ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การตั้งงบรายจ่ายเป็นวิธีจัดการการเงินที่ดีและช่วยให้คุณเก็บเงินได้เพื่อเป้าหมายบางอย่าง หรืออาจจะแค่เพื่อปลดหนี้ก็ได้

  1. การระบุเป้าหมาย จะทำให้คุณใช้เงินตามที่ตั้งงบไว้ได้ง่ายขึ้น และทำให้คุณมีหลักการที่วัดได้ว่าคุณประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวในการทำตามเป้าหมายนั้น ทำไมคุณถึงอยากตั้งงบประมาณการใช้จ่ายล่ะ คุณอาจจะอยากเก็บเงินไว้เรียนต่อมหาวิทยาลัย หรือคุณอาจจะอยากปลดหนี้ ไม่ว่าเป้าหมายของคุณจะเป็นอะไร อย่าลืมตั้งเป้าหมายตามหลัก SMARTER (เป้าหมายที่ Specific (เจาะจง) Measurable (วัดได้) Achievable (ทำได้จริง) Relevant (เกี่ยวข้อง) Time-bound (มีกำหนดเวลาแน่ชัด) Evaluated (ประเมิน) และ Reviewed (ทบทวน) อย่างสม่ำเสมอ) เพื่อเพิ่มโอกาสที่คุณจะประสบความสำเร็จตั้งแต่ต้น
  2. คำนวณว่าปกติแล้วคุณมีรายได้หลังหักภาษีเท่าไหร่. เริ่มจากการหาให้ได้ว่าแต่ละเดือนคุณได้เงินเท่าไหร่ รายได้สุทธิหลังหักภาษีและค่าลดหย่อนอื่นๆ ได้แก่ค่าจ้าง ทิปส์ ทุนการศึกษา เงินได้ตามชอบด้วยกฎหมาย เช่น เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตร ค่าอุปการะเลี้ยงดู เงินช่วยเหลือจากรัฐบาล และเงินอื่นๆ ที่เข้ามาในกระเป๋าหรือบัญชีของคุณ ทั้งหมดนี้คือรายได้ของคุณ
  3. เก็บใบเสร็จรับเงินไว้สัก 2 – 3 สัปดาห์หรือสัก 1 เดือน การรู้ค่าใช้จ่ายเช่นค่าซื้อของเข้าบ้านหรือค่าน้ำมันรายเดือนจะทำให้ขั้นตอนต่อไปง่ายขึ้น ถ้าคุณอยากเริ่มตั้งงบรายจ่ายตั้งแต่วันนี้แต่ไม่มีใบเสร็จ ก็ทำได้เหมือนกัน เพียงแต่ว่าจะยากกว่ากันนิดหน่อย
    • ค่าใช้จ่ายตายตัวคือค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างเสมอต้นเสมอปลายในแต่ละเดือน ค่าใช้จ่ายตายตัวก็เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าผ่อนหนี้ ค่าน้ำค่าไฟ และค่าประกัน ค่าใช้จ่ายตายตัวที่หลายคนมองข้ามคือเงินเก็บ คุณต้องจ่ายให้ตัวเองก่อนในรูปแบบของบัญชีออมทรัพย์ก่อนจ่ายให้คนอื่น วิธีนี้จะทำให้คุณได้วางแผน "รองรับ" ทางการเงินเอาไว้เพื่อรองรับคุณในช่วงที่มีปัญหาด้านการเงิน
    • ค่าใช้จ่ายแปรผันคือค่าใช้จ่ายที่แปรผันไปในแต่ละเดือน เช่น ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหารนอกบ้าน ค่าบันเทิง ค่าเสื้อผ้า ค่าของใช้ในบ้าน ผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัว และค่าใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว รายจ่ายส่วนนี้จะเป็นส่วนแรกที่คุณตัดออกเมื่อคุณใช้จ่ายเกินกว่าที่หาได้
  4. เช่น "บ้าน" "อาหาร" "รถยนต์" "บันเทิง" "เงินเก็บ" "เสื้อผ้า" "รักษาพยาบาล" และ "เบ็ดเตล็ด" นอกจากนี้คุณอาจจะแบ่งประเภทค่าใช้จ่ายเป็นสิ่งจำเป็น เช่น ค่างวดหนี้และค่าไฟ กับสิ่งที่อยากได้ เช่น เสื้อผ้าและความบันเทิง
  5. บันทึกค่าใช้จ่ายแต่ละรายการลงในแต่ละประเภท. ลองยกตัวอย่างค่าใช้จ่ายประเภท "รถยนต์" สมมุติว่าแต่ละเดือนคุณส่งงวดรถเดือนละ 9,000 บาท และค่าประกันอีกเดือนละ 3,000 บาท นอกจากนี้ทุกเดือนคุณยังต้องจ่ายค่าน้ำมันเฉลี่ยเดือนละ 7,500 บาท ค่าซ่อมบำรุงอีก 1,500 บาท ค่าภาษีและค่าธรรมเนียม เช่น ค่าต่อทะเบียนรถอีก 300 บาท เพราะฉะนั้นในประเภท "รถยนต์" งบการใช้จ่ายทั้งหมดในแต่ละเดือนจะอยู่ที่ 21,300 บาทเป็นอย่างน้อย ถ้าด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ที่ทำให้คุณไม่รู้จำนวนค่าใช้จ่ายที่แน่ชัดในหมวดนี้ ให้คำนวณดีๆ ยิ่งคุณกะได้ใกล้เคียงเท่าไหร่ คุณจะยิ่งทำตามแผนงบการใช้จ่ายที่วางไว้ได้มากเท่านั้น
  6. ขั้นตอนนี้จะทำให้คุณเห็นค่าใช้จ่ายรายเดือนทั้งหมด หรือเงินที่คุณนำออกจากกระเป๋าหรือบัญชีธนาคารในแต่ละเดือน เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายกับรายได้ของคุณ
  7. คุณจะใช้วิธีแบบเก่าอย่างสมุดบัญชีแยกประเภทที่มีขายตามศูนย์การค้าทั่วไปในราคาประมาณ 150 บาทก็ได้ แต่หลายคนชอบใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่าง Quicken Microsoft Money หรือ Excel มากกว่า
  8. ถ้าคุณเลือกใช้สมุดบัญชีแยกประเภท ปล่อยหน้าคี่ 5 หน้าแรกว่างไว้ เดี๋ยวเราจะกลับมาทีหลัง แบ่งส่วนที่เหลือของสมุดตามจำนวนประเภทค่าใช้จ่ายหลักที่คุณมี เขียนค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทไว้ที่หน้าแรกของแต่ละส่วน วิธีนี้จะทำให้คุณมีพื้นที่สำหรับบันทึกรายการใช้จ่ายลงในแต่ละประเภท ประเภทค่าใช้จ่ายที่มีการซื้อบ่อยๆ เช่น "อาหาร" จะต้องใช้หลายหน้าหน่อย
  9. เขียน "งบรายจ่าย" สำหรับแต่ละประเภทในช่วงเริ่มต้นของระยะเวลา จากนั้นรวมค่าใช้จ่ายในประเภทนั้นทั้งหมดที่เกิดขึ้นตลอดช่วงระยะเวลาที่กำหนด. เพราะฉะนั้นค่าใช้จ่ายประเภท "รถยนต์" ก็จะเริ่มที่ 21,300 บาทสำหรับ 1 เดือน จากนั้นก็บันทึกค่าใช้จ่ายแต่ละรายการสำหรับ "ค่าน้ำมัน" 1 รายการสำหรับ "ค่างวดรถ" และอาจจะมีอีก 1 รายการเป็น "ค่าประกัน" (แล้วแต่ว่าคุณแบ่งชำระค่าประกันเป็นรายเดือนหรือไม่)
  10. ใช้ส่วนแรกของสมุดบัญชีแยกประเภทที่เราปล่อยว่างไว้ก่อนหน้านี้บันทึกรายได้และงบรายจ่ายที่เราหักออกมาในแต่ละช่วง. เช่น ถ้าเงินคุณออกศุกร์เว้นศุกร์ ก็ควรมีบันทึกรายรับที่แสดงให้เห็นถึงจำนวนรายได้ในช่วงเวลาเดียวกัน (ทุกศุกร์เว้นศุกร์) ดังนั้นถ้างบการใช้จ่ายรายเดือนของคุณคือ 84,000 บาทและจะถูกหักออกทุกวันที่ 1 และ 15 ของทุกเดือน ในส่วนที่เป็นรายได้วันที่ 1 และวันที่ 15 ก็จะต้องบันทึกว่ามีรายได้เข้ามาทั้งหมด 42,000 บาท และในช่วงเวลาเดียวกันค่าใช้จ่ายประเภท "รถยนต์" ก็ควรจะตั้งงบใช้จ่ายไว้ที่ 10,650 บาท ซึ่งเป็นส่วนที่คุณจะหักออกไปใช้ได้ตามที่คุณตั้งงบรายใช้จ่ายไว้
  11. ในการที่จะทำให้งบรายจ่ายของคุณสมดุลและทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ รายได้ของคุณต้องมากกว่าหรือเท่ากับรายจ่าย เพื่อหาว่างบรายจ่ายของคุณสมดุลหรือไม่ คุณต้องหักค่าใช้จ่ายตายตัวและค่าใช้จ่ายแปรผันจากรายได้ของคุณ
    • งบการใช้จ่ายที่สมดุลก็คือ ถ้ารายได้ของคุณเท่ากับรายจ่าย หรือจะให้ดีกว่านั้นคือมากกว่ารายจ่าย ก็แสดงว่าคุณได้สร้างแผนการใช้จ่ายที่ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้ว แม้ว่าคุณจะอยากได้เงินก้อนที่ "เกินมา" ขนาดไหน ขั้นตอนต่อไปที่ควรทำก็คือ คุณต้องให้เงินส่วนที่เหลือนั้นทำงานให้กับคุณ สิ่งที่เรียกว่า "เงินเหลือ" นั้นไม่มีอยู่จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณมีหนี้หรือเป้าหมายการเก็บเงินที่ยังทำไม่ได้ แทนที่จะเอาเงินส่วนที่เหลือไปเพิ่มในงบค่าใช้จ่ายประเภท "บันเทิง" ให้นำไปใช้หนี้และเก็บไว้ในบัญชีออมทรัพย์เสมอ
    • งบการใช้จ่ายที่ไม่สมดุลก็คือ ถ้าคุณใช้จ่ายมากกว่าที่คุณหามาได้หรือได้รับ ก็แสดงว่าคุณต้องพยายามตั้งงบรายจ่ายให้สมดุลอย่างจริงจัง เริ่มจากการตรวจสอบและปรับค่าใช้จ่ายแปรผันก่อน ก่อนอื่นคุณต้องค่อยๆ ลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ด้วยการลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เช่น ค่าอาหารที่รับประทานที่ร้าน ค่าบันเทิง และค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นอื่นๆ (เช่น ของแบรนด์เนม) ถ้างบการใช้จ่ายของคุณยังไม่สมดุลอีก ลองลดค่าใช้จ่ายตายตัวด้วย บางทีคุณอาจจะเช่าห้องหรือหารูมเมตมาแชร์ค่าเช่า หรือบางทีคุณอาจจะต้องเปลี่ยนไปใช้รถที่ถูกลงหรือประหยัดน้ำมันมากขึ้น ในทางกลับกันคุณก็อาจจะพยายามเพิ่มรายได้ด้วยการทำงานพาร์ตไทม์ ทำงานล่วงเวลา (ถ้ามี) เปลี่ยนงาน หรือเริ่มทำธุรกิจที่บ้าน
    • ประเมินอยู่เรื่อยๆ สถานการณ์ทางการเงินของคุณจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นคุณต้องปรับเปลี่ยนแผนการใช้จ่ายของคุณอยู่เรื่อยๆ ถ้าคุณใช้หนี้หมดแล้ว ได้ขึ้นเงินเดือน หรือสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆ ในชีวิต ให้ปรับแผนการใช้เงินเสียใหม่โดยอาศัยข้อมูลใหม่ที่มี และจำไว้ว่าการจ่ายหนี้ เงินออม และความมั่นคงทางการเงินเป็นสิ่งที่คุณต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับ 1 ในชีวิตเสมอ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จำไว้ว่าคุณต้องไม่ให้ค่าใช้จ่ายทั้งหมดเกินรายได้ คุณจึงจะไปถึงเป้าหมายได้
  • ในช่วง 2 – 3 เดือนแรกและเมื่อเวลาผ่านไป คุณจะพบว่าแผนการใช้จ่ายในตอนแรกมีข้อบกพร่องบางอย่าง ซึ่งไม่เป็นไรเลย อย่าไปกังวลกับมัน แค่ปรับให้เข้ากับสถานการณ์และปรับปรุงแผนการใช้จ่ายของคุณเมื่อคุณเห็นภาพการใช้จ่ายของคุณมากขึ้นแล้ว เพราะยิ่งเราทำบ่อยเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งทำได้ดีขึ้นเท่านั้น!
  • ถ้าคุณมีปัญหาในการตั้งงบรายจ่ายให้สมดุล พยายามเลิกนิสัยบางอย่าง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ไปรับประทานอาหารนอกบ้านบ่อยๆ ชอปปิ้ง หรือค่าบันเทิง ทั้งหมดนี้เป็นค่าใช้จ่ายมหาศาลในงบรายจ่ายของคุณทั้งนั้น และคุณจะสังเกตถึงความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดด้วยการเลิกนิสัยเหล่านี้!
  • เช่นเดียวกัน ค่าใช้จ่ายในส่วนของงานอดิเรกและการท่องเที่ยวก็ต้องบริหารจัดการให้ดีด้วยการคำนึงถึงความมั่นคงทางการเงินในปัจจุบันและในอนาคตเป็นสำคัญ การท่องเที่ยวครั้งถัดไปให้ลองไปที่ใกล้ๆ หรือจะใกล้มากขนาดที่ว่าพักร้อนบนโซฟาหรือเตียงของตัวเองก็ได้ นอกจากนี้คุณยังควรนึกถึงตัวเลือกของงานอดิเรกที่ใช้เงินน้อยกว่าด้วย เช่น ถ้างานอดิเรกของคุณคือการเล่นกอล์ฟ คุณอาจจะลองเดินเร็วแทนจนกว่าคุณจะมีเงินกลับไปเล่นกอล์ฟได้อีกครั้ง
  • ตั้งงบการใช้จ่ายสำหรับรายจ่ายที่ไม่ได้วางแผนไว้แยกออกมาต่างหาก และเรียกว่า "รายจ่ายแบบไม่ต้องคิด" และ "รายจ่ายที่ไม่คาดคิด" รายจ่ายแบบไม่ต้องคิดคือของที่คุณซื้อเพราะอยากซื้อ เช่น ไอศกรีมที่คุณอยากกินมากตอนตีสาม โทรศัพท์/ของเทคโนโลยีล่าสุด หรือของเก๋ๆ ที่ลดราคาอยู่ ส่วนรายจ่ายที่ไม่คาดคิดคือสิ่งที่คุณไม่ได้วางแผนว่าจะซื้อแต่สถานการณ์บีบบังคับให้ต้องซื้อเดี๋ยวนั้น เช่น ยางที่คุณต้องเปลี่ยนใหม่เพราะดันไปเหยียบตะปูเข้าบนทางด่วน หรือกางเกงขายาวตัวใหม่ที่ต้องซื้อเพราะตะเข็บแยกกลางคันในวันทำงานพอดี
  • นอกจากนี้ยังมีช่วงเวลาจ่ายเงินคืนในบางช่วงที่คุณอาจจะมีรายได้เพิ่ม และเมื่อช่วงนั้นมาถึงคุณก็จะมีเงินส่วนเกิน (เย่!) ซึ่งก็แล้วแต่คุณเลยว่าคุณจะใช้เงินส่วนที่เกินมานี้อย่างไร แม้ว่าคุณอาจจะใช้เงินส่วนนี้ได้เลย แต่จะดีกว่าหากคุณเอาเงินส่วนนี้ไปไว้ในเป้าหมายของคุณ หรือถ้าจะให้ดีกว่านั้นคือเก็บไว้ในบัญชีธนาคารเป็นเงินสำรองฉุกเฉินเพื่อเสริมค่าใช้จ่ายส่วนที่เป็น "รายจ่ายที่ไม่คาดคิด"
  • อย่างที่บอกไปในเคล็ดลับก่อนหน้านี้ ถ้าคุณเก็บเงินสำรองฉุกเฉินไว้ในบัญชีออมทรัพย์ คุณจะเลี่ยงความเย้ายวนใจในการใช้เงินส่วนนั้นได้ยากเมื่อคุณเห็นของชิ้นใหม่วาววับที่คุณอยากจับจองมานาน ทางเลือกที่ดีกว่านี้คือการหาบัญชีกองทุนรวมตลาดเงินที่ปันผลในอัตราที่น่าพอใจ (ประมาณ 4-5%) แล้วคุณจะมีเงินเก็บล้ำหน้าเกินใคร
  • หรือถ้าคุณมีเงินไม่มากพอที่จะเปิดบัญชีกองทุนรวมตลาดเงิน (โดยทั่วไปจะมีการซื้อขายขั้นต่ำที่ 5,000 บาท) ให้ลองเก็บเงินสำรองฉุกเฉินไว้ในบัญชีออมทรัพย์กับสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารหลักที่คุณใช้อยู่ ถ้าจะให้เห็นประเด็นสุดท้ายชัดเจนขึ้นก็คือ ถ้าปกติคุณมีบัตรเอทีเอ็มที่คุณใช้เป็นหลักกับ "ธนาคาร A" ก็ให้เปิดบัญชีออมทรัพย์ไว้กับ "ธนาคาร B”
  • พยายามอย่าเริ่มงบรายจ่ายใหม่ในเดือนแรกหลังจากมีเหตุการณ์ในชีวิตที่คุณใช้เงินไปเยอะหรือเก็บได้เยอะ เช่น ไปพักร้อน จัดงานแต่ง ย้ายบ้าน หรือรักษาตัวในโรงพยาบาลโดยไม่ได้คาดคิด รอจนกว่าสถานการณ์ทางการเงินของคุณจะ "อยู่ตัวและเป็นระเบียบ" อย่างน้อย 3 – 6 เดือนก่อนจะเริ่มงบรายจ่ายใหม่
โฆษณา

คำเตือน

  • บางครั้งการตั้งงบรายจ่ายอาจดูเหมือนอึดอัดเกินไป แต่จำไว้ว่ามันก็เป็นสิ่งที่ให้อิสรภาพแก่คุณได้เช่นกัน! เมื่อช่วงพักร้อนมาถึง คุณก็จะมีเงินที่ปันส่วนเอาไว้จากการตั้งงบรายจ่ายอยู่แล้ว และคุณก็ไม่ต้องกระเบียดกระเสียนเพื่อให้ได้ไปพักร้อน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,105 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา