ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การตั้งราคาขายเฟอร์นิเจอร์ให้ได้ราคาที่ดีที่สุดไม่ใช่เรื่องที่จะทำกันได้ง่ายๆ เพราะคุณไม่สามารถขายในราคาตลาดได้เสียทีเดียว แต่ก็ไม่อยากขายๆ ไปทั้งที่ใจก็รู้ว่ามันขายได้ราคากว่านั้น นอกจากนี้การหามูลค่าของเฟอร์นิเจอร์ใช้แล้วยังช่วยให้คุณตัดสินใจได้ด้วยว่ามันคุ้มค่ากับการขายไปหรือไม่ แม้ว่าจะรู้กันดีกว่าการตั้งราคาเฟอร์นิเจอร์เป็นเรื่องที่ยากมากๆ เพราะเฟอร์นิเจอร์เองก็มีหลากหลายประเภท แต่มันก็มีกฎทั่วไปบางอย่างที่นำมาใช้ตั้งราคาขายได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ขายเฟอร์นิเจอร์เก่าของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ซัก ทำความสะอาด และใช้ผ้าขัดเฟอร์นิเจอร์เพื่อให้ได้ราคาสูงที่สุด. เฟอร์นิเจอร์ที่สะอาดตั้งราคาได้ง่ายกว่าแน่นอนและยังตั้งราคาสูงๆ ได้ด้วย กำจัดคราบ ขัดริมขอบ และอาจจะแต้มสีหรือทาสีเฟอร์นิเจอร์ที่สีซีดไปแบบถูกๆ การทาสีหรือแต้มสีพื้นผิวใหม่ใช้เงินแค่ 600 บาท แต่มันทำให้โต๊ะใช้แล้วดูเหมือนใหม่ได้ทาคุณทาดีๆ [1]
    • ถ้ามีความเสียหายเล็กๆ น้อยๆ ตรงไหนที่คุณซ่อมได้ ก็ซ่อมเลย เพราะถ้าคุณหวังว่าคนซื้อจะเอาไปซ่อมเองมันจะทำให้เสียราคาขายไปมากโดยใช่เหตุ
    • เช็กอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เก่าๆ เพื่อให้แน่ใจว่ามันยังใช้งานได้อยู่
  2. เช็กราคาเฟอร์นิเจอร์แบบเดียวกันในอินเทอร์เน็ต. เข้าอินเทอร์เน็ตและดูว่าสไตล์อะไรกำลังมา เช็กดูของมือหนึ่งเพื่อดูว่าของๆ คุณมันเข้ากับของที่กำลังอินอยู่แค่ไหน เช่น โซฟาตัวใหญ่ลายสก็อตน่าจะขายได้ราคาน้อยกว่าโซฟาสีพื้นธรรมดามากๆ อย่างน้อยก็จนกว่าลายสก็อตจะกลับมาฮิตอีก ไปที่ Kaidee.com และ Pantipmarket.com เพื่อดูว่าคนอื่นขายของแบบเดียวกันในราคาเท่าไหร่
    • แนวทางการตีราคาเฟอร์นิเจอร์ที่มีอยู่ทั่วไปในอินเทอร์เน็ตจะทำให้คุณเห็นช่วงราคาที่หลากหลายของเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่
    • หาของที่ใกล้เคียงกับของๆ คุณให้มากที่สุด ถ้าคุณรู้จักผู้ผลิต รุ่น หรือวัสดุที่ใช้ ให้ค้นหาเฟอร์นิเจอร์ที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน
    • ถ้าคุณไม่รู้ว่าราคาเดิมของเฟอร์นิเจอร์คือเท่าไหร่ ให้เริ่มจากการค้นหาของที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน
  3. ขายเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่ในราคา 70-80% ของราคาเดิม. วิธีที่ง่ายที่สุดในการตั้งราคาคือหักออกไป 20% จากราคาที่คุณซื้อมา ซึ่งเป็นราคามาตรฐานอุตสาหกรรม และเป็นแนวทางที่สมเหตุสมผลสำหรับเฟอร์นิเจอร์ใช้แล้วสภาพดี แต่ก็ต้องนึกไว้ด้วยว่านี่เป็นแค่ราคามาตรฐานเท่านั้น คุณสามารถตั้งราคาเองได้ตามปัจจัยหลายอย่างๆ ตามที่จะกล่าวต่อไปนี้ เช่น สมมุติว่าเมื่อหลายปีที่แล้วคุณซื้อตู้ลิ้นชักมาในราคา 15,000 บาทและอยากจะกำจัดมันออกไป วิธีคำนวณคือ
    • ตู้ลิ้นชักอยู่ในสภาพดี ไม่เก่ามาก คุณตัดสินใจว่าขายที่ราคา 80% คือกำลังดี
    • เอา 15,000 คูณด้วย 80% หรือ 0.8 (15,000 x 0.8 = 12,000)
    • 12,000 บาทคือมาตรฐานในการตั้งราคาตู้ลิ้นชักหลังนี้
  4. เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่ควรหัก 30% และเมื่อไหร่ควรหักแค่ 20% ปัจจัยที่ใหญ่ที่สุดคือสภาพ ถ้าของแทบจะอยู่ในสภาพเดียวกับตอนที่คุณซื้อมา คุณก็อาจจะหักแค่ 20% จากราคาที่คุณซื้อเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนี้มาในตอนแรก แต่ถ้ามันมีรอยครูด รอยกระแทก ความโคลงเคลง หรือปัญหาอื่นๆ คุณก็อาจจะต้องเอนเอียงไปทาง 30% หรือมากกว่า โดยทั่วไปคือยิ่งคุณใช้มานานเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งขายได้ราคาต่ำลงเท่านั้น [2]
    • ถ้าคุณซื้อตู้หนังสือแสนสวยมาในราคา 30,000 บาทและมันยังสภาพใหม่อยู่ คุณก็น่าจะขายในราคา 24,000 บาทได้
    • แต่ถ้าตู้หนังสือสีมันเริ่มซีด เก่า ชั้นวางบางชั้นหายไป หรือมีรอยและรอยแตก คุณอาจจะขายราคาประมาณ 18,000 - 21,000 บาท
  5. หักเพิ่มอีก 5% ทุกช่วงการใช้งานเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนั้น 1-2 ปี. เช่น โต๊ะอายุ 10 ปีอาจจะขายได้แค่ 50% จากราคาที่คุณซื้อมาในตอนแรก เฟอร์นิเจอร์อย่างรถกับบ้านจะราคาลดลงตามอายุ ยกเว้นว่าโครงสร้างจะดีมากๆ หรือเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนั้นเป็นของโบราณ (ผลิตก่อนปี 2510 และยังอยู่ในสภาพดี) ถ้าไม่อย่างนั้นคุณก็จะต้องลดราคาไปเรื่อยๆ ทุกปีตามระยะเวลาที่คุณครอบครองเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนั้น [3]
  6. ถึงจะไม่ได้เป็นช่างไม้คุณก็ประเมินได้ว่างานไม้ชิ้นไหนดีไม่ดี เฟอร์นิเจอร์คุณภาพดีจะแข็งแรง สามารถรับน้ำหนัก ไม่โคลงเคลง และข้อต่อทุกชิ้นก็สอดรับกันพอดี แต่ถ้าไม่ ก็เตรียมใจขายในราคาที่น้อยกว่าตอนที่คุณซื้อมามากๆ ได้เลย แต่ถ้าเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนั้นแข็งแรงและสร้างมาสำหรับใช้งานได้นานๆ คุณก็จะสามารถขายในราคาที่ใกล้เคียงกับตอนที่คุณซื้อมาได้
    • เฟอร์นิเจอร์ราคาไม่แพง เช่น สินค้ายี่ห้อ IKEA มักจะขายได้ราคาต่ำกว่าราคาที่ซื้อมามาก ส่วนใหญ่จะได้แค่ประมาณ 600 - 3,000 บาท เพราะว่ามันไม่ได้สร้างมาให้เคลื่อนย้ายหรือว่าขายต่อได้ และมักจะทำจากวัสดุราคาถูก
    • ถ้าคุณเห็นแผ่นไม้อัด ซึ่งก็คือไม้ที่เป็นชั้นๆ หยาบๆ ก็เป็นไปได้ว่าคุณได้เฟอร์นิเจอร์ราคาถูกมา [4]
  7. ให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ประเมินราคาเฟอร์นิเจอร์โบราณ. ของโบราณมักจะมีราคามากกว่าราคาเดิมของมันมาก ถ้าคุณไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านของโบราณ หรือไม่ได้ยินดีที่จะค้นคว้าหาข้อมูลราคาขายในอดีตและความเป็นไปได้ในการซ่อมแซมมากนัก คุณก็ควรติดต่อผู้เชี่ยวชาญ ร้านขายของโบราณส่วนใหญ่จะมีผู้ประเมินราคาที่สามารถให้ความคิดเห็นที่ตรงไปตรงมากับคุณได้ว่าราคาขายที่เป็นไปได้ของคุณอยู่ที่เท่าไหร่ [5]
    • ถ้าเป็นไปได้ ให้หาข้อมูลไปให้ผู้ประเมินราคาว่าเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนั้นทำขึ้นในปีอะไร บริษัทอะไร และรุ่นไหน หรืออย่างน้อยว่ามันมาจากไหน
  8. มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่คุณจะขายได้ราคาตามที่คุณตั้งโดยที่ไม่มีการต่อรองราคากันก่อน ถ้ามีการต่อรองเกิดขึ้น ก็มีหลายสิ่งที่คุณต้องรู้ก่อนจะเริ่มเจรจาตกลงกัน การมีกลยุทธ์ไว้ล่วงหน้าก่อนเริ่มต่อรองเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้คุณได้ราคาดี
    • ราคาต่ำที่สุด ตั้งราคาที่ต่ำที่สุดที่คุณรับได้เอาไว้เลย คุณจะได้ไม่ต้องไปคิดเอาหน้างาน
    • ราคาที่ต้องการ คุณอยากขายในราคาเท่าไหร่เมื่อประเมินจากมูลค่าและความต้องการที่จะกำจัดของชิ้นนี้
    • ราคาเสนอขาย มันอาจจะเป็นราคาเดียวกับราคาที่ต้องการก็ได้ แต่คุณอาจจะตั้งราคาเสนอขายให้สูงกว่าราคาที่ต้องการเล็กน้อยเผื่อว่าจะมีใครอยากได้เฟอร์นิเจอร์ชิ้นนี้มากจริงๆ
    • ค่าใช้จ่ายในการขนย้าย ใครจะเป็นคนมารับและย้ายของไป คุณต้องตกลงเรื่องนี้กันให้ได้ก่อนจะมีการซื้อขายเกิดขึ้น
  9. ถามเพื่อนๆ และคนในครอบครัวว่าถ้าเป็นเขา เขาจะซื้อเฟอร์นิเจอร์ในราคาที่คุณขายไหม. พอคุณได้ราคาแล้ว ให้ถามความเห็นคนอื่นสัก 2-3 คนเพื่อดูว่าราคามันสมเหตุสมผลไหม ถ้ามีคนรู้จักบอกว่าเขาจะซื้อในราคาที่คุณขาย ก็เป็นไปได้ว่าคุณสามารถขายในราคานั้นได้ ถ้าคุณไม่รู้จะตั้งราคาอย่างไรจริงๆ วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีในการช่วยคุณตั้งราคาที่เหมาะสมได้ [6]
    • จำไว้ว่าคุณไม่ได้ต้องการความเห็นจากพวกเขาว่าพวกเขาชอบเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนั้นหรือไม่ คุณแค่อยากรู้ว่าพวกเขาคิดว่าราคามันสมเหตุสมผลหรือเปล่า
    • ถ้าคุณก็ยังไม่รู้อยู่ดีว่าควรตั้งราคาเท่าไหร่ ก็มีเว็บไซต์ต่างประเทศหลายเว็บไซต์ เช่น Splitwise Furniture Calculator และ Blue Book Furniture ที่ช่วยคำนวณราคาขายที่เป็นไปได้ให้คุณ แต่ก็ต้องนึกไว้เสมอว่านี่เป็นแค่ราคาประเมินเท่านั้น [7]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ซื้อเฟอร์นิเจอร์มือสองในราคาที่เหมาะสม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ดูเฟอร์นิเจอร์ในแบบเดียวกันก่อนเสนอราคาซื้อ. ถ้าคุณไม่ใช่มือโปรด้านการตั้งราคาอยู่แล้ว (ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นคุณก็คงไม่ต้องอ่านบทความนี้หรอก) คุณไม่ควรซื้อเฟอร์นิเจอร์โดยไม่เปรียบเทียบเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเดียวกันนี้สัก 4-5 ที่ก่อน หมายเหตุความแตกต่างด้านราคา และถามคนขายหากของแต่ละชิ้นมีอะไรที่ไม่เหมือนกัน เช่น ถ้าคุณซื้อชุดห้องนอน ก็ให้ศึกษาราคาเฉลี่ยของชุดห้องนอนก่อน โดยเริ่มจากการเช็กช่วงราคาเฉลี่ยสำหรับเฟอร์นิเจอร์ทั่วไปดังต่อไปนี้
    • เตียง: 1,500 - 9,000 บาท
    • ตู้ลิ้นชัก: 600 - 3,000 บาท
    • โต๊ะ: 750 - 6,000 บาท
    • ชุดโต๊ะอาหาร: 4,500 - 30,000 บาท
    • โต๊ะ: 1,500 - 4,500 บาท
    • โซฟา: 1,000 - 6,000 บาท
    • เก้าอี้แบบมีที่วางแขน: 750 - 4,500 บาท [8]
  2. มันต้องซ่อมไหม มันใช้มานานแค่ไหนแล้ว มีปัญหาอะไรที่ควรติไหม คนขายส่วนใหญ่ไม่บอกคุณหรอกว่าเฟอร์นิเจอร์ของเขามันไม่ดี แต่ถ้าคุณถามคำถามดีๆ คุณจะจับทางการตั้งราคาของเขาได้
    • ถ้าเขาบอกว่า "มันแพงเพราะว่ามันเป็นของโบราณค่ะ" คุณก็ต้องรู้ว่ามันผลิตขึ้นเมื่อไหร่ ถ้าเขาตอบคุณไม่ได้ หรือว่ามันผลิตหลังปี 2510 ก็แสดงว่ามันไม่ใช่ของโบราณ เพราะฉะนั้นพิจารณาราคาแบบฟังหูไว้หูด้วย
  3. คุณควรจะได้ของที่มันนั่งสบาย ข้อต่อแน่น และไม่แกว่งไปแกว่งมา เฟอร์นิเจอร์ชิ้นนั้นควรจะมั่นคงเมื่อรองรับน้ำหนักคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเก้าอี้ โซฟา และโต๊ะ ขอให้เชื่อสัญชาตญาณตัวเอง ถ้ามันดูไม่แข็งแรงและทำมาไม่ดี อย่าไปเสียเงินจำนวนมหาศาลเพื่อซื้อของชิ้นนี้ แต่ถ้ามันมีรอยกระแทกหรือรอยขูด คุณอาจจะต่อราคาให้ลดลงมาอีก 750 - 1,000 บาทจากราคาที่เขาตั้งไว้
    • อย่าซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่สร้างมาแบบลวกๆ เพราะเป็นไปได้ว่าคุณอาจจะต้องซื้อใหม่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
  4. ถ้าคุณอยากได้โต๊ะดีๆ สักตัว คุณไม่จำเป็นต้องเสียเงิน 15,000 บาทเพื่อให้ได้โต๊ะที่สมบูรณ์แบบ ถ้าโครงมันดีและคุณก็ถูกใจรูปทรง แต่ว่าพื้นผิวมันอาจจะมีรอยขูด สีซีด หรือดูไม่สวย คุณก็อาจจะได้โต๊ะดีๆ สักตัวในราคาที่ถูกใจก็ได้ เพราะสีหรือสีย้อมไม้กระป๋องนึงราคาไม่แพง ถ้าคุณเต็มใจที่จะใช้เวลาช่วงบ่ายเพื่อซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์ คุณก็น่าจะประหยัดเงินไปได้หลายพันเลย [9]
  5. โดยพื้นฐานคือราคาเฟอร์นิเจอร์ต้องคุ้มค่ากับราคาที่ตั้งเอาไว้ เพราะฉะนั้นถ้าคุณชอบเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนั้นจริงๆ และเทียบของจากที่อื่นเพื่อหาราคาดีๆ แล้ว ก็เสนอราคาซื้อไป ยิ่งถ้าคุณเสนอราคาซื้อโดยมีหลักฐานราคาเฟอร์นิเจอร์แบบเดียวกันด้วยยิ่งดีใหญ่ เวลาเสนอราคาซื้อ ให้จำไว้ว่า
    • รู้ว่าราคาสูงสุดที่คุณเต็มใจจะซื้อคือเท่าไหร่ ตั้งราคาตั้งแต่ตอนนี้เพื่อที่คุณจะได้ปลีกตัวออกมาได้ถ้าราคาแรงเกินไป และคุณไม่ควรตัดสินใจเรื่องนี้หน้างาน
    • บอกราคาเสนอซื้อให้ชัดเจน นี่ไม่ใช่เรื่องของเคล็ดลับหรือกลยุทธ์อะไร แต่ให้คุณพูดอย่างตรงไปตรงมาและหนักแน่นเวลาที่คุณบอกผู้ขายไปว่าคุณต้องการซื้อในราคาเท่าไหร่ เช่น "ผมต้องการซื้อโต๊ะตัวนี้ในราคา 6,000 บาท"
    • ยืดหยุ่น ถ้าคุณไม่คิดจะปรับราคาขึ้นลงบ้างเลย ก็อย่าไปเสียเวลาต่อรองตั้งแต่แรก ถึงคุณจะไม่ควรจ่ายแพงกว่าที่คุณตัดสินใจไว้ตั้งแต่แรก แต่คุณก็ควรจะสามารถต่อรองกับผู้ขายได้ด้วย
  6. คุณต้องรู้ว่าคุณจะได้สินค้าจากผู้ขายอย่างไร และนี่จะมีผลต่อราคาที่คุณต้องจ่ายอย่างไร ตกลงให้ชัดเจนว่าใครจะเป็นคนรับผิดชอบเรื่องการขนย้ายเฟอร์นิเจอร์ก่อนสรุปการซื้อขาย [10]
    • จำไว้ว่าคุณอาจจะต้องบุนวมหรือทาสีเฟอร์นิเจอร์ใหม่ถ้าสีมันซีดหรือต้องซ่อม ให้นับส่วนนี้ไว้ในราคาซื้อขายและแจ้งให้ผู้ขายทราบด้วย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ยิ่งคุณยินดีที่จะหาข้อมูลมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งได้ราคาดีมากขึ้นเท่านั้น
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,667 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา