ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ช็อกโกแลตเป็นอาหารที่เป็นพิษสำหรับสุนัข มันมีสารที่ชื่อว่า ทีโอโบรมีน ซึ่งสามารถทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตสูงและแม้กระทั่งทำให้สุนัขชัก [1] สุนัขที่กินช็อกโกแลตเข้าไปจะต้องเข้ารับการรักษาทันที เนื่องจากยิ่งกินเข้าไปปริมาณมากและยิ่งอยู่ในร่างกายนานเท่าไหร่ ก็จะยิ่งไปอันตรายขึ้นเท่านั้น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ปรึกษาสัตวแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ประเมินว่าสุนัขกินช็อกโกแลตชนิดไหนและปริมาณเท่าไหร่เข้าไป. คุณจะต้องมีข้อมูลของช็อกโกแลตและปริมาณที่สุนัขกินเข้าไปเมื่อคุยโทรศัพท์กับสัตวแพทย์ ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้พวกเขาให้คำแนะนำที่ดีที่สุดแก่คุณได้
    • ช็อกโกแลตยี่ห้อ Baker’s เป็นพิษมากที่สุดสำหรับสุนัข ในขณะที่มิลค์ช็อกโกแลตเป็นพิษน้อยที่สุด ช็อกโกแลตชนิดหวานและดาร์ก เป็นพิษปานกลาง ปริมาณที่เป็นพิษของทีโอโบรมีนจะอยู่ระหว่าง 9 มก. ถึง 18 มก. ต่อปอนด์ โดยเฉลี่ยช็อกโกแลตยี่ห้อ Baker’s มีปริมาณ 390 มก. ต่อออนซ์, ช็อกโกแลตชนิดหวานมี 150 มก. ต่อออนซ์และมิลค์ช็อกโกแลตมี 44 มก. ต่อออนซ์ [2]
  2. พวกเขาจะบอกคุณว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไป ไม่ว่าคุณจะนำสุนัขไปหาหรือมาหาคุณที่บ้าน
    • ช็อกโกแลตปริมาณไม่มาก อาจจะทำให้เกิดแค่ท้องเสียหรือปวดท้องเท่านั้น อย่างไรก็ตามปรึกษาสัตวแพทย์ดีที่สุด ไม่ว่าสุนัขของคุณจะกินไปมากเท่าไหร่ก็ตาม เนื่องจากผลที่เกิดอาจจะไม่แน่นอน
  3. พาสุนัขของคุณไปที่คลินิก ถ้าสัตวแพทย์แนะนำเช่นนั้น. สัตว์แพทย์ของคุณมีทั้งความรู้, เจ้าหน้าที่ , ยาและอุปกรณ์เพื่อรักษาอาการที่เกิดจากปริมาณช็อกโกแลตที่มากเกินไป
    • สัตวแพทย์มียาที่ทำให้อาเจียน ถ้าหากว่าสุนัขของคุณกินเข้าไปไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง
    • ในบางกรณี สุนัขของคุณอาจจะต้องนอนค้างที่โรงพยาบาลและโรงพยาบาลที่เป็น 24 ชั่วโมง เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด
  4. ติดต่อไปที่คลินิกฉุกเฉินถ้าหากว่าคลินิกปกติปิด. อุบัติเหตุไม่ได้เกิดขึ้นแค่ช่วงเวลาทำการเสมอไป ดังนั้นถ้าคุณต้องการคำแนะนำตอนเวลาที่มันปิด หาสัตวแพทย์คนอื่นเพื่อขอคำแนะนำหรือการดูแลสุนัขของคุณ
    • มีคลินิกบางแห่งที่เชี่ยวชาญการรักษาสัตว์ฉุกเฉิน คลินิกเหล่านี้จะเปิดหลายชั่วโมงและเป็นที่ที่ดีสำหรับพาสัตว์ป่วยไปรักษา
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

การทำให้อาเจียน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พยายามทำให้อาเจียนถ้าหากสัตวแพทย์แนะนำมาเช่นนั้น. จะได้ก็ต่อเมื่อมันกินช็อกโกแลตเข้าไปไม่เกินหนึ่งชั่วโมงและ ยังไม่อาการทางระบบประสาท (การชัก) จำไว้ว่าการทำให้อาเจียนอาจจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอันตรายถึงตายได้
    • ให้สุนัขของคุณกิน ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (3%) ประมาณ 1 ช้อนชา. ผสมกับน้ำในสัดส่วน 50:50 คุณมีโอกาสอย่างมากที่จะทำมันหกถ้าคุณใช้ช้อนป้อน ให้ป้อนยาทางปากโดยใช้ไซริงค์ที่อยู่ในชุดอุปกรณ์ปฐมพยาบาลสุนัข
  2. พาออกไปข้างนอกและเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด จะช่วยให้สุนัขของคุณเคลื่อนไหวและมันจะเป็นที่ที่ดีสำหรับให้สุนัขอาเจียน
    • ถ้าหากว่าไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ไม่ทำให้สุนัขอาเจียนหลังจากผ่าน 15 นาทีไปแล้ว ให้กินอีกโดสหนึ่งแล้วรอ
  3. ถ้าผ่านไปครึ่งชั่วโมงแล้วสุนัขยังไม่อาเจียนออกมา อย่าให้มันกินยาเข้าไปอีก ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ปริมาณมากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อสุนัข
    • มันอาจจะมีผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการบริโภคไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ แม้กระทั่งการกินเข้าไปเพียงครั้งเดียว ผลข้างเคียงนี้รวมไปถึงการระคายเคืองกระเพาะอาหารและหลอดอาหารทั้งเล็กน้อยและอย่างรุนแรงและอาจจะการอักเสบของระบบหายใจ (สารเคมีเข้าไปอยู่ในปอดซึ่งอาจจะถึงตายได้) แม้กระทั่งการเกิดฟองอากาศในกระแสเลือด (อาจจะถึงตายได้เช่นกัน). [3]
  4. ถ่านอาจจะช่วยป้องกันการดูดซึมของสารพิษจากช็อกโกแลตในลำไส้ ปริมาณที่ใช้กันทั่วไปคือผงถ่าน 1 กรัม ผสมกับน้ำเปล่า 5 มล. (1 ช้อนชา) ต่อน้ำหนักตัวสุนัข 1 กก. (2.2 ปอนด์)
    • วิธีนี้เป็นหนทางสุดท้ายที่จะช่วยสุนัขของคุณเมื่ออยู่กับผู้ดูแลรักษาสัตว์มืออาชีพ ซึ่งจริงๆ แล้วถ้าจะให้ดีต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของสัตวแพทย์
    • คุณไม่อยากให้สุนัขของคุณกินถ่านหรอก ถ้ามันกำลังอาเจียนหรือชักอยู่ ถ้าถ่านมันเข้าไปในปอด จะเป็นอันตรายถึงตายสำหรับสุนัข
    • การให้ถ่านจำนวนมากกับสุนัข โดยไม่ใช้สายที่ต่อกับกระเพาะเป็นสิ่งที่ยากมาก นอกจากนี้คุณจะต้องทำแบบนี้ซ้ำๆ ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง เป็นเวลา 2-3 วัน สังเกตได้ว่าอุจจาระของมันจะมีสีดำและอาจจะเกิดอาการท้องผูกได้
    • อาการข้างเคียงอีกหนึ่งอย่างที่ร้ายแรงของการให้กินถ่านคือระดับโซเดียมในเลือดสูงขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการชักได้ [4] อาการเหล่านี้จะดูเหมือนแค่เป็นปัญหาทางระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับสารพิษในช็อกโกแลต
    • คุณต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมากในการให้กินถ่านเพราะมันอาจจะมีสิ่งปนเปื้อนอย่างผ้า, พรม, สี, พลาสติกสีดำที่ติดทนถาวร
    • ถ้าหากว่าสุนัขของคุณไม่ยอมกินถ่านเอง อาจจะต้องผสมกับอาหารกระป๋องจำนวนเล็กน้อยแล้วนำใส่ปากมันโดยใช้ไซริงค์ แต่โชคร้ายที่วิธีนี้จะยิ่งเพิ่มระดับความอันตรายเนื่องจากมีโอกาสที่ถ่านจะหลุดเข้าไปในปอด ดังนั้นวิธีนี้จึงไม่แนะนำ
    • หลีกเลี่ยงการใช้ถ่านที่มี Sorbitol ซ้ำๆ หลายครั้ง เนื่องจากมันจะเพิ่มโอกาสเป็นโรคท้องร่วงและการขาดน้ำ รวมไปถึง โรคแทรกซ้อนอีกมากมายในสัตว์เลี้ยงของคุณ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ทำประกันสุขภาพสัตว์เลี้ยงก่อนที่จะเกิดเหตุ. ในปัจจุบันมีหลายบริษัทที่มีประกันสำหรับสัตว์เลี้ยง ดังนั้นค้นคว้าหาข้อมูลแผนประกันที่ราคาเหมาะกับตัวคุณ มีหลายแผนประกันหลายแบบทั้งครอบคลุมเฉพาะอุบัติเหตุและแบบที่ครอบคลุมหลายอย่างมากขึ้นสำหรับเหตุการณ์ใน “ชีวิตประจำวัน” คุณอาจจะออมเงินให้ได้หลายพันจนสามารถซื้อประกันสำหรับสัตว์เลี้ยงที่จำเป็นเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้
  • เก็บเครื่องมือช่วยเหลือฉุกเฉินไว้ที่เดียวกันและตรวจเช็คอยู่เสมอ. เครื่องมือพื้นฐาน ได้แก่ (แต่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเท่านี้) ไซริงค์สำหรับป้อนอาหารทางปากหรือการล้างแผล, ผ้ากอซสำหรับทำความสะอาดแผลหรือห้ามเลือด, สารละลายไอโอดีนสำหรับฆ่าเชื้อบาดแผล, แหนบ, กรรไกร,สายจูง, ตะกรอครอบปาก, เทปทำแผล, สำลีและไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์
โฆษณา

คำเตือน

  • คุณอาจจะไม่สามารถรักษาสุนัขด้วยตัวเอง. โทรหาสัตวแพทย์ทันที
  • อย่าให้สุนัขกินช็อกโกแลตเข้าไปอีก ถึงแม้ว่ามันจะไม่มีอาการใดๆ ก็ตาม. ช็อกโกแลตที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อสุนัขแตกต่างกันไป อย่าเสี่ยง เก็บช็อกโกแลตทั้งหมดที่มีให้มิดชิด ไม่ให้สัตว์เลี้ยงของคุณกินได้
  • ปริมาณเพอร์ออกไซด์ที่มากเกินไปยิ่งทำให้เป็นอันตรายต่อสุนัขมากขึ้น. ห้ามให้มันกินเกินสองโดส จะดีกว่าถ้าให้มันกินตามคำแนะนำของสัตวแพทย์
  • ไขมันในช็อกโกแลตอาจจะกระตุ้นให้อาเจียนและท้องเสียในสุนัข ถึงแม้ว่ามันจะไม่ได้รับสารพิษของทีโอโบรมีนก็ตาม. นอกจากนี้การบริโภคช็อกโกแลตตับอ่อนอาจจะส่งผลเล็กน้อยต่อตับอ่อน (เกิดจากการกระตุ้นของไขมัน) ซึ่งสามารถแก้ปัญหานี้โดยการกินอาหารรสจืดๆ (คอตเทจชีสไร้ไขมันและข้าวขาว)สักสองสามวัน หรืออาจจะร้ายแรงถึงขั้นต้องเข้าโรงพยาบาล [5]


โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.veterinarypartner.com/Content.plx?P=A&S=0&C=0&A=3544
  2. http://www.veterinarypartner.com/Content.plx?P=A&S=0&C=0&A=1762
  3. Plumb, Donald C.; Plumb's Veterinary Drug Handbook: 7th (seventh) Ed.; Wiley-Blackwell. 2011
  4. Plumb, Donald C.; Plumb's Veterinary Drug Handbook: 7th (seventh) Ed.; Wiley-Blackwell. 2011
  5. http://www.veterinarypartner.com/Content.plx?P=A&S=0&C=0&A=1762

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 24,484 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา