ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้วยตวงถือเป็นหนึ่งในเครื่องครัวชิ้นสำคัญก็ว่าได้ โดยเฉพาะถ้าต้องตวงของเหลว ถ้าอยู่ๆ คุณต้องใช้ถ้วยตวงกะทันหันแต่ไม่มีหรือหาไม่เจอ ก็อย่าเพิ่งเครียดไป เพราะบทความวิกิฮาวนี้จะมาแนะนำวิธีการตวงของเหลวแบบไม่ใช้ถ้วยตวงให้คุณเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

กะปริมาณเปรียบเทียบกับอย่างอื่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าอยู่ๆ ต้องใช้แต่ดันไม่มีถ้วยตวง ถ้าคุณกะปริมาณในหัวเป็น ก็ยังพอเทียบปริมาณที่ต้องการตวงได้ ต่อไปนี้เป็นหลักการตวงง่ายๆ ที่เรานำมาฝากกัน
    • 1 ช้อนชา เท่ากับประมาณข้อแรกของนิ้วมือ
    • 1 ช้อนโต๊ะ เท่ากับประมาณ 1 ก้อนน้ำแข็ง
    • 1/4 ถ้วยตวง เท่ากับประมาณไข่ 1 ฟองใหญ่
    • 1/2 ถ้วยตวง เท่ากับประมาณ 1 ลูกเทนนิส
    • 1 ถ้วยตวง เท่ากับประมาณ 1 ลูกเบสบอล ลูกแอปเปิ้ล หรือกำปั้นของคุณ [1]
  2. แนะนำให้ใช้มือคุณเอง เพราะเราป้องมือรองของเหลวได้ แต่อาจจะไม่เหมาะสำหรับของเหลวที่เหนียวหนืดหน่อย [2] ลองเลือกภาชนะที่โปร่งใสดู จะได้กะปริมาณตามในหัวได้พอดี
    • เช่น ถ้าจะตวงของเหลว 1/4 ถ้วยตวง จะสะดวกกว่าถ้าใช้แก้วทรงสูงที่ใส่ไข่ 1 ฟองได้พอดี ถ้าเป็นแก้วปากกว้าง จะเหมาะสำหรับปริมาณ 1/2 - 1 ถ้วยตวงมากกว่า
  3. จะได้เห็นปริมาณที่เทลงไปชัดๆ จากนั้นเทของเหลวใส่ภาชนะช้าๆ
    • พอกะว่าน่าจะได้ปริมาณที่ถูกต้องแล้ว ก็หยุดแล้วเปรียบเทียบกับปริมาณในจินตนาการได้เลย
    • จะเพิ่มลดปริมาณของเหลวในภาชนะก็ได้ ตามต้องการ
  4. ต่อไปจะตวงอีกก็ง่ายขึ้น เพราะมีปริมาณที่ยึดเป็นตัวตั้งแล้ว [3] ถ้าจะตวงปริมาณไหน แนะนำให้ใช้ภาชนะแยกไปเลย อย่าเปลี่ยนไปมา (เช่น ใช้แก้วทรงสูงตวง 1/4 ถ้วยตวง)
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ใช้เครื่องชั่งดิจิตอล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้เครื่องชั่งดิจิตอลตวงปริมาณของเหลวแบบเป๊ะๆ. พูดง่ายๆ คือคุณตวงของเหลวด้วยเครื่องชั่งดิจิตอลแบบที่ใช้ในครัวได้เลย โดยเทียบกับความหนาแน่นของน้ำ [4]
    • ของเหลวส่วนใหญ่ เช่น นม และน้ำส้ม จะมีความหนาแน่นเท่าน้ำเปล่า แต่ของเหลวบางอย่างก็หนาแน่นกว่ามาก (เช่น น้ำผึ้ง หรือไซรัป) เพราะฉะนั้นจะใช้ค่าเดียวกันไม่ได้
    • ถ้าอยากตวงให้แม่นยำกว่าเดิม บางเครื่องชั่งดิจิตอลจะมีตัวเลือกของเหลวอื่นให้ เช่น นม เครื่องจะคำนวณปริมาณโดยอ้างอิงจากความหนาแน่นของของเหลวที่เลือก ถ้าเครื่องชั่งของคุณมีฟีเจอร์นี้ ก็ต้องเลือกให้ถูกชนิดของเหลว [5]
  2. ถ้าใช้ตาชั่งธรรมดา ก็ต้องคำนวณน้ำหนักของเหลวให้ถูกต้อง สำคัญมากว่าน้ำในปริมาณ 1 ออนซ์ของเหลว เท่ากับมีน้ำ 1 ออนซ์พอดีเป๊ะๆ ซึ่งก็เป็นหลักการเดียวกันกับปริมาณลิตร (น้ำ 1 มิลลิลิตร จะหนัก 1 กรัม) [6]
    • เวลาตวงของเหลวก็ยึดหลักนี้ได้เลย เช่น ถ้าต้องการใช้น้ำ 1/2 ถ้วยตวง ก็ต้องตวงให้ได้ 4 ออนซ์ หรือ 125 กรัม
  3. วางภาชนะนั้นบนเครื่องชั่ง ให้อยู่ตรงกลางเป๊ะๆ
    • อย่าเพิ่งเทของเหลวใส่ภาชนะ ตอนนี้สำคัญว่าภาชนะต้องว่างเปล่าก่อน เพราะเราต้องตั้งค่าเครื่องชั่งให้ไม่รวมน้ำหนักของภาชนะเวลาตวง [7]
  4. ตั้งค่าเครื่องชั่งให้ไม่รวมน้ำหนักภาชนะเวลาตวง. มองหาปุ่มที่เครื่องชั่ง ปกติจะเขียนว่า “tare” หรือ “zero”
    • พอกดปุ่มนี้แล้ว น้ำหนักภาชนะที่เครื่องชั่งจะกลายเป็นศูนย์ แน่ใจได้ว่าเวลาตวงจะได้ปริมาณของเหลวที่ถูกต้องเป๊ะๆ [8]
  5. ค่อยๆ เท และหยุดเป็นระยะเพื่อเช็คน้ำหนัก พอเครื่องชั่งแสดงเลขน้ำหนักตามปริมาณที่ต้องการแล้ว ก็หยุดเทได้เลย ถ้าเทเกินปริมาณที่ต้องการ ก็เททิ้งในอ่างล้างจานได้
  6. ถ้าใช้ตาชั่งธรรมดา แล้วจะผสมของเหลวทั้งหมดเข้าด้วยกัน ก็ตวงโดยใช้ภาชนะเดิมได้เลย โดยวางภาชนะไว้บนตาชั่ง แล้วคำนวณปริมาณใหม่ที่ต้องการ โดยรวมปริมาณของของเหลวทั้งหมดที่จะผสมกัน เสร็จแล้วเทของเหลวชนิดใหม่ลงในภาชนะ จนถึงปริมาณที่รวมกันไว้แล้ว
    • ถ้าใช้เครื่องชั่งดิจิตอลที่มีให้เลือกของเหลวชนิดต่างๆ อย่าลืมเปลี่ยน settings แล้วเริ่มตวงใหม่
    • ถ้าจะตวงน้ำ แล้วตามด้วยตวงนม แนะนำให้เอาภาชนะใส่น้ำออกไปก่อน จากนั้นเลือกตัวเลือกตวงนมในเครื่องชั่ง แล้วค่อยเริ่มตวงนมใหม่ด้วยอีกภาชนะหนึ่ง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ใช้ช้อนโต๊ะกับช้อนชา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กะปริมาณช้อนโต๊ะ ที่ต้องใช้. ง่ายที่สุดคือจำว่า 1 ถ้วยตวง เท่ากับ 16 ช้อนโต๊ะ ใช้เป็นหลักการตวงง่ายๆ เวลาจะตวงจำนวนช้อนโต๊ะที่ต้องการ
    • เช่น ถ้าต้องใช้ของเหลว 1/2 ถ้วยตวง ก็เท่ากับ 8 ช้อนโต๊ะนั่นเอง [9]
  2. ตวงของเหลวด้วยช้อนโต๊ะจนได้ปริมาณตามต้องการ. ให้ตวงของเหลวโดยมีภาชนะรอง จะได้ไม่หกเลอะเทอะ เวลาเทของเหลวใส่ช้อนโต๊ะ ให้เทช้าๆ มือนิ่งๆ จะได้ไม่หกจนปริมาณเกินต้องการ
    • เทใส่ภาชนะแล้วตวงซ้ำจนได้ปริมาณช้อนโต๊ะตามต้องการ
  3. ถ้าอยากได้ปริมาณละเอียดทีละน้อย ให้ใช้ช้อนชา. บางสูตรอาหารต้องตวงวัตถุดิบแบบเป๊ะๆ แบบนี้ให้ใช้ช้อนชาตวงจนได้ปริมาณตามต้องการ
    • 1 ช้อนชา เท่ากับ 1/6 ออนซ์ของเหลว หรือ 4.7 มล.
  4. จะได้กะถูกว่าเท่านี้คือประมาณไหน
    • ถ้าใช้ภาชนะที่เป็นแก้วหรือพลาสติก อาจจะใช้ปากกาเคมีขีดบอกปริมาณที่ด้านนอกก็ได้ [10] จะได้ไม่ต้องมานั่งตวงทีละช้อนโต๊ะอีก เช่น ถ้าตวงได้ 1/4 ถ้วยตวง (4 ช้อนโต๊ะ) ก็ให้เขียนไว้ที่ภาชนะว่า “1/4”
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าเป็นสูตรอาหารเก่าๆ อาจจะใช้ระบบตวงแบบ imperial เป็นหลัก โดยจะเท่ากับ 9.6 ออนซ์ ซึ่งจะใหญ่กว่าถ้วยตวงมาตรฐานแบบอเมริกัน พอตวงออกมาจะได้ 19 ช้อนโต๊ะ ไม่ใช่ 16 ช้อนโต๊ะ [11]
  • สูตรอาหารของแต่ละประเทศก็จะใช้หลักการตวงแตกต่างกันไป เช่น ถ้วยตวงมาตรฐานของอังกฤษ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย แคนาดา และแอฟริกาใต้ ก็จะเป็น 250 มล. (8.4 ออนซ์) [12]
  • ถ้าสูตรอาหารใช้ถ้วยตวงทั้งหมด เช่น แป้ง 2 ถ้วยตวง น้ำตาล 1/2 ถ้วยตวง นม 1 ถ้วยตวง ก็ใช้ถ้วยหรือแก้วน้ำได้เลย! ส่วนสูตรที่ต้องใช้วัตถุดิบหน่วยตวงเดียวกันแต่หลายๆ ครั้ง ก็ใช้ภาชนะเดียวตวงทั้งหมดได้เลย จะพลาดก็แค่มากหรือน้อยไปนิดหน่อยเท่านั้น
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 6,135 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา