ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

"กรัม" เป็นหน่วยพื้นฐานที่ใช้ชั่งตวงมวลและน้ำหนัก ในระบบ metric และ SI นิยมใช้ตวงน้ำหนักของชิ้นเล็กๆ เช่น วัตถุดิบแห้งในครัว วิธีเดียวที่จะตวงวัตถุดิบออกมาเป็นกรัมได้ถูกต้องแม่นยำ คือใช้ตาชั่งดิจิตอลเท่านั้น ถ้าเป็นอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ถ้วยตวงและช้อนตวง จะได้แค่คร่าวๆ เท่านั้น รวมถึงควรมีเครื่องหรือตารางแปลงหน่วยติดบ้านไว้ จะได้แปลงวัตถุดิบเป็นกรัมได้ กรณีไม่มีตาชั่งดิจิตอล

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ใช้ตาชั่งดิจิตอล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เลือกตาชั่งที่ใหญ่พอจะวางวัตถุที่จะชั่งน้ำหนักได้ โดยกรัมนั้นเป็นหน่วยวัดแบบ metric ตาชั่งของคุณเลยต้องใช้ระบบเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นตาชั่งดิจิตอลหรือตาชั่งปกติก็ตาม
    • เช่น ตาชั่งดิจิตอลก็จะใช้ชั่งวัตถุดิบในการทำอาหาร ส่วนเครื่องชั่งน้ำหนักก็จะใหญ่กว่า รับน้ำหนักได้มากกว่า
    • ถ้าเป็นตาชั่งดิจิตอลจะใช้ง่ายและแม่นยำกว่า แต่ตาชั่งธรรมดาก็จะราคาถูกกว่า
  2. ถ้าจะตวงอะไรที่เอามาวางบนตาชั่งไม่ได้ ก็ต้องชั่งภาชนะว่างๆ ก่อนใส่วัตถุดิบนั้น นี่เป็นวิธีเดียวที่จะตวงวัตถุดิบเบาๆ ร่วนๆ อย่างแป้งและน้ำตาลได้ ขั้นตอนนี้จะทำให้มวลของภาชนะไม่ถูกรวมในน้ำหนักตอนสุดท้าย [1]
    • เช่น เวลาชั่งแป้ง 1 ถ้วยตวง ก็ให้ชั่งถ้วยตวงหรือช้อนตวงเปล่าก่อน
    • ถ้าตาชั่งของคุณไม่มี tare function คือหักน้ำหนักของภาชนะออกได้ ก็ต้องชั่งภาชนะก่อน แล้วจดน้ำหนักไว้ จากนั้นชั่งวัตถุดิบ แล้วค่อยเอาไปลบกัน
  3. กดปุ่ม tare เพื่อให้น้ำหนักที่ตาชั่งกลับเป็นศูนย์. ปุ่มปริศนาบนตาชั่ง ที่เขียนว่า "tare" นั้น จริงๆ แล้วเป็นปุ่มรีเซ็ตน้ำหนักนั่นเอง ให้กดปุ่ม tare ทุกครั้งหลังชั่งอะไรบนตาชั่ง ถ้าวางภาชนะและกดปุ่มแล้ว ก็เทวัตถุดิบใส่ได้เลย [2]
    • ถ้าใช้ตาชั่งปกติ จะมีลูกบิดให้หมุนไปที่ 0 เพื่อให้เข็มของตาชั่งกลับไปชี้เลข 0 ตรงกลางหน้าปัด
    • ถ้าอยากตวงวัตถุดิบออกมาแม่นยำที่สุด ให้รีเซ็ตน้ำหนักทั้งตอนที่ยังไม่ได้วางอะไร และหลังจากวางภาชนะแล้ว
  4. วางวัตถุนั้นตรงกลางตาชั่ง ถ้าจะชั่งภาชนะไปก่อนแล้ว ก็เอาวัตถุดิบนั้นใส่ในภาชนะได้เลย ตาชั่งจะคำนวณน้ำหนักวัตถุดิบนั้นออกมาให้เอง
    • ถ้าอยากให้อ่านค่าออกมาแม่นยำที่สุด ต้องให้วัตถุหรือวัตถุดิบนั้นอยู่บนตาชั่งทั้งหมด
    • เช่น ถ้าจะชั่งแอปเปิ้ลฝานเป็นชิ้นๆ ก็วางชิ้นแอปเปิ้ลบนตาชั่งเลย หรือเอาใส่ภาชนะที่ชั่งไปก่อนหน้าก็ได้
  5. รอจนเลขในหน้าจอดิจิตอลหรือเข็มตาชั่งหยุด พอทุกอย่างหยุดนิ่งแล้ว ก็อ่านค่าได้เลยว่าวัตถุนั้นหนักเท่าไหร่ ย้ำว่าต้องเช็คว่าหน่วยเป็นกรัมแน่ๆ เสร็จแล้วยกวัตถุนั้นลง และกดปุ่ม tare อีกรอบเพื่อรีเซ็ตตาชั่ง
    • ถ้าไม่รีเซ็ตน้ำหนักที่ตาชั่งก่อน ก็อย่าลืมลบน้ำหนักภาชนะออกจากน้ำหนักสุดท้ายที่ได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ใช้ถ้วยตวงกับช้อนตวง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ทำขนมทั่วไป ถ้าร้านใหญ่ๆ ก็จะมีให้เลือกเยอะ นอกจากตาชั่งแล้ว อุปกรณ์ที่ตวงวัตถุดิบออกมาเป็นกรัมได้เป๊ะที่สุด ก็คือช้อนตวงที่มีหน่วยเป็นกรัมนั่นเอง โดยจะมีบอกไว้ทั้งมิลลิลิตรและกรัมที่ด้ามจับเลย [3]
    • แต่ช้อนตวงกับถ้วยตวงยังไงก็ไม่แม่นยำเท่าตาชั่ง แนะนำให้ใช้ตวงวัตถุดิบไปชั่งบนตาชั่งอีกที
    • จะตวงด้วย “ช้อนโต๊ะ” ก็ได้ แต่ข้อเสียคือจะไม่มีบอกหน่วยไว้ และขนาดยังต่างกันไปตามช้อนที่ใช้ด้วย
    • ถ้วยตวงแบบเป็นแก้ว บางทีก็มีหน่วยเป็นกรัมพริ้นท์ติดไว้ด้วย ก็ใช้ได้เหมือนกัน
  2. เลือกอุปกรณ์ที่จะใช้ตวง จากนั้นเอาไปตวงวัตถุดิบ ถ้าเป็นช้อนตวงก็ง่ายหน่อย แค่จุ่มช้อนลงไปในวัตถุดิบนั้น ก็จะตวงวัตถุดิบออกมาได้ใกล้เคียงกับปริมาณที่เขียนไว้บนช้อน ไม่ต้องเอาไปชั่งอีกทีก็ได้ [4]
    • เช่น ถ้าต้องการแป้ง 15 กรัม ก็แค่เอาช้อนตวงปริมาณ 15 กรัม ตักแป้งขึ้นมาให้เต็ม
    • ถ้าใช้เครื่องตวงแบบมีหน่วยเป็นช้อนโต๊ะและช้อนชา ก็อ่านตารางแปลงหน่วยได้ตามเว็บอย่าง https://www.exploratorium.edu/cooking/convert/measurements.html
  3. ใช้มีดทาเนยหรืออื่นๆ ที่ไม่มีคม เวลาปาดไปบนช้อนจะได้ไม่ขูดขีด ให้ปาดวัตถุดิบเรียบไปกับช้อนตวงจนสุด เพื่อขจัดวัตถุดิบส่วนเกินที่พูนอยู่บนช้อน เหลือแต่วัตถุดิบในช้อน ได้ปริมาณออกมาแม่นยำ [5]
    • อะไรที่พูนเหนือขอบช้อน ถือว่าเป็นส่วนเกินทั้งหมด ให้ปาดออกทุกครั้งเวลาตวงวัตถุดิบอะไรก็ตาม
  4. ถึงใช้ช้อนตวงหรือถ้วยตวง ก็จะได้ปริมาณวัตถุดิบแค่กะพอคร่าวๆ เท่านั้น ถ้าอยากได้ปริมาณเป๊ะๆ ต้องนำวัตถุดิบในช้อนตวงหรือถ้วยตวงไปชั่งอีกที
    • ย้ำอีกทีว่าช้อนและถ้วยตวงบอกปริมาณวัตถุดิบได้แค่คร่าวๆ เท่านั้น เช่น แป้ง 1 ช้อน จะหนักไม่เท่าสมุนไพรหรือถั่ว 1 ช้อนแน่นอน
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

แปลงหน่วยวัดอื่นเป็นกรัม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1 กิโลกรัมเท่า 1,000 กรัม ถ้าจะตวงอะไรใหญ่ๆ ให้ใช้สูตรนี้แปลงหน่วยง่ายๆ ถ้าจะแปลงกรัมกลับเป็นกิโลกรัม ก็แค่หารด้วย 1,000 [6]
    • 11.5 กก. * 1,000 = 11,500 กรัม
  2. ออนซ์ เป็นหน่วยพื้นฐานที่ใช้ชั่งตวงมวลและน้ำหนัก ในระบบ imperial นิยมใช้กันในประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา ให้คูณออนซ์ด้วย 28.34952 แล้วจะได้กรัม สูตรนี้ยากหน่อย ต้องใช้เครื่องคิดเลขหรือ conversion tool ออนไลน์ อย่างเว็บ https://www.rapidtables.com/convert/weight/ounce-to-gram.html [7]
    • 12 ออนซ์ * 28.34952 = 340.12 กรัม
    • ถ้าเห็นหน่วยปอนด์ ก็เป็นหน่วยชั่งตวงระบบ imperial เหมือนกับกิโลกรัม โดย 16 ออนซ์ เท่ากับ 1 ปอนด์
  3. “กรัม” เป็นหน่วยชั่งตวงมวลที่นิยมใช้กับของแข็งอย่างแป้งและน้ำตาล “ถ้วยตวง” หรือ “ช้อนชา” เป็นหน่วยชั่งตวงปริมาณ นิยมใช้กับของเหลวอย่างน้ำมันและน้ำ เวลาปรุงอาหาร คุณแปลงหน่วยพวกนี้ได้ง่ายๆ โดยใช้ conversion tool หรือเว็บแปลงหน่วย อย่าง https://www.convertunits.com/from/grams/to/teaspoon+ [US] [8]
    • หน่วยชั่งตวงพวกนี้ใช้แทนกันไม่ได้ เลยแปลงด้วยสูตรเดียวไม่ได้
    • เดี๋ยวนี้วิธีทำตามสูตรอาหารมักจะบอกไว้ทั้งถ้วยตวงและกรัม
  4. ถ้าเป็นการแปลงหน่วยทั่วไปอย่างถ้วยตวงเป็นกรัม ก็ดูตารางแปลงหน่วยได้เลย. วิธีนี้จะช่วยได้ ถ้าสูตรอาหารไม่ได้ตวงเป็นหน่วยกรัม รวมถึงกรณีที่จะตวงวัตถุดิบทีละน้อย ลองพิมพ์แปลงวัตถุดิบบางชนิดเป็นกรัมในเน็ตดู หรือ search หาตารางแปลงหน่วย เช่นในเว็บ https://www.exploratorium.edu/cooking/convert/measurements.html . [9]
    • ยีสต์สำเร็จรูป 1 กรัม จะเท่ากับประมาณ ⅓ ช้อนชา
    • เกลือปรุงอาหาร 1 กรัม จะเท่ากับประมาณ ⅙ ช้อนชา
    • เบคกิ้งโซดา หรือผงฟู 1 กรัม จะเท่ากับประมาณ ⅕ ช้อนชา
    • ผงซินนามอน (อบเชย) 1 กรัม จะเท่ากับประมาณ ⅜ ช้อนชา
    • ผงมอลต์แบบ diastatic หรือยีสต์แห้ง (active dry yeast) 1 กรัม จะเท่ากับประมาณ ¼ ช้อนชา
  5. จดเทียบหน่วยถ้วยตวงเป็นกรัมไว้เลย ถ้าต้องแปลงหน่วยบ่อยๆ. วัตถุดิบ 1 ถ้วยตวง ไม่ได้น้ำหนักเท่ากันทุกอย่าง ถ้าแต่ละวัตถุดิบน้ำหนักต่างกันมาก จะดีกว่าถ้าจดค่าที่แปลงหน่วยแล้วไว้ใช้เวลาไม่มีตาชั่ง หรือใช้ตารางแปลงหน่วย อย่างในเว็บ http://dish.allrecipes.com/cup-to-gram-conversions/ . [10]
    • เช่น เนย 1 ถ้วยตวง เท่ากับประมาณ 227 กรัม
    • แป้งอเนกประสงค์ หรือน้ำตาลไอซิ่ง 1 ถ้วยตวง เท่ากับประมาณ 128 กรัม
    • น้ำผึ้ง กากน้ำตาล หรือไซรัป 1 ถ้วยตวง จะเท่ากับประมาณ 340 กรัม
    • น้ำหนักของเม็ดช็อคโกแลตชิป จะต่างกันไปตามยี่ห้อ แต่ส่วนใหญ่ 1 ถ้วยตวง จะเท่ากับประมาณ 150 กรัม [11]
    • ผงโกโก้ 1 ถ้วยตวง จะเท่ากับประมาณ 100 กรัม
    • วอลนัทสับ หรือถั่วพีแคน 1 ถ้วยตวง จะเท่ากับประมาณ 120 กรัม
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หน่วยเป็นกรัมเหมาะกับการตวงของแห้ง เช่น แป้ง หรือน้ำตาล ถ้าเป็นของเหลว ปกติจะตวงเป็นหน่วยมิลลิลิตรหรือออนซ์ของเหลว
  • วิธีเดียวที่จะตวงวัตถุดิบเป็นกรัมได้ถูกต้องที่สุด ก็คือใช้ตาชั่งดิจิตอลนั่นเอง
  • แต่ละวัตถุดิบจะหนักไม่เท่ากัน ถึงจะเป็น 1 ถ้วยตวงเหมือนกัน แต่กาแฟ 2 ชนิดก็จะตวงออกมาได้น้ำหนักไม่เท่ากัน
  • อุปกรณ์ที่ใช้ในการตวง อย่างถ้วยตวงและช้อนชา แต่ละที่ก็ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นอย่ายึดเป็นหลักเวลาแปลงเป็นกรัม
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

ใช้ตาชั่งดิจิตอล

  • ตาชั่งดิจิตอล
  • ภาชนะ

ใช้ถ้วยตวงหรือช้อนตวง

  • ถ้วยตวงหรือช้อนตวงที่เป็นหน่วยกรัม
  • มีด

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,458 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา