ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การดูแลแมวแรกเกิดถือเป็นงานยาก เพราะต้องอาศัยความเอาใจใส่คอยดูแลตลอดเวลา หากคุณเพิ่งเอาแมวแรกเกิดมาเลี้ยงแล้วล่ะก็ ขอบอกเลยว่างานเข้าคุณแล้ว ถ้าลูกแมวยังอยู่กับแม่ แม่แมวจะเลี้ยงดูลูกเองเสร็จสรรพ คุณเพียงแค่หาอาหารให้แม่แมวและปล่อยให้แม่แมวดูแลลูกไปในช่วงสัปดาห์แรก แต่ถ้าไม่มีแม่แมวแล้วล่ะก็ คุณต้องเป็นคนรับภาระทั้งหมดของแม่แมว ตั้งแต่ให้นม ให้ความอบอุ่นและพาลูกแมวไปอาบน้ำหรือทำธุระส่วนตัว

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การให้อาหาร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การดูแลแมวแรกเกิดขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ อายุของลูกแมว แม่แมวดูแลลูกตัวเองหรือไม่และสุขภาพของลูกแมว ถ้าเป็นลูกแมวที่ไม่ได้อยู่กับแม่ คุณต้องเตรียมทุกอย่างให้เหมือนตัวเองเป็นแม่แมว เช่น อาหาร ความอบอุ่น การขับถ่าย ขอแนะนำว่าคุณควรพิจารณาสถานการณ์และความพร้อมของตัวคุณเองก่อนรับลูกแมวมาเลี้ยง [1]
    • ถ้าคุณคิดว่าลูกแมวพรากจากแม่แมว ให้ตรวจรอบข้างลูกแมวในรัศมี 10 เมตรอาจจะเจอแม่แมวก็ได้
    • หากลูกแมวอยู่ในอันตราย ให้คุณเข้าช่วยลูกแมวทันที ไม่ต้องรอแม่แมว ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเจอลูกแมวถูกทิ้งอยู่ในสภาพอากาศที่หนาวเหน็บ หรือถูกทิ้งในบริเวณที่เสี่ยงต่อการโดนรถทับหรือหมากัด ให้คุณเข้าช่วยเหลือทันที [2]
  2. ขอความช่วยเหลือจากสัตวแพทย์หรือศูนย์พักพิงสัตว์. อย่าคิดว่าการดูแลลูกแมวเป็นหน้าที่ของคุณทั้งหมด การเลี้ยงลูกแมวแรกเกิดเป็นงานยากที่คุณต้องได้รับความช่วยเหลือเพื่อการอยู่รอดปลอดภัยของลูกแมว ติดต่อขอความช่วยเหลือจากสัตวแพทย์หรือศูนย์พักพิงสัตว์ได้นะ พวกเขาอาจจัดหาแม่แมวบุญธรรมให้กับลูกแมวเพื่อให้ลูกแมวได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนจากแม่แมวหรืออาจจะได้รับขวดนมกลับไป [3]
  3. ถ้าแม่แมวยังอยู่ดูแลลูก ก็จะดีสำหรับตัวลูกแมวเอง เราควรปล่อยให้แม่แมวเลี้ยงลูกเอง เราสามารถช่วยเตรียมอาหารและที่พักพิงให้กับแม่แมว คุณต้องเก็บอาหารและจัดหาที่นอนให้อยู่แยกกัน ไม่อย่างนั้นแม่แมวอาจจะไม่ยอมมาอยู่ในที่ที่คุณจัดไว้ให้ [4]
  4. การให้อาหารลูกแมว . ถ้าไม่มีแม่แมวหรือแม่แมวไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ คุณต้องหาอาหารให้ลูกแมวและป้อนลูกแมวด้วยตัวเอง ประเภทของอาหารก็ขึ้นกับอายุของลูกแมวลองถามสัตวแพทย์เกี่ยวกับการให้อาหารที่จำเป็นสำหรับลูกแมวดูก็ได้ [5]
    • เมื่อลูกแมวมีอายุประมาณ 1-2 สัปดาห์ ให้ป้อนนมจากขวดทุก 1-2 ชั่วโมง โดยใช้นมทดแทนนมแม่แมวเท่านั้น ห้ามให้นมวัวเพราะย่อยยาก
    • เมื่อลูกแมวอายุประมาณ 3-4 สัปดาห์ ให้นมทดแทนนมแม่โดยใส่ในจานก้นตื้น และให้อาหารแมวด้วย อาหารแมวนั้นอาจจะใส่ในน้ำเปล่าเพื่อให้เนื้อสัมผัสนุ่มลง ใส่อาหารในจานแบบนี้วันละ 4-6 ครั้ง
    • เมื่อลูกแมวอายุประมาณ 6-12 สัปดาห์ ให้ลดปริมาณนม และเริ่มให้อาหารแมวแห้งๆ วันละ 4 ครั้ง
  5. เพื่อให้มั่นใจว่าลูกแมวได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเติบโตดี คุณควรจดบันทึกน้ำหนักไว้ด้วยในการชั่งน้ำหนักทุกอาทิตย์ ลูกแมวควรน้ำหนักเพิ่มอาทิตย์ละ 50-100 กรัม หากกังวลว่าลูกแมวน้ำหนักไม่เพิ่มตามช่วงวัย ให้ปรึกษาสัตวแพทย์ [6]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การดูแลและปกป้อง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าแม่แมวอยู่ ปล่อยให้แม่แมวดูแลในช่วงอายุหนึ่งสัปดาห์. แม่แมวอาจไม่สนใจหรือรำคาญลูกของตัวเอง หากมีคนมาวุ่นวาย ดังนั้นจึงควรปล่อยให้แม่แมวดูแลไปก่อนในระยะแรก อย่างไรก็ตาม เมื่อลูกแมวอายุประมาณ 2-7 สัปดาห์ เราต้องเริ่มทำให้ลูกแมวคุ้นชินกับการอุ้มของเราได้แล้ว [7]
  2. ต้อระมัดระวังเวลาอุ้มลูกแมว ถ้ามีลูกหลานอยากอุ้มลูกแมว คุณต้องสอนวิธีอุ้มอย่างอ่อนโยนและไม่อนุญาตให้อุ้มลูกแมวหากไม่อยู่ภายใต้การดูแลของคุณ แมวแรกเกิดนั้นบอบบางมาก แม้แต่เด็กเล็กๆ เล่นด้วยอาจจะเป็นอันตรายต่อลูกแมวได้ [8]
  3. หากลูกแมวยังไม่พร้อมจะมีที่นอนเป็นของตัวเอง ให้คุณจัดหาที่ที่อบอุ่น แห้งและปลอดภัย คุณอาจใช้กล่องธรรมดาหรือกล่องใส่แมวสำหรับเดินทางเป็นที่นอนชั่วคราว อย่าลืมปูด้วยผ้าขนหนูหรือผ้าห่มที่สะอาด [9]
  4. เมื่อแม่แมวไม่อยู่ คุณต้องใช้แผ่นเก็บความร้อนหรือขวดน้ำร้อนห่อด้วยผ้าขนหนูเผื่อให้ความอบอุ่นแก่ลูกแมว ต้องให้ลูกแมวขยับเขยื้อนได้เมื่อลูกแมวรู้สึกร้อนเกินไป คอยดูลูกแมวบ่อยๆว่าเขาสบายดีหรือเปล่า [10]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การขับถ่าย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในช่วงอายุสัปดาห์แรกของลูกแมว แม่แมวจะเลียบริเวณอวัยวะเพศเพื่อช่วยเรื่องการขับถ่ายหนักและเบา ห้ามเข้าไปรบกวนเด็ดขาด [11]
  2. วิธีช่วยให้ลูกแมวขับถ่าย . ถ้าแม่แมวไม่อยู่ คุณต้องช่วยเหลือลูกแมวเวลาขับถ่ายในช่วงอายุสัปดาห์แรก. ใช้ผ้าเปียกหรือผ้าก๊อดชื้นลูบเบาๆบริเวณอวัยวะเพศจนกว่าลูกแมวจะขับถ่ายออกมา ล้างหรือทิ้งผ้าทันทีหลังใช้เสร็จและเช็ดทำความสะอาดลูกแมวหลังขับถ่ายเสร็จ แล้วจึงค่อยวางลูกแมวตัวอื่นลงในกระบะทราย [12]
  3. เมื่อลูกแมวอายุ 4 สัปดาห์ให้เริ่มใช้กระบะทราย. วางลูกแมวลงในกระบะทรายหลังลูกแมวกินข้าวเสร็จ เมื่อตัวหนึ่งขับถ่ายเสร็จ ให้อุ้มอีกตัวเข้ามาในกระบะ ฝึกให้ลูกแมวทุกตัวใช้กระบะทรายหลังกินอาหารก็จะทำให้ลูกแมวคุ้นชินกับกระบะทรายและขับถ่ายเป็นที่ [13]
  4. ถ้าลูกแมวตัวไหนไม่ยอมขับถ่ายเลยเมื่อทำตามขั้นตอนข้างต้น ให้พาไปพบสัตวแพทย์ทันทีเพราะลูกแมวอาจจะท้องผูกหรือลำไส้อุดตัน [14]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่ากลัวที่จะปรึกษาสัตวแพทย์หรือศูนย์พักพิงสัตว์ เพราะตามศูนย์ช่วยเหลือมักมีอาสาสมัครคอยช่วยเหลือลูกแมว ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของลูกแมวได้
  • ห้ามไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 8 ปีอุ้มลูกแมวโดยไม่มีผู้ใหญ่ดูแล ยกเว้นว่าลูกแมวมีอายุ 5-6 สัปดาห์แล้ว
โฆษณา

คำเตือน

  • ห้ามอุ้มลูกแมวเหมือนอุ้มเด็กทารกเวลาให้อาหารจากขวดนม เพราะนมจะเข้าไปในปอดลูกแมวได้ ต้องให้ลูกแมวยืนสี่ขาบนพื้นหรือบนตักระหว่างการให้อาหารเสมอ
  • ห้ามให้นมวัวเด็ดขาด! เพราะย่อยยากและอาจทำให้ลูกแมวไม่สบายได้
  • ห้ามอาบน้ำลูกแมว ถ้ายังอายุไม่เกิน 9 สัปดาห์ เพราะแม่แมวจะไม่คุ้นกลิ่นและทิ้งลูกแมวได้
  • ติดต่อสัตวแพทย์ทันทีหากลูกแมวไม่สบาย หรือมีอาการ เช่น เซื่องซึม จาม ไม่กินอาหาร ฯลฯ ลูกแมวอาจตายได้ หากป่วยหรือได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ

ถ้าต้องการทิ้งลูกแมวแรกเกิด ให้ใส่เขาในกล่องกระดาษ ต้องเจาะรูให้อากาศถ่ายเทได้ ปูผ้าห่มหนาและใส่อาหารปริมาณมากเพื่อให้ลูกแมวมีชีวิตรอด ลูกแมวต้องการความอบอุ่นมากโดยเฉพาะเวลาอยู่ข้างนอกในอากาศที่หนาวเย็น


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 105,789 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา