ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การดูแลรักษาสภาพแล็ปท็อปให้ดีพร้อมใช้งานอยู่เสมอถือว่าสำคัญมาก ขอแค่ทำตามขั้นตอนง่ายๆ ต่อไปนี้ รับรองจะช่วยยืดอายุแล็ปท็อปของคุณ ไม่ต้องมาเหนื่อยซ่อมบำรุงทีหลัง แถมหลายขั้นตอนที่แนะนำไป ช่วยให้แล็ปท็อปทำงานได้รวดเร็วไหลลื่นอยู่เสมอด้วย ทางที่ดีให้เช็คสภาพแล็ปท็อปเป็นประจำ แก้ไข errors และปัญหาต่างๆ ที่พบเจอตอนใช้งานในแต่ละวัน

  1. บางทีก็สะดวกแถมเพลิน หลายคนเลยชอบวางแก้วน้ำ เช่น กาแฟ น้ำอัดลม หรือน้ำเปล่าและน้ำอื่นๆ ใกล้แล็ปท็อปตอนทำงาน ทั้งๆ ที่เสี่ยงจะหกใส่เครื่องได้ง่ายมาก ถ้าจำเป็นจริงๆ ก็ใช้แก้วที่มีฝาปิดซะเลย ถึงเผลอปัด น้ำข้างในจะได้ไม่หกออกมา ถ้าน้ำกระเด็นใส่หรือไหลเข้าเครื่อง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ภายในจะเสียหายหรือช็อตได้ จนข้อมูลสูญหายหรือทำชิ้นส่วน/เครื่องพังถาวร วิธีแก้ง่ายๆ คืออย่าวางแก้วน้ำใกล้เครื่อง เพราะถึงจะระวังแล้ว อุบัติเหตุก็เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ เช่น คนอื่นมาชนหกแทน
  2. ถึงจะระวังเวลาดาวน์โหลดไฟล์แค่ไหน ก็ยังอาจรอดสายตาคุณไปได้ ถ้าไม่มีโปรแกรม antivirus ก็เสี่ยงระบบหรือโปรแกรมล่ม ไวรัสมักทำให้คอมอืด ทำอะไรก็ช้าไปหมด
  3. กินเสร็จแล้วค่อยทำงานดีกว่า เพราะเศษอาหารต่างๆ จะไปซุกอยู่ตามซอกคีย์ ทีนี้ก็เชิญชวนแมลงต่างๆ หรือทำให้แผงวงจรเสียหายได้ แถมแล็ปท็อปยังดูสกปรกซกมกชอบกล
  4. อย่าใช้แล็ปท็อปในห้องเดียวกับที่สัตว์เลี้ยงอยู่. เพราะขนอาจไปอุดตันจนชิ้นส่วนภายในทำงานผิดพลาด เสียหายได้ ยิ่งถ้าเป็นสัตว์เลี้ยงตัวใหญ่ (เช่น น้องหมา) ก็อาจจะวิ่งเล่นซนจนชนแล็ปท็อป หางปัดมาโดน หรือสะดุดสายไฟต่างๆ ได้
  5. ใช้งานและเก็บแล็ปท็อปในห้องที่สะอาด ปราศจากฝุ่น.
  6. นอกจากใช้ touchpad ของแล็ปท็อปสะดวกขึ้นแล้ว ยังไม่ทิ้งคราบมันหรือสิ่งสกปรกไว้ด้วย นอกจากนี้การล้างมือก่อนใช้แล็ปท็อปยังช่วยให้เคลือบผิวไม่สึกหรอจากเหงื่อไคลและฝุ่นผงต่างๆ ด้วย
  7. เวลาปิดฝาแล็ปท็อป ระวังอย่าให้มีสิ่งของอะไรเล็กๆ เช่น ดินสอ หรือหูฟัง อยู่บนคีย์บอร์ด เพราะจะขูดขีดจนหน้าจอเป็นรอยได้ โดยเฉพาะถ้าของชิ้นนั้นแข็งหรือคม ให้จับตรงกลางแล้วปิดฝาลงมาเบาๆ เพราะถ้าออกแรงกดจากมุมใดมุมหนึ่ง จะอันตรายต่อบานพับ นานๆ ไปอาจจะหักได้
  8. จับแล้วยกแล็ปท็อปที่ตัวฐาน อย่าถือที่จอ LCD หรือหน้าจอ. เพราะอาจทำจอพัง หรือทำบานพับที่ยึดจอไว้กับคีย์บอร์ดหักได้ หน้าจอแล็ปท็อปนั้นเป็นรอยง่ายมาก หรือถ้ามีแรงกดมากหน่อยก็เสียหาย เพราะงั้นต้องระวังให้มาก
  9. เวลาถอดปลั๊ก อย่ากระตุกสายไฟให้หลุดจากเต้าเสียบ เพราะสายไฟจะขาด เสียทั้งสายและปลั๊กไฟได้ อีกอย่างคือระวังเตะหรือสะดุดสายไฟที่ห้อยหรือกองอยู่ที่พื้น นอกจากจะเจ็บตัวแล้ว ยังจะไปกระชากให้ปลั๊กหลุดหรือหลวมได้ อันตรายต่อทั้งคุณและเครื่อง
  10. ให้เอาเทปกาวติดสายต่างๆ ไว้กับโต๊ะแทน
  11. ต้องสังเกตสัญลักษณ์ที่แล็ปท็อปให้ดีแล้วค่อยเสียบอุปกรณ์ เพราะถ้าพยายามยัดสายโทรศัพท์เข้าพอร์ท Ethernet หรือสลับกัน จะทำให้ขั้วเสียหายจนใช้งานไม่ได้ เป็นขั้นตอนที่ต้องระวังให้ดี
  12. ไดรฟ์ CD ที่ถอด/เสียบกับแล็ปท็อปได้ บางทีก็เสี่ยงถูกทับหรือทำหล่น เพราะงั้นต้องใช้อย่างระวัง ถ้ายังไม่เสียบกับแล็ปท็อป ก็ต้องเก็บใส่กล่องหรือเคสเฉพาะไว้ จะปลอดภัยกว่า
  13. เสียบไดรฟ์ใน slot อย่างระมัดระวังและทำมุมถูกต้อง. ถ้าดันแรงเกินไปหรือฝืน ระวังจะติดแหงกจนเสีย
  14. เช็คว่าป้ายติดสื่อต่างๆ แน่นหนาดี แล้วค่อยใส่ไปในเครื่อง. ป้ายติดแผ่น CD, DVD หรือ floppy disk ไม่ควรหลุดลอกหรือเผยอ เพราะอาจไปติดค้างในแล็ปท็อปได้ รวมถึงอย่าพยายามใช้แผ่น CD ที่ขนาดเล็กกว่าปกติ เพราะถ้าไปติดค้างข้างใน จะทำไดรฟ์อ่านแผ่นเสียหายถาวรได้เลย
  15. อย่าให้แล็ปท็อปเจออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว. ถ้าข้างนอกอากาศเย็นแล้วเพิ่งเอาแล็ปท็อปเข้าบ้าน อย่าเพิ่งรีบเปิดเครื่องใช้งานทันที ต้องรอให้แล็ปท็อปอุ่นขึ้นเท่าอุณหภูมิห้องก่อน จะได้ไม่เสี่ยงทำ disk drive เสียหายจากการกลั่นตัวของไอน้ำภายใน แสงแดดจัดๆ ก็ต้องหลีกเลี่ยงเช่นกัน
  16. นอกจากอุณหภูมิในรถมักจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนอันตรายต่อแล็ปท็อปแล้ว ยังเสี่ยงโดนคนงัดหรือทุบรถเพราะแล็ปท็อป (หรือกระเป๋าใส่แล็ปท็อป) ล่อตาล่อใจ
  17. เอาแล็ปท็อปไปกำจัดฝุ่นในเครื่องแบบจัดเต็มปีละครั้ง. โดยปล่อยเป็นหน้าที่ของช่างมืออาชีพ แต่ใครเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ จะทำเองก็ได้ไม่ว่ากัน ถ้าฝุ่นสะสมเป็นพิเศษ แล็ปท็อปจะระบายความร้อนได้ไม่สะดวก พอเครื่องร้อนจัด เมนบอร์ดจะเสียหายได้
  18. เพราะจะทำให้จอ LCD ไปเบียดกับคีย์บอร์ดจนเสียหายได้ ถ้ามี CD-ROM ในเครื่องด้วยก็อาจจะถูกบี้จนหักได้
  19. ไม่ว่าจะเอาแล็ปท็อปใส่อะไร เช่น เคส กระเป๋า หรืออื่นๆ ที่ทำเอง ก็ต้องใหญ่พอจะครอบคลุมแล็ปท็อป เพื่อป้องกันรอยขีดข่วน ไม่ให้บี้แบน รวมถึงกันกระแทกเวลาเผลอทำหล่นด้วย
  20. ถ้ากระแทกหรือทำหล่น แล็ปท็อปก็บุบหรือแตกได้ ถ้าใส่กระเป๋าไว้ อย่างน้อยก็ช่วยทอนความเสียหายได้เยอะเลย
  21. เวลาใช้แล็ปท็อป ให้เลือกสถานที่ที่อากาศถ่ายเท หลายคนทำแล็ปท็อปพังไม่รู้ตัวเพราะนั่งในห้องร้อนอับ จนเครื่อง overheat ขึ้นมา
  22. ถ้าช่องระบายอากาศอุดตัน อากาศจะไม่ไหลเวียนถ่ายเท ทำให้เครื่องร้อนจัดได้
  23. เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ถ้าใครพกพาไปใช้นอกบ้าน อาจจะหาโต๊ะหรือพื้นผิวราบเรียบได้ยากในบางครั้ง แต่ขอให้พยายามเข้าเพื่อสภาพอันดีของแล็ปท็อป
  24. ถ้าใช้แล็ปท็อปบนเตียงเป็นประจำ อาจทำให้ฝุ่นผ้าไปอุดตันช่องระบายอากาศได้ จนแล็ปท็อปร้อนจัดในที่สุด
  25. อย่าเปิดโปรแกรมหรือ bloatware ทิ้งไว้ในแล็ปท็อปเยอะเกินไป เพราะเปลือง memory ที่จำเป็นต่อการเล่นเกมหรืองานสำคัญต่างๆ.
  26. ระวังไฟล์ติดตั้งไม่พึงประสงค์ ที่ติดมาตอนดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บต่างๆ. พวกนี้จะทำให้ยิ่งเปลืองความจำ เพราะทำงานอยู่เบื้องหลังไม่รู้ตัว
  27. ใช้โปรแกรม cleaner ป้องกันไม่ให้ไฟล์หรือโปรแกรมที่ไม่ใช้รกเครื่อง. จะได้ทวงคืนความจำ ให้คอมทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
  28. เพื่อล้างโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้ และไฟล์ต่างๆ ที่ตกค้างตอนถอนการติดตั้งโปรแกรม
  29. ใช้ Windows ReadyBoost เปลี่ยนแฟลชไดรฟ์หรืออุปกรณ์ removable อื่นๆ เป็น virtual RAM. ใช้ ReadyBoost แล้วช่วยให้คอมทำงานรวดเร็วทันใจ ทั้งๆ ที่โปรแกรมมากขึ้นตามเวลา
  30. อย่าเปิดไฟล์ multimedia ขนาดใหญ่ยักษ์หรือที่อยู่ในฟอร์แมตที่เครื่องไม่รองรับ. โดยเฉพาะถ้าสเปคแล็ปท็อปไม่เพียงพอ เพราะอาจทำให้เครื่องเสียหายในระยะยาวได้
  31. จะได้รู้ชัดเจนว่าตรงไหนมีปัญหา ปล่อยเป็นหน้าที่ของช่างมืออาชีพจะดีกว่า
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เก็บแล็ปท็อปให้พ้นมือเด็กเล็ก
  • หมั่นดูแลและป้องกันปัญหาแต่แรก จะง่ายกว่ามานั่งซ่อมแซมทีหลัง
  • ทำประกันแล็ปท็อป ลอง search ในเว็บหรือกระทู้ต่างๆ ดู แต่ระวังเรื่อง "Zero excess" หรือ "no excess" แต่จริงๆ แล็ปท็อปแต่ละยี่ห้อก็จะมีประกัน 1 ปีขึ้นไปอยู่แล้ว ให้เช็คเงื่อนไขดีๆ ว่าครอบคลุมอะไรบ้าง
  • กดปุ่มเบามือหน่อย จะได้ไม่ลอกหรือหลุด
  • ใช้แล็ปท็อปในห้องหรือสถานที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก
  • ถ้าจะใช้เรื่องงาน ก็ต้องเลือกสเปคแล็ปท็อปให้ตรงกับการใช้งาน เช่น ใช้ประจำ แทบจะตลอดเวลา ก็ต้องเลือกรุ่นถึกทน แต่ถ้าต้องเดินทางบ่อย ให้เลือกที่พกพาสะดวก
  • ติดชื่อ-นามสกุล อีเมล เบอร์มือถือ หรือข้อมูลติดต่ออื่นๆ ไว้ที่แล็ปท็อป สายไฟ และชิ้นส่วนอื่นๆ ที่ถอดหรือเคลื่อนย้ายได้
  • ทำความสะอาดแล็ปท็อปด้วยแอลกอฮอล์ methylated spirit เป็นประจำ ทั้งแบตเตอรี่ terminals แล้วก็กระเป๋าแล็ปท็อป
  • คุณทำแผ่นป้องกันหน้าจอได้เอง จาก floppy foam แผ่นบางๆ ที่ตัดให้ขนาดพอดีกับหน้าจอแล็ปท็อป จากนั้นสอดไว้ระหว่างคีย์บอร์ดกับหน้าจอตอนปิดเครื่องและปิดฝาลงมา ถ้าแล็ปท็อปแค่ sleep ยังไม่ได้ปิดเครื่อง ก็อย่าเพิ่งสอดเข้าไป เพราะถ้าแล็ปท็อปร้อนจัด (overheat) แผ่นโฟมนี้จะทำให้แล็ปท็อปไหม้ได้
  • หมั่น backup ข้อมูลไว้ เผื่อแล็ปท็อประบบล่มและ/หรือโดน ransom ware เรียกเงินแลกกับข้อมูล
  • เก็บข้อมูลแล็ปท็อปของตัวเองไว้ เช่น serial number รุ่น และยี่ห้อ ถ้าหายหรือถูกขโมย แล้วจะตามหาหรือแจ้งความ จะได้มีหลักฐาน
  • คุณทำเคสแล็ปท็อปใช้ได้เอง เช่น ใช้กระดาษลัง 2 แผ่น ยึดติดกันด้วยเทปกาวเหนียวแข็งแรง จากนั้นสอดแผ่นบับเบิ้ลกันกระแทกหรือปลอกหมอนเข้าไป แต่ต้องวัดขนาดให้ได้เป๊ะๆ! หรือเอากระเป๋าเก่ามารีไซเคิลแทนก็ได้ แต่อย่าลืมบุก่อน แล้วปรับขนาดให้พอดีกับแล็ปท็อป
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้ายังไม่ใช้แล็ปท็อปหรือคอมภายใน 2 ชั่วโมงขึ้นไป ให้ shut down ก่อน เพราะบอกเลยว่าไฟที่ใช้ตอนเปิดเครื่องนั้นน้อยนิดมาก ถ้าเทียบกับไฟที่ใช้ตอนปล่อยให้แล็ปท็อปทำงานไปเรื่อยๆ
  • อย่าวางแล็ปท็อปบนพรม เพราะขนหรือเส้นใยจะไปบังช่องระบายอากาศใต้แล็ปท็อป ทำให้ลมร้อนออกไปไม่ได้ ย้อนกลับเข้าเครื่อง จะทำให้เครื่อง overheat ได้ สุดท้ายแล็ปท็อปจะอืดหรือไหม้ได้ การวางแล็ปท็อปในลิ้นชักหรืออะไรที่มีผนังกั้นรอบๆ ระบายอากาศไม่สะดวกก็เช่นกัน
  • กันเด็กเล็กและสัตว์เลี้ยงต่างๆ (เช่น นกแก้วที่มีปฏิกิริยากับเสียงคลิกหรือของแวววาว) จากแล็ปท็อปของคุณให้ดี
  • แต่บางคนก็แนะนำว่า ถ้าเปิดแล็ปท็อปหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทิ้งไว้เลย แทนที่จะปิดๆ เปิดๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้เครื่องร้อน-เย็นสลับกันเกินไปจนบางชิ้นส่วนเสียหาย
  • ถ้าอยากล้างข้อมูลแล้วลงระบบปฏิบัติการใหม่เลย แล้วไม่แน่ใจตรงไหน ควรยกเครื่องไปให้ช่างดูจะดีกว่า เพราะถ้าลงมือเองงูๆ ปลาๆ อาจเผลอทำข้อมูลหายหรือเกิด error จนคอมเสียได้
  • เรื่องประกันแล็ปท็อป ต้องระวังที่เขียนว่า "no excess" หรือ "zero excess" เพราะถึงครั้งแรกจะฟรี แต่พอครบปีก็ต้องจ่ายอีกแบบเต็มจำนวน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,888 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา