ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การมีลูกแมวตัวเล็กๆ ในบ้านของคุณนั้นเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้น ในการดูแลลูกแมวนั้นไม่ใช่แค่เรื่องป้อนนมและทำความสะอาดมันเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวิธีที่คุณมีปฏิสัมพันธ์กับลูกแมวที่อายุน้อยมากๆ ซึ่งมันจะเป็นการกำหนดว่ามันจะเป็นมิตรแค่ไหนเมื่อมันเป็นแมวเต็มวัย ในการเลี้ยงลูกแมวแรกเกิด ถ้าทุกอย่างไปด้วยดี แม่แมวจะช่วยเลี้ยงลูกแมวอย่างเต็มที่ แต่สิ่งที่ไม่คาดคิดสามารถเกิดขึ้นได้และบางครั้งคุณอาจจะต้องเป็นผู้ช่วยของแม่แมวในการเลี้ยงลูกๆ ของมัน ไม่ว่าจะเพราะแม่แมวไม่สามารถดูแลมันได้ด้วยตัวเองหรือเพราะแม่แมวปฏิเสธลูกแมว แนวทางในบทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจการเลี้ยงลูกแมวทั้งในด้านการดูแลเรื่องสุขภาพ การป้อนนม และการทำให้ลูกแมวคุ้นชินกับสังคม

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ช่วยแมวคลอดลูกและดูแลลูกแมวเกิดใหม่ (สัปดาห์ที่ 0 ถึง 4)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แมวตัวเมียจะเลือกพื้นที่ที่มันรู้สึกปลอดภัยที่จะคลอดลูก อย่างไรก็ตาม ให้หากล่องกระดาษใหญ่ๆ เปิดด้านหนึ่งไว้และวางปูผ้าที่อุ่นและแห้ง แต่อย่าผิดหวังไปถ้าแมวไม่มาคลอดลูกที่นี่และมีความคิดจะไปคลอดที่อื่น สัญชาตญาณจะบอกแมวให้หาจุดลับที่ปลอดภัย เช่น ใต้เตียง ด้านหลังโซฟา หรือในตู้ในห้องครัว เป็นต้น [1]
    • เพื่อที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับการช่วยแมวคลอดลูก ให้อ่านบทความอื่นๆ
  2. ใน 48 ชั่วโมงแรกนั้นเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับแม่แมวที่จะสร้างความความสัมพันธ์กับลูกแมว ดังนั้น พยายามอย่าไปรบกวนมัน ถ้าแมวคลอดลูกที่ใต้เตียง ให้ปล่อยมันไว้ที่นั่น การย้ายลูกแมวเกิดใหม่จะทำให้แม่แมวเครียดและในกรณีที่เลวร้ายที่สุดอาจจะทำให้แม่แมวปฏิเสธลูกแมวได้ เมื่อแม่แมวสนิทกับลูกแมวดีแล้ว ประมาณวันที่ 4 หรือ 5 ถ้าคุณรู้สึกว่าเป็นเรื่องสำคัญจริงๆ ที่ต้องย้ายลูกแมว ก็ให้ทำได้เลย [2]
  3. แม่แมวไม่อยากจากลูกแมวไปไหนนานในช่วงสองสัปดาห์แรก ให้วางอาหารและน้ำไว้เสมอตรงบริเวณใกล้ๆ ที่พักของแม่แมวและลูกแมว และถ้าเป็นไปได้ ให้วางกระบะทรายไว้ในห้องเดียวกันด้วยเพื่อที่ลูกแมวจะได้อยู่ในสายตาแม่แมวตลอดเวลา
    • ถ้าอาหารอยู่ที่ห้องหนึ่ง แม่แมวบางตัวเลือกที่จะอดอาหารแทนที่จะทิ้งลูกแมว [3]
  4. แม่แมวต้องได้รับแคลอรี่มากขึ้นเพื่อผลิตน้ำนมให้ลูก [4]
  5. สัญชาตญาณจะช่วยแม่แมวทำให้ที่พักของมันสะอาดเอง ลูกแมวเกิดใหม่จะไม่ปัสสาวะหรืออุจจาระเองได้ ดังนั้น แม่แมวจะต้องเลียที่ก้นของมันก่อนและหลังการให้นมเพื่อกระตุ้นให้มันขับถ่ายออกมา ด้วยวิธีนี้ มันจะทำให้บริเวณที่แม่แมวอยู่นั้นสะอาด พยายามรบกวนมันให้น้อยที่สุดเท่าที่ทำได้
    • ถ้าผ้าที่ปูให้แมวนอนนั้นสกปรก ให้รอจนแม่แมวออกไปขับถ่ายเพื่อเอาผ้าปูออกและปูผืนใหม่ [5]
  6. ถ้าแม่แมวยังอยู่ แม่แมวจะให้ลูกแมวทุกตัวทันทีหลังจากที่ลูกแมวตัวสุดท้ายคลอดออกมา ลูกแมวเกิดใหม่จะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการนอนและตื่นขึ้นมากินนมทุก 2-3 ชั่วโมง ถ้าดูเหมือนว่ามันไม่ได้กินนมหรือลูกแมวตัวหนึ่งถูกพี่น้องของมันผลักออกมาจากแม่แมว ให้ป้อนอาหารลูกแมวด้วยขวดนม โดยเรื่องนี้จะกล่าวอีกทีในส่วนที่ 2 ของบทความ
  7. การทำหมันให้แม่แมว (ตัดมดลูกออก) หลังจากที่ลูกแมวหย่านมแล้วเป็นสิ่งที่แนะนำอย่างมากโดยสัตวแพทย์และองค์กรสิทธิมนุษย์ นี่จะช่วยป้องกันปัญหาของลูกแมวที่ไม่เป็นที่ต้องการและการทำหมันจะมีประโยชน์สุขภาพอื่นๆ ต่อแมวที่ทำหมันด้วย [6]
  8. คุณอาจจะถ่ายพยาธิแมวในช่วง 2 สัปดาห์แรกถ้าจำเป็น ให้ปรึกษากับสัตวแพทย์เรื่องการใช้ยาและปริมาณการใช้ที่เหมาะสม [7]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ดูแลลูกแมวกำพร้า (0 ถึง 4 สัปดาห์)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นมผงสำหรับลูกแมวที่ใช้แทนนมแมว (เช่น KMR) สามารถซื้อได้จากคลินิกของสัตวแพทย์ ร้านขายสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่ หรือสั่งซื้อจากอินเตอร์เน็ต ซึ่งนมสูตรของแมวก็จะๆ คล้ายกับสูตรของทารกมนุษย์ มันจะมีองค์ประกอบเหมือนน้ำนมของแม่แมว โดยทำตามคำแนะนำในการใช้ว่าต้องป้อนนมเท่าไหร่ต่อมื้อ
    • อย่าป้อนนมวัวให้ลูกแมวเพราะนมวัวมีแลคโทสที่จะทำให้ลูกแมวปวดท้องได้ ถ้าคุณไม่มีนมผงที่ใช้แทนนมแมวและลูกแมวก็หิวมากๆ ให้ใช้ดรอปเปอร์หรือไซริงค์ป้อนน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วให้ลูกแมวจนกว่าคุณจะไปที่คลินิกสัตวแพทย์หรือร้านค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงได้ น้ำจะทำให้ร่างกายของลูกแมวชุ่มชื้นและจะไม่ทำให้มันปวดท้อง [8]
  2. ใช้ขวดนมที่มีจุกนมที่ออกแบบพิเศษเหมือนจุกนมแมว. คุณสามารถหาซื้อได้ที่คลินิกสัตวแพทย์ ร้านค้าขนาดใหญ่สำหรับสัตว์เลี้ยง หรือทางอินเตอร์เน็ต ถ้าเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินจริงๆ ให้ใช้หลอดหยอดตาหรือไซริงค์เล็กๆ หยอดนมใส่ปากลูกแมว [9]
  3. นี่เหมือนกับการทำให้เด็กทารกเรอ ให้จับลูกแมวขึ้นมาไว้ตรงหัวไหล่ของคุณหรือใช้มือวางบนท้องของมัน ค่อยๆ ตบและถูที่หลังของมันเบาๆ [10]
  4. ก่อนและหลังการป้อนนม ให้ใช้กระดาษอเนกประสงค์หรือผ้าก๊อซที่ชุบน้ำอุ่นเช็ดที่ก้นของลูกแมว นี่จะเป็นการกระตุ้นให้ลูกแมวขับถ่ายออกมา ซึ่งมันไม่สามารถทำเองได้ [11] จับลูกแมวอยู่เหนือกระบะทรายและใช้ผ้าขนหนูเช็ดที่อวัยวะเพศของลูกแมวและบริเวณก้นหลังจากที่ลูกแมวกินนมเสร็จแล้วในแต่ละมื้อ ให้ทำอย่างนี้ต่อเนื่องจนกว่าลูกแมวจะหยุดขับถ่าย (เมื่อไม่มีอะไรออกมาอีก)
    • เช็ดไปทางเดียวกัน การเช็ดถูไปมาจะทำให้ระคายเคือง
    • สำลีก้อนหรือแผ่นนั้นไม่แนะนำเพราะว่าขนสำลีจะหลุดออกมา [12]
  5. ปัสสาวะของลูกแมวควรจะมีสีเหลืองซีดๆ และไม่มีกลิ่น อุจจาระควรจะเป็นสีน้ำตาลแกมเหลืองและป็นก้อนเล็กๆ ถ้าปัสสาวะสีคล้ำและมีกลิ่นอาจจะเป็นสัญญาณของภาวะขาดน้ำ อุจจาระสีเขียวอาจจะเป็นสัญญาณบอกว่าป้อนนมลูกแมวมากไป ส่วนอุจจาระสีขาวหมายถึงโรคดูดซับอาหารได้น้อย ซึ่งเป็นปัญหาร้ายแรง ให้โทรศัพท์หาสัตวแพทย์ถ้าคุณมีความกังวลอื่นๆ
    • ถ้าลูกแมวไม่ปัสสาวะเป็นเวลา12 ชั่วโมง ให้พาไปหาสัตวแพทย์ทันที
    • ลูกแมวส่วนใหญ่จะอุจจาระ 1 ครั้งต่อวัน แต่ช่วงเวลาก็จะแตกต่างกันไปแต่ละตัว ให้พาลูกแมวไปหาสัตวแพทย์ถ้าลูกแมวไม่อุจจาระเป็นเวลามากกว่า 2 วัน [13]
  6. ในช่วงสองสัปดาห์แรกในชีวิตของลูกแมว ควรให้นมทุกๆ 2-3 ชั่วโมง ลูกแมวจะบอกคุณเองเมื่อมันหิวโดยการร้องงอแงและเดินบิดตัวรอบๆ เพื่อตามหาจุกนม ลูกแมวที่อิ่มแล้วมักจะหลับขณะที่ดูดนมอยู่และท้องของมันจะป่อง หลังจากสองสัปดาห์แล้ว การป้อนนมอาจจะยืดเวลาออกไปเป็นทุกๆ 3-4 ชั่วโมง โดยมีช่วงว่าง 6 ชั่วโมงในเวลากลางคืน [14]
  7. ทำให้ลูกแมวอุ่นด้วยแผ่นให้ความร้อนสำหรับสัตว์ที่เอาผ้าคลุมไว้แล้ว. ลูกแมวแรกเกิด (อายุน้อยกว่า 2 สัปดาห์) ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิของตัวมันเองได้และจะทำตัวเองให้อุ่นโดยการเข้าไปนอนซุกไซ้กับแม่แมว คุณสามารถเลียนแบบการให้ความอบอุ่นลูกแมวได้โดยให้มันนอนบนแผ่นให้ความร้อนที่ออกแบบมาให้ลูกสุนัขและลูกแมว อย่าให้มันสัมผัสโดยตรงกับแผ่นให้ความร้อนนั้น ถ้าลูกแมวนอนสัมผัสกับมันโดยตรง ลูกแมวจะเสี่ยงที่จะโดนความร้อนเผาที่ผิวหนังบางส่วนหรือจะรู้สึกร้อนมากเกินไป อย่างไรก็ตาม แผ่นเหล่านี้มักจะมีผ้าขนสัตว์คลุมติดมาด้วย ดังนั้นมันจึงไม่น่ามีปัญหาอะไร เว้นแต่ว่าคุณถอดผ้าคลุมออกไปซัก ถ้าเป็นในกรณีนี้ ให้ใช้ผ้าขนหนูปูแทน
    • ขณะที่ลูกแมวเติบโตขึ้น (อายุมากกว่า 2 สัปดาห์) มันจะสามารถเดินอกจากแผ่นให้ความร้อนได้ถ้ามันรู้สึกร้อนเกินไป [15]
  8. ถ้าตัวของลูกแมวรู้สึกเย็น คุณอาจจะต้อง "ค่อยๆ" ทำให้มันอบอุ่น ถ้าหูและฝ่าเท้าของมันเย็นจะแปลว่าลูกแมวรู้สึกหนาว แหย่นิ้วมือเข้าไปในปากของลูกแมว ถ้ารู้สึกเย็น นั่นแปลว่าอุณหภูมิของลูกแมวนั้นต่ำเกินไป ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ให้ทำให้ลูกแมวอุ่นขึ้นอย่างช้าๆ โดยใช้ผ้าห่มขนสัตว์พันรอบลูกแมวและอุ้มลูกแมวให้อยู่ใกล้ตัวคุณ ใช้มือลูบมันเบาๆ สัก 1-2 ชั่วโมง [16]
  9. เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลลูกแมวกำพร้า. คุณสามารถใช้บทความนี้เป็นการเริ่มต้นที่ดีได้ ติดต่อหาสัตวแพทย์เพื่อขอข้อมูลและคำแนะนำ สัตวแพทย์จะฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคและพยาธิ
    • ลูกแมวกำพร้าจะต้องถ่ายพยาธิเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 2 สัปดาห์และขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ลูกแมวสามารถรับวัคซีนได้ตั้งแต่ 2-8 สัปดาห์ พวกมันอาจจะมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอเพราะมันไม่ได้รับแอนติบอดี้จากน้ำนมแม่แมวจริงๆ เหมือนลูกแมวตัวอื่นๆ [17]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

ทำให้ลูกแมวหย่านมและทำให้ลูกแมวคุ้นเคย (4-8 สัปดาห์)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าแม่แมวอยู่ด้วย กระบวนการหย่านม (เปลี่ยนจากนมแม่เป็นอาหาร) จะเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติประมาณ 4 สัปดาห์ ณ ตอนนี้ แม่แมวจะรู้สึกเหนื่อยที่ลูกแมวดูดนมของมันและจะเริ่มใช้เวลาปลีกจากลูกแมว ส่วนลูกแมวที่หิวโหยก็จะสำรวจหาอาหารอื่นๆ รอบตัวมันและก็จะพบอาหารของแม่แมว
    • เมื่อลูกแมวเริ่มกินอาหารนั่นแปลว่าพวกมันเริ่มเข้าสู่กระบวนการหย่านมแล้ว [18]
  2. ลูกแมวจะไม่ต้องการน้ำจนกระทั่งมันหย่านมหรือราวๆ เมื่อลูกแมวอายุ 4 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ลูกแมวที่มีอายุมากกว่านี้ควรที่จะจัดหาชามน้ำมาให้ ให้เปลี่ยนน้ำเมื่อมันเริ่มสกปรก (มีความเป็นไปได้ว่าลูกแมวจะเดินเหยียบน้ำหรือขับถ่ายในน้ำ) [19]
  3. ถ้าคุณป้อนนมลูกแมวเอง กระบวนการหย่านมนั้นก็เหมือนกัน คุณอาจจะเทนมลงไปในจานและแตะนิ้วที่ผิวนมเพื่อสอนลูกแมวเลียนมจากจาน จากนั้น ให้ผสมอาหารลูกแมวแบบเปียกกับนมนั้นเพื่อทำเป็นอาหารเละๆ สำหรับลูกแมว เมื่อลูกแมวเริ่มคุ้นเคย คุณสามารถทำให้อาหารนั้นข้นขึ้นมากเรื่อยจนลูกแมวสามารถกินอาหารแมวที่เป็นแบบแข็งๆได้ [20]
  4. ทำให้ลูกแมวคุ้นเคยโดยแนะนำสิ่งใหม่ๆ ให้กับมัน. การทำให้ลูกแมวคุ้นเคยกับคนเป็นสิ่งที่สำคัญในช่วงอายุ 3-9 สัปดาห์ เมื่อลูกแมวมีอายุ 3 สัปดาห์เป็นต้นไป ให้จับและอุ้มลูกแมวให้มากเท่าที่จะเป็นไปได้ทุกๆ วัน แนะนำให้มันรู้จักทั้งภาพและเสียงของสิ่งต่างๆ เช่น เครื่องดูดฝุ่น ไดร์เป่าผม ผู้ชายที่มีหนวด เด็กๆ และอะไรก็ได้ที่คุณนึกออก ในช่วงลูกแมวอายุ 6 สัปดาห์ ลูกแมวจะเปิดกว้างในการรับรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ และลูกแมวจะยอมรับสิ่งที่ลูกแมวเจอโดยไม่ตั้งคำถามเหมือนแมวโต ทำให้ลูกแมวปรับเปลี่ยนตัวให้ดี มีความสุข และเป็นมิตร [21]
    • ใช้ของเล่นแมว ลูกบอล เชือก หรือของอย่างอื่นเล่นกับมัน แต่อย่าใช้ของที่เล็กเกินไปที่มันอาจจะกลืนเข้าไปได้ (ระลึกไว้ว่าลูกแมวและแมวอาจจะกลืนกินเชือกหรือเส้นด้ายถ้าไม่ได้ดูแลมันอยู่ เพราะฉะนั้นใช้ของเช่นนี้เล่นกับมันถ้าคุณอยู่ด้วยเพราะมันอาจจะทำให้ลูกแมวสำลักได้)
    • อย่าสอนลูกแมวว่านิ้วและมือคนเป็นของเล่น มิเช่นนั้นแล้ว ลูกแมวอาจจะกัดและข่วนนิ้วคนจนกระทั่งมันโตเป็นแมวโต
  5. หาจุดที่เหมาะกับการวางกระบะทรายอย่างระมัดระวัง เมื่อลูกแมวคุ้นดีแล้ว มันอาจจะใช้ที่ตรงนั้นตลอดไป ถ้าคุณอยากจะหัดให้แมวใช้กระบะทรายด้วยตนเอง แค่อุ้มลูกแมวไปวางบริเวณกระบะทรายหลังจากทุกมื้ออาหารหรือเมื่อไหร่ที่ลูกแมวเริ่มเอนหลังลงและเริ่มข่วนพื้นเพื่อเตรียมตัวที่จะขับถ่าย ทำความสะอาดกระบะทรายอย่างน้อย 1 ครั้งต่อวัน มิเช่นนั้นแล้ว ลูกแมวจะเลิกใช้กระบะทราย
  6. ให้ลูกแมวอยู่ในบ้านจนกระทั่งมันฉีดวัคซีนครบทุกเข็มแล้ว. เมื่อสัตวแพทย์อนุญาตแล้ว คุณสามารถปล่อยให้ลูกแมวออกไปสำรวจข้างนอก ขอให้แน่ใจว่าคุณได้ดูอย่างใกล้ชิดจนกระทั่งคุณแน่ใจว่าลูกแมวสามารถกลับบ้านเองได้
    • ปล่อยให้ลูกแมวอยู่ข้างนอกจนมันหิวนิดหน่อย ล่อให้ลูกแมวกลับบ้านโดยเรียกชื่อของมันและให้มันดูอาหารแมวด้วย นี่จะเป็นการทำให้ลูกแมวรู้ว่าขณะที่โลกภายนอกนั้นสนุก แต่จุดหมายปลายทางสุดท้ายของมันนั้นคือบ้าน
  7. ถ้าคุณจะขายลูกแมวหรือยกลูกแมวให้คนอื่น คุณควรที่จะรอจนลูกแมวอายุอย่างน้อย 8 สัปดาห์ แต่ลูกแมวที่อายุ 12 สัปดาห์จะเหมาะกว่า พามันไปหาสัตวแพทย์และเริ่มฉีดวัคซีนก่อนที่พวกมันจะจากคุณไป ตรวจเช็คกับเจ้าของใหม่อยู่เสมอว่าลูกแมวได้รับการฉีดวัคซีนและมีการวางแผนว่าจะพาแมวไปทำหมัน แลกเบอร์โทรศัพท์กับเจ้าของใหม่เพื่อที่คุณจะได้แน่ใจว่าลูกแมวจะอยู่อย่างปลอดภัย หรือถ้าเจ้าของใหม่อยากจะเอาแมวมาคืน (อย่างน้อยคุณสามารถช่วยหาบ้านใหม่ให้ลูกแมวได้)
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ดูแลลูกแมวที่ซื้อหรือรับมาเลี้ยง (อายุ 8 สัปดาห์และมากกว่า)

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถามผู้ที่เพาะพันธุ์ลูกแมวหรือสถานรับเลี้ยงว่ามีผ้าห่มที่มีกลิ่นเหมือนแม่และพี่น้องของลูกแมวหรือไม่. กลิ่นเหล่านี้จะทำให้ลูกแมวอุ่นใจขณะที่มันไปอยู่ยังบ้านใหม่ [24]
  2. ให้อาหารลูกแมวแบบนี้เป็นเวลาสองสามวันเพื่อที่มันจะไม่ได้เป็นการเปลี่ยนแปลงอะไรมากอย่างทันทีทันใดสำหรับลูกแมว [25] เมื่อลูกแมวมาอยู่ที่บ้าน นี่เป็นโอกาสของคุณที่จะเปลี่ยนอาหารลูกแมวเป็นอาหารที่คุณเลือก แต่ให้ทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปให้ใช้อาหารใหม่แทนอาหารแบบเก่าทีละน้อย เพิ่มปริมาณให้มากขึ้นอย่างช้าๆ ทุกสัปดาห์ [26]
    • ถ้าลูกแมวกินอาหารเม็ด ให้เทใส่ชามทิ้งไว้ทั้งวัน ถ้าลูกแมวกินอาหารเปียก ให้อาหารลูกแมวในปริมาณน้อยๆ ต่อมื้อทุก 6 ชั่วโมง [27]
    • ให้อาหารสูตรสำหรับลูกแมว ไม่ใช่อาหารสูตรสำหรับแมวโตแล้ว จนกระทั่งลูกแมวมีอายุ 1 ขวบ [28]
  3. ลูกแมวที่มีอายุมากกว่า 4 สัปดาห์ต้องกินน้ำ ดังนั้นต้องหาน้ำสะอาดมาให้ลูกแมวเสมอ
    • แมวจะสนใจน้ำที่ ไม่ อยู่ข้างชามข้าวของมัน กระตุ้นให้ลูกแมวกินน้ำโดยการวางชามน้ำในจุดต่างๆ ทั่วบ้าน
  4. ให้เริ่มจากให้ลูกแมวอยู่ในห้องๆ เดียวก่อน การให้ลูกแมวรู้จักกับทุกส่วนของบ้านอาจจะหนักหนาเกินไปในวันแรก ตั้งที่นอนแมว (ควรเป็นที่นอนแมวที่มีด้านข้างและมีหลังคาเพื่อที่ลูกแมวจะได้รู้สึกปลอดภัยในพื้นที่ของมัน) ตั้งอาหารและน้ำที่มุมหนึ่งของห้อง ตั้งกระบะทรายที่ด้านตรงข้าม แสดงให้ลูกแมวเห็นว่าอุปกรณ์พวกนี้อยู่ตรงไหนบ้าง และปล่อยให้ลูกแมวพักผ่อน มันเป็นวันที่สำคัญของลูกแมว เพราะฉะนั้นปล่อยให้ลูกแมวปรับตัวและนอนหลับสักสองสามชั่วโมง [29]
  5. ใช้เวลากับลูกแมวให้มากในการทำความสะอาด เล่นกับมัน ดูแลมัน และมีปฏิสัมพันธ์กับมัน นี่จะทำให้ลูกแมวเติบโตแบบที่คุ้นเคยกับคนดีและเป็นมิตร [30]
  6. เก็บสายไฟและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้ห่างจากลูกแมวเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกแมวไปกัดเล่น การใช้ปุ่มล็อคสำหรับตู้เตี้ยๆ อาจจะเป็นการลงทุนที่ดีถ้าคุณมีลูกแมวที่อยากรู้อยากเห็นมากเป็นพิเศษ
  7. เมื่อลูกแมวอายุ 9 สัปดาห์ก็ควรได้รับวัคซีนเข็มแรก นี่เป็นเวลาที่เหมาะสมที่สัตวแพทย์จะตรวจเช็คลูกแมว ถ่ายพยาธิ และเริ่มฉีดวัคซีน วัคซีนพื้นฐานสำหรับลูกแมวได้แก่วัคซีนป้องกันหวัดแมวและการติดเชื้อที่ลำไส้ ยังมีวัคซีนทางเลือกอื่นๆ เช่น วัคซีนที่ต้านโรคลูคิเมียแมว [31]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ค่อยๆ แนะนำให้ลูกแมวคุ้นเคยกับบ้านของคุณอย่างช้าๆ ลูกแมวที่มีอายุน้อยกว่า 2 สัปดาห์ควรอยู่ให้ห่างจากสัตว์เลี้ยงตัวอื่นๆ ยกเว้นแม่ของมันถ้าแม่ของมันอยู่ด้วย และจับลูกแมวเท่าที่จำเป็น [32] ลูกแมวที่อายุมากขึ้นควรอยู่ที่รังพักของมันและควรมีคนเข้ามาหาแค่ 1 คนต่อครั้งเท่านั้น จนกระทั่งมันสงบและไม่หลบคน
  • เมื่อจะแนะนำลูกแมวกับสัตว์เลี้ยงตัวอื่นๆ ให้อุ้มลูกแมวไว้และให้อีกคนหนึ่งอุ้มสัตว์เลี้ยงอีกตัวหนึ่ง ปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอีกตัวหนึ่งดมและเลียลูกแมว ถ้าลูกแมวอยากจะไปซ่อนก็ควรปล่อยไป
  • ล้างมือด้วยสบู่และน้ำเสมอ (และไม่ใช้ผลิตภัณฑ์อื่นๆ) ก่อนและหลังจับลูกแมวที่มีอายุน้อยกว่า 8 สัปดาห์ ลูกแมว โดยเฉพาะที่รับมาจากศูนย์ มีแนวโน้มว่าจะมีโรคที่สามารถส่งต่อให้คุณได้ และลูกแมวจะมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอที่อาจจะรับแบคทีเรียจากมือที่ไม่สะอาดของคุณ
  • อย่าตีแมว นี่จะทำให้แมวของคุณกลัวและอาจจะทำให้มันบาดเจ็บได้ ให้สอนแมวโดยใช้การเสริมแรงทางบวกแทนเพื่อที่จะกระตุ้นให้แมวมีพฤติกรรมที่ดี ให้ขนมและชมแมวเมื่อแมวทำสิ่งที่ถูกต้อง เช่น ใช้เสาฝนเล็บ
  • ถ้าคุณปล่อยให้ลูกแมวไปข้างนอก ให้ปล่อยไปแค่บริเวณที่ล้อมรอบด้วยรั้วสูง และดูแลจับตามันอยู่ตลอด ขอให้ระมัดระวังเกี่ยวกับสภาพอากาศด้วย เพราะคุณคงไม่อยากให้ลูกแมวเปียกชุ่ม หนาวเย็น และรู้สึกกลัว
  • รอจนกระทั่งลูกแมวโตขึ้นนิดหน่อยเพื่อที่จะได้เอามานอนบนเตียงได้ ลูกแมวอาจจะรู้สึกไม่อุ่นใจและอาจจะอยากนอนที่เตียงของมันแทน
  • ระลึกไว้ว่าลูกแมวนั้นเกิดมาจะตาบอดก่อน ขอให้แน่ใจว่ารอบตัวลูกแมวนั้นปลอดภัยเพื่อที่ลูกแมวจะไม่ไปชนกับสิ่งของที่แหลมคมหรือร่วงตกลงมา
  • ลองสร้างกิจกรรมใหม่ๆ ให้ลูกแมวเล่นนานๆ ครั้ง เพื่อที่มันจะได้ไม่รู้สึกเบื่อที่จะทำอะไรซ้ำๆ ทุกวัน
  • ให้ทำทุกอย่างอย่างระมัดระวังไว้ก่อน โดยเฉพาะกับลูกแมวที่อายุน้อยมากๆ
  • ระวังว่าลูกแมวอาจจะข่วนวอลเปเปอร์ของคุณถ้าคุณได้ติดวอลเปเปอร์ไว้ที่บ้าน ให้หาอะไรมาแปะไว้ก่อนเพื่อที่ลูกแมวจะได้ไม่ข่วนที่วอลเปเปอร์


โฆษณา

คำเตือน

  • ลูกแมวนั้นจะเล่นกับของเกือบทุกสิ่งทุกอย่าง ขอให้แน่ใจว่าของที่คมหรือที่สามารถกลืนได้ง่ายจะอยู่ห่างจากลูกแมว
  • ข้อมูลในบทความนี้ไม่ควรเอามาใช้แทนคำแนะนำจากสัตวแพทย์ ดังนั้น ถ้ามีเรื่องสงสัย ให้โทรศัพท์หาสัตวแพทย์!
  • ถ้าคุณแพ้แมว เป็นเรื่องไม่ควรอย่างยิ่งที่คุณจะอยู่กับมัน การเลี้ยงแมวจะทำให้อาการแพ้ของคุณแย่ลงและอาจจะทำให้เป็นโรคหอบหืด
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • กระบะทราย
  • ทรายที่ไม่จับตัวเป็นก้อน 1 ถุง
  • ของเล่นแมว
  • ชามข้าวและน้ำ
  • นมและอาหารสูตรสำหรับลูกแมว
  • ขวดนมป้อนนมลูกแมว (ใช้ดรอปเปอร์หรือไซริงค์แทนก็ได้)
  • อาหารลูกแมว (แบบเปียกหรือเป็นเม็ดแห้ง)
  • กระดาษอเนกประสงค์
  • ที่นอนแมว
  • แปรงสำหรับแปรงขนแมว (ถ้าเป็นแมวพันธุ์ขนยาว)
  • เสาให้แมวฝนเล็บ
  • น้ำสะอาด


ข้อมูลอ้างอิง

  1. Reproduction in the Dog and Cat. Christianseen. Publisher: Bailliere Tindall.
  2. Reproduction in the Dog and Cat. Christianseen. Publisher: Bailliere Tindall.
  3. Reproduction in the Dog and Cat. Christianseen. Publisher: Bailliere Tindall.
  4. Reproduction in the Dog and Cat. Christianseen. Publisher: Bailliere Tindall.
  5. Reproduction in the Dog and Cat. Christianseen. Publisher: Bailliere Tindall.
  6. https://www.aspca.org/pet-care/cat-care/spay-neuter
  7. http://www.nycferalcat.org/BottleFeedingKittens-Legal.pdf
  8. Reproduction in the Dog and Cat. Christianseen. Publisher: Bailliere Tindall.
  9. Reproduction in the Dog and Cat. Christianseen. Publisher: Bailliere Tindall.
  1. http://www.nycferalcat.org/BottleFeedingKittens-Legal.pdf
  2. Reproduction in the Dog and Cat. Christianseen. Publisher: Bailliere Tindall.
  3. http://www.nycferalcat.org/BottleFeedingKittens-Legal.pdf
  4. http://www.nycferalcat.org/BottleFeedingKittens-Legal.pdf
  5. Reproduction in the Dog and Cat. Christianseen. Publisher: Bailliere Tindall.
  6. Reproduction in the Dog and Cat. Christianseen. Publisher: Bailliere Tindall.
  7. http://www.animalalliancenyc.org/wordpress/2013/05/what-to-do-and-not-do-if-you-find-a-newborn-kitten/
  8. http://www.nycferalcat.org/BottleFeedingKittens-Legal.pdf
  9. Feline Behavior: a Guide for Veterinarians. Bonnie Beaver. Publisher: Saunders.
  10. https://www.aspca.org/pet-care/cat-care/weaning
  11. Reproduction in the Dog and Cat. Christianseen. Publisher: Bailliere Tindall.
  12. Feline Behavior: a Guide for Veterinarians. Bonnie Beaver. Publisher: Saunders.
  13. http://www.animalhumanesociety.org/training/litter-box-101-preventing-and-solving-litter-box-problems
  14. https://www.aspca.org/pet-care/cat-care/cat-litter
  15. Feline Behavior: a Guide for Veterinarians. Bonnie Beaver. Publisher: Saunders.
  16. Feline Behavior: a Guide for Veterinarians. Bonnie Beaver. Publisher: Saunders.
  17. http://www.vets4pets.com/pet-advice/cat-advice/kitten-advice/feeding-your-kitten/
  18. Feline Behavior: a Guide for Veterinarians. Bonnie Beaver. Publisher: Saunders.
  19. http://www.aspca.org/pet-care/cat-care/nutrition-tips-kittens
  20. Feline Behavior: a Guide for Veterinarians. Bonnie Beaver. Publisher: Saunders.
  21. Feline Behavior: a Guide for Veterinarians. Bonnie Beaver. Publisher: Saunders.
  22. Feline Behavior: a Guide for Veterinarians. Bonnie Beaver. Publisher: Saunders.
  23. https://www.aspca.org/pet-care/virtual-pet-behaviorist/cat-behavior/socializing-your-kitten

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,161 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา