ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
มีตั้งหลายเหตุผลว่าทำไมคุณถึงควรจะตัดเสื้อผ้าเอง ถ้าคุณสนใจในงานออกแบบแฟชั่น มีชุดอยู่ในใจที่อยากจะทำให้ตัวเอง หรือแค่ต้องการจะดัดแปลงเสื้อผ้าที่มีอยู่แล้ว ถ้าเช่นนั้นมันจะเป็นประโยชน์มากที่จะเรียนรู้การตัดเย็บเสื้อผ้าจากเริ่มต้น คุณไม่จำเป็นต้องเก่งระดับช่างเย็บผ้าก็สามารถสร้างสรรค์ชุดของตัวคุณเองได้แล้ว
ขั้นตอน
-
เรียนรู้อุปกรณ์ต่างๆ ที่คุณต้องใช้. การตัดเย็บเสื้อผ้านั้นต้องอาศัยอุปกรณ์แตกต่างกันสำหรับเย็บ ทำแพทเทิร์น และวัดแพทเทิร์นเพื่อให้แน่ใจว่าใส่ได้พอดี คุณจำเป็นต้องเรียนประเภทของอุปกรณ์และวิธีใช้งาน ในตอนแรกอาจจะไม่ค่อยคล่อง แต่ยิ่งฝึกก็จะยิ่งง่ายขึ้น
- เตารีดและแผ่นรองรีด จะใช้เตารีดคุณภาพระดับไหนก็ได้ที่มีอยู่แล้ว แต่ท้ายที่สุดคุณอาจอยากลงทุนซื้อชนิดคุณภาพสูง คุณต้องใช้เตารีดไว้ทับชุดตอนเย็บเพื่อให้แน่ใจว่าตะเข็บมันจะคงรูปได้ถูกต้อง
- ที่เลาะผ้า คุณจะใช้มันเมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นโดยเลาะด้ายที่เย็บผิดออก
- ชอล์ก เพื่อทำจุดกำหนดบนผืนผ้า คุณจะได้รู้ว่าตรงไหนเย็บ ตรงไหนตัดออก
- คุณต้องการกรรไกรคมๆ สักอันที่จะใช้ตัดผ้าเท่านั้น มิเช่นนั้นกรรไกรจะทื่อเร็วและทำให้ผ้าเสียหายหรือลุ่ยได้
- กระดาษลอกลายสำหรับการทาบแพทเทิร์นและปรับแพทเทิร์นในระหว่างเย็บ
- ไม้บรรทัดสำหรับวัดเวลาประกอบชิ้นส่วน (ทั้งในระยะออกแบบและระยะตัดเย็บ)
- สายวัด โดยเฉพาะสายวัดที่มีความยืดหยุ่น คุณจะใช้วัดและปรับขนาด
- เข็มเพื่อปักตรึงผ้าให้อยู่ในตำแหน่งก่อนจะเริ่มเย็บ แต่ควรใช้เข็มแต่น้อยเพราะมันสามารถทำให้ผ้าเยี้ยวผิดรูปได้
-
หาจักรเย็บผ้า. มีจักรเย็บผ้าอยู่สองประเภท หนึ่งในสำหรับใช้ภายในบ้านและอีกประเภทสำหรับใช้ในเชิงอุตสาหกรรม ทั้งสองประเภทนี้มีข้อดีข้อเสียต่างกัน จึงควรคำนึงก่อนว่าประเภทไหนตอบสนองความต้องการของคุณมากกว่ากัน [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- จักรเย็บผ้าแบบใช้ในบ้านมักจะคล่องตัวและมีความอเนกประสงค์มากกว่า พวกมันจะทำฝีเข็มได้หลายแบบ อย่างไรก็ดี พวกมันจะสู้ไม่ได้ในเชิงของความเร็วและกำลัง อีกทั้งใช้กับผ้าหนาได้ไม่ค่อยดีนัก
- จักรเย็บผ้าแบบใช้ในเชิงอุตสาหกรรมจะมีกำลังมากกว่าและเย็บได้เร็วกว่า แต่ก็มักจะเย็บได้ฝีเข็มแบบเดียว (เช่นเข็มเดี่ยวกุ๊นตรง) พวกมันจะเย็บฝีเข็มแบบนี้ได้เร็วและดีมาก แต่ปรับเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ยังจะกินเนื้อที่มากกว่าด้วย
-
เรียนรู้ส่วนต่างๆ ของจักรเย็บผ้า. หวังว่าจักรเย็บผ้าที่คุณซื้อจะมีคู่มือการใช้งานมาด้วย เพราะมันจะบอกคุณว่าด้ายจะหมุนไปทางไหนและหลอดด้ายอยู่ตรงไหน อย่างไรก็ตาม คุณจำเป็นต้องรู้จักส่วนประกอบพื้นฐานของจักรเย็บผ้าก่อนจะเริ่มสนุกกับมันอยู่ดี
- แกนหลอดด้ายสำหรับใส่หลอดด้ายและควบคุมทิศทางของด้ายเวลาผ่านเข้าไปในจักร แกนหลอดด้ายอาจวางเป็นแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้ตามแต่ชนิดของจักรเย็บผ้า
- กระสวยซึ่งก็คือแกนที่จะไม่ทำให้ด้ายพันกัน คุณจะต้องใช้ด้ายพันตามกระสวยและนำไปใส่ในชุดจานกระสวย (ซึ่งจะพบใต้แป้นฟัน)
- จักรเย็บผ้าของคุณมักจะมีปุ่มปรับความยาวฝีเข็มเพื่อช่วยในการพิจารณาว่าจะใช้ฝีเข็มยาวเท่าไหร่ในแต่ละตะเข็บ จำนวนความตึงของด้ายเพื่อให้แน่ใจว่าตะเข็บเย็บจะออกมาถูกต้อง และปุ่มเลือกลวดลายของฝีเข็ม (ถ้าคุณมีจักรเย็บผ้าที่สามารถเลือกลวดลายฝีเข็มได้)
- คันยกตีนกดผ้าจะควบคุมความตึงของด้าย หากความตึงของด้ายไม่อยู่ในระดับที่ถูกต้อง ด้ายจะพันกันและเข้าไปติดในจักรเย็บผ้า
- คุณสามารถตรวจสอบตามร้านขายจักรเย็บผ้าใกล้บ้านเพื่อดูว่ามีใครที่จะช่วยแนะนำจักรเย็บผ้าแก่คุณ หรือไม่ก็ขอความช่วยเหลือจากญาติหรือเพื่อนที่พอมีความรู้
-
เริ่มต้นง่ายๆ. เวลาจะเริ่มตัดเย็บเสื้อผ้า ให้เริ่มที่แบบง่ายๆ มิฉะนั้นทำไปจะงงและหงุดหงิดจนเลิกไปเลย ทางที่ดีเริ่มกับกระโปรง เพราะมันตัดเย็บง่ายกว่าชุดสูท 3 ชิ้นและไม่ต้องวัดตัวยุ่งยากนัก
- เวลาเริ่มต้น หลีกเลี่ยงการตัดเย็บชุดที่มีกระดุมหรือซิป ลองเย็บผ้ากันเปื้อนหรือชุดนอนโดยใช้ยางยืด พอเริ่มคุ้นเคยกับเครื่องไม้เครื่องมือกับจักรเย็บผ้า ค่อยเริ่มพัฒนาไปอย่างอื่น
-
ตัดผ้าสำหรับทดสอบก่อน. ทางที่ดีในการจะตัดเย็บชุดคือลองตัดชุดลองทดสอบก่อน เพื่อคุณจะได้ปรับการออกแบบและเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามที่เห็นว่าเหมาะสำหรับชุดที่ตัดจริง
- แนะนำให้ใช้เศษผ้าชนิดเดียวกับที่จะใช้ตัดจริง
-
ทำการวัดตัวตามที่จำเป็นต้องใช้เพื่อทำแพทเทิร์น. ถึงจะตัดตามแพทเทิร์นที่คุณไปเจอตามที่ต่างๆ แทนที่จะออกแบบเอง แต่คุณก็ยังต้องทำการวัดตัวเพื่อทำให้ชุดใส่ได้พอดีตัวเมื่อตัดเสร็จ
- สำหรับกางเกง คุณต้องวัดดังต่อไปนี้: เอว สะโพก ความลึกของเป้า และความยาวขาตั้งแต่เอวจนถึงพื้น สำหรับกางเกงขาสั้น ให้ใช้ตัวเลขตามที่วัดกางเกง เพียงแต่ลดความยาวปลายขาตามที่คุณต้องการ
- สำหรับเสื้อเชิ้ต ให้วัดดังต่อไปนี้: คอ อก ความกว้างของหัวไหล่ ความยาวของแขน ความยาวของวงแขน และความยาวของตัวเชิ้ต
- สำหรับกระโปรง คุณแค่ต้องการวัดเอวกับสะโพก ความยาวกับความฟูฟ่องจะแตกต่างกันขึ้นกับว่าคุณจะตัดกระโปรงทรงอะไร
โฆษณา
-
ทำแพทเทิร์น. สเก็ตช์แพทเทิร์นโดยใช้ค่าที่คุณวัดมาได้ ใช้ผ้าชนิดเดียวกันมาเป็นไกด์ก่อนสำหรับการออกแบบและวางแพทเทิร์นให้ถูกต้อง และมีอีกหลายที่ซึ่งคุณสามารถหาไอเดียดีๆ สำหรับมาทำแพทเทิร์นได้ [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ร้านมือสองหรือร้านขายอุปกรณ์ตัดเย็บมักจะมีแพทเทิร์นชุดย้อนยุคมันๆ (โดยเฉพาะชุดเดรส) และมีแพทเทิร์นง่ายๆ หาได้ตามอินเทอร์เน็ต
-
วางผ้าที่เลือกไว้บนพื้นเรียบแล้ววางแพทเทิร์นลงบนผ้า. ต้องวางแผนดีๆ ในการตัดสินใจว่าจะวางแพทเทิร์นแต่ละชิ้นอย่างไร
- พับผ้าโดยให้ด้านที่ถูกต้องหันเข้าหากัน และริมผ้าตรงกัน ริมผ้าคือส่วนขอบของผ้าที่เย็บไว้กันลุ่ย การพับมันแบบนี้จะช่วยให้ตัดแพทเทิร์นชิ้นที่ต้องใช้เป็นคู่ (แขนเสื้อ ขากางเกง เป็นต้น) กับแพทเทิร์นชิ้นใหญ่ที่สมมาตรได้ง่าย
- ถ้าคุณมีแพทเทิร์นชิ้นใหญ่ที่สมมาตรและสามารถพับจากตรงกลางได้ (เช่น ด้านหลังของเชิ้ต) ให้พับแพทเทิร์นจากตรงกลางและใช้เข็มปักแพทเทิร์นที่พับไว้บนผ้าที่พับขอบไว้ นี่จะช่วยประหยัดแรงและช่วยให้แน่ใจว่าผ้าที่ตัดมานั้นจะสมมาตร
- ถ้าจะตัดผ้าที่แนบพอดีตัว ทางที่ดีให้วางแพทเทิร์นเป็นมุมทแยง (มุม 45 องศาจากขอบที่พับไว้)
- ในการเย็บผ้าที่ไม่ยืดตัว ให้วางแพทเทิร์นในมุม 90 องศาจากขอบที่พับไว้
-
รีดรอยยับบนผ้า. คุณต้องแน่ใจว่าผ้านั้นไม่มีรอยยับ มิฉะนั้นตอนท้ายอาจเละเทะได้ถ้ารอยยับนั้นทำให้ผ้าเลยจากแนวที่วางไว้
-
ใช้เข็มตรึงแพทเทิร์นบนผ้า. นี่จะบอกว่าคุณต้องตัดที่ตรงไหน ให้แน่ใจว่าผ้ายังไม่มีรอยยับและแพทเทิร์นกับผ้านั้นวางไว้ตรงกัน
-
ตัดผ้าตามแพทเทิร์น. ให้แน่ใจว่าได้ตัดผ้าทั้งสองชั้น
-
เอาแพทเทิร์นกระดาษออกจากแพทเทิร์นผ้า. ตอนนี้คุณก็พร้อมจะเริ่มขั้นตอนการตัดเย็บแล้วโฆษณา
-
ใช้เข็มตรึงชิ้นผ้าเข้าด้วยกันตามขอบตะเข็บ. ดูว่าคุณจะใช้ขอบด้านไหนที่จะเย็บเข้าด้วยกันแล้วใช้เข็มตรึงเนื้อผ้าสองชิ้นนั้นเข้าด้วยกันตรงขอบตะเข็บ โดยให้ด้านที่ถูกต้องหันเข้าหากัน สอดเข็มทำมุม 90 องศาจากขอบเพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องเอามันออกในระหว่างเย็บผ้า
-
เย็บชิ้นผ้าเข้าด้วยกัน ทำทีละด้านและจากปลายด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง จนกระทั่งคุณได้ตัดเย็บเสร็จ.
- มันจะใช้เวลา ดังนั้นพยายามอดทนเข้าไว้ ถ้าทำเละ ไม่ต้องกังวลไป เพราะถึงเวลาได้ใช้ที่เลาะผ้าแล้วละ
-
ใช้จักรเย็บผ้าให้ถูกต้อง. คุณจำต้องให้แน่ใจว่ามีเข็มที่ถูกต้องสำหรับการใช้งานและฝีเข็มที่ถูกต้องด้วย ฝีเข็มต่างชนิดกันและเข็มต่างชนิดกันเหมาะสมกับผ้าต่างชนิดกัน
- คุณต้องใช้เทคนิคแตกต่างออกไปสำหรับผ้าที่ทำจากขนสัตว์อย่างผ้าไหม วูลหรืออัลปาก้า ตรงข้ามกับผ้าจากเส้นใยธรรมชาติอย่างฝ้ายหรือแฟล็กซ์และผ้าใยสังเคราะห์อย่างเรยองหรือโพลีเอสเตอร์ ให้แน่ใจว่าคุณรู้ว่ากำลังใช้ผ้าชนิดไหนและชนิดของเข็มกับฝีเข็มที่เหมาะกับมันที่สุด
- ค่อยๆ นำผ้าเข้าจักร. อย่าดึงหรือดันผ้าเพราะจักรจะทำเอง มิฉะนั้นจักรจะอุดตันหรือไม่ผ้าก็เสียไปเลย
-
เย็บริมผ้า. ทำให้เสื้อผ้าเสร็จสมบูรณ์โดยเก็บขอบผ้าให้เรียบร้อย
- พับขอบขึ้น ด้านที่ไม่ใช่พับเข้าใน ตามความกว้างของขอบตะเข็บผ้าตามที่ต้องการและกดผ้าที่พับเข้าด้วยกัน พับขอบที่ผ่านการทับไว้อีกหนึ่งทบแล้วกดอีก จากนั้นเย็บตามขอบด้านบนที่พับไว้ภายในผ้า
-
ติดอุปกรณ์ตบแต่งขั้นสุดท้าย. เช่นพวกกระดุม ยางยืด ซิป หรือติดลูกไม้หรือลายปักแปลกๆ ก็ได้ ยิ่งคุณเริ่มเย็บและตัดเสื้อผ้าได้คล่อง คุณก็สามารถมีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มเติมอุปกรณ์ตบแต่งเหล่านี้โฆษณา
-
ตัดกระโปรง. เนื่องจากสื้อผ้าแต่ละสไตล์ล้วนมีความแตกต่างกัน มีจุดสำคัญหลักๆ ที่ควรแก่การจดจำเวลาจะเลือกว่าจะตัดชุดอะไรและจะตัดยังไง [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- กระโปรงนั้นมีหลายแบบให้เลือก: กระโปรงทรงเอ กระโปรงทรงวงกลม กระโปรงบาน กระโปรงจีบบน กระโปรงยาวแบบแม็กซี่และสั้นแบบมินิ กระโปรงทรงสอบ กระโปรงจีบรอบตัว และอื่นๆ อีกมาก คุณต้องเลือกก่อนว่าอยากลองกระโปรงทรงไหน [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- กระโปรงแบบพื้นฐานที่สุดที่ทำได้ง่ายคือกระโปรงรัดรูปแบบสั้น ซึ่งต้องการแค่ยางยืดกับผ้า (ผ้าที่ยืดได้จะดีมาก) คุณสามารถตัดเสร็จภายในหนึ่งชั่วโมง แถมยังใส่สบายอีกด้วย [5] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ลำดับการเย็บกระโปรงคือ เย็บตะเข็บด้านข้าง เย็บตะเข็บด้านหน้า และเย็บตะเข็บหลัง ติดซิปหรือวิธีการกลัดอื่นๆ แถบเอว แล้วก็เก็บชายกระโปรง
-
ตัดกางเกงยีนส์เอง. เนื่องจากกางเกงนั้นสามารถปรับได้หลายแบบและสามารถตัดด้วยผ้าทุกชนิด จึงเป็นโครงการที่เหมาะหลังจากคุณเรียนรู้พื้นฐานทั้งหมดแล้ว คุณจะตัดได้ง่ายขึ้นถ้าทำกางเกงเอวยางยืด หรือจะทำแบบซับซ้อนขึ้นโดยใช้ซิปหรือกระดุมก็ได้
- ลำดับการตัดเย็บยีนส์ (หรือกางเกงทุกทรง) คือ เย็บกระเป๋า เย็บตะเข็บข้าง เย็บตะเข็บหน้า และเย็บตะเข็บหลัง ติดซิปหรือวิธีกลัดแบบอื่นๆ เย็บส่วนเอว เก็บชายกางเกง
-
ตัดชุดเดรสเอง. เช่นเคย มีชุดเดรสหลากหลายแบบให้ตัด ตั้งแต่ เดรสผ้าฝ้ายสั้นๆ รับหน้าร้อน ไปจนถึงเดรสชุดราตรีชายยาว ชุดเดรสนั้นจะซับซ้อนกว่ากระโปรง คุณจึงต้องไม่รีบตัดชุดแบบนี้โดยที่ยังไม่ชำนาญในการตัดเย็บพื้นฐาน
- ลำดับโดยทั่วไปในการตัดชุดเดรสแบบผ้าชิ้นเดียวคือ เย็บผ้ารอง เย็บไหล่ให้ขึ้นรูป เย็บตะเข็บข้าง เย็บส่วนบนของเดรสยกเว้นชาย เย็บส่วนล่างของเดรส เย็บตะเข็บหลัง เย็บตะเข็บหน้า จากนั้นนำส่วนที่เป็นชายกระโปรงด้านล่างมาเชื่อมกับส่วนที่เป็นเกาะอกของเดรสด้านบนตรงบริเวณเอว ติดซิปหรือรังดุม เก็บชายชุดเดรส
-
ตัดเชิ้ต. ถึงแม้เวลาทำจะสนุก แต่มันจะยุ่งยากซับซ้อนกว่า เพราะคุณจำเป็นต้องทำทั้งรังดุมและเย็บเป็นเส้นโค้ง (จากที่คุณต้องเย็บไปตามเส้นที่เกิดจากลำคอและไหล่) อีกทั้งยังมีแพทเทิร์นมากชิ้นกว่าด้วย
- เสื้อที่ทำได้ง่ายที่สุดคือเสื้อถักแบบสวมที่ไม่ต้องมีกระดุมหรือกระเป๋า
- ลำดับโดยทั่วไปถ้าต้องการจะเย็บเสื้อ (หรือแจ็คเก็ต) คือ เย็บผ้ารอง เย็บไหล่เข้ารูป ติดซิปหรือรังดุม เย็บไหล่ เย็บตะเข็บข้าง เย็บปกเสื้อและขอบด้านหน้า เย็บวงแขน แขนเสื้อ เก็บชายเสื้อ
-
เย็บโค้ทกันหนาว. แจ็คเก็ตกับโค้ทเป็นชุดที่ตัดเย็บซับซ้อนมากที่สุดอย่างหนึ่ง คุณต้องอย่าเพิ่งคิดจะตัดจนกว่าจะสะสมประสบการณ์ได้ดีมาระดับหนึ่ง เนื่องจากมันมีทั้งกระดุมกับกระเป๋า ต้องตัดเย็บตามส่วนโค้งเว้าแทนที่จะตัดเป็นเส้นตรง และต้องใช้แพทเทิร์นหลายต่อหลายชิ้นมาก
- แจ็คเก็ตที่ตัดง่ายที่สุดคือพวกที่ไม่มีซับในหรือไม่จำเป็นต้องเย็บติดแขนเสื้อ
โฆษณา
เคล็ดลับ
- ซักและตากผ้าก่อนจะนำมาตัดแพทเทิร์น จะได้ไม่เกิดการหด
- ถ้าคุณอยากเติมกระเป๋าลงไปในแพทเทิร์น พวกมันจะต้องทำสำเร็จแล้วจึงค่อยนำมาใช้เข็มปักยึดไว้ก่อนเย็บผ้าเข้าด้วยกัน
- ตอนวางแพทเทิร์นลงบนผ้า ให้ดูลวดลายบนเนื้อผ้าด้วย ถ้าจำเป็นต้องให้มันตรงกัน คุณจำเป็นต้องคิดมากหน่อยเวลาวางแพทเทิร์น
- ให้แน่ใจว่าได้บวกส่วนทดสำหรับการเผื่อพับเข้าไปตอนวัดเวลาจะทำแพทเทิร์น เช่น ถ้าคุณใช้การพับพื้นที่ตะเข็บ 0.5 นิ้ว (1.27 ซม.) คุณจะเสียเนื้อผ้าไป 1 นิ้ว (2.54 ซม.) จากตะเข็บแต่ละข้างที่จะเย็บเข้า ทำเช่นเดียวกันนี้สำหรับเย็บริมผ้าด้วย
- ออกแบบก่อนแล้วลองบนหุ่น
- แนะนำให้คุณใช้แพทเทิร์นเพื่อทำชุดทดลองเหมือนจริงหรือม็อคอัพก่อนโดยใช้เศษผ้า ก่อนจะตัดโดยใช้เนื้อผ้าจริง วิธีนี้จะทำให้คุณปรับแพทเทิร์นให้เข้ารูปพอดีตัวได้ดีที่สุด
โฆษณา
คำเตือน
- อย่าลืมปิดเตารีดเมื่อรีดเสร็จ มิฉะนั้นอาจเกิดเรื่องใหญ่ได้
โฆษณา
สิ่งของที่ใช้
- สายวัด
- ดินสอ
- กระดาษแพทเทิร์น
- ผ้า
- เตารีด
- เข็ม
- จักรเย็บผ้า
- ด้าย
- อุปกรณ์ตบแต่ง (กระดุม ซิป ยางยืด เป็นต้น)
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ http://iml.jou.ufl.edu/projects/fall09/head_c/machine.html
- ↑ http://www.craftsy.com/blog/2013/09/sewing-your-own-clothing/
- ↑ http://www.lovetosew.com/orderofyoursewingprocess.htm
- ↑ http://www.lovetosew.com/skirt-description.htm
- ↑ http://thesewingloftblog.com/2013/06/28/simple-skirt-in-15-minutes/
- วิดีโอจาก MADE Everyday
เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้
มีการเข้าถึงหน้านี้ 113,658 ครั้ง
โฆษณา