ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าจะเลี้ยงหรูแบบปิด หรือเลี้ยงอิสระแบบเปิด แมวน้อยของคุณก็มีโอกาสซุกซ่อนพยาธิไว้ในตัวได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น พยาธิตัวกลม พยาธิตัวตืด หรือพยาธิปากขอก็ตาม [1] ลูกแมวมักรับสืบทอดพยาธิมาจากนมแม่ ส่วนแมวโตมักได้มาโดยบังเอิญเพราะไปกินอะไรที่มีไข่พยาธิเข้า ไม่ก็กินหนูที่มีพยาธิเข้าไป พอน้องแมวทั้งหลายติดพยาธิได้แสนจะง่ายดายขนาดนี้ ก็เป็นหน้าที่เจ้าของอย่างคุณนี่แหละ ที่ต้องคอยสังเกตอาการ จะได้รีบเอาไปหาหมอทันแต่เนิ่นๆ [2] ถ้าชะล่าใจละก็ พยาธิจะเปลี่ยนขนเงาสวยของน้องเหมียวไปเป็นขนด้านๆ ไม่ก็กลายเป็นแมวพุงโลไปซะอย่างงั้น แต่ยังดีที่ไม่ค่อยร้ายแรงถึงขั้นล้มหายตายจากขนาดนั้น จริงๆ แล้วพยาธิกำจัดได้ง่ายนิดเดียว เพียงแต่ต้องใช้ยาให้ถูกโรคเท่านั้นแหละ [3] ผนวกกับความรู้รอบตัวอีกนิดๆ หน่อยๆ แถมยังสังเกตง่ายจะตายไป ว่าแมวของคุณน่ะจริงๆ แล้วติดพยาธิหรือเปล่า

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

สังเกตอาการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปกติขนแมวจะเงางาม แต่ถ้ามีพยาธิละก็ ขนจะลีบๆ ด้านๆ ขึ้นมาทันที [4]
    • ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะพยาธิทำให้น้องแมวขาดน้ำหรือดูดซึมสารอาหารได้ไม่เพียงพอ [5]
  2. แมวสุขภาพดีก็ไม่ต่างจากคน คือเหงือกจะเป็นสีชมพูน่ารัก แต่ถ้าเหงือกน้องเหมียวเริ่มซีดออกขาว นั่นแหละสัญญาณบอกโรคโลหิตจาง ซึ่งมักเกิดจากพยาธินั่นเอง [6]
    • เวลาจะขอดูเหงือกน้องเหมียว ให้จับนั่งตักหรือจะนั่งข้างๆ กันก็ได้ จากนั้นให้จับหัวแมวเบาๆ มือข้างนึงรองใต้คางจับขากรรไกร ส่วนอีกข้างจับที่หลังหูด้านบน ใช้ปลายนิ้วยกปากแมวด้านบนให้เผยอขึ้นมา จะได้เห็นเหงือกบนชัดๆ [7]
    • ถ้าเหงือกแมวสีซีด รีบพาไปหาหมอจะดีที่สุด
  3. ถ้าแมวคุณใช้กระบะทราย ก็สังเกตได้ง่ายหน่อย ดูซิว่าอึน้องเหมียวมีลักษณะดังต่อไปนี้หรือเปล่า
    • สีเข้มดำเหมือนน้ำมันดิน อาจเป็นสัญญาณบอกอาการเสียเลือดเพราะพยาธิปากขอไปเกี่ยวตัวอยู่กับผนังลำไส้แมว [8]
    • แมวท้องเสียก็อาจเป็นเพราะมีพยาธิแฝงตัวอยู่ในลำไส้จนทำเอาระบบย่อยอาหารของแมวปั่นป่วนได้ [9]
    • ถ้าแมวคุณท้องเสียเกิน 24 ชั่วโมง ถ่ายเป็นเลือดสดๆ หรือออกมาสีเข้มดำ ให้รีบพาไปหาหมอโดยด่วน
  4. ปกติแมวมักจะขากหรืออ้วกเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ถ้าแมวอ้วกถี่จนผิดสังเกต ให้รีบพาไปหาหมอก่อนค่อยว่ากัน เพราะอาจเป็นสัญญาณบอกว่าน้องเหมียวมีพยาธิในตัว หรืออาจป่วยเป็นโรคอื่นๆ [10]
    • พยาธิทำให้แมวอ้วกได้เพราะไปบล็อคทางเดินอาหาร หรือทำให้กระเพาะระคายเคือง [11]
  5. แมวที่มีพยาธิเยอะก็มักจะไม่ค่อยอยากกินอะไรเป็นธรรมดา [12]
    • สาเหตุหลักๆ ก็คือผนังลำไส้อักเสบ ปวดท้อง และพยาธิเข้าไปยึดพื้นที่ในท้องของแมวเยอะจนเกินไป [13]
  6. แมวที่มีพยาธิเยอะจะพุงป่อง ดูท้องบวมๆ เต่งๆ กว่าปกติ [14]
    • อาการนี้จะเหมือนเวลาแมวอ้วก คือเป็นอาการทั่วไปที่อาจเกิดได้เพราะหลายสาเหตุ แต่ก็น่าเป็นห่วงพอให้คุณรีบพาน้องเหมียวไปหาหมอแล้วล่ะ ไม่ว่าจะเกิดเพราะสาเหตุใดก็ตาม [15]
  7. ถ้าพยาธิแย่งสารอาหารที่แมวควรจะได้รับโดยตรงจากลำไส้เลย น้องเหมียวของคุณก็จะรู้สึกเซื่องซึม หมดแรง ไม่ขี้เล่นร่าเริงเหมือนเดิม [16] เจ้าของอย่างคุณต้องหมั่นสังเกตให้ดี ว่าบุคลิกท่าทางของแมวเปลี่ยนไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือหรือเปล่า
    • แต่บางทีที่แมวซึมอาจจะเป็นเพราะโรคอื่นก็ได้ ยังไงก็เอาไปหาหมอไว้ก่อนจะดีกว่า [17]
    • คุณเลี้ยงเขามา คุณคือคนที่รู้ดีที่สุด ว่าปกติแมวของคุณซนหรือว่าชอบอยู่เฉยๆ ถ้าปกติซนลิงเรียกพี่ ก็ผิดปกติแน่ถ้าอยู่ๆ น้องเหมียวเกิดซึม เรียบร้อยขึ้นมาซะอย่างนั้น
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ตรวจหาหลักฐาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หาถุงมือแบบใช้แล้วทิ้งมาใส่ก่อน แล้วหาไม้ไอติมหรืออะไรที่คุณไม่ได้ใช้แล้วมาเขี่ยๆ อึน้องเหมียวในกระบะทรายดู ว่ามีพยาธิหรือไข่พยาธิหรือเปล่า
    • พยาธิตัวตืดมักวางไข่เป็นกลุ่มๆ บนอึแมว จะดูแล้วคล้ายเมล็ดงาหรือเมล็ดแตงกวา ซึ่งบางทีก็กระดิกหรือขยับเขยื้อนได้ด้วย [18]
    • หายากมากที่จะเจอพยาธิตัวตืดแบบสมบูรณ์อยู่ในอึแมว ส่วนมากจะเห็นเป็นตัวสีครีมแบนๆ แบ่งเป็นหลายๆ ท่อนมากกว่า พยาธิตัวตืดโตเต็มวัยสามารถยาวได้ถึง 2 ฟุต (60 เซนติเมตร) เลยทีเดียว [19]
    • ไข่ของพยาธิตัวกลมจะเล็กมาก เล็กเกินกว่าจะมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่บางทีก็มีพยาธิเป็นตัวๆ หลุดออกมากับอึด้วย ไม่ก็ออกมากับอ้วกน้องแมว พยาธิตัวกลมจะดูเหมือนเส้นสปาเก็ตตี้ คือยาวๆ นิ่มๆ ขนาดเส้นก็พอๆ กันเลย พยาธิตัวกลมโตเต็มวัยมักจะยาวแค่ประมาณ 3 - 6 นิ้วเท่านั้น [20]
    • ไข่ของพยาธิปากขอก็เล็กจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าเหมือนกัน ส่วนตัวโตเต็มวัยก็เล็กจิ๋ว วัดได้แค่ 2 - 3 มม. เท่านั้น เพราะฉะนั้นก็สังเกตได้ยากมากเลย [21]
  2. ไข่เป็นกลุ่มๆ ของพยาธิตัวตืดจะออกมาทางรูก้นของแมว แล้วติดอยู่ตามขน เพราะงั้นถ้าเห็นไข่สีขาวครีมเล็กๆ คล้ายเมล็ดงา กระจุกตัวอยู่เป็นกลุ่มๆ ตามขนของแมว ก็รู้ไว้เลยว่าแมวคุณมีพยาธิตัวตืดเข้าให้แล้ว [22]
  3. บางทีกลุ่มไข่พยาธิก็ติดอยู่ตามที่ต่างๆ ที่น้องแมวชอบไปนั่งๆ นอนๆ ด้วย อย่างตามเบาะหรือที่นอน กระทั่งเฟอร์นิเจอร์นุ่มๆ ของคุณ เพราะงั้นให้รีบเช็คดูตามที่เหล่านี้ ถ้าคุณสงสัยว่าแมวอาจติดพยาธิ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ทดสอบให้แน่ใจ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณกลุ้มใจ สงสัยว่าตกลงแมวมีพยาธิหรือเปล่า วิธีที่ชัวร์ที่สุด ก็คือต้องส่งตัวอย่างอึน้องเหมียวไปให้คุณหมอตามคลินิกรักษาสัตว์ใกล้บ้านลองตรวจดู คุณหมอจะใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องหาไข่พยาธิเอง
    • ไข่ของพยาธิแต่ละชนิดก็มีรูปร่างแตกต่างกันออกไป เพราะงั้นวิธีนี้แหละที่จะบอกได้ดีที่สุด ว่าแมวคุณมีพยาธิชนิดไหน (หรืออาจจะมากกว่า 1 ชนิด) อยู่ในตัว [23]
    • ตอนคุณโทรนัดหมอ อย่าลืมอธิบายอาการผิดปกติต่างๆ ของน้องแมวให้คุณหมอรับทราบด้วย
  2. ถ้าคุณหมอบอกให้คุณช่วยเก็บตัวอย่างอึน้องแมวมาตรวจ ก็รีบไปเก็บซะ แล้วเอามาใส่ในภาชนะที่ปิดมิดชิดพร้อมส่งตรวจ
    • ปกติไข่พยาธิจะแข็งแรง ไม่ตายง่ายๆ แต่เพื่อความแน่ใจ ให้คุณเก็บตัวอย่างอึน้องเหมียวไว้ในห้องที่อากาศเย็น ไม่โดนแสงสว่าง ประมาณโรงรถหรือห้องเก็บของ เป็นต้น [24]
    • ห้ามเก็บที่ใส่อึน้องเหมียวไว้ในห้องที่คุณใช้ประกอบอาหารเด็ดขาด ที่สำคัญคือต้องล้างมือให้สะอาดหลังเก็บตัวอย่างอึ [25]
    • เพื่อลดความเสี่ยงของการตรวจตัวอย่างอึออกมาเป็น "ผลลบลวง (false negative)" คุณหมออาจขอให้คุณเก็บตัวอย่างแบบ pooled sample คือเก็บอึ 3 ครั้ง จากการอึ 3 วัน แล้วใส่ผสมไว้ในภาชนะเดียวกัน [26]
  3. คุณหมอจะตรวจน้องเหมียวของคุณควบคู่ไปกับการตรวจตัวอย่างอึ ซึ่งก็แล้วแต่คุณหมอแนะนำ
    • ถ้าสรุปแล้วแมวคุณมีพยาธิจริง คุณหมอจะจ่ายยาให้ คุณก็ให้ไปตามที่คุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัด แป๊บเดียวเดี๋ยวพยาธิก็หายไปเอง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เตือนกันไว้ก่อน ว่าบางทีแมวก็สะสมพยาธิไว้ในตัว โดยเฉพาะพยาธิตัวกลม แต่กลับไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆ ถ้าเกิดพยาธิออกลูกออกหลานจนเต็มท้องไปหมด ก็จะไปแย่งสารอาหารที่จำเป็นจากน้องแมว จนสุดท้ายกลายเป็นปัญหาสุขภาพระยะยาวได้ [27] เพราะงั้นสำคัญมากว่าคุณต้องหมั่นพาน้องแมวไปตรวจเช็คสุขภาพกับคุณหมอ ถึงจะไม่ได้ป่วยอะไรก็เถอะ จะได้ป้องกันทั้งพยาธิและโรคต่างๆ ไว้แต่เนิ่นๆ
  • คุณลดความเสี่ยงการเกิดพยาธิให้น้องแมวได้ โดยรักษาความสะอาดของกระบะทรายอยู่เสมอ ต้องเก็บอึน้องเหมียวทุกวัน และล้างทำความสะอาดกระบะทรายบ่อยๆ ด้วยน้ำยาฟอกขาวนิดเดียวผสมน้ำให้เจือจาง (อัตราส่วน 1 : 30) หรือใช้น้ำยาล้างจานอ่อนๆ ก็ได้ [28] [29]
  • ดูดฝุ่นทำความสะอาดบ้านของคุณอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง เห็บหมัดจะได้ไม่มากวนใจ
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณสงสัยว่าแมวอาจมีพยาธิ หรือคุณเพิ่งไปจับตัวน้องเหมียวเพื่อตรวจหาพยาธิ ให้รีบล้างมือให้สะอาด และอย่าลืมเก็บอึเปลี่ยนทรายในกระบะทันที ที่สำคัญคืออย่าเพิ่งให้เด็กๆ ในบ้านมาขลุกอยู่กับน้องแมว จนกว่าจะพาแมวไปตรวจรักษากับคุณหมอให้แน่ชัด
  • บางทีผลทดสอบตัวอย่างอึออกมาเป็นลบก็ไม่ได้แปลว่าแมวไม่มีพยาธิ เพราะพยาธิบางชนิดก็ไม่ได้ทิ้งไข่ไว้ดูต่างหน้าบ่อยๆ ถึงแมวจะมีพยาธิชนิดนั้นอยู่ในตัว ก็อาจไม่มีไข่เป็นหลักฐานในตัวอย่างอึที่คุณเก็บมา คุณหมออาจบอกให้คุณเก็บตัวอย่างอีกรอบเพื่อตรวจหาพยาธิซ้ำอีกที [30]
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Parasites of domestic owned cats: co-infestations and risk factors. Beugnet. Parasitology Vectors. 25: 291.
  2. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby.
  3. Parasites of domestic owned cats: co-infestations and risk factors. Beugnet. Parasitology Vectors. 25: 291.
  4. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby.
  5. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby.
  6. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby.
  7. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby.
  8. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby.
  9. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby.
  1. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby.
  2. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby.
  3. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby.
  4. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby.
  5. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby.
  6. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby.
  7. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby.
  8. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby.
  9. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby.
  10. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby.
  11. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby.
  12. Interpretation of Laboratory Results for Small Animal Clinicians. Bush. Publisher: Blackwell.
  13. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby.
  14. Interpretation of Laboratory Results for Small Animal Clinicians. Bush. Publisher: Blackwell.
  15. Interpretation of Laboratory Results for Small Animal Clinicians. Bush. Publisher: Blackwell.
  16. Interpretation of Laboratory Results for Small Animal Clinicians. Bush. Publisher: Blackwell.
  17. Interpretation of Laboratory Results for Small Animal Clinicians. Bush. Publisher: Blackwell.
  18. Small Animal Internal Medicine. Nelson & Couto. Publisher: Mosby.
  19. http://www.catinfo.org/?link=litterbox
  20. http://www.humanesociety.org/animals/cats/tips/preventing_litter_box_problems.html
  21. http://www.petplace.com/cats/fecal-examination-in-cats/page1.aspx

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 59,474 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา