ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ตุ่มพองเกิดจากการที่ผิวหนังชั้นนอก (หนังกำพร้า) แยกตัวออกจากผิวหนังชั้นใน มักมีสาเหตุมาจากการเสียดสีหรือความร้อน รวมถึงโรคผิวหนังและอาการป่วยต่างๆ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดตุ่มพองได้เช่นกัน ภายในตุ่มพองประกอบด้วยของเหลวที่เรียกว่าน้ำเหลืองที่ทำให้ตุ่มพองมีลักษณะเป็นตุ่มน้ำขึ้นมา [1] ตุ่มพองจะหายดีอย่างรวดเร็วเมื่อไม่แตกออกหรือมีน้ำไหลออกมา เนื่องจากชั้นผิวที่ยังไม่ฉีกขาดออกจะช่วยเป็นเกราะป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่บาดแผลและป้องกันการเกิดการติดเชื้อได้ [2] อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งตุ่มพองอาจแตกออกโดยที่คุณไม่ได้ตั้งใจ ตุ่มพองที่แตกหรือฉีกออกจะเกิดเป็นแผลที่เจ็บปวดและสกปรกได้ง่าย รวมถึงต้องการการดูแลเป็นพิเศษเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ คุณสามารถดูแลรักษาตุ่มพองที่แตกออกในช่วงเริ่มแรกได้ด้วยวิธีการง่ายๆ และคอยสังเกตดูเป็นประจำเพื่อให้แน่ใจว่าแผลฟื้นฟูดียิ่งขึ้น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

รักษาตุ่มพองที่แตก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ล้างมือให้สะอาด . ก่อนเริ่มสัมผัสแผล ให้ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำอุ่นและสบู่สูตรอ่อนโยนนาน 20 วินาที
    • การล้างมือให้สะอาดจะช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อตรงบริเวณที่เกิดตุ่มพองได้
  2. เช็ดทำความสะอาดตรงบริเวณที่เกิดตุ่มพองด้วยน้ำเปล่าและสบู่สูตรอ่อนโยน. อย่าขัดถูแรงจนเกินไปเพราะจะทำให้ผิวหนังฉีกขาดมากขึ้น [3]
    • ห้ามใช้แอลกอฮอล์ ไอโอดีน หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองตรงบริเวณผิวหนังที่เปิดออก [4]
  3. พยายามปล่อยให้ตุ่มพองแห้งเองหากเป็นไปได้ หรือจะใช้ผ้าขนหนูซับเบาๆ ก็ได้เช่นกัน หลีกเลี่ยงการถูอย่างรุนแรงเพื่อไม่ให้ผิวหนังฉีกขาดออก [5]
  4. ผิวหนังที่พองขึ้นมาจะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันชั้นผิวที่อยู่ด้านในในขณะที่ร่างกายกำลังสร้างผิวหนังใหม่ขึ้นมาทดแทนก่อนที่จะหลุดลอกออกมาเองในเวลาเพียงไม่นาน หากเป็นไปได้ ให้ปล่อยตุ่มพองไว้โดยไม่ต้องเจาะและพยายามกดให้แบนแนบติดกับชั้นผิวด้านใน [6] [7]
    • หากตุ่มพองเกิดการฉีกขาดหรือมีสิ่งสกปรกอยู่ใต้ชั้นผิวที่พองขึ้นมา คุณอาจจำเป็นต้องตัดผิวหนังที่ฉีกขาดออกเพื่อป้องกันการติดเชื้อและหลีกเลี่ยงไม่ให้ผิวหนังเกิดการฉีกขาดมากขึ้นจนเกิดความเสียหายต่อผิวหนังส่วนที่ดี
    • ก่อนอื่นให้เช็ดทำความสะอาดตรงบริเวณที่เกิดตุ่มพอง จากนั้นนำกรรไกรขนาดเล็ก (ควรเลือกใช้กรรไกรตัดเล็บหรือกรรไกรสำหรับปฐมพยาบาล) มาฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ให้เรียบร้อย (คุณยังสามารถฆ่าเชื้อกรรไกรด้วยวิธีอื่นๆ ได้โดยนำไปแช่ในน้ำร้อนนาน 20 นาทีหรือลนไฟจนกระทั่งเหล็กเปลี่ยนเป็นสีแดงแล้วทิ้งไว้ให้เย็นลง) [8]
    • ตัดเนื้อส่วนที่ตายแล้วออกอย่างระมัดระวังและอย่าตัดจนใกล้กับผิวหนังส่วนที่ดีมากเกินไป จำไว้ว่าการเหลือเนื้อตายไว้เล็กน้อยยังดีเสียกว่าการที่ผิวหนังได้รับบาดเจ็บเพิ่มขึ้น [9]
  5. ยาทาต้านเชื้อแบคทีเรียจะช่วยป้องกันการติดเชื้อที่อาจเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ตุ่มพองแตกออกได้ [10]
    • ยาขี้ผึ้งและครีมต้านเชื้อแบคทีเรียที่มักวางขายตามร้านขายยาทั่วไปคือ Neosporin และ Triple Antibiotic Ointment ซึ่งประกอบด้วยตัวยาสำคัญอย่างนีโอมัยซิน โพลีมัยซิน และแบคซิทราซิน [11]
  6. สำหรับตุ่มพองขนาดเล็ก เพียงปิดแผลด้วยผ้าพันแผลทั่วไปเช่นเดียวกับบาดแผลทั่วไป แต่สำหรับตุ่มพองขนาดใหญ่ คุณอาจจำเป็นต้องใช้ผ้าก๊อซชนิดไม่ติดแผลและปิดทับด้วยเทปแต่งแผล [12]
  7. ใช้พลาสเตอร์แบบพิเศษสำหรับตุ่มพองที่เป็นแผลสดหรือเจ็บปวดเป็นพิเศษ. หากตุ่มพองเกิดการฉีกขาดหรือเกิดขึ้นบนเท้าหรือบริเวณอื่นๆ ที่บอบบาง คุณอาจจำเป็นต้องใช้พลาสเตอร์แบบพิเศษที่ออกแบบสำหรับตุ่มพองโดยเฉพาะ
    • พลาสเตอร์สำหรับตุ่มพองมีให้เลือกมากมายหลายยี่ห้อ ซึ่งพลาสเตอร์ชนิดนี้จะมีแผ่นผ้าก๊อซที่หนาเพื่อช่วยป้องกันผิวหนังที่บอบบาง
    • คุณยังสามารถปิดแผลด้วยแผ่นปิดแผลได้เช่นกัน แผ่นแปะแผลนั้นนุ่มและมีผิวสัมผัสเหมือนผ้าสักหลาด มักมีแถบกาวอยู่ด้านหลัง ให้คุณตัดแผ่นปิดแผลออกเป็น 2 แผ่นให้มีขนาดใหญ่กว่าตุ่มพองเล็กน้อยและนำแผ่นหนึ่งมาตัดเป็นรูตรงกลางให้มีขนาดเท่าๆ กับตุ่มพอง จากนั้นจึงนำแผ่นปิดแผลที่เจาะรูตรงกลางไว้มาติดไว้บนแผลโดยจัดตำแหน่งให้รูอยู่ตรงตุ่มพองพอดีและใช้แผ่นปิดแผลอีกแผ่นหนึ่งที่ตัดเตรียมไว้ติดทับไว้บนแผ่นแรก [16]
    • หลีกเลี่ยงการใช้พลาสเตอร์แบบเหลวโดยเด็ดขาด พลาสเตอร์แบบเหลวจะเหมาะสำหรับรอยบาดหรือแผลฉีกขาดมากกว่า และอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือการติดเชื้อมากขึ้นหากนำไปใช้กับตุ่มพอง [17]
    • หากมีข้อสงสัย ควรสอบถามข้อแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ดูแลตุ่มพองที่แตก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พยายามเปลี่ยนพลาสเตอร์เป็นประจำทุกวันหรือเมื่อพลาสเตอร์เริ่มแฉะหรือสกปรก เมื่อเปลี่ยนพลาสเตอร์ในแต่ละครั้ง ให้คุณทำความสะอาดแผลและปล่อยให้แห้งก่อนทายาฆ่าเชื้อแบคทีเรียซ้ำ [18]
    • ปิดแผลต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งผิวหนังซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ดีแล้ว
  2. จัดการกับอาการคันที่เป็นผลข้างเคียงจากกระบวนการฟื้นฟู. เป็นเรื่องปกติที่ตุ่มพองจะเกิดอาการคันในช่วงที่ร่างกายกำลังสร้างผิวหนังใหม่ขึ้นมาทดแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผิวหนังบริเวณนั้นแห้งตึง อย่างไรก็ตาม คุณควรหลีกเลี่ยงการเกาเมื่อเกิดอาการคันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บกับผิวหนังเพิ่มมากขึ้น วิธีหนึ่งที่จะช่วยลดอาการคันได้คือการเพิ่มความเย็นและชุ่มชื้นตรงบริเวณที่คัน เพียงนำผ้าขนหนูสะอาดแช่ในน้ำแข็งและประคบบนบริเวณที่คัน หรือจะแช่บริเวณที่คันในน้ำเย็นเลยก็ได้เช่นกัน [19]
    • หลังจากนั้นอย่าลืมทำความสะอาด ทายาต้านเชื้อแบคทีเรีย และปิดแผลให้เรียบร้อย
    • หากผิวหนังรอบๆ พลาสเตอร์เริ่มแดง ขรุขระ หรือมีอาการคัน อาจเป็นเพราะว่าผิวหนังบริเวณนั้นเกิดอาการแพ้ต่อแถบกาวบนพลาสเตอร์ (หรือตัวพลาสเตอร์เอง) ลองเลือกใช้พลาสเตอร์ยี่ห้ออื่นๆ หรือเปลี่ยนไปใช้ผ้าก๊อซชนิดไม่ติดแผลและเทปแต่งแผลแทน รวมถึงทายาไฮโดรคอร์ติโซน 1% เพื่อบรรเทาอาการคัน โดยทาตรงผิวหนังรอบๆ ตุ่มพองที่เกิดการระคายเคืองเท่านั้นและหลีกเลี่ยงการใช้กับตุ่มพองโดยตรง
  3. ตัดเนื้อส่วนที่พองขึ้นมาออกไปเมื่อแผลหายเจ็บแล้ว. เมื่อผิวหนังใต้ตุ่มพองซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ดีแล้วและไม่บอบบางเช่นเดิม คุณสามารถตัดเนื้อส่วนที่พองขึ้นมาออกได้โดยใช้กรรไกรที่สะอาดและผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว [20]
  4. ตุ่มพองที่ฉีกขาดสามารถเกิดการติดเชื้อได้ง่าย คุณจึงควรหมั่นสังเกตอาการอย่างต่อเนื่อง หากคุณสังเกตเห็นสัญญาณใดๆ ที่แสดงถึงการติดเชื้อรวมถึงตุ่มพองของคุณไม่มีแนวโน้มว่าจะหายดีขึ้นหลังจากเวลาผ่านไปสักพัก คุณควรปรึกษาแพทย์โดยทันที สัญญาณของอาการติดเชื้อมีดังนี้
    • รู้สึกเจ็บมากขึ้นตรงบริเวณรอบๆ ตุ่มพอง
    • มีอาการบวม แดง หรือร้อนใกล้กับตุ่มพอง
    • มีผื่นแดงเป็นเส้นๆ เกิดขึ้นรอบๆ ตุ่มพอง ซึ่งนี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของการติดเชื้อในกระแสเลือด
    • มีน้ำหนองไหลออกมาจากตุ่มพอง
    • มีไข้สูง
  5. โดยส่วนใหญ่แล้วตุ่มพองสามารถหายดีเองได้ในเวลาเพียงไม่นาน แต่มีบางกรณีที่คุณอาจจำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยเร็วที่สุด ควรไปพบแพทย์ทันทีหากตุ่มพองของคุณมีอาการดังนี้ [21]
    • ติดเชื้อ (ดูสัญญาณของอาการติดเชื้อต่างๆ ได้จากหัวข้อก่อนหน้านี้)
    • รู้สึกเจ็บเป็นพิเศษ
    • เกิดขึ้นซ้ำ
    • เกิดขึ้นตรงบริเวณที่ผิดปกติ เช่น ด้านในของริมฝีปากหรือบนเปลือกตา
    • มีสาเหตุมาจากแผลไหม้ เช่น อาการไหม้แดดหรือแผลน้ำร้อนลวก
    • เป็นผลข้างเคียงจากอาการแพ้ (เช่น แมลงกัดต่อย)
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ป้องกันการเกิดตุ่มพอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเสียดสีเป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดตุ่มพอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนบริเวณเท้าทั้งสองข้าง คุณจึงควรสวมรองเท้าที่มีขนาดพอดีเพื่อลดโอกาสการเกิดตุ่มพองบนเท้าของคุณ [22]
  2. [24] เลือกสวมถุงเท้าระบายความชื้นเนื่องจากตุ่มพองมักเกิดขึ้นเมื่อผิวหนังของคุณอับชื้น [25] [26]
    • หากถุงเท้าดูไม่เข้ากับเสื้อผ้าของคุณ คุณสามารถปกป้องเท้าของคุณโดยการสวมถุงน่องหรือถุงเท้ายาวแทนได้
  3. ตุ่มพองมักมีโอกาสเกิดบนผิวที่อับชื้นได้มากกว่า เพื่อป้องกันปัญหาเช่นนี้ คุณสามารถหาซื้อผลิตภัณฑ์ป้องกันการเสียดสีชนิดเจลหรือแท่งสำหรับทาตรงบริเวณที่มักเกิดตุ่มพอง โดยผลิตภัณฑ์ประเภทนี้จะช่วยคงความแห้งบนผิวหนังและป้องกันการเสียดสี
    • ลองใช้แป้งเด็กปราศจากทัลก์หรือแป้งสำหรับโรยเท้าโรยในรองเท้าหรือถุงเท้า หลีกเลี่ยงการใช้แป้งทัลคัม เนื่องจากการวิจัยบางส่วนพบว่าทัลคัมในแป้งอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ วิธีนี้นอกจากจะช่วยลดการอับชื้นแล้ว แป้งบางประเภทยังมีคุณสมบัติช่วยกำจัดกลิ่นเท้าได้อีกด้วย [27]
    • หรือจะลองใช้สเปรย์ระงับกลิ่นเท้าเพื่อลดโอกาสการเกิดเหงื่อก็ได้เช่นกัน [28]
  4. การสวมถุงมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างการทำงานที่ต้องใช้แรงอย่างงานโรงงาน การทำสวน หรืองานก่อสร้าง สามารถช่วยป้องกันการเกิดตุ่มพองบนมือได้ [29]
    • คุณยังสามารถสวมถุงมือในระหว่างการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างการยกน้ำหนักเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดตุ่มพองบนมือของคุณ
  5. ผิวไหม้แดดอย่างรุนแรงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ก่อให้เกิดตุ่มพอง พยายามปกป้องผิวจากแสงแดดโดยการสวมเสื้อแขนยาวและหมวกรวมถึง ทาครีมกันแดด ให้เรียบร้อย [30]
    โฆษณา
  1. http://www.nhs.uk/Conditions/Blisters/Pages/Treatment.aspx
  2. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a601098.html
  3. http://www.nhs.uk/Conditions/Blisters/Pages/Treatment.aspx
  4. http://www.nhs.uk/Conditions/Blisters/Pages/Treatment.aspx
  5. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3555355
  6. http://woundcareadvisor.com/apple-bites_vol2_no3/
  7. http://www.sportsmd.com/foot-ankle-injuries/proper-care-management-blisters/
  8. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000497.htm
  9. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/tc/blisters-home-treatment
  10. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/tc/blisters-home-treatment
  11. http://www.sportsmd.com/foot-ankle-injuries/proper-care-management-blisters/
  12. http://www.nhs.uk/Conditions/Blisters/Pages/Treatment.aspx
  13. http://www.betterhealth.vic.gov.au/bhcv2/bhcarticles.nsf/pages/Blisters
  14. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-blisters/basics/art-20056691
  15. http://www.nhs.uk/Conditions/Blisters/Pages/Prevention.aspx
  16. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-blisters/basics/art-20056691
  17. http://www.nhs.uk/Conditions/Blisters/Pages/Prevention.aspx
  18. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-blisters/basics/art-20056691
  19. http://www.betterhealth.vic.gov.au/bhcv2/bhcarticles.nsf/pages/Blisters
  20. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-blisters/basics/art-20056691
  21. http://www.betterhealth.vic.gov.au/bhcv2/bhcarticles.nsf/pages/Blisters
  22. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/for-kids/about-skin/skin-cancer/treating-sunburn
  23. http://hospitals.unm.edu/burn/classification.shtml

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,807 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา