือนว่าคุณเสพ "ยาที่ทำให้เคลิ้ม" (ยาเข้าฝิ่น)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำท่าทางเหมือนเด็กทารกที่ง่วงนอนและมีความสุข พูดน้อยและยิ้มแบบง่วงๆ. ยาเสพติดประเภทนี้เป็นยาเสพติดที่พบได้บ่อยที่สุด เป็นอันตรายที่สุด และออกฤทธิ์แรงที่สุด เช่น เฮโรอีน ยาที่ทำให้เคลิ้ม เช่น ยาเข้าฝิ่น มักจะทำให้ผู้เสพเกิดอาการมึนงงอย่างมีความสุข ไม่สามารถและไม่ยินดีที่จะลุกออกจากโซฟาที่ตัวเองนอนอยู่ ผู้เสพมักจะบิดตัวไปมาอย่างมีความสุขราวกับเป็นเด็กทารกที่อยู่ในผ้าห่ม สบายใจและเพลิดเพลินไปกับทุกวินาทีที่อยู่ตรงนั้น
  2. เบิกตากว้างอย่างมีความสุขทันทีที่ได้ "เสพ" ยา จากนั้นก็ค่อยๆ เข้าสู่อาการง่วงซึม. ดูการแสดงระดับปรมาณจารย์ของยวน แม็คเกรเกอร์ในบทบาทของคนติดเฮโรอีนในเรื่อง แก๊งเมาแหลก พันธุ์แหกกฎ เพื่อดูว่าการเปลี่ยนแปลงมันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วแค่ไหน ยาเข้าฝิ่นมักจะออกฤทธิ์แรง ทำให้ผู้เสพรู้สึกเคลิบเคลิ้มอย่างเป็นสุข ก่อนจะเข้าสู่ภาวะสงบ ง่วงซึม และมักจะทำอะไรไม่ได้ [4]
  3. ปล่อยให้คำพูดและการกระทำล่องลอยไปสู่ความว่างเปล่า. คนที่เสพยาเข้าฝิ่นส่วนใหญ่จะเคลิบเคลิ้มอยู่ในม่านหมอก เขาอาจจะคิดอะไรขึ้นมาได้ แต่ไม่สำคัญหรอกว่าจะต้องคิดให้จบ เรียกใครสักคน แต่พอเข้าหันมาก็ไม่มีอะไรจะพูด และพูดเสียงต่ำเบาๆ
  4. เหม่อลอยเป็นประจำด้วยการนอนหลับหรือแค่ตัดขาดจากสิ่งรอบข้าง. แนวคิดรวมๆ ก็คือการติดอยู่ในม่านหมอก ไม่สามารถอธิบายความคิดออกมาได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะทำให้ง่วงนอน และบางครั้งก็เอียงหัวขึ้นมาด้วยความประหลาดใจเล็กน้อยเหมือนว่าเพิ่งตื่นนอน [5]
  5. เกาตลอดเวลา เพราะอาการคันมักเป็นผลข้างเคียงของยาเข้าฝิ่น. ย้ำอีกครั้งว่าอาการนี้มักเกิดขึ้นกับการเสพเฮโรอีนโดยเฉพาะ แต่จริงๆ แล้วยาอย่างออกซิโคนตินก็เป็นสารประกอบชนิดเดียวกัน เพียงแต่ว่าอ่อนกว่านิดหน่อย เกาแขนท่อนล่าง แต่อย่าตั้งอกตั้งใจเกา เพราะมันเป็นแค่อาการหดเกร็งที่ควบคุมไม่ได้ แต่ไม่ได้อาการคันที่รุนแรงมาก [6]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • พยายามแสดงออกให้แนบเนียนกว่าที่คุณคิด ขั้นตอนด้านบนเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกอย่างชัดเจน แต่คนที่เสพยาจริงๆ ส่วนใหญ่มักจะแสดงพฤติกรรมที่ชัดเจนน้อยกว่านี้มาก พิจารณาว่าตัวละครของคุณ "เมายา" มากแค่ไหนในฉากนั้น
  • ถ้าคุณอยากเล่นเป็นคนติดยาเสพติด คุณอาจจะใช้เครื่องสำอางแต่งสะเก็ดแผลบนผิวหนังและทาสีฟันให้ดูน่าขยะแขยงด้วย
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าทำแบบนี้ในที่สาธารณะ เพราะคุณอาจจะซวยหรือคนอื่นอาจจะมองคุณด้วยความสงสัย
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,545 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา