ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณเพิ่งเจาะร่างกายมาไม่นานและอยากให้แผลหายดีในเร็ววันใช่หรือไม่ เพื่อเร่งให้แผลหายดีเร็วขึ้น หมั่นทำความสะอาดบริเวณที่เจาะด้วยน้ำสบู่เป็นประจำทุกวัน รวมถึงพยายามหลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนังและการทำให้แผลเปิดออกเพราะอาจชะลอให้กระบวนการฟื้นฟูของแผลช้าลง นอกจากนี้ คุณควรทิ้งช่วงสักพักให้แน่ใจว่าเนื้อเยื่อซ่อมแซมจนหายดีก่อนเปลี่ยนจิวอันใหม่ และหากคุณสงสัยว่ามีการติดเชื้อเกิดขึ้น ลองสอบถามช่างเจาะร่างกาย แพทย์ หรือแพทย์ผิวหนังว่าคุณจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะหรือคุณทำความสะอาดบริเวณที่เจาะได้สะอาดพอหรือไม่

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ทำความสะอาดแผลเจาะ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้สบู่สูตรอ่อนโยนถูมือทั้งสองข้างให้ทั่วและล้างออกให้สะอาดด้วยน้ำเปล่าก่อนสัมผัสที่ผิวหนังบริเวณที่เจาะ [1]
    • พยายามอย่าให้ผู้อื่นสัมผัสถูกบริเวณที่เจาะของคุณเพราะอาจทำให้เชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายได้
  2. เพื่อรักษาความสะอาดของบริเวณที่เจาะ ให้คุณใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าขนหนูสะอาดจุ่มในน้ำเกลือ จากนั้นนำมาประคบตรงบริเวณที่เจาะทิ้งไว้นาน 5-10 นาทีโดยทำวันละ 1-2 ครั้ง [2]
    • ขึ้นอยู่กับบริเวณของร่างกายที่คุณเจาะ คุณอาจจุ่มบริเวณที่เจาะลงไปในน้ำเกลือโดยตรงได้เลยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น หากคุณเจาะนิ้วมือ คุณสามารถจุ่มนิ้วลงไปในน้ำเกลือให้บริเวณที่เจาะจมอยู่ใต้น้ำ
  3. หากช่างเจาะแนะนำให้คุณทำความสะอาดบริเวณที่เจาะเป็นประจำวันละครั้ง ให้คุณใช้สบู่สูตรอ่อนโยนฟอกบริเวณที่เจาะโดยเลือกและล้างออกด้วยน้ำเปล่าเพื่อขจัดคราบสบู่ที่ตกค้างออกให้หมด [3]
    • หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่ผสมน้ำหอม สี หรือไตรโคซานที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง
    • หากคุณเจาะหู อย่าลืมทำความสะอาดด้านหลังของต่างหูด้วย
  4. หลังทำความสะอาดเสร็จแล้ว ให้ใช้กระดาษชำระสะอาดซับบริเวณที่เจาะให้แห้ง พยายามอย่าออกแรงกดหรือถูแรงจนเกินไปเพราะอาจทำให้บาดแผลเปิดออกได้ ทิ้งกระดาษชำระลงถังขยะเมื่อเช็ดเสร็จเรียบร้อยแล้ว [4]
    • หลีกเลี่ยงการเช็ดด้วยผ้าขนหนู เนื่องจากผ้าขนหนูอาจไปเกี่ยวหรือพันกับจิวได้
  5. หลายคนอาจเข้าใจว่าการทำความสะอาดบริเวณที่เจาะบ่อยครั้งในแต่ละวันเป็นสิ่งที่ดี แต่แท้จริงแล้วการชำระล้างบริเวณที่เจาะมากเกินไปอาจส่งผลให้เนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บและทำให้กระบวนการฟื้นฟูของแผลช้าลงได้ [5]
    • ทำความสะอาดบริเวณที่เจาะภายหลังอาบน้ำเสร็จเนื่องจากในช่วงนี้ผิวของคุณเปียกน้ำอยู่แล้ว
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ดูแลรักษาแผลเจาะ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพียงประคบด้วยน้ำเกลือและชำระล้างสบู่สูตรอ่อนโยนและน้ำเปล่าก็เพียงพอสำหรับการรักษาความสะอาดของบริเวณที่เจาะ ห้ามดึงหรือแกะสะเก็ดแผลเป็นอันขาดเพราะจะทำให้แผลเปิดออกและเกิดเลือดออกได้ โดยสะเก็ดแผลเหล่านี้จะหลุดลอกออกไปเองในช่วงที่แผลกำลังฟื้นฟู [6]
    • คุณไม่จำเป็นต้องหมุนหรือบิดจิวในช่วงที่แผลกำลังฟื้นฟู เนื่องจากการขยับจิวไปมาอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนังและทำให้กระบวนการฟื้นฟูของแผลช้าลงได้
  2. หลีกเลี่ยงการใช้ยาทาปฏิชีวนะหรือสารฆ่าเชื้อ. การใช้ยาทาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อในช่วงที่แผลกำลังฟื้นฟูอาจส่งผลให้เกิดการระคายเคืองตรงบริเวณที่เจาะได้ การใช้ยาทาปฏิชีวนะจะกักเก็บความชื้นและส่งผลให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียรอบๆ บริเวณที่เจาะ ในขณะที่สารฆ่าเชื้อต่างๆ อย่างแอลกอฮอล์หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์จะขัดขวางการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อให้ช้าลง [7]
    • รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้สบู่ต้านเชื้อแบคทีเรียหรือสารฆ่าเชื้อที่ประกอบด้วยเบนซาลโคเนียมคลอไรด์ (Benzalkonium chloride)
  3. พยายามไม่ให้ผู้อื่นสัมผัสถูกบริเวณที่เจาะของคุณ รวมถึงป้องกันไม่ให้เหงื่อและสิ่งสกปรกเข้าไปอุดตันในรูที่เจาะโดยหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางหรือน้ำหอมใกล้กับบริเวณที่เจาะและหมั่นทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่มีโอกาสสัมผัสกับบริเวณที่เจาะเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรีย [8]
    • ขึ้นอยู่กับบริเวณของร่างกายที่คุณเจาะ คุณอาจจำเป็นต้องทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือ หูฟัง แว่นตา หรือหมวก
  4. แผลเจาะโดยส่วนใหญ่อาจใช้เวลานานหลายสัปดาห์หรือแม้กระทั่งหลายเดือนในการฟื้นฟูจนหายสนิท ดังนั้นคุณจึงควรอดทนสักนิดและทิ้งช่วงสักพักให้แผลหายดีก่อนถอดจิวออก ระยะเวลาในการฟื้นฟูของการเจาะร่างกายในแต่ละตำแหน่งมีดังนี้ [9]
    • ติ่งหู: 3-9 สัปดาห์
    • กระดูกอ่อนหู (เช่น tragus conch industrial rook หรือ orbital): 6-12 เดือน
    • จมูก: 2-4 เดือน
    • ลิ้น: 3-4 สัปดาห์
    • ปาก: 2-3 เดือน
    • สะดือ: 9-12 เดือน
    • อวัยวะเพศ: 4-10 สัปดาห์
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รักษาแผลเจาะที่ติดเชื้อ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สังเกตสัญญาณของการติดเชื้อต่างๆ อย่างรอยแดง รอยบวม หรือไข้สูง. แม้อาการเจ็บรอบๆ บริเวณที่เจาะจะเกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ แต่คุณควรเฝ้าระวังสัญญาณเตือนของการติดเชื้ออยู่เสมอ รวมถึงคอยสังเกตหากอาการเจ็บยังคงไม่ดีขึ้นหรือแย่ลงกว่าเดิมเมื่อคุณสัมผัสถูกบริเวณที่เจาะ สัญญาณของการติดเชื้อที่อาจพบได้มีดังนี้ [10]
    • มีสารคัดหลั่งสีเหลือง สารคัดหลั่งสีเขียว หรือเลือดไหลซึมออกจากแผล
    • มีไข้สูง
    • มีรอยแดง รอยบวม หรือไอร้อนจากแผลเกิดขึ้น
    • มีอาการคันบ่อยครั้ง
    • มีกลิ่นเหม็น
  2. นัดพบแพทย์เพื่อรับการตรวจอาการโดยเร็วที่สุด. เนื่องจากการติดเชื้อที่เกิดขึ้นอาจมีโอกาสเสี่ยงที่จะรุนแรงมากขึ้น คุณจึงควรนัดพบแพทย์หรือแพทย์ผิวหนังเพื่อรับการตรวจอาการโดยเร็วที่สุด แต่หากคุณไม่สะดวกที่จะไปพบแพทย์ คุณสามารถปรึกษาช่างเจาะร่างกายของคุณได้เช่นเดียวกัน [11]
    • แพทย์หรือแพทย์ผิวหนังของคุณจะซักประวัติการรักษาและทำการตรวจร่างกายเพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดให้กับคุณ
    • อย่ากลัวที่จะต้องเข้าห้องฉุกเฉินหากคุณกำลังสงสัยว่าเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรงขึ้นจากการเจาะกระดูกอ่อนหู เนื่องจากการติดเชื้อที่กระดูกอ่อนหูนั้นมีขั้นตอนการรักษาที่ซับซ้อนและมีโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อนมากกว่าการเจาะในตำแหน่งอื่นๆ ของร่างกาย
  3. หากคุณสงสัยว่าการติดเชื้อมีสาเหตุเกิดจากการแพ้นิกเกิล ลองปรึกษาแพทย์หรือแพทย์ผิวหนังเกี่ยวกับการทดสอบภูมิแพ้ แพทย์ของคุณจะทำการทดสอบผิวหนังเป็นบริเวณเล็กๆ เพื่อดูว่าคุณแพ้โลหะหรือไม่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่พบว่านิกเกิลเป็นโลหะที่ก่อให้เกิดอาการแพ้บ่อยที่สุด แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้รักษาโดยการทายาคอร์ติโซนและเปลี่ยนไปใส่จิวที่ทำจากสแตนเลสสตีลหรือทองแทน [12]
    • หากอาการแพ้ของคุณรุนแรงผิดปกติ คุณอาจจำเป็นต้องถอดจิวออกและปล่อยให้รูที่เจาะตันไป และเมื่อผิวกลับมาเรียบเหมือนเดิมแล้ว คุณก็สามารถเจาะบริเวณเดิมซ้ำอีกครั้งโดยใช้จิวที่ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้
  4. แพทย์อาจให้คุณสวมจิวไว้ตามเดิมในช่วงที่กำลังทำการรักษาการติดเชื้อ อย่างไรก็ตามคุณอาจจำเป็นต้องถอดจิวออกหากอาการติดเชื้อของคุณรุนแรงผิดปกติ นอกจากนี้ แพทย์อาจให้คุณรักษาโดยการทายาปฏิชีวนะไปสักพักหนึ่งจนกระทั่งอาการติดเชื้อหายดีเป็นปกติ [13]
    • ในกรณีที่เกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง คุณอาจจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะชนิดทาน
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,280 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา