ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าเล่นเกมได้ไม่ลื่นไหลเหมือนใครเขา หรือเห็น screenshot งามๆ ของใครแล้วได้แต่อิจฉา ว่า "ทำไมคอมเราไม่แรงเหมือนเขาบ้าง?" ก็บอกเลยว่า ของมันต้องเริ่มที่เปลี่ยนการ์ดจอ (graphics card หรือ video card) ใครไม่เคยอัพเกรดการ์ดจอเองมาก่อน อาจจะขยาด แค่เริ่มก็ไม่รู้แล้วว่าจะเลือกอันไหน แต่ขอแค่ตั้งงบไว้ในใจ ถือไขควงให้มั่นไว้ในมือ บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการติดตั้งการ์ดจอแรงๆ ให้คุณเอง ไม่ต้องเครียดไป!

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เลือกการ์ดจอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จะหาการ์ดจอเก่าให้เจอ เช็ค power supply แล้วติดตั้งการ์ดจอใหม่ได้ ต้องเริ่มจากเปิดเคสคอมขึ้นมาซะก่อน เคสคอมรุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่ด้านหลังจะยึดไว้ด้วยตะปูควง (thumbscrews) ทำให้คุณแยกส่วนผนังด้านข้างเองได้ง่ายๆ แต่ถ้าเป็นเคสคอมรุ่นเก่าๆ ต้องใช้ไขควงปากแฉก (Phillips-head) ไขสกรูของเคส
    • ให้ถอดปลั๊กและทุกอย่างที่เสียบต่อไว้ออกก่อน แล้วค่อยถอดผนังเคส
    • ถอดผนังเคสฝั่งตรงข้ามกับเมนบอร์ด ถ้าสังเกตที่ด้านหลังของเคสคอม จะเห็นผนังด้านหนึ่งที่มีพอร์ทต่างๆ เช่น USB, Ethernet, พอร์ทเสียบหน้าจอ และอื่นๆ นี่คือแผง I/O เมนบอร์ด จะช่วยให้รู้ว่าเมนบอร์ดอยู่ด้านไหน ให้ตะแคงเคสแล้วถอดผนังฝั่งตรงข้าม ก็จะเข้าถึงเมนบอร์ดได้ง่ายๆ
  2. การ์ดจอแรงๆ ต้องอาศัย power supply ที่จ่ายไฟเพียงพอเช่นกัน ถ้ายังใช้ power supply เก่า หรือมีชิ้นส่วนอื่นที่คอยดึงไฟไป power supply เดิมอาจจะไม่ดีพอ แบบนี้ให้อัพเกรด power supply ไปพร้อมๆ กับการ์ดจอใหม่เลย
    • มีหลายเว็บใช้คำนวณกำลังไฟที่ต้องใช้ได้ โดยวิเคราะห์จากทุก hardware ที่ติดตั้งไว้ หรือที่จะติดตั้ง ให้ค้นหาด้วยคำว่า "power supply calculator" ใน search engine ที่ถนัด [1]
    • power supply ต้องใช้สาย PCI-E ซึ่งก็ไม่มีปัญหาอะไร ถ้าเป็น power supply รุ่นใหม่ๆ แต่ถ้าเป็น power supply ที่เก่ากว่า 10 ปีขึ้นไป อาจจะไม่มีสายที่ต้องใช้
    • ปกติจะมีวัตต์สูงสุดของ power supply ติดเป็นสติกเกอร์ไว้ อาจจะต้องถอด power supply ก่อน ถึงจะเห็น
  3. การ์ดจอเดี๋ยวนี้เป็น PCI-E แทบทั้งหมด เลยต้องเช็คก่อนว่ามี slot แบบนี้อย่างหน่อย 1 ช่อง ปกติจะอยู่ติดกับ CPU ในแถวรวม slot PCI ถ้าไม่มี slot PCI-E อาจจะต้อง ติดตั้งเมนบอร์ดใหม่ ถ้าอยากอัพเกรดการ์ดจอจริงๆ
    • ถ้าอยากรู้ว่า slot PCI-E อยู่ตรงไหน ลองศึกษาผังระบบในคู่มือเมนบอร์ดดู
    • ติดตั้งเมนบอร์ดใหม่แล้วต้องลงระบบปฏิบัติการใหม่เลย
    • หมายเหตุ: แล็ปท็อปส่วนใหญ่จะอัพเกรดการ์ดจอไม่ได้
  4. การ์ดจอรุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่ เลยต้องใช้ PCI ถึง 2 slot ในคอม บางทีการ์ดจอก็สูงและยาว ต้องเช็คก่อนว่ามีที่พอทั้งด้านบนและด้านข้าง
    • ให้ใช้สายวัด วัดพื้นที่ทั้งแนวตั้งและแนวนอน ปกติสัดส่วนของการ์ดจอจะบอกไว้ในคำอธิบายผลิตภัณฑ์ ก็จะเช็คได้ก่อนซื้อ ว่าจะใส่ตรงช่องที่มีได้หรือเปล่า
  5. การ์ดจอแพงๆ ก็มี แบบที่แพงจนถอดใจเลย พอถึงจุดหนึ่ง ถ้าคุณมีคอมแค่ใช้งานทั่วไป การ์ดจอ high-end แบบแพงหูฉี่ก็ไม่ค่อยคุ้มจะทุ่มเงินเท่าไหร่ ให้คิดก่อนว่าอยากอัพเกรดการ์ดจอเพื่ออะไร แอพหรือโปรแกรมไหนที่ต้องใช้บ่อยๆ จะได้เลือกการ์ดจอที่แรงพอแต่ก็มีเงินพอจะซื้อเช่นกัน [2]
    • ส่วนใหญ่การ์ดจอแพงๆ จะเหมาะกับสาย overclock การ์ดจอ กับคนที่ใช้ dual-card หรือ quad-card configurations
    • พยายามอ่านรีวิวเยอะๆ ก่อนตัดสินใจซื้อการ์ดจอ มีหลายเว็บให้คุณศึกษาสเปคการ์ดจอกับราคาได้ เช่น เว็บ Tom's Hardware ก็จะมีตารางจัดอันดับการ์ดจอยอดนิยม พร้อมเทียบสเปคและราคา มีทุกช่วงราคาเลย ส่วนในเว็บอย่าง Newegg ก็มีรีวิวคนที่ใช้จริง ว่าการ์ดจอนั้นดียังไง มีปัญหาตรงไหน
    • เช็คความต้องการของระบบในเกมที่เล่นบ่อยๆ ว่าเกมแนะนำการ์ดจอรุ่นไหนถึงจะเล่นได้ลื่นไหลที่สุด รวมถึงเกมที่อยากจะซื้อมาเล่นด้วย
  6. ถึงการ์ดจอส่วนใหญ่จะครอบคลุมการใช้งานทั่วไป แต่ถ้ามีแอพหรือโปรแกรมที่ใช้งานมากเป็นพิเศษ ก็แนะนำให้เลือกการ์ดจอที่เหมาะสำหรับการใช้งานด้านนั้นโดยเฉพาะ ต่อไปนี้เป็นการ์ดจอยอดนิยม นับแต่ปี 2015 (2558) มา
    • AMD Radeon R9 290X - เป็นการ์ดจอที่ดีรอบด้าน เล่นได้แทบทุกเกมแบบใช้ Ultra settings แล้วก็ยังสบายๆ คุณหาซื้อการ์ดจอรุ่นนี้ได้ในราคาประมาณ $300 (ประมาณ 10,000 บาท) หรือใช้ Nvidia GeForce GTX 970 แทนกันก็ได้ ในราคาที่แพงกว่านิดหน่อย ประมาณ $50 (1,500 บาท) แต่ก็จะกินไฟน้อยกว่า
    • AMD Radeon R7 260X - อันนี้เป็นการ์ดจอแบบ low-end แต่เล่นเกมแบบ Medium ถึง High settings ได้แทบทุกเกม ในราคาไม่ถึง $120 (3,600 บาท) หรือใช้ Nvidia GeForce GTX 750 Ti แทนในราคาแพงกว่า $30 (ประมาณ 1,000 บาท) ซึ่งก็จะกินไฟน้อยกว่า และไม่ต้องใช้ PCIe power connector (เหมาะสำหรับ PC ที่ใช้ PSU แบบเกรดรอง)
    • Nvidia GTX 980 - เป็นหนึ่งในการ์ดตัวท็อปขณะนี้ เรียกว่าเกมไหนก็เล่นแบบ 1440p ได้เหลือๆ แน่นอนว่าราคาก็สมน้ำสมเนื้อ คือประมาณ $550 (15,000 - 16,000 บาท) สำหรับ EVGA ACX 2.0 และ $680 (ประมาณ 20,000 บาท) สำหรับ Classified edition
    • ถ้าเน้นกราฟิกงามๆ ให้เลือกการ์ดจอที่ onboard memory เยอะๆ ประมาณ 3 - 4 GB แพงกว่าแน่ๆ แต่ก็ช่วยให้ render และ encode ได้เร็วขึ้นเห็นๆ
  7. พอมีหน้าจอรุ่นใหม่ๆ พัฒนาออกมา ก็ยิ่งมีการ์ดจอให้เลือกเยอะ การ์ดจอใหม่ของคุณอาจรองรับเฉพาะ HDMI, DVI, DisplayPort, VGA หรือใช้ร่วมกันได้หลายแบบ ก็ต้องเช็คว่าเสียบต่อหน้าจอยังไง แล้วเลือกซื้อการ์ดจอที่ใช้กันได้
    • เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานสูงสุด แนะนำให้เชื่อมต่อแบบ HDMI หรือ DisplayPort
    • ถ้าจะใช้พร้อมกันทีเดียวหลายหน้าจอ ก็ต้องเช็คว่าการ์ดจอรองรับการใช้งานหลายหน้าจอ โดยใช้พอร์ทคุณภาพสูงหรือเปล่า คุณคงไม่อยากเสียบต่อหน้าจอหนึ่งแบบ HDMI แล้วอีกหน้าจอแบบ VGA เพราะหน้าจอ VGA นั้นจะ resolution ต่ำกว่า เทียบ HDMI ไม่ได้เลย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ติดตั้งการ์ดจอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หนึ่งในสาเหตุของ error และปัญหาที่พบบ่อย นั้นมักเกิดจากไดรฟ์เวอร์ที่ไม่สัมพันธ์กัน ก่อนจะติดตั้งการ์ดจอใหม่ แนะนำมากๆ ว่าให้ถอนการติดตั้งไดรฟ์เวอร์ที่ Windows ใช้ในการแสดงผลภาพหน้าจอก่อน [3]
    • วิธีถอนการติดตั้งไดรฟ์เวอร์ได้เร็วที่สุด คือเปิด Device Manager แล้วถอนการติดตั้งจากในนั้น คุณเปิด Device Manager ได้โดยค้นหาในเมนู Start หรือกด Win + X แล้วเลือกจากในเมนู (เฉพาะ Windows 8)
    • พอเข้ามาใน Device Manager แล้ว ให้ขยายหัวข้อ Display Adapters คลิกขวาที่ display adapter ปัจจุบันที่ใช้อยู่ แล้วคลิก Uninstall จากนั้นลบไดรฟ์เวอร์เก่าจากคอม ตามขั้นตอนที่ปรากฏ จะเห็นว่าหน้าจอกลับเป็นคุณภาพต่ำ ไอคอนใหญ่ยักษ์ ข้อความเบลอๆ ก็ให้ปิดเครื่องหลังถอนการติดตั้งเสร็จ
  2. เวลาต้องสัมผัสแตะต้องชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ให้ ground ตัวเองกันไฟฟ้าสถิตซะก่อน เพราะแค่นิดเดียวก็ทำให้ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์เสียหายหรือเสียได้เลย แนะนำให้สวมสายรัดข้อมือป้องกันไฟฟ้าสถิต แล้วหนีบปลายสายไว้กับโลหะของเคส ถ้าไม่มี ให้ ground ตัวเองโดยแตะก๊อกน้ำโลหะก่อน
    • คอมที่เปิดเคสแล้ว ต้องไม่วางไว้บนพรม ส่วนตัวคุณเองก็ให้ยืนบนพื้นกระเบื้อง หรือลิโนเลียม เวลาซ่อมแซมหรือติดตั้งชิ้นส่วนในเคสคอม
    • ต้องถอดปลั๊กที่เสียบไว้ที่ผนังออก ก่อนเริ่มซ่อมแซมหรือติดตั้งอะไรในเคสคอม
  3. ปกติการ์ดจอเก่าจะเสียบอยู่ใน slot PCI-E หรือ AGP ของเมนบอร์ด (ปกติการ์ด AGP จะพบได้ในคอมรุ่นเก่าๆ) การ์ดจอส่วนใหญ่จะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ น่าจะเป็นการ์ดที่ใหญ่ที่สุดในระบบเลย จะสังเกตว่ามีพัดลมและ heatsink ระบายความร้อนติดอยู่ด้วยเลย
    • ถ้าคอมที่ใช้มีการ์ดจอออนบอร์ด (หน้าจอต่อตรงกับเมนบอร์ด) ก็จะไม่มีการ์ดจอเก่าให้ถอด
  4. ถ้าจะอัพเกรดการ์ดจอ ก็ต้องถอดการ์ดเก่าออกก่อน ค่อยติดตั้งการ์ดใหม่ โดยไขสกรูที่ยึดการ์ดไว้กับโครง ถ้าเป็นการ์ดรุ่นใหม่ๆ จะมีแผ่นรองด้านใต้ แถวๆ ด้านหลังของ slot PCI ต้องปลดล็อคก่อน ถึงจะดึงการ์ดออกมาได้
    • เวลาถอดการ์ดให้ดึงขึ้นมาตรงๆ slot PCI จะได้ไม่เสียหาย
    • ถ้าเสียบหน้าจอไหนไว้กับการ์ดจอเก่า ให้ถอดออกก่อนถอดการ์ดจอ
  5. พอถอดการ์ดจอเก่าแล้ว ก็ถึงเวลาทำความสะอาดฝุ่นผงที่สะสม ให้ฉีดสเปรย์ลมกำจัดฝุ่นตามซอกมุมต่างๆ รอบ slot PCI ฝุ่นเกาะแล้วทำให้ชิ้นส่วนต่างๆ ร้อนจัดได้ ถ้าชิ้นส่วนต่างๆ สะอาด จะช่วยยืดอายุคอมได้
  6. ค่อยๆ เอาการ์ดจอออกจากซองกันไฟฟ้าสถิต ระวังอย่าสัมผัสแผงวงจรโดยตรง เวลาเสียบการ์ดจอให้เสียบลงไปใน slot PCI-e ตรงๆ ออกแรงกดเล็กน้อยที่ด้านบน จนลงล็อค ถ้า slot PCI-E มีตัวล็อค จะได้ยินเสียงดังแป๊กตอนล็อคเข้าที่ [4]
    • อาจจะต้องถอดแผงใกล้เคียงออกก่อน ถ้าการ์ดจอกว้างกินพื้นที่ 2 แผง
    • อย่าให้สายไฟหรือชิ้นส่วนไหนมาเกะกะเวลาเสียบการ์ดจอ
  7. ขันสกรูล็อคการ์ดจอไว้กับโครง ถ้าการ์ดจอกินพื้นที่ 2 แผง ก็ต้องใช้สกรู 2 ตัว ตัวละ bay โดยต้องเสียบการ์ดจอเข้าที่ก่อน แล้วถึงขันสกรูล็อค
  8. การ์ดจอรุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะมีพอร์ทเสียบ power supply ในตัว ทางด้านบนของด้านหลังการ์ดจอ ให้เสียบ 1 - 2 สาย PCI-E ของ power supply ที่ปกติจะเป็นสาย 6-pin ถ้าไม่เสียบต่อกับ power supply การ์ดจอจะใช้งานไม่ได้
    • หลายการ์ดจอมาเป็นแพ็คเกจพร้อม adapter สำหรับแปลงสายเป็นอันที่ใช้กับการ์ดจอได้
  9. พอเช็คแล้วว่าเสียบการ์ดจอลงล็อคและยึดสกรู รวมถึงเสียบต่อ power supply แล้ว ก็ถึงเวลาประกอบเคสกลับคืน อย่าลืมเสียบหน้าจอกับการ์ดจอก่อน ถ้าแต่ก่อนใช้การ์ดจอออนบอร์ด หน้าจอก็จะต่อเมนบอร์ดอยู่แล้ว ย้ำเลยว่าจะใช้งานการ์ดจอได้ก็ต่อเมื่อเสียบต่อกับหน้าจอแล้วเท่านั้น
    • จะออกมาดีสุด ถ้าเสียบหน้าจอกับการ์ดจอโดยใช้ HDMI หรือ DisplayPort ถ้าหน้าจอหรือการ์ดจอไม่รองรับ HDMI หรือ DisplayPort ตัวเลือกที่ดีรองลงมาคือ DVI และสุดท้ายคือ VGA
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ติดตั้งไดรฟ์เวอร์แล้วทดสอบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ระบบปฏิบัติการจะสแกนเจอการ์จอใหม่ และพยายามปรับหน้าจอให้ใช้ resolution และ color depth ที่เหมาะสมที่สุด ก็ให้ยอมรับค่าใหม่ และเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ
    • ถ้าหน้าจอไม่แสดงภาพอะไรเลย ให้แก้ปัญหาการติดตั้ง โดยเช็คว่าติดตั้งและเสียบต่อการ์ดจอถูกต้องแล้ว
    • ถ้าภาพบิดเบี้ยว หรือดูเป็นซี่ๆ ซ่าๆ แสดงว่ามีปัญหาที่การ์ดจอ ให้เช็คว่าติดตั้งการ์ดจอถูกต้องแล้วหรือยัง ถ้าถูกแล้ว แต่ยังมีปัญหา ค่อยติดต่อผู้ผลิต
  2. ใส่แผ่นติดตั้งไดรฟ์เวอร์ หรือดาวน์โหลดไดรฟ์เวอร์มา. ถ้าการ์ดจอมาพร้อมแผ่นติดตั้งไดรฟ์เวอร์ ก็ใส่แผ่นแล้วเริ่มขั้นตอนติดตั้งตอนนี้ได้เลย ถ้าไม่มีแผ่นติดมาด้วย หรืออยากจะแน่ใจว่าติดตั้งไดรฟ์เวอร์เวอร์ชั่นล่าสุด ก็ไปดาวน์โหลดไดรฟ์โดยตรงได้ที่เว็บ Nvidia หรือ AMD (แล้วแต่การ์ดจอรุ่นที่ใช้)
  3. ขั้นตอนการติดตั้งไดรฟ์เวอร์แทบจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ แต่จะมีให้ยืนยันบ้าง ถ้าจะติดตั้งโปรแกรมจัดการการ์ดจอเพิ่มเติม ซึ่งไม่บังคับติดตั้ง แต่ถ้าลงไว้ก็ช่วยเรื่องอัพเดทไดรฟ์เวอร์ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดอยู่เสมอ ระหว่างขั้นตอนติดตั้ง หน้าจอจะมีกะพริบหรือรีเซ็ตบ้างเป็นระยะ
    • ไดรฟ์เวอร์แบบติดมากับแผ่นติดตั้ง มักแทบจะตกรุ่นทันทีหลังซื้อเลย เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่ก็ต้องติดตั้งอัพเดทใหม่จากเว็บเองอยู่ดี
  4. ก็รู้ๆ กันอยู่ ว่าที่คุณสู้อุตส่าห์ตามหาการ์ดจอรุ่นใหม่มาใช้ ก็เพราะอยากเล่นเกมใหม่ๆ แรงๆ ให้ได้ มาถึงขั้นตอนนี้แล้วก็รีบลองเล่นกันเลยดีกว่า แต่ก่อนจะเข้าเกม ลองสำรวจเมนู Video settings ของเกมดูก่อน ให้ตั้ง settings ทั้งหมดสูงสุดเท่าที่มี แล้วลองเล่นดูเลย ถ้าเล่นได้แบบเนียนๆ ก็จบแล้ว!
    • เวลาตั้งค่า resolution พยายามเลือกให้สัมพันธ์กับ resolution จริงของหน้าจอ โดยจอแบนส่วนใหญ่ resolution จะอยู่ที่ 1920 x 1080 แต่ถ้าเป็นหน้าจอรุ่นใหม่ๆ จะ resolution สูงกว่านั้น
    • ถ้าเกมกระตุก ภาพแตก หรืออื่นๆ ที่ไม่พึงประสงค์ ให้เปลี่ยนมาใช้ settings ที่น้อยลงทีละขั้น ถึงเปลี่ยนการ์ดจอแล้วเล่นเกมแบบ Ultra settings ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เพราะบางเกมก็เทพเกินจนไม่มีการ์ดจอไหนเล่น settings สูงสุดไหวเลย!
    • จะเล่นเกมได้ลื่นไหลแค่ไหน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการ์ดจออย่างเดียว ทั้ง CPU, RAM กระทั่งความแรงของฮาร์ดไดรฟ์ ก็มีผลทั้งนั้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ไม่ว่าจะทำอะไรในเคสคอม ย้ำว่าต้องค่อยเป็นค่อยไป เบามือ ระวังให้มาก ถ้าต้องทำขั้นตอนเนี้ยบๆ อย่างถอดการ์ดจอ พยายามเก็บแขนชิดลำตัว จะทำอะไรข้างหน้า ก็ให้ขนานไปกับตัว แบบนี้กล้ามเนื้อหน้าอกกับหน้าท้อง รวมถึงแขน จะทำงานได้ไม่มีพลาด
  • ระวังว่าเปลี่ยนการ์ดจอของคอมเองแล้วประกันอาจจะขาดได้ คอมส่วนใหญ่โดยเฉพาะถ้า ประกอบเอง ก็ทำได้ ไม่เป็นไร แต่บางทีก็เปลี่ยนการ์ดจอเองไม่ได้เลย เช่น คอมที่ทำงาน หรือของโรงเรียน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 49,044 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา