ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การตั้งรหัสผ่านการเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สายในบ้านคุณ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายสำหรับใช้ในบ้านทำให้คุณใช้งานอินเตอร์เน็ตได้อย่างสะดวกสบายก็จริง แต่เมื่อปราศจากรหัสผ่านในการเชื่อมต่อแล้ว ก็เท่ากับว่าคุณได้เปิดช่องทางให้อินเทอร์เน็ตเสี่ยงกับการถูกโจมตีจากภายนอกและยังเป็นการเปิดโอกาสให้เพื่อนบ้านแอบใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ตที่คุณเป็นคนจ่ายได้ง่ายๆ อีกด้วย อันที่จริงแล้ว การตั้งค่ารหัสผ่านไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก สามารถทำได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว โดยที่รหัสผ่านจะช่วยป้องกันปัญหานับไม่ถ้วนที่อาจเกิดขึ้นกับอินเทอร์เน็ตของคุณได้ เพียงทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ คุณก็จะสามารถตั้งค่ารหัสผ่านในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายที่ปลอดภัยได้ภายในเวลาไม่กี่นาที

  1. เข้าสู่หน้าหลักของเครื่องกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สายหรือเราท์เตอร์ (wireless router). โดยสามารถเข้าสู้หน้าหลักดังกล่าวได้ด้วยการเปิดแผ่นดิสค์หรือแผ่นบันทึกข้อมูลตั้งค่าที่มาพร้อมกับเครื่องหรือจะเข้าถึงหน้าเราท์เตอร์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตก็ได้ โดยใส่หมายเลขที่อยู่ 192.168.1.1หรือ 192.168.0.1 หรือ192.168.2.1 (ซึ่งเป็นหมายเลขที่อยู่ของหน้าเราท์เตอร์โดยทั่วไป)ลงในช่อง URL ของหน้าบราวเซอร์
    • ถ้าเป็นไปได้ พยายามเข้าถึงเราท์เตอร์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครื่องเราท์เตอร์ผ่านทางสายแลน (หรือที่เรียกว่า Ethernet cable) หากคุณเข้าถึงเราท์เตอร์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต คุณจะถูกตัดการเชื่อมต่อออกจากหน้าของเราท์เตอร์ทันทีเมื่อคุณเปลี่ยนแปลงการตั้งค่า ซึ่งคุณต้องเชื่อมต่อและเข้าสู่ระบบใหม่เพื่อให้ระบบปรับตัวรับการตั้งค่าที่เปลี่ยนนั้น
    • ในการเข้าสู่ระบบเราท์เตอร์โดยทั่วไป ทั้งชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านมักจะตั้งค่าไว้เป็นคำว่า “admin” แต่ถ้าเครื่องของคุณไม่ได้ตั้งค่าเป็นคำนี้ ลองปล่อยให้ช่องชื่อผู้ใช้หรือช่องรหัสผ่านว่างช่องใดช่องหนึ่ง แล้วพิมพ์คำว่า admin ลงในอีกช่อง หากยังไม่สามารถเข้าสู่ระบบได้ ให้ปรึกษาช่างหรือผู้เชี่ยวชาญ
    • หากคุณเคยเปลี่ยนรหัสผ่านมาก่อนแล้วจำไม่ได้ว่าเปลี่ยนเป็นอะไร ให้กดปุ่ม reset บนเครื่องเราท์เตอร์ เพื่อให้กลับไปสู่การตั้งค่าเบื้องต้นจากโรงงาน ซึ่งจะเป็นการล้างการตั้งค่าใหม่ที่ผ่านๆ มาทั้งหมด
    • หากคุณไม่พบเอกสารประกอบการใช้งานที่มาพร้อมกับเครื่อง คุณสามารถค้นหารายละเอียดเกี่ยวกับการเข้าสู่ระบบและที่อยู่หน้าหลักของเราท์เตอร์รุ่นของคุณในอินเทอร์เน็ตก็ได้
  2. ค้นหาโหมดการตั้งค่าความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ตไร้สาย. สัญลักษณ์ของส่วนนี้จะแตกต่างกันไปตามแต่ละเครื่อง แต่มักจะใช้ชื่อว่า “”การตั้งค่าอินเทอร์เน็ตไร้สาย (Wireless Setting) หรือ “การตั้งค่าความปลอดภัย (Security Settings)” ถ้าคุณหาไม่พบ ให้นำหมายเลขรุ่นเครื่องเราท์เตอร์ของคุณไปค้นหาในอินเทอร์เน็ตว่าจะเข้าสู่เมนูตั้งค่าความปลอดภัยได้อย่างไร
  3. เลือกประเภทการเข้ารหัส (encryption type) .ในช่องความปลอดภัยของเราท์เตอร์ส่วนใหญ่จะมีตัวเลือกมากมาย คุณสามารถเลือกระหว่าง WEP, WPA-PSK (Personal) หรือ WPA2-PSK ก็ได้ ซึ่งขอแนะนำให้เลือก WPA2 เพราะเป็นรูปแบบการเข้ารหัสที่ปลอดภัยมี่สุดเท่าที่มีอยู่ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามเครื่องเราท์เตอร์รุ่นเก่าบางรุ่นอาจไม่มีตัวเลือกนี้ให้เลือกใช้งาน
    • อุปกรณ์รุ่นเก่าบางรุ่นไม่สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่ใช้การตั้งค่าการเข้ารหัสแบบ WPA2 ได้ ดังนั้นหากอุปกรณ์ที่คุณจะใช้เชื่อมต่อยังเป็นรุ่นเก่า ต้องพึงระวังในการเลือกใช้งานตัวเลือกนี้
  4. เลือกขั้นตอนวิธี (Algorithm) แบบ AES สำหรับ WPA2-Personal (ส่วนบุคคล). หากมีตัวเลือก ให้เลือกขั้นตอนวิธีการเข้ารหัสแบบ AES คู่กับความปลอดภัย (Security) แบบ WPA2 ที่เลือกไว้ ทางเลือกสำรองที่แนะนำคือ TKIP ซึ่งมีความทันสมัยน้อยกว่าและมีความปลอดภัยต่ำกว่า อย่างไรก็ตามเราท์เตอร์บางรุ่นจะมีให้คุณเลือกได้แค่ AES เท่านั้น [1]
    • AES ย่อมาจาก Advanced Encryption Standard (มาตรฐานการเข้ารหัสขั้นสูง) ซึ่งเป็นชุดขั้นตอนวิธี (Algorithms)การเข้ารหัสอินเทอร์เน็ตไร้สายที่ดีที่สุด
  5. SSID เป็นชื่อของเครือข่าย ซึ่งอุปกรณ์ที่จะสามารถเข้ารหัสผ่านได้ต้องเชื่อมต่อกับเครือข่าย SSID นี้
    • รหัสผ่านควรประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ ยิ่งตั้งรหัสผ่านไว้ง่ายเท่าไรก็ยิ่งมีโอกาสถูกสุ่มคำเพื่อเดารหัสผ่านได้ง่ายเท่านั้น หากคุณต้องการรหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดาและปลอดภัย อาจใช้บริการโปรแกรมช่วยคิดรหัสผ่านในอินเทอร์เน็ตก็ได้
  6. บันทึกการตั้งค่าแล้วปิดและเปิดเครื่องเราท์เตอร์ใหม่. กดเลือกที่ปุ่ม Apply หรือ Save เพื่อบันทึกการตั้งค่าความปลอดภัย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่า เราท์เตอร์ส่วนใหญ่จะปิดและเปิดเครื่องด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว ซึ่งอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายจากเราท์เตอร์เครื่องนั้นๆ อยู่ก็จะถูกตัดการเชื่อมต่อทันที และต้องเข้าสู่ระบบใหม่อีกครั้ง
    • หากเราท์เตอร์ไม่ได้ปิดและเปิดใหม่โดยอัตโนมัติคุณต้องกดปุ่มปิดและเปิดใหม่เอง โดยปิดเครื่องแล้วนับ 1 ถึง10 จากนั้นจึงเปิดเครื่อง (คุณจะทราบว่าเครื่องพร้อมใช้งานแล้วเมื่อไฟข้างหน้าเครื่องเราท์เตอร์สว่างขึ้น)
    • อย่าลืมเลือกที่ช่องจำชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านที่คุณตั้งใหม่ในอุปกรณ์ที่คุณมักใช้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตไร้สาย หากคุณต้องการให้ปลอดภัยมากขึ้น คุณอาจเปลี่ยนรหัสผ่านทุกๆ 6 เดือนหรือตามช่วงเวลาอื่นๆ ที่คุณพอใจก็ได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การตั้งค่าความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ตไร้สายอีกทางหนึ่งก็คือการเปลี่ยนชื่อเครือข่ายหรือชื่อ SSID เครื่องเราท์เตอร์ทั่วไปจะมีชื่อ SSID พื้นฐาน ดังนั้น หากใครต้องการที่จะแอบเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตของคุณ ก็อาจสามารถค้นหาชื่อเครือข่ายของคุณในอินเทอร์เน็ตและอาจยังสามารถเดาสุ่มรหัสผ่านได้ด้วยหากคุณตั้งไว้แบบพื้นๆ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถปิดการกระจายสัญญาณไม่ให้ใครเห็นว่าคุณมีสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สายเพื่อให้ปลอดภัยมากขึ้นก็ได้
  • หากเครื่องเราท์เตอร์รุ่นของคุณไม่มีตัวเลือก WRA2 ให้ ควรเลือก WPA มากกว่าที่จะเลือก WEP WPA2 ถือเป็นขั้นตอนการเข้ารหัสการเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สายที่ปลอดภัยที่สุดในยุคนี้ แต่หากคุณสามารถเลือกได้เพียงWEP หรือ WPA ให้เลือก WPA เนื่องจาก WEP นั้นค่อนข้างตกรุ่นและสามารถถูกเจาะผ่านด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้อย่างง่ายดาย
  • เปิดระบบควบคุมการเข้าถึงเครือข่ายจากภายนอกของเราท์เตอร์ (firewall) เราท์เตอร์บางเครื่องอาจถูกตั้งค่ามาตรฐานให้ปิดระบบนี้ไว้ แต่หากเปิดการใช้งาน ก็จะทำให้ปลอดภัยมากขึ้น
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

ตามรอยหมายเลข IP Address
เชื่อมต่อเราเตอร์สองเครื่องเพื่อขยายเครือข่าย
เช็คว่ามีใครเชื่อมต่อสัญญาณ Wi Fi ของคุณ
แชร์สัญญาณเน็ตจากคอมไปมือถือผ่าน Wi Fi
เชื่อมต่อ Local Area Network ของ PC
ใช้คำสั่ง Ping ทดสอบ IP Address
เปลี่ยนรหัสผ่าน WiFi ของเราเตอร์ TP Link
เช็คว่าพอร์ทของคอมหรือเครือข่ายเปิดอยู่หรือเปล่า
เช็ค Network Connections (สัญญาณเน็ต) ที่ใช้อยู่ (Windows)
เช็คประวัติการท่องเว็บในเราเตอร์ WiFi
เข้าถึงคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในเครือข่ายเดียวกัน ทั้ง PC และ Mac
หาพาสเวิร์ดไวไฟเมื่อคุณจำพาสเวิร์ดไม่ได้
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 82,486 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา