ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ถึงเวลาอัพเกรดระบบปฏิบัติการของคุณหรือยัง? เพิ่งเปลี่ยนใจจาก Windows ไปใช้ Linux ดูใช่ไหม? หรืออยากลองใช้ 2 ระบบในเครื่องเดียว (dual-booting) บทความวิกิฮาวนี้จะแนะนำวิธีการติดตั้งระบบปฏิบัติการในคอมให้คุณเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เลือกระบบปฏิบัติการที่จะลง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าตัดสินใจลงระบบใหม่แล้ว ก็ต้องเลือกก่อนว่าจะลงระบบไหน แต่ละระบบก็มีความต้องการต่างกัน เพราะงั้นถ้าคอมคุณค่อนข้างเก่า ก็ต้องเช็คให้ชัวร์ว่าจะลงระบบใหม่ที่คุณต้องการได้
    • ส่วนใหญ่ถ้าจะลง Windows ต้องมี RAM อย่างน้อย 1 GB และพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 15 - 20 GB นอกจากนี้ CPU เองก็ต้องแรงพอจะใช้ระบบที่ต้องการได้ด้วย พวกนี้คือสิ่งที่ต้องเช็คให้ชัวร์ก่อน ถ้าคอมคุณไม่พร้อม ก็ต้องลงระบบเก่าแทน เช่น Windows XP
    • ถ้าเป็น Linux ก็ไม่ต้องใช้พื้นที่กับ RAM มากเท่า Windows แต่ก็แล้วแต่เวอร์ชั่นที่คุณเลือกด้วย (ว่าเป็น Ubuntu, Fedora, Mint หรืออื่นๆ)
  2. ถ้าเป็น Windows นี้ต้องซื้อให้ได้ product key มาใช้ติดตั้งลูกเดียว (1 คีย์ 1 เครื่อง) แต่ถ้าเป็น Linux ส่วนใหญ่จะฟรี ดาวน์โหลดแล้วติดตั้งลงคอมกี่เครื่องก็ตามสบาย แต่ถ้าเป็น Enterprise บางเวอร์ชั่นก็ต้องเสียเงินและลงได้เครื่องเดียวเหมือนกัน (เช่น Red Hat และ SUSE เป็นต้น)
  3. เช็คให้ชัวร์ก่อนว่าระบบปฏิบัติการที่คุณจะลงนั้นรองรับโปรแกรมที่คุณใช้อยู่หรือจะใช้ อย่างถ้าปกติใช้ Microsoft Office ทำงาน ก็ลง Linux ไม่ได้เพราะไม่รองรับ จริงๆ แต่ละระบบก็มีโปรแกรมอื่นที่ใช้แทนกันได้เหมือนกัน แต่ก็คงไม่ครบเครื่องเท่ากับโปรแกรมที่คุณเคยใช้
    • หลายเกมเล่นใน Windows ได้ แต่เล่นใน Linux ไม่ได้ เดี๋ยวนี้ค่ายเกมทั้งหลายก็พยายามครอบคลุมให้เล่นได้หลายระบบ แต่ถ้าคุณเป็นคอเกม ก็แน่นอนว่าพอเปลี่ยนระบบแล้ว บางเกมที่มีอาจเล่นกับระบบใหม่ไม่ได้
  4. ถ้าซื้อ Windows มาจากร้าน ก็จะได้แผ่นติดตั้งมาพร้อม product code (product key) ถ้าคุณไม่มีแผ่น มีแต่คีย์ ก็ดาวน์โหลดไฟล์ติดตั้งได้จากในเว็บเลย แต่ถ้าจะลง Linux ก็ให้ไปดาวน์โหลดไฟล์ ISO ของเวอร์ชั่นที่จะติดตั้งจากในเว็บของผู้พัฒนาเลย
  5. เวลาจะลงระบบใหม่ ทุกข้อมูลในฮาร์ดไดรฟ์จะถูกลบหายไป เพราะงั้นให้รีบ backup ไฟล์สำคัญในคอมแยกไว้ก่อน แล้วค่อยเริ่มติดตั้งระบบใหม่ จะเก็บข้อมูลไว้ใน external hard drive หรือไรท์ลงแผ่น DVD ก็ได้
    • ถ้าจะลงระบบใหม่เพื่อใช้คู่กันกับระบบเก่าที่มีในเครื่อง ข้อมูลก็จะไม่ถูกลบไป แต่ถึงอย่างนั้นก็ควร backup กันไว้ก่อนอยู่ดี
    • คุณ backup โปรแกรมไม่ได้เหมือนข้อมูล ต้องลงใหม่หมดหลังติดตั้งระบบปฏิบัติการ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ติดตั้งระบบปฏิบัติการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าอยากลง Linux ไว้ใช้คู่กับ Windows ให้ลง Windows ก่อนแล้วค่อยลง Linux ตาม เพราะ Windows นั้นมี bootloader ที่ค่อนข้างจุกจิก คือต้องลงตัวเองก่อน แล้วค่อยลง Linux ไม่งั้น Windows จะไม่ยอมเปิดขึ้นมา
  2. ใส่แผ่นติดตั้งแล้วบูทเครื่องขึ้นมาจากแผ่น ปกติคอมจะบูทจากฮาร์ดไดรฟ์ก่อน เพราะงั้นต้องไปปรับ settings ใน BIOS ให้บูทจากแผ่นแทน คุณเข้า BIOS ได้โดยกดปุ่ม Setup ระหว่างบูทเครื่อง ปุ่มที่ว่าจะเขียนไว้ในหน้าจอเดียวกันกับที่มีโลโก้ยี่ห้อคอมขึ้น
    • ปกติจะเป็นปุ่ม F2, F10, F12 หรือ Del/Delete
    • พอเข้าเมนู Setup แล้วให้ไปที่ Boot จากนั้นกำหนดให้บูทจากไดรฟ์ DVD/CD เป็นที่แรก ถ้าคุณลงระบบจากใน USB ก็ให้เสียบกับคอมแล้วเลือกเป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้บูทเครื่อง
    • พอเลือกไดรฟ์แล้วให้เซฟค่าใหม่แล้วออกจาก Setup หลังจากนี้คอมก็จะรีสตาร์ท
  3. Linux แทบทุกเวอร์ชั่นให้คุณบูทเครื่องจากแผ่นติดตั้งได้ เพื่อ “test drive” หรือลองใช้ระบบก่อนตัดสินใจลงจริงในเครื่อง ถ้าลองใช้จนพอใจแล้วอยากติดตั้งจริง ก็ให้คลิกโปรแกรมติดตั้งที่หน้า desktop ได้เลย
    • นี่คือข้อดีที่มีใน Linux เท่านั้น เพราะ Windows ไม่ยอมให้ลองใช้ก่อนแน่นอน
  4. ไม่ว่าจะเลือกระบบไหน โปรแกรม setup ก็ต้อง copy ไฟล์ลงคอมก่อน อาจต้องรอนานหลายนาที แล้วแต่ความเร็วของคอม
    • ให้เลือกติดตั้งแบบ basic คือไม่ต้องปรับแต่งอะไร เช่น ภาษาและรูปแบบคีย์บอร์ด
  5. ถ้าติดตั้ง Windows 8 ต้องใส่ product key ก่อนติดตั้ง แต่ถ้าเป็น Windows เวอร์ชั่นเก่าๆ จะให้ใส่ product key หลังติดตั้งเสร็จ ส่วนคนใช้ Linux ไม่ต้องใส่ product key เว้นแต่จะใช้เวอร์ชั่นเสียเงินอย่าง Red Hat
  6. Windows จะให้เลือกว่าติดตั้งแบบอัพเกรด (Upgrading) หรือติดตั้งแบบ Custom ถึงคุณจะอัพเกรด Windows เก่าเป็นใหม่ ก็แนะนำว่าควรเลือกแบบ Custom แล้วเริ่มติดตั้งใหม่เลย เพื่อไม่ให้มีปัญหาอันอาจเกิดจากการรวมค่า settings ของระบบเก่ากับใหม่
    • ถ้าติดตั้ง Linux จะมีให้เลือกติดตั้งคู่กับระบบเก่า (Windows) หรือล้างไดรฟ์แล้วลง Linux อย่างเดียว ให้เลือกแบบที่ตรงกับการใช้งานของคุณที่สุด ถ้าเลือกแบบลงระบบคู่กัน ก็จะมีให้เลือกว่าจะกำหนดพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ให้ Linux เท่าไหร่
  7. ถ้าจะลง Windows ก็ต้องเลือกว่าจะลงในพาร์ทิชั่นไหน ถ้าลบพาร์ทิชั่นนั้นแล้วทุกข้อมูลจะหายไปหมด เพื่อคืนพื้นที่ให้ Unallocated section ให้คุณเลือก unallocated space แล้วสร้างพาร์ทิชั่นใหม่ขึ้นมา
    • ถ้าจะลง Linux ก็ต้องฟอร์แมตพาร์ทิชั่นนั้นเป็น Ext4 ก่อน
  8. ก่อนติดตั้ง ไฟล์ติดตั้ง Linux จะถามโซนเวลาของคุณ รวมถึงให้ตั้ง username กับรหัสผ่าน เพื่อใช้ล็อกอินเข้า Linux และปรับเปลี่ยนค่าต่างๆ ของระบบ
    • ส่วนใครใช้ Windows ก็ต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวหลังติดตั้งเสร็จ
  9. บางทีก็ต้องรอเป็นชั่วโมง แล้วแต่ความเร็วของคอมที่ใช้ ระหว่างติดตั้งก็รออย่างเดียว ไม่ต้องทำอะไร คอมจะรีสตาร์ทเป็นระยะ ถือว่าปกติ
  10. พอติดตั้ง Windows เสร็จ ก็ต้องตั้ง username ส่วนรหัสผ่านจะมีหรือไม่มีก็ได้ เสร็จแล้วก็ถึงเวลาใส่ product key
    • ถ้าเป็น Windows 8 ต้องเลือกธีมสีก่อน หลังจากนั้นก็เลือกล็อกอินด้วยบัญชี Microsoft หรือ Windows username
  11. พอติดตั้งเสร็จ จะเข้าหน้า desktop ใหม่เอี่ยมอ่อง จากนี้ก็ลงโปรแกรมและไดรฟ์เวอร์ต่างๆ ได้เลย ที่สำคัญคือต้องมีโปรแกรม antivirus ด้วย ถ้าคิดจะต่อเน็ตผ่านเครื่องนี้
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ขั้นตอนเฉพาะของแต่ละระบบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยังไง Windows 7 ก็เป็นระบบปฏิบัติการที่คนนิยมใช้กันมากที่สุด ให้ลองศึกษาวิธีการติดตั้งเพิ่มเติมจากในเน็ตดู
  2. Windows 8 เป็นระบบปฏิบัติการใหม่ของ Microsoft (แต่ใหม่กว่าคือ 10) ให้ลองศึกษาวิธีการติดตั้งเพิ่มเติมจากในเน็ตดูเช่นกัน
  3. ติดตั้ง Ubuntu . Ubuntu คือหนึ่งในเวอร์ชั่นที่คนนิยมใช้กันมากที่สุดของ Linux คุณคลิกอ่านขั้นตอนโดยละเอียดในการติดตั้ง Ubuntu ได้เลย
  4. ถ้าอยากอัพเกรด Mac OS X เก่าที่ใช้อยู่ ให้ลองหาอ่านเพิ่มเติมในเน็ตดู
  5. ติดตั้ง Linux Mint . Linux Mint เป็น Linux เวอร์ชั่นใหม่ที่คนเริ่มนิยมใช้กันมากขึ้น คลิกแล้วอ่านวิธีการติดตั้งได้เลย
  6. Fedora เป็น Linux เวอร์ชั่นเก่าที่คนใช้กันมานานเพราะเสถียรดี ยังไงลองศึกษาวิธีการติดตั้งจากในเน็ตดู
  7. ถ้าคุณใจเย็นพอแล้วอยากลง Mac OS X ในเครื่อง PC ให้ศึกษาวิธีการเพิ่มเติมจากในเน็ตเลย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จะติดตั้งระบบใหม่เร็วกว่าเยอะ ถ้าคุณ backup ข้อมูลแบบย้ายออกไปเลย ไม่ใช่ copy แยกไว้แต่ในเครื่องก็ยังมีข้อมูลอยู่ จากนั้นก็ defragment ไดรฟ์ซะ ให้ทำคืนก่อนหน้าที่จะลงระบบใหม่ จะทำให้ฟอร์แมตไดรฟ์ได้เร็วขึ้นเยอะ โดยเฉพาะถ้าคุณใช้ไดรฟ์ IDE ขนาด 40 GB ขึ้นไป หรือไดรฟ์ Serial ATA (SATA) ขนาด 500 GB ขึ้นไป
  • บางระบบปฏิบัติการ โดยเฉพาะ Linux มีให้เลือกระหว่างติดตั้งแบบขั้นสูง (expert) กับแบบปกติ (normal) ถ้าคุณไม่รู้เรื่องการแบ่งพาร์ทิชั่นไดรฟ์ซะเลย ก็ติดตั้งแบบธรรมดาไปเถอะ ซึ่งจะแบ่งพาร์ทิชั่นให้คุณเอง
โฆษณา

คำเตือน

  • ต้อง backup ข้อมูลทั้งหมดก่อนลงระบบใหม่ เว้นแต่ติดตั้งแบบอัพเกรด แต่จริงๆ แล้วเราแนะนำให้ backup ไม่ว่าจะเลือกติดตั้งแบบไหนก็ตาม
  • Windows จะเข้าพาร์ทิชั่น Linux ไม่ได้
  • ถ้าติดตั้ง Windows แล้วต่อเน็ตด้วย ให้รีบลงโปรแกรม antivirus ก่อน
  • ถ้าจะเปลี่ยนจาก Windows ไปใช้ Linux แต่ยังมือใหม่ ก็อย่าเพิ่งรีบติดตั้งจริง ถ้าคอมคุณเป็นรุ่นใหม่ ให้ลองบูทเครื่องจาก USB ก่อน (ลง Linux ไว้ใน USB) หรือบูทจากแผ่น CD ก็ได้
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • คอมพิวเตอร์
  • ไฟล์ แผ่น หรือ USB ติดตั้งระบบปฏิบัติการ
  • ความรู้เบื้องต้นนิดหน่อย

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 12,183 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา