ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การอุดฟันช่วยรักษารูปฟัน การทำงานของฟัน และรักษาฟันที่ผุให้สวยงามดังเดิม เมื่ออุดฟัน คุณจำเป็นต้องดูแลฟันเหล่านั้นเป็นพิเศษทั้งในระยะสั้นและยาว การดูแลสุขภาพช่องปากช่วยลดความเสี่ยงฟันผุและป้องกันฟันที่เพิ่งอุดได้ด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

การดูแลฟันที่เพิ่งอุด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. รู้ว่าวัสดุสำหรับอุดฟันนั้นใช้เวลาเท่าไหร่กว่าจะแข็งตัว. วัสดุที่ใช้สำหรับอุดฟันมีอยู่มากมายและแต่ละชนิดใช้เวลาในการแข็งตัวแตกต่างกันออกไป การรู้กรอบเวลาของการแข็งตัวคร่าวๆ จะช่วยให้เราระมัดระวัง ไม่ไปทำลายการอุดฟันนั้นได้
    • ทองคำ อะมัลกัมและวัสดุที่สีเหมือนฟันจะใช้เวลา 24-48 ชั่วโมงถึงจะแข็งตัว [1]
    • เซรามิกจะแข็งตัวทันทีเมื่อฉายแสงสีฟ้า [2]
    • กลาสไอโอโนเมอร์จะเริ่มเข้าที่ภายใน 3 ชั่วโมงหลังการอุดฟัน แต่จะใช้เวลาประมาณ 48 ชั่วโมงกว่าจะเริ่มแข็ง [3]
  2. คุณสามารถกินยาแก้ปวดก่อนที่ยาชาจะหมดฤทธิ์ได้เลยและกินได้ต่อเนื่องจนกว่าอาการปวดหรือเสียวฟันลดลง ยาจะช่วยบรรเทาแผลและอาการบวมได้ [4]
    • ถามทันตแพทย์ว่าคุณจำเป็นต้องกินยาเพื่อจัดการกับอาการหลังอุดฟันหรือไม่ ทำตามคำแนะนำของทันตแพทย์สำหรับการกินยาแก้ปวดหลังอุดฟัน [5]
    • โดยปกติแล้วอาการเสียวฟันหรือปวดฟันหายได้ภายใน 1 สัปดาห์ [6]
  3. หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มจนกว่ายาชาจะหมดฤทธิ์. ปากคุณจะชาไปประมาณ 1-2 ชั่วโมงหลังอุดฟันเพราะฤทธิ์ของยาชาที่ฉีดในระหว่างการอุดฟัน ถ้าเป็นไปได้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มจนกว่ายาชาจะหมดฤทธิ์ เพื่อป้องกันอาการปวดฟัน [7]
    • ถ้าคุณจำเป็นต้องกินอาหารจริงๆ อาจจะทำได้ยากเนื่องจากอาการชา อาจทำให้คุณกัดกระพุ้งแก้มหรือลิ้นได้ [8]
    • ถ้าอดใจไม่ไหวจริงๆ ให้กินอาหารอ่อน เช่น โยเกิร์ต ซอสแอปเปิ้ล หรือดื่มน้ำเปล่าแทน ควรเคี้ยวโดยใช้ฟันอีกข้างที่ไม่ได้อุดฟันจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าฟันที่อุดของคุณยังอยู่ดี [9]
  4. หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นมากๆ. ฟันและวัสดุที่ใช้อุดฟันค่อนข้างบอบบางในช่วงวันแรกๆ หลังอุดฟัน หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นมากๆ จะช่วยป้องกันอาการเสียวและปวดฟันได้ อีกทั้งยังป้องกันฟันที่เพิ่งอุดใหม่ด้วย [10]
    • ของที่ร้อนหรือเย็นมากๆ จะทำให้วัสดุที่อุดไม่ติดกับฟัน วัสดุสีเหมือนฟันที่ใช้อุดมักติดกับฟันโดยใช้เวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ดังนั้นจึงควรกินอาหารอุ่นในระหว่างนี้เท่านั้น
    • อุณหภูมิร้อนและเย็นจะทำให้วัสดุอุดฟันขยายและอดตัว โดยเฉพาะวัสดุที่เป็นโลหะ อุณหภูมิดังกล่าวจะเปลี่ยนรูปร่าง ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของวัสดุอุดฟันและทำให้เกิดรอยแตกหรือรอยรั่วได้ [11]
    • ต้องรอให้ของร้อนเย็นลงก่อนค่อยกิน เช่น ซุป อาหารอบร้อน เช่น ลาซานญ่า รวมถึงเครื่องดื่มร้อน เช่น ชา กาแฟ
  5. หลีกเลี่ยงการกินอาหารแข็ง เหนียวหรือเคี้ยวยาก. หลังจากอุดฟันประมาณ 2-3 วัน ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่เคี้ยวยาก เช่น พวกลูกกวาด กราโนล่าแบบแท่ง ผักสดเพราะอาจทำให้เกิดปัญหากับบริเวณที่อุดฟันได้ เช่น วัสดุอุดฟันหลุดออกมา [12]
    • การกัดของแข็งอาจทำให้วัสดุอุดฟันหรือฟันของคุณเองแตกร้าวได้ ส่วนของเหนียวๆ อาจไปติดบนบริเวณที่อุดฟันและทำให้ฟันผุได้ง่ายกว่าเดิม
    • เศษอาหารที่ติดตามร่องฟันสามารถส่งผลเสียต่อฟันที่อุดได้ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อฟันผุมากยิ่งขึ้นด้วย ควรบ้วนปากทุกครั้งหลังกินอาหารหรือขนม และใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์หลังการแปรงฟันหรือขัดฟัน
  6. เมื่อกินอาหารได้ปกติ ให้ใช้ฟันข้างที่ไม่ได้อุดเคี้ยวอาหารไปสัก 1-2 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าฟันที่อุดอยู่ในสภาพที่ดีและไม่ได้รับความเสียหายใดๆ [13]
  7. ทันตแพทย์ “เติม” ฟันของเราให้สมบูรณ์ ก็มีโอกาสที่จะเติมวัสดุอุดฟันมากเกินไปจนทำให้วัสดุนูนขึ้นมาและทำให้ฟันไม่สบกันดีนัก ลองสบฟันเบาๆ หากคุณรู้สึกว่ามีอะไรนูนๆ ขึ้นมา ลองติดต่อทันตแพทย์ เพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุอุดฟันแตกร้าวหรือทำให้เกิดอาการปวดฟันตามมาภายหลัง
    • วัสดุอุดฟันที่นูนขึ้นมานั้นอาจทำให้คุณปิดปากหรือเคี้ยวได้ไม่ถนัดนัก อีกทั้งยังอาจทำให้ปวดฟัน เคี้ยวอาหารโดยใช้ฟันข้างที่อุดมาแล้วได้ไม่สะดวก วัสดุอุดฟันแตก ปวดหูและทำให้เกิดความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรได้ [14] [15]
  8. ถ้าพบว่าฟัน ช่องปาก หรือการอุดฟันมีปัญหา ให้ติดต่อทันตแพทย์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนหรือส่งผลกระทบถึงฟันอื่นๆ ของคุณในภายหลัง
    • เฝ้าระวังอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้ และติดต่อทันตแพทย์หากมีอาการดังกล่าว:
    • อาการเสียวฟันในซี่ที่เพิ่งอุด [16]
    • รอยแตกบริเวณที่อุด [17]
    • เศษวัสดุที่อุดหลุดหรือหายไป [18]
    • สีฟันหรือวัสดุที่อุดเปลี่ยนไป [19]
    • ถ้าคุณรู้สึกว่าวัสดุที่อุดขยับได้หรือมีการรั่วซึมจากขอบที่อุดไว้ขณะดื่มน้ำ [20]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

การดูแลฟันทุกวัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แปรงและใช้ไหมขัดฟันทุกวัน รวมถึงหลังกินอาหารแต่ละมื้อ. การแปรงฟันและขัดฟันทุกวันหลังอาหารช่วยรักษาสุขภาพฟันและเหงือก อีกทั้งยังช่วยคงสภาพวัสดุอุดฟันให้อยู่ได้นาน การดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีจะช่วยให้ฟันไม่เป็นคราบและป้องกันไม่ให้คุณต้องเจอกับการอุดฟันอีก
    • ควรแปรงฟันและขัดฟันหลังอาหารทุกครั้งที่สามารถทำได้ ถ้ามีอาหารติดตามซอกฟัน จะทำให้เกิดฟันผุได้อีกและทำร้ายฟันที่เคยอุดก่อนหน้าด้วย ถ้าไม่มีแปรงสีฟัน ให้เคี้ยวหมากฝรั่งแทนได้ [21]
    • ชา กาแฟและไวน์จะทำให้ฟันที่อุดเป็นคราบ ถ้าคุณดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ ควรแปรงฟันภายหลังเพื่อป้องกันคราบที่อาจเกิดขึ้น
    • ยาสูบและบุหรี่สามารถทำให้เกิดคราบตามฟันและวัสดุที่อุดได้เช่นกัน
  2. ควบคุมการกินอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและกรด. อาหารที่มีน้ำตาลและกรดเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คุณต้องอุดฟัน การควบคุมการบริโภคอาหารเหล่านี้ช่วยให้สุขภาพช่องปากดีขึ้นได้ ฟันผุสามารถเกิดขึ้นได้ภายใต้วัสดุที่ใช้อุด เมื่อเวลาผ่านไปวัสดุอุดฟันจะค่อยๆ เสื่อมไปตามธรรมชาติ ดังนั้นเราจึงควรกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพและรักษาความสะอาด เพื่อป้องกันการเกิดฟันผุภายใต้วัสดุอุดฟัน การแปรงฟันหลังอาหารสามารถช่วยป้องกันการอุดฟันเพิ่มในภายหลังได้ [22]
    • ถ้าไม่สะดวกที่จะแปรงฟัน เช่น เวลาที่คุณอยู่ที่โรงเรียน ให้บ้วนปากด้วยน้ำเปล่าแทน รวมถึงดื่มน้ำเปล่า จำกัดการกินขนมและควรหลีกเลี่ยงอาหารเหนียวๆ
    • กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพและครบหมู่ เช่นการกินโปรตีนไขมันต่ำ ผัก ผลไม้และถั่ว จะช่วยให้คุณมีสุขภาพโดยรวมดี รวมถึงสุขภาพช่องปากด้วย
    • แม้แต่อาหารที่ดีต่อสุขภาพบางอย่างก็มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น ผลไม้จำพวกส้ม สามารถกินได้แต่ว่าต้องจำกัดปริมาณการกินและอย่าลืมแปรงฟันหลังกินด้วย การดื่มน้ำผลไม้ก็ควรผสมน้ำเปล่าปริมาณ 50 ต่อ 50 เพื่อให้กรดเจือจาง
    • ตัวอย่างของอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและกรด ได้แก่ น้ำอัดลม ลูกอมลูกกวาด ขนมหวาน ไวน์ เครื่องดื่มเกลือแร่ เครื่องดื่มชูกำลัง รวมถึงกาแฟที่ใส่น้ำตาลด้วย
  3. ถ้าคุณอุดฟันหลายซี่ ควรขอให้ทันตแพทย์จ่ายเจลฟลูออไรด์เพราะฟลูออไรด์ช่วยปกป้องฟันจากฟันผุและช่วยให้เรามีสุขภาพช่องปากที่ดี [23]
    • เจลฟลูออไรด์ช่วยให้เคลือบฟันแข็งแรงและยืดอายุฟันที่อุดได้ด้วย
  4. หลีกเลี่ยงน้ำยาบ้วนปากและยาสีฟันที่มีแอลกอฮอล์. น้ำยาบ้วนปากและยาสีฟันที่มีแอลกอฮอล์จะทำให้อายุวัสดุอุดฟันสั้นลงและทำให้เกิดคราบได้ ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีแอลกอฮอล์เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว [24]
    • น้ำยาบ้วนปากและยาสีฟันที่ไม่มีแอลกอฮอล์สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาและร้านค้าออนไลน์ทั่วไป
  5. หากคุณมีนิสัยชอบกัดฟันเวลานอน พฤติกรรมนั้นจะทำร้ายวัสดุอุดฟันและฟันของคุณ ถ้าเป็นคนนอนกัดฟัน คุณควรปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อขอฟันยางมาใส่ป้องกันพฤติกรรมดังกล่าว [25]
    • การกัดฟันจะทำให้บริเวณที่อุดฟันเสื่อมสภาพ อีกทั้งยังก่อให้เกิดอาการเสียวฟันและทำให้วัสดุอุดฟันแตก [26]
    • นิสัยชอบกัดเล็บ เปิดฝาขวดหรือคาบของโดยใช้ฟันกัดก็เป็นพฤติกรรมที่ทำร้ายฟันได้เช่นกัน ควรหลีกเลี่ยง
  6. การตรวจฟันและขูดหินปูนเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยรักษาสุขภาพในช่องปากของเราได้เป็นอย่างดี พบทันตแพทย์ปีละสองครั้งหรือบ่อยกว่านั้น หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับฟันหรือบริเวณที่อุดฟันมา [27]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • พบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อให้มั่นใจว่าคุณมีสุขภาพช่องปากที่แข็งแรง
โฆษณา
  1. http://www.williamsanddaily.com/resources/post-procedure-caring/
  2. http://www.colgate.com/app/CP/US/EN/OC/Information/Articles/Oral-and-Dental-Health-Basics/Checkups-and-Dental-Procedures/Fillings/article/Fillings-the-Basics.cvsp
  3. http://www.williamsanddaily.com/resources/post-procedure-caring/
  4. http://www.healthcentre.org.uk/dentistry/dental-tooth-fillings-recovery-aftercare.html
  5. http://www.colgate.com/app/CP/US/EN/OC/Information/Articles/Oral-and-Dental-Health-Basics/Checkups-and-Dental-Procedures/Fillings/article/Fillings-the-Basics.cvsp
  6. http://www.colgate.com/app/CP/US/EN/OC/Information/Articles/Oral-and-Dental-Health-Basics/Checkups-and-Dental-Procedures/Fillings/article/Fillings-the-Basics.cvsp
  7. http://www.williamsanddaily.com/resources/post-procedure-caring/
  8. http://www.williamsanddaily.com/resources/post-procedure-caring/
  9. http://www.williamsanddaily.com/resources/post-procedure-caring/
  10. http://www.williamsanddaily.com/resources/post-procedure-caring/
  11. http://www.williamsanddaily.com/resources/post-procedure-caring/
  12. http://www.ada.org/en/science-research/ada-seal-of-acceptance/product-category-information/chewing-gum
  13. http://www.healthcentre.org.uk/dentistry/dental-tooth-fillings-recovery-aftercare.html
  14. http://www.healthcentre.org.uk/dentistry/fluoride-treatment.html
  15. http://www.healthcentre.org.uk/dentistry/mouthwashes.html
  16. http://www.colgate.com/app/CP/US/EN/OC/Information/Articles/Oral-and-Dental-Health-Basics/Checkups-and-Dental-Procedures/Fillings/article/Fillings-the-Basics.cvsp
  17. http://www.colgate.com/app/CP/US/EN/OC/Information/Articles/Oral-and-Dental-Health-Basics/Checkups-and-Dental-Procedures/Fillings/article/Fillings-the-Basics.cvsp
  18. http://www.healthcentre.org.uk/dentistry/dental-tooth-fillings-recovery-aftercare.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 107,361 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา